เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 06-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง "ขนุน" (KHANUN) บริเวณตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น มีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 8-9 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 5 - 7 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 11 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 06-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


เฮดังๆ! เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว/อช.น้ำหนาวและภูกระดึงขึ้นแท่นเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน



เลย- ประเทศไทยได้รับการประกาศรับรองอุทยานมรดกแห่งอาเซี่ยนรวมกันเป็น 9 แห่งแล้ว จากเดิมที่มีอยู่ 7 แห่ง โดย 2 แห่งล่าสุด คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง
โดยเฉพาะภูกระดึงมีลักษณะความโดดเด่นที่แตกต่างจากแห่งอื่นคือเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชหายากและสัตว์ป่าคุ้มหลายหลากหลายชนิด

มีรายงานแจ้งว่า เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 ร่วมกับ ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ณ เมืองโบโกร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมี นางพรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวแทนประเทศไทย พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมประชุมด้วย
โดยในที่ประชุมได้มีการพิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) ของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยได้เสนอและผ่านการพิจารณา 2 แห่ง

ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยในที่ประชุมได้ร่วมพิจารณาและเห็นตาม จึงได้ประกาศให้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 57

โดยเฉพาะอุทยานภูกระดึง ลักษณะโดดเด่น ที่เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน มีรายละเอียดที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าตามธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 98 และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชพันธุ์หายาก เช่น หญ้าดอกลำโพง ผักชีภูกระดึง กุหลาบขาว กุหลาบแดง เป็นต้น

รวมทั้งมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น เลียงผา ลิ่นชวา เต่าเหลือง ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว โดยอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด ที่มีลักษณะโดดเด่นเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ในพื้นที่ยังมีกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญคือ กิจกรรมสรงน้ำพระพุทธเมตตา

ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าร้อยละ 96.65 และมีความหลากหลายทางธรณีวิทยาและลักษณะของถ้ำ โดยพื้นที่ที่มีความโดดเด่น เช่น ถ้ำครอบ ถ้ำใหญ่น้ำหนาว และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชหายาก เช่น จำปีศรีเมืองไทย กระโถนพระฤๅษี สนสามพันปี รวมทั้งยังมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น แมวลายหินอ่อน เลียงผา เนื้อทราย เสือลายเมฆ และในพื้นที่ยังมีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น ประเพณีการแขวนทุง (แขวนธง) ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น

มีรายงานอีกว่า การประกาศรับรองครั้งนี้ทำให้ประเทศไทย มีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนรวมเป็น 9 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, อุทยานแห่งชาติตะรุเตา, กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลันและอ่าวพังงา, กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี, อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง, อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และอุทยานแห่งชาติเขาสก


https://mgronline.com/local/detail/9660000070437


******************************************************************************************************


กระทบสัตว์ทะเลแล้ว คลื่นซัดคราบน้ำมันเข้าภูเก็ต-พังงา



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คราบน้ำมันถูกคลื่นซัดเข้าชายหาดในพื้นที่ภูเก็ต-พังงา ล่าสุดพบเต่าทะเลติดคราบน้ำมันทั้งตัว เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือปลอดภัยแล้ว

จากกรณีคลื่นซัดคราบน้ำมันเข้ามาติดชายหาดต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พังงา ตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยมีคราบสีดำลอยเข้ามาติดชายหาดจำนวนมาก ส่งผลให้ชายหาดต่างๆ มีคราบน้ำมันติดอยู่แนวชายหาดจำนวนมาก รวมทั้งขยะทะเลถูกเคลือบไปด้วยคราบน้ำมัน

ล่าสุด พบว่าคราบน้ำมันดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบนได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่โรงแรมอังสนา ลากูน่า ภูเก็ต ว่า พบเต่าทะเลถูกคลื่นซัดเกยตื้นชายหาดหน้าโรงแรมอังสนา ลากูน่า ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยมีคราบน้ำมันติดทั้งตัว

เจ้าหน้าที่ ศวอบ. เข้าช่วยเหลือและตรวจสอบเต่าเกยตื้นดังกล่าว พบเป็นเต่าตนุ (Chelonia mydas) อยู่ในช่วงวัยเด็ก ความยาว 12 ซม. ความกว้าง 10 ซม. น้ำหนัก 0.1 กก. มีสภาพอ่อนแรงมาก ความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในระดับปกติ ภายนอกพบคราบน้ำมันปกคลุมทั้งร่างกายรวมถึงในช่องปาก จึงได้เคลื่อนย้ายมาศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร

โดยทำการขจัดคราบน้ำมันที่ปกคลุมทั่วร่างกายและในช่องปากออก รวมทั้งทำการตรวจเพื่อพิจารณาแผนการรักษาต่อไป


https://mgronline.com/south/detail/9660000070420

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 06-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


สัญญาณหายนะ? 'เพนกวิน' กว่า 2,000 ตัว ตายเกลื่อนหาด คาดเกิดจาก 'โลกร้อน'

นักวิทยาศาสตร์คาดปัญหา "โลกร้อน" กระทบถึงแหล่งอาหารของสัตว์หลายชนิด ล่าสุด..พบซาก "เพนกวิน" สภาพผอมโซตายเกลื่อนหาดอุรุกวัยกว่า 2,000 ตัว บางตัวถึงขั้นไม่มีอะไรอยู่ในท้อง




Keypoints:

- "เพนกวินมาเจลลัน" เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่ถูกจัดให้อยู่ในภาวะใกล้ถูกคุกคามมาตั้งแต่ปี 2004 แต่ก็ยังมีรายงานการตายของพวกมันอยู่เรื่อยๆ

- ล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา บริเวณชายหาดอุรุกวัยพบซากเพนกวินมาเจลลันกว่า 2,000 ตัว ถูกซัดมาเกยตื้นในสภาพผอมโซ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าพวกมันอาจจะอดตาย

- หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เพนกวินมาเจลลันไม่มีอาหารกินก็เพราะปัญหาจาก "ภาวะโลกร้อน" ส่งผลให้เกิดพายุเพิ่มขึ้นและพัดเอาอาหารของพวกมันออกไปจากถิ่นที่อยู่


เกิดการตั้งคำถามถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกอีกครั้ง หลังจากช่วงสิ้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา พบซาก "Magellanic Penguins" หรือ "เพนกวินมาเจลลัน" กว่า 2,000 ตัว ถูกซัดมาเกยตื้นตายอยู่บริเวณชายหาดอุรุกวัย ในสภาพที่ซูบผอมผิดปกติ และจากการตรวจสอบพบว่ากว่าร้อยละ 90 ของเพนกวินเหล่านั้น ไม่มีไขมันสำรองในร่างกายและไม่มีอาหารเหลืออยู่ในท้อง

ที่น่าเศร้าก็คือเพนกวินเหล่านี้ยังมีอายุไม่มากนัก และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเพนกวินตายเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหานี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ในปี 2010 และอาจเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ประชากรเพนกวินมาเจลลันมีจำนวนลดลง


รู้จัก "เพนกวินมาเจลลัน" ที่ได้รับการตั้งชื่อตามนักสำรวจ

สำหรับเพนกวินมาเจลลันนั้น เป็นหนึ่งใน 18 สายพันธุ์ของเพนกวินที่มีอยู่ทั่วโลก พวกมันได้รับการตั้งชื่อตามนักสำรวจชาวโปรตุเกส "เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน" ที่บังเอิญไปพบเจอพวกมันขณะล่องเรือสำรวจทวีปอเมริกาใต้ หลังจากนั้นมีข้อมูลว่าพวกมันสามารถพบเจอได้ทั่วไปทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติกและฝั่งแปซิฟิกของทวีปอเมริกาเหนือ รวมถึงในอาร์เจนตินา ชิลี และหมู่เกาะฟอล์คแลนด์

ลักษณะเด่นของเพนกวินมาเจลลันก็คือ มีลำตัวสีดำ แต่มีส่วนท้องเป็นสีขาว เพื่อปกป้องตัวเองจากนักล่าในท้องทะเล เพราะเวลาพวกมันดำลงไปในน้ำลำตัวที่เป็นสีดำจะช่วยให้พวกมันดูกลมกลืนไปกับห้วงน้ำในมหาสมุทร ส่วนเท้ามีลักษณะเป็นพังผืดและตีนกบยาวเพื่อให้ว่ายน้ำได้คล่องตัว รวมถึงมีขนปกคลุมเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยของพวกมันมีสภาพอากาศหนาวจัด

โดยปกติแล้ว "เพนกวินมาเจลลัน" จะออกไข่เฉลี่ยเพียงครั้งละ 2 ฟอง ส่วนอาหารหลักของพวกมันก็คือปลาขนาดเล็ก เช่น ปลากะตัก ปลาซาร์ดีน เป็นต้น และเมื่อฤดูผสมพันธุ์สิ้นสุดลง พวกมันก็จะว่ายน้ำอพยพขึ้นไปทางเหนือในช่วงฤดูหนาว

ปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเพนกวินมาเจลลันก็คือ พวกมันถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์เพนกวินที่เผชิญภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อการอยู่รอด เช่น มลพิษน้ำมันตกค้างเรื้อรังในทะเล ซึ่งรายงานจากบัญชีแดงของ IUCN ประเมินไว้ว่ามีเพนกวินมาเจลลันตายจากมลพิษน้ำมันไปแล้วถึง 20,000 ตัว นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากอุตสาหกรรมการประมงขนาดใหญ่ และปัญหาใหญ่ที่สุดก็คือ "การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ" เพราะนอกจากจะส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของพวกมันเสียหายจากการโดนน้ำท่วมแล้ว ยังทำให้พวกมันไม่มีอาหารกินด้วย


"ภาวะโลกร้อน" หนึ่งในตัวแปรเพนกวินตายเกลื่อน?

จากปัญหาดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ส่วนหนึ่งอาจมาจาก "ภาวะโลกร้อน" ที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ "เพนกวิน" เกยตื้นตายพร้อมกันเป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลจาก The National News ระบุว่าเคยมีการนำเสนอข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมว่าเพนกวินมาเจลลันถือเป็นสัตว์ที่อยู่ในกลุ่ม ?ใกล้ถูกคุกคาม? ตั้งแต่ปี 2004 และตลอดช่วงเวลาเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพวกมันหลายร้อยตัวเกยตื้นตายอยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอเมริกาใต้

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ซากของ "เพนกวินมาเจลลัน" ถูกซัดมาอยู่บริเวณชายหาดเป็นจำนวนมาก เพราะก่อนหน้านี้เมื่อปี 2010 พบว่ามีเพนกวินประมาณ 500 กว่าตัว ตายอยู่บริเวณชายหาดของบราซิลเนื่องจากไม่มีอาหารกิน และหลังจากนั้นในปี 2012 ก็มีเพนกวินมาเจลลันถูกพบว่าอดตายอยู่ที่ชายหาดเดิมอีกประมาณ 700 ตัว ต่อมาในปี 2019 ก็พบว่ามีเพนกวินกว่า 300 ตัว ตายเพราะคลื่นความร้อน

แม้ว่าเหตุการณ์อันน่าเศร้าเกี่ยวกับการตายของเพนกวินมาเจลลันจะเกิดขึ้นมาตลอดหลายปี แต่สำหรับเหตุการณ์ล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมานั้น Carmen Leizagoyen (คาร์เมน เลซาโกเยน) เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอุรุกวัยระบุว่า ร่างกายของเพนกวินเหล่านั้นไม่มีไขมันสำรองหลงเหลืออยู่เลย และภายในท้องของพวกมันก็ว่างเปล่าคล้ายกับว่าอดอาหารมาเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์ยังพบว่าไขมันบนขนของเพนกวินก็หายไปด้วย ซึ่งไขมันดังกล่าว คือ ปัจจัยสำคัญที่ปกป้องพวกมันจากอากาศที่หนาวเย็น โดยเฉพาะในเพนกวินที่ยังมีอายุน้อย

การตายของเพนกวินมาเจลลันในครั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก เพราะพายุไซโคลนที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งอุรุกวัยได้พัดพาเอาอาหารของเหล่าเพนกวินไปที่อื่น ทำให้พวกมันต้องอดอาหารและอ่อนแอลงเรื่อยๆ จนอดตายไปในที่สุด

ไม่ใช่แค่เพียงเพนกวินเท่านั้น แต่ในบริเวณนั้นยังมีซากนกทะเล ซากเต่า และซากสิงโตทะเลที่ร่างกายไร้ซึ้งไขมันและอาหารในท้องรวมอยู่ด้วย ทำให้เชื่อได้ว่าท้องทะเลในปัจจุบันนี้อาจกำลังเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร

ปัจจัยสำคัญที่ Rescate de Fauna Marina (SOS) หรือ องค์กรสวัสดิภาพสัตว์มองว่าทำให้สัตว์ทะเลตายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มาจากการทำประมงขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำนอกชายฝั่ง รวมถึงอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดพายุอีกด้วย

แม้ว่าจะมีการตายของสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันกลับยังไม่มีการแก้ปัญหาและการรับมือที่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้สัตว์เหล่านี้ต้องอดอาหารจนตายและอาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ในอานคต แต่สิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายควรตระหนักก็คือผลกระทบจาก "ภาวะโลกร้อน" ที่เรียกได้ว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตร่วมโลกของเราค่อยๆ ทยอยหายไปเรื่อยๆ

อ้างอิงข้อมูล : The National News, National Geographic, Rescate de Fauna Marina (SOS) และ Sciencealert


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1082026

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:15


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger