เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-13 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ฝุ่นละออง ในระยะนี้ ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีกำลังอ่อนลง ทำให้มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มมากขึ้น ส่วนภาคเหนืออากาศยังยกตัวได้ไม่ดีในตอนเช้า และมีลมอ่อน ทำให้ตอนเช้ามีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควัน ตอนบ่ายจะดีขึ้นเนื่องจากอากาศยกตัวได้ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 - 8 ก.พ. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-15 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ สำหรับบริเวณอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตรตลอดช่วง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 - 8 ก.พ. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับชาวเรือตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


เตือนปูมีพิษ กินไม่ได้

31 ม.ค.-หนุ่มโพสต์ เจอปูสีสันสดใส หน้าตาน่ากิน ก่อนมารู้ความจริง ต้องรีบเข้าโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน



จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Oat Green Oat โพสต์ภาพปูตัวหนึ่งลงในกลุ่มบ้านฉาง@ระยอง ด้วยข้อความว่า "ปู ไรครับเนี่ย กินได้ไหม ใครพอรู้บ้าง" ซึ่งได้กลายเป็นที่สนใจของชาวเน็ต จากนั้นผู้โพสต์ได้เล่าเรื่องราวลงในคอมเมนต์ เผยว่าได้นำปูตัวดังกล่าวไปต้มจนสุก และหลังจากนั้นก็ได้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้หมอตรวจสุขภาพอย่างเร่งด่วน

ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์ให้ความรู้ว่า ปูสวยๆ ตัวนี้มีชื่อว่า Mosaic reef crab หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lophozozymus pictor อยู่ในวงศ์ Xanthidae (พวกปูใบ้) โดยมักพบตามแนวปะการัง ใกล้ชายฝั่ง ขนาดตัวประมาณ 8-10 เซนติเมตร มักมีสีแดงถึงส้ม พร้อมลวดลายจุดสีขาวคล้ายกระเบื้องโมเสกบนกระดอง มีก้ามสั้นที่มีปลายสีดำ ปัจจุบันถือว่าเป็นปูชนิดที่หาได้ค่อนข้างยาก

ปกติเวลาเราคิดถึงสัตว์ทะเลที่มีพิษ ก็มักจะคิดถึงปลาปักเป้า หรือแมงดาไฟ กัน แต่ก็มีปูอยู่หลายชนิดที่มีพิษสะสมในตัว และทำให้ถึงแก่ความตายได้ถ้ากินเข้าไป



ปูพิษที่ว่านั้น มักจะเป็นปูในวงศ์ปูใบ้ เช่น ปูใบ้แดง (Artergatis intergerrimus) ปูใบ้ลาย (Lophozozymus pictor) ปูตาเกียง (Eriphia smithi) ปูใบ้ตาแดง (Eriphia sebana) เป็นต้น ... ขณะที่ปูใบ้อีกหลายชนิด ก็สามารถนำมากินได้โดยไม่มีพิษ (จึงทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ ถ้าเลือกกินผิดชนิด)

ปูใบ้ชนิดที่มีพิษนั้น มีทั้งพิษที่เกิดจากสารกลุ่มนิวโรท็อกซิน ที่ทำลายประสาท เช่น สาร ซาซิทอกซิน (saxitoxin) โดยปูใบ้ได้กินแพลงค์ตอนพิษกลุ่มไดโนแฟลกเจเลทเข้าไป และสะสมพิษเหล่านี้ไว้ในตัว รวมทั้งมีพิษกลุ่มเตโตรโดท็อกซิน ชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า โดยอาจจะสร้างจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปูใบ้



สารพิษพวกนี้ ส่วนใหญ่จะทนความร้อนสูง ดังนั้น ถึงนำไปประกอบอาหารด้วยการนึ่ง อบ หรือปิ้งย่าง ก็ไม่สามารถทำลายพิษลงได้ ถ้าได้รับเข้าไป อาจจะเกิดอาการบวมที่ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ และใบหน้า ถ่ายท้อง ปวดท้อง และช็อค รวมถึงเป็นอัมพาต และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น แม้แต่อาหารที่ดูธรรมดาๆ มาก อย่าง "ปู" ก็ต้องเลือกกินให้ถูกต้อง ไม่เอาชนิดที่มีพิษมากิน.




https://www.mcot.net/viewtna/5e341344e3f8e40af541a233

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 03-02-2020 เมื่อ 05:57
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 03-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ร้อนสุดๆ ฉุดไม่อยู่ เมื่อปี 2562 ทุบสถิติร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก (อีกครั้ง) ................ โดย Supang Chatuchinda


ชาวบ้านถือร่มจับจ่ายวัตถุดิบและอาหารในตลาดนัมแดมุน โดยถือร่มเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัดจากอุณหภูมิที่ร้อนทุบสถิติในเกาหลีใต้ ? Soojung Do / Greenpeace

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้วบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้น ความจริงก็คือ เราเพิ่งจะผ่านปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดครั้งที่ 2 เท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ โดยอ้างอิงข้อมูลจากสถาบันวิจัยด้านสภาพภูมิอากาศ Copernicus Climate Change Service ขององค์กร the European Union?s flagship climate monitoring organization ซึ่งแม้ว่าในปี 2559 จะยังคงเป็นปีที่ร้อนที่สุดอันดับ 1 แต่ก็มีความแตกต่างเพียงเล็กน้องจากปี 2562 เท่านั้น ซึ่งอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นนี้กำลังส่งผลกระทบต่อเราอย่างมหาศาล


เนื้อหาย่อๆ

- "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว" หรือ Extreme Weather Event มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น

- คณะกรรมการ ระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) คาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิต

- สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปมากกว่านี้

- การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ การลดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณ์นมเชิงอุตสาหกรรม และการปกป้องผืนป่าเพื่อดูดซับคาร์บอน จะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้เราชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้

อุณหภูมิโลกยิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis)
"สภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว" หรือ Extreme Weather Event ฟังแล้วเราอาจจะไม่คุ้นหูมากนัก คำนี้เกิดขึ้นใหม่เพื่อแสดงให้เห็นถึงภัยทางธรรมชาติที่ส่งผลรุนแรงและบ่อยขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ภัยแล้ง พายุฝน เหล่านี้มีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์เป็นผู้ก่อขึ้น ประโยคนี้เป็นใจความของรายงานในการประชุมของสหภาพธรณีวิทยาอเมริกา (the American Geophysical Union) ในซานฟรานซิสโก

ยกตัวอย่างเช่น ภัยแล้งและพายุฝนที่ดูเป็นภัยที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่กลับมีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้นจากกิจกรรมการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์ ก็ทำให้น้ำมีแนวโน้มที่น้ำจะระเหยไปในอากาศมากขึ้น จึงเกิดฝนบ่อยขึ้นนั่นเอง

อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังทำให้ภัยแล้งรุนแรงมากกว่าเดิม โดยข้อมูลจาก Center for Climate and Energy Solutions (CCES.) ระบุว่าเมื่อน้ำระเหยขึ้นไปในอากาศในปริมาณที่มากขึ้นก็เป็นสาเหตุที่น้ำในดินหายไปและทำให้เกิดความแห้งแล้ง นอกจากนี้ อุณหภูมิที่สูงขึ้นยังเชื่อมโยงไปถึงการเกิดไฟป่าที่บ่อยขึ้น และแม้ว่าไฟป่าจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรากฎการณ์นี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลายๆภูมิภาคเกิดความแห้งแล้ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าซึ่งส่งผลกระทบต่อสัตว์ป่าและมนุษย์


อาสาสมัครนักดับเพลิงช่วยเหลือพอสซัม (possum) จากไฟป่าในออสเตรเลีย โดยไฟป่าครั้งหญ่ในออสเตรเลียนี้ได้ทำลายพื้นที่ป่ากว่า 11 ล้านเฮกตาร์ คร่าชีวิตคนกว่า 29 คน และสัตว์ป่าอีกจำนวนมาก ? Kiran Ridley / Greenpeace

ถัดจากความแห้งแล้ง การละลายของน้ำแข็งเนื่องจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นก็ทำให้โลกของเราแปรปรวนไม่น้อย เพราะจากการสันนิษฐานของสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ของ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(IPCC) คาดว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา เกิดการละลายของน้ำแข็งในทวีปกรีนแลนด์ครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้ง คุกคามอีกหลายพันล้านชีวิตและมีส่วนเร่งเร้าวิกฤตสภาพภูมิอากาศ


วิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) จะทำให้มนุษย์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้น

ในปีที่ผ่านมานี้ หลายเมืองในหลากทวีปต่างต้องเจอกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น ร้อนขึ้น และเผชิญภัยพิบัติมากขึ้น ปี 2562 เป็นปีที่ปรากฎการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วเกิดขึ้นทั่วโลกอยู่บ่อยครั้ง เรียกว่าเกิดขึ้นเกือบทุกวัน ตั้งแต่คลื่นความร้อนในยุโรป เหตุการณ์ที่จีน อินเดีย ประสบกับพายุฝนอย่างรุนแรงจนน้ำท่วม ซึ่งทำให้ผู้คนสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งเหตุการณ์ที่หิมะบนเทือกเขาแอลป์ละลายกลายเป็นทะเลสาบ และพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วและรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา

ในทวีปยุโรป มีเมืองถึง 6 เมืองที่เจอกับคลื่นความร้อนเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ? กรกฎาคม ได้แก่เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอมนี สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์ รวมไปถึงลักแซมเบิร์ก ความร้อนที่สูงขึ้นเช่นนี้กลายเป็นสิ่งท้าทายให้กับหลายเมืองใหญ่ในการจัดการเมืองเพื่อให้ประชากรมีชีวิตอยู่ได้ ด้วยอุณหภูมิที่สูงถึง 45.9 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูร้อน มีส่วนคร่าชีวิตประชากรในฝรั่งเศสไปกว่าพันคน

ขณะที่สำนักอุตุนิยมวิทยาในออสเตรเลียได้ออกประกาศว่า ด้วยอุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.52 เซลเซียส ทำให้ในปี 2019 เป็นปีที่ออสเตรเลียร้อนที่สุดและต้องเผชิญกับภัยแล้ง และด้วยภัยแล้งที่ประเทศเผชิญอยู่ก็มีส่วนทำให้เกิดไฟป่าในออสเตรเลีย ซึ่งขณะนี้ออสเตรเลียก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แน่นอนว่าเราไม่ได้เจอกับคลื่นความร้อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ภัยพิบัติเช่นไต้ฝุ่น ก็มีส่วนมาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศเช่นกัน หลายๆคนน่าจะยังจำกันได้เกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ ไต้ฝุ่นฮากิบิส ที่พัดเข้าถล่มญี่ปุ่นคร่าชีวิตประชากร 79 คน และสร้างความเสียหายในญี่ปุ่นราว 27,300 ล้านบาท


ภาพซากปรักหักพังของบ้านเรือนในจังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น หลังไต้ฝุ่นฮากิบิสพัดเข้าถล่ม หลังจากไต้ฝุ่นพัดผ่านไปทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายและผู้สูญหายจำนวนหนึ่ง ไต้ฝุ่นฮากิบิสถือเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วที่สุดในทศวรรษนี้ (ภาพโดย Carl Court/Getty Images) ? Carl Court / Getty Images

การชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก คือทางออกที่ต้นเหตุ

หากเรายังคงนิ่งเฉยและปล่อยให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆด้วยการไม่จำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง เราจะต้องพบเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆและอาจทำให้มนุษย์เราอาศัยอยู่บนโลกนี้ได้อย่างยากลำบากกว่าเดิม ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ก็คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นไปมากกว่านี้

กิจกรรมของมนุษย์ทั้งจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการทำปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรม เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและในที่สุดนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์


เราจะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากทางไหนได้บ้าง

แน่นอน เพื่อชะลอไม่ให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงไปยิ่งกว่านี้ เราจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส สามารถทำได้ด้วยการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยรายงานของ IPCC ระบุว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องลดใช้ถ่านหินจาก 2 ใน 3 ภายในปี พ.ศ.2573 และต้องลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ.2593 โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่ชาญฉลาดขึ้น นั่นคือการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำในภาคการขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมและเมือง


(มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 03-02-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


ร้อนสุดๆ ฉุดไม่อยู่ เมื่อปี 2562 ทุบสถิติร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก (อีกครั้ง) ...... ต่อ


โรงพยาบาลแสงอาทิตย์แก่งคอย เป็นโรงพยาบาลรัฐที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์จากการระดมทุนของประชาชนแห่งแรกที่เปิดตัวในประเทศไทย ? Greenpeace / Arnaud Vittet

นอกจากการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว การลดบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจากการปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมก็ยังเป็นการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเพียงอย่างเดียวได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกพอ ๆ กันกับภาคการคมนาคมขนส่ง ระบบอาหารแบบนี้บังคับให้เราเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่อทำการเกษตร และยังเป็นระบบที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 1 ใน 4 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งหมด หากเรายังนิ่งเฉยกับประเด็นนี้ ในปี พ.ศ. 2593 ระบบอาหารนี้จะปล่อยก๊าซจำนวนมากเป็นสัดส่วนเกินครึ่งของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ถูกปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์

และในอีกด้านหนึ่ง เราจำเป็นจะต้องปกป้องผืนป่าโดยมุ่งลดการทำลายป่าไม้ให้เป็นศูนย์ ? ป่าไม้และที่ดินมีบทบาทสำคัญต่อเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการดูแลผืนป่าที่มีอยู่และการอนุรักษ์ดินเพื่อขยายศักยภาพในการกักเก็บและดูดซับคาร์บอน


https://www.greenpeace.org/thailand/...est-year-2019/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:13


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger