เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 10 มกราคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณพื้นราบของประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ม.ค. 63 ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า

ส่วนในช่วงวันที่ 12 - 15 ม.ค. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในทางตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนน้อย ในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด ตลอดช่วง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ม.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


เผยการเชื่อมโยงเหยื่อและไมโครพลาสติก



ปัจจุบันไมโครพลาสติก (micro-plastics) กำลังแพร่กระจายอยู่ในสิ่งแวดล้อม หนึ่งในปัญหาใหญ่ มลพิษเหล่านี้ถ่ายโอนผ่านทางเหยื่ออาหารของสัตว์ในธรรมชาติ ทำให้มีโอกาสถ่ายเทจากสัตว์น้ำมาสู่สัตว์บก ในที่สุดมนุษย์ก็อาจบริโภคเข้าร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งแก้ไข มีนักวิจัยมากมายพยายามค้นหาเทคนิควิธีใหม่ๆมารับมือ

หนทางหนึ่งอาจเป็นตัวช่วยในการนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ก็คือการหาช่องทางตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างอาหารของนักล่าชั้นบนสุดของห่วงโซ่อาหาร และปริมาณของไมโครพลาสติกที่พวกมันบริโภคผ่านเหยื่อ เมื่อเร็วๆนี้ มีการศึกษาใหม่จากนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยอเบอร์เทย์ ในสกอตแลนด์ ที่ร่วมมือกับห้องปฏิบัติการทางทะเลพลีมัธ, มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ และห้องปฏิบัติการวิจัยกรีนพีซ เผยว่าได้พัฒนาวิธีการที่ไม่รุกรานสัตว์และธรรมชาติมาวิเคราะห์วงศ์แมวน้ำเทา และมูลแมวน้ำที่บ่งชี้ชนิดของเหยื่อที่กินเข้าไป รวมถึงการปรากฏตัวของไมโครพลาสติก

นักวิจัยเผยว่า จะประเมินปริมาณไมโครพลาสติก จากนั้นก็บันทึกลักษณะรูปร่างและสี เพื่อที่จะเข้าใจถึงแหล่งที่มาของไมโครพลาสติก มองหาความเชื่อมโยงของระดับไมโครพลาสติกที่สัตว์นักล่าได้รับ ว่าเกี่ยวข้องกับชนิดของเหยื่อที่พวกมันกินหรือไม่ เทคนิคนี้ไม่เพียงใช้กับสัตว์นักล่าทางทะเลเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้กับสัตว์นักล่าในระบบนิเวศน้ำจืดหรือบนบกได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อทุกสภาพแวดล้อมบนโลก.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1743070

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


สกัด PM 2.5 พุ่ง-หิมะดำคลุมเมืองกำแพงเพชร ผู้ว่าฯ ขีดเส้นสิ้นเดือนนี้ต้องตัดอ้อยให้เกลี้ยงรัศมี 5 กม.

กำแพงเพชร - พ่อเมืองกล้วยไข่เรียกประชุมโรงงานฯ-ชาวไร่อ้อยซ้ำอีกรอบ สกัดฝุ่นควัน PM 2.5 พุ่งสูง-หิมะดำคลุมเมือง ขีดเส้นเร่งตัดอ้อยให้เกลี้ยงรัศมี 5 กม.จากลานโพธิ์ ที่เหลือต้องจัดคิวเผา สมาคมชาวไร่ฯจี้เร่งดันโรงไฟฟ้าชีวมวลรองรับลดเผาใบอ้อย



วันนี้ (9 ม.ค.) นายเชาวลิตร แสงอุทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประชุมร่วมกับตัวแทนโรงงานน้ำตาล, นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อย และนายสุวรรณ ศุภกิจเจริญ นายก อบต.สระแก้ว เจ้าของสระแก้วโมเดล พร้อมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางแก้ปัญหาลดการเผาใบอ้อย ลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5

ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรเปิดเผยว่า จังหวัดกำแพงเพชรประชุมมาตรการแก้ไขปัญหาหมอกควันฝุ่นละออง PM 2.5 เมื่อวันที่ 2 ม.ค. 63 ที่ผ่านมาแล้วครั้งหนึ่ง ได้ตั้งศูนย์ให้แต่ละอำเภอรับผิดชอบและขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนงดเผาวัชพืชทุกชนิด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมรถน้ำรถดับเพลิงทุกพื้นที่ จัดชุดเฝ้าระวังและตรวจตรา

โดยเฉพาะเขตอำเภอเมืองฯ กำหนดเขตพื้นที่สีแดง 5 กิโลเมตรจากลานโพธิ์ ต้องตัดอ้อยให้หมดในสิ้นเดือนนี้ ส่วนไร่อ้อยในรัศมี 10 กิโลเมตร ต้องจัดคิวขออนุญาตก่อนเผา ทำให้สถานการณ์การควบคุมมลพิษทางอากาศได้และการเผาไหม้วัชพืชเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด และยังคงจะควบคุมมาตรการนี้อย่างเข้มข้นต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง และสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร ที่มาช่วยกันดูแลปัญหานี้

และในการประชุมอีกครั้งวันนี้เป็นการกำชับมาตรการโดยมอบให้อุตสาหกรรมจังหวัดฯ ประสานกับโรงงานทั้ง 3 แห่งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรให้ปรับแผนการตัดอ้อยสด ซึ่งเดิมโรงงานก็ดำเนินการอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ชั้นในของเมืองเกินค่ามาตรฐาน จึงได้หาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่โซนสีแดงรัศมี 5 กิโลเมตร และโซนสีเหลืองรัศมี 10 กิโลเมตร โดยเร่งรัดและเพิ่มรถตัดอ้อยให้แล้วเสร็จก็จะสามารถลดปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ชั้นในตัวเมืองได้ภายในเดือนมกราคมนี้

นายมนตรี เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชรเปิดเผยถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไขลดการเผาใบอ้อยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ว่าสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมลดการเผาใบอ้อยอย่างต่อเนื่อง

ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยจัดซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ คือรถตัดอ้อย จนมีรถตัดอ้อยในกำแพงเพชรมากกว่า 350 คัน, ส่งเสริมให้เกษตรกรตัดอ้อยสดซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ และสามารถขายใบอ้อยได้ถ้ามีโรงงานรับซื้อ กระทั่งทำให้กำแพงเพชรมีอ้อยสดมากที่สุดในประเทศ คือมีอ้อยสดกว่า 50% อ้อยไฟไหม้ 40% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม แนวทางดังกล่าวก็ยังมีข้อจำกัด เพราะเกษตรกรรายย่อยไม่มีทุนมากพอที่จะซื้อเครื่องจักรหรือรถตัดอ้อย ซึ่งก็ต้องผลักดันให้มีการรวมแปลงกันแล้วบริหารจัดการการปลูกให้สามารถรองรับเครื่องจักรขนาดใหญ่คือรถตัดอ้อยได้ ส่วนเรื่องใบอ้อยที่ตกค้างอยู่ในไร่ เราก็พยายามที่จะให้ส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในกำแพงเพชรให้มากขึ้น เพื่อรับซื้อใบอ้อยจากชาวไร่

"ถ้าเราทำเรื่องเหล่านี้ได้ปัญหา PM 2.5 ก็จะลดลง ซึ่งวันนี้คณะกรรมการน้ำตาลทรายก็มีมติแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของสิ่งเหลือใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าชีวมวลให้เกิดขึ้นให้ได้"


https://mgronline.com/local/detail/9630000002632

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 10-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


วิจัยพบมนุษย์กินพลาสติกขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5กรัม/สัปดาห์ หรือเท่ากับขนาดของบัตรเครดิต 1ใบ



9ม.ค.63-WWF ร่วมกับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเปิดงานวิจัยล่าสุด ?No Plastic in Nature: Assessing Plastic Ingestion from Nature to People? ธรรมชาติต้องปราศจากพลาสติก: ค้นหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ พบมนุษย์อาจบริโภคพลาสติกขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็นปริมาณพลาสติกกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 21 กรัมต่อเดือน 250 กรัมต่อปี!

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลสำนักงานใหญ่ หรือ WWF International เปิดเผยว่า งานวิจัยฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ในออสเตรเลีย โดยถือเป็นงานประมวลผลข้อมูลเชิงวิชาการเป็นครั้งแรกของโลก ที่รวบรวมมาจากข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคไมโครพลาสติกในมนุษย์ทั้งสิ้นกว่า 50 ฉบับ การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดการศึกษาต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจ และค้นหาความจริง ถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อร่างกาย และสุขภาพของมนุษย์

นายมาร์โค แลมเบอตินี่ ผู้อำนวยการทั่วไป WWF International กล่าวว่าผลการวิจัยเป็นการเน้นย้ำให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่ทุกภาคส่วนจะต้องก้าวเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษของขยะพลาสติกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลของแต่ละประเทศที่เป็นผู้ควบคุมและออกกฎหมาย ก่อนที่วงจรห่วงโซ่อาหารของมนุษย์จะปนเปื้อนด้วยไมโครพลาสติกจนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะปัจจุบัน การปนเปื้อนของพลาสติก และไมโครพลาสติกในมหาสมุทร เกิดจากการทิ้งขยะที่สร้างขึ้นบนบกลงสู่ทะเล คิดเป็นปริมาณมากกว่า 8 พันล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการทิ้งขยะจากรถบรรทุกลงสู่ทะเล 1 คันในทุกๆ 1 นาที

"งานวิจัยฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดเชิงวิทยาศาสตร์ว่า เราไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้วที่จะลงมือปฏิบัติ ผมถือว่าเป็นการส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานภาครัฐของทุกประเทศ ให้ก้าวเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม มลพิษพลาสติกไม่ได้คุกคามเพียงแค่ระบบนิเวศทางทะเล สัตว์น้ำสายพันธุ์ต่างๆ เท่านั้น แต่ได้คืบคลานเข้ามาสู่วงจรห่วงโซ่อาหารของมนุษย์แล้ว เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรากำลังบริโภคพลาสติกแบบไม่รู้ตัวอยู่ทุกวัน" ผู้อำนวยการทั่วไป WWF International กล่าว

นางสาวพิมพ์พาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย หรือ WWF Thailand กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายพยายามหาทางแก้ไข ในส่วนของภาคประชาชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจต้องใช้เวลา ในส่วนของภาครัฐก็เป็นสัญญาณที่ดี ที่รัฐบาลมีความจริงจังในการทำงานอย่างต่อเนื่อง "ที่ผ่านมาเราได้เห็นว่าสัตว์บกและสัตว์น้ำมากมายต้องตายลงเพราะขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้กับระบบทางเดินอาหาร เพราะฉะนั้นการบริโภคพลาสติกเข้าไป แม้จะเป็นพลาสติกขนาดเล็กที่ปะปนมากับอาหาร หรือน้ำดื่ม ในระยะยาวไม่น่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ"

ทางด้านนางสาวดวงกมล วงศ์วรจรรย์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่องานอนุรักษ์ WWF ประเทศไทยกล่าวถึงการรณรงค์ภายใต้โครงการ Your Plastic Diet หรือ "กินอยู่ไม่รู้ตัว" ว่า กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้เกิดขึ้นบนข้อสรุปของงานวิจัย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังคมรับรู้ว่าพลาสติกสร้างผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆ ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยจนเกิดการสูญเสียชีวิต แต่ยังไม่มีใครเคยทำการศึกษาอย่างจริงจังว่า พลาสติกจะสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้มากเท่าใด

"นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2000 เป็นต้นมา เมื่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีเฟื่องฟู ทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นกว่าปริมาณที่เคยผลิตทั้งหมดในทศวรรษก่อนหลายเท่าตัว โดยอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4% ซึ่งกว่า 75% พลาสติกที่ผลิตออกมาเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคของมนุษย์กลายเป็นขยะ และ 1 ใน 3 ของขยะพลาสติกที่เกิดจากการใช้งานของมนุษย์รั่วไหลลงสู่มหาสมุทร กระบวนการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดการปนเปื้อนของพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกที่แตกตัวเป็นโมเลกุลขนาดเล็ก และปะปนเข้าสู่วรจรห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเล ซึ่งเมื่อมนุษย์บริโภคอาหารทะเล ไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ในที่สุด"

ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่องานอนุรักษ์ WWF ประเทศไทยระบุว่าการรณรงค์ในกิจกรรมกินอยู่ไม่รู้ตัว ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยดารานักแสดงหลายคนได้ร่วมกันถ่ายภาพขณะกำลังรับประทานผลิตภัณฑ์จากพลาสติก พร้อมลงข้อความประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนไทย ให้เกิดความเข้าใจว่า ปัญหาขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า ปริมาณพลาสติกที่อาจปนเปื้อนสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์นั้น เทียบเท่ากับการรับประทานบัตรเครดิต 1 ใบ ต่อสัปดาห์ ก็ทำให้เข้าใจง่าย และเกิดความตื่นตัวมากขึ้น

"พลาสติกมีอยู่ทุกที่ ในน้ำที่เราดื่ม ในอากาศที่เราหายใจ ในอาหารที่เรารับประทาน วันนี้นอกจากการที่เราจะลดการใช้ถุงพลาสติกตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว การสร้างขยะให้น้อยลงก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น"

ทั้งนี้ WWF ยังเปิดตัวเว็บไซต์ที่ประเมินปริมาณพลาสติกที่เราบริโภคเข้าไปในแต่ละวัน โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.yourplasticdiet.org และร่วมลงชื่อสนับสนุนโครงการ วันนี้มีผู้ลงชื่อร่วมกับ WWF แล้วทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคน


https://www.thaipost.net/main/detail/54184

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 10-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ช็อก! คนเสี่ยงกินพลาสติก 5 กรัมต่อสัปดาห์เทียบบัตรเครดิต

WWF จับมือออสเตรเลีย เปิดงานวิจัยครั้งแรกของโลก ที่พบว่ามนุษย์อาจบริโภคพลาสติกขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกาย 5 กรัมต่อสัปดาห์ หรือเทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็นปริมาณพลาสติกกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 21 กรัมต่อเดือน 250 กรัมต่อปี ชี้กิน อยู้ไมรู้ตัวจากการปนเปื้อน



วันนี้ (9 ม.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมกับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ในออสเตรเลีย เปิดงานวิจัย "No Plastic in Nature: Assessing Plastic Ingestion from Nature to People" ธรรมชาติต้องปราศจากพลาสติก ค้นหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์

"พบมนุษย์อาจบริโภคพลาสติกขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกายประมาณ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่า กับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็นปริมาณพลาสติกกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 21 กรัมต่อเดือน 250 กรัมต่อปี"

โดยงานวิจัยนี้ถือเป็นงานประมวลผลข้อมูลเชิงวิชาการเป็นครั้งแรกของโลก ที่รวบรวมมาจากข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคไมโครพลาสติกในมนุษย์ทั้งสิ้นกว่า 50 ฉบับเป็นครั้งแรกของโลก ที่รวบ รวมมาจากข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคไมโครพลาสติกในมนุษย์ทั้งสิ้นกว่า 50 ฉบับ การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดการศึกษาต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจ และค้นหาความจริง ถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อร่างกาย และสุขภาพของมนุษย์


ชี้พลาสติกปนเปื้อนเข้าห่วงโซ่อาหาร

นายมาร์โค แลมเบอตินี่ ผู้อำนวยการทั่วไป WWF International กล่าวว่า ผลการวิจัยชี้ให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วน ที่ทุกภาคส่วนจะต้องก้าวเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษของขยะพลาสติกอย่างจริงจัง โดยเฉพาะรัฐบาลของแต่ละประเทศ ที่เป็นผู้ควบคุม ออกกฎหมาย ก่อนที่วงจรห่วงโซ่อาหารของมนุษย์จะปนเปื้อนด้วยไมโครพลาสติก จนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ปัจจุบันการปนเปื้อนของพลาสติก และไมโครพลาสติกในมหาสมุทร เกิดจากการทิ้งขยะที่สร้างขึ้นบนบกลงสู่ทะเล คิดเป็นปริมาณมากกว่า 8,000 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับการทิ้งขยะจากรถบรรทุกลงสู่ทะเล 1 คันในทุกๆ 1 นาที

"งานวิจัยฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ว่าไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้วที่จะลงมือปฏิบัติ ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณไปยังหน่วยงานภาครัฐของทุกประเทศ ให้ก้าวเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม"


กินอยู่ไม่รู้ตัวพลาสติก 5 กรัมเทียบบัตรเครดิต 1 ใบ

ด้าน น.ส.พิมพ์พาวดี พหลโยธิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล กล่าวว่า ปัญหาขยะพลาสติก เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายพยายามหาทางแก้ไข ในส่วนของภาคประชาชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจต้องใช้เวลา ในส่วนของภาครัฐก็เป็นสัญญาณที่ดี ที่รัฐบาลมีความจริงจังในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

น.ส.ดวงกมล วงศ์วรจรรย์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาดเพื่องานอนุรักษ์ WWF ประเทศไทย กล่าวถึงการรณรงค์ภายใต้โครงการ Your Plastic Diet หรือกินอยู่ไม่รู้ตัวว่า กิจกรรมรณรงค์ครั้งนี้เกิดขึ้นบนข้อสรุปของงานวิจัย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สังคมรับรู้ว่าพลาสติกสร้างผลกระทบต่อสัตว์ต่างๆ ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยจนเกิดการสูญเสียชีวิต แต่ยังไม่มีใครเคยทำการศึกษาอย่างจริงจังว่า พลาสติกจะสร้างผลกระทบให้กับมนุษย์ได้มากเท่าใด

ทั้งนี้ WWF รณรงค์ในกิจกรรมกินอยู่ไม่รู้ตัว เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนไทย ให้เกิดความเข้าใจว่า ปัญหาขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า ปริมาณพลาสติกที่อาจปนเปื้อนสู่ระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ เทียบเท่ากับการบัตรเครดิต 1 ใบ โดย WWF ยังเปิดตัวเว็บไซต์ที่ประเมินปริมาณพลาสติกที่เราบริโภคเข้าไปในแต่ละวัน โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.yourplasticdiet.org และร่วมลงชื่อสนับสนุนโครงการ วันนี้มีผู้ลงชื่อร่วมกับ WWF แล้วทั่วโลกมากกว่า 1.5 ล้านคน


https://news.thaipbs.or.th/content/287817

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:07


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger