เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 11-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


น้ำแข็งอาร์กติกละลายแล้วกว่าหมื่น ตร.กม.


ผลสำรวจชี้ น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกที่ติดกับแคนาดาละลายไปกว่าหมื่นตารางกิโลเมตร จากสภาวะโลกร้อน

น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกที่ติดกับแคนาดา ได้ละลายไปหลายหมื่นตารางกิโลเมตร เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ต้องสังเกตการณ์ผ่านดาวเดียวถึงความเปลี่ยนแปลง และคาดว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือ

อาจเหลือน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้นายเอ็ดดี้ กรูเบน วัย 89 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านสังเกตการณ์ สังเกตเห็นการถอยร่นของน้ำแข็งช่วงฤดูร้อนมากขึ้นในแต่ละทศวรรษเนื่องจากโลกร้อนขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนก็เนื่องมาจากน้ำมือของมนุษย์นั้นเอง



จาก : สำนักข่าว inn วันที่ 11 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


โลกร้อน : วินิจ รังผึ้ง



การระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยและการท่องเที่ยวของ โลกอย่างหนัก ด้วยเพราะเชื้อไวรัส เอ เอช1 เอ็น1 มีการแพร่ระบาดออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และอาจจะมากกว่านั้นกว้างขวางกว่านั้น เพราะบางประเทศที่ไม่มีมาตรฐานด้านการสาธารณสุขก็จะไม่มีการรายงาน ไม่มีการจดบันทึก หรือตัวเลขรายงานการระบาดจากทุกประเทศทั่วโลกในขณะนี้ก็อาจจะต่ำกว่าความ เป็นจริงไปมาก

ด้วยนักวิชาการสาธารณสุขก็ยังคาดว่าจะเป็นเพียงครึ่งของการระบาดจริง เท่านั้น เพราะคนที่เป็นหรือได้รับเชื้อแล้วรักษาเองโดยไม่ไปตรวจรักษาตามสถานพยาบาล ก็มีอยู่อีกมากมาย เจ้าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้จึงสามารถสร้างความตื่นตระหนกและหวาดวิตกกันไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนไม่อยากจะเดินทางท่องเที่ยวไปไหนไกลบ้าน เพราะกลัวจะติดหวัดหรือหวั่นเกรงในความไม่สะดวกต่างๆในการเดินทางไกล จึงทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมีปริมาณลดลงไปด้วย

ความจริงในแวดวงนักวิชาการสาธารณสุขและนักระบาดวิทยาของไทยนั้น ก็ได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้ามาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และ ไวรัสสายพันธุ์อื่นๆจะมีการกรายพันธุ์และพัฒนาตัวเองรวมทั้งมีการแพร่ระบาด จนยากที่จะควบคุม เพราะสาเหตุใหญ่ที่มาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อมที่ เป็นตัวเอื้ออำนวยให้ไวรัสและเชื้อโรคชนิดอื่นๆแพร่กระจายขยายตัวได้มากมาย ยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะทำให้โรคเขตร้อนต่างๆมีการแพร่ระบาดรุนแรงยิ่งขึ้นและยังมีการขยาย ตัวออกไปในวงกว้างโดยเฉพาะการแพร่ระบาดเข้าไปยังเขตหนาวที่ปัจจุบันก็มี อุณหภูมิแปรปรวนและสูงขึ้น ทำให้โรคบางชนิดที่ไม่เคยมีก็เกิดมีขึ้นได้

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ มีการขยายตัวขึ้นเป็นทวีคูณจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อม ก็คือ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยของเรามีปริมาณฝนตกลงมามากกว่าปรกติ คือตกมาตลอดตั้งแต่ฤดูร้อนต่อเนื่องเข้ามาสู่ฤดูฝน และช่วงวันที่ฝนไม่ตกอากาศก็มักจะร้อนจัด ทำให้อากาศมีสภาพร้อนชื้นอย่างมาก จนส่งผลให้พืชพันธุ์เจริญเติบโต พืชผลทางการเกษตรติดดอกออกผลกันดกดื่นเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลำไย ออกผลเต็มต้นกันจนราคาตกต่ำติดดินจนต้องมีการปิดถนนประท้วงกันไปมากมาย

ซึ่งนั่นเป็นผลิตผลและการขยายตัวแพร่พันธุ์ของพืชขนาดใหญ่ๆ เชื้อไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่ออุณหภูมิของโลกและสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวเผยแพร่เผ่า พันธุ์ มันก็เลยออกลูกออกหลานแพร่ระบาดกันจนเต็มบ้านเต็มเมือง และเมื่อโลกมนุษย์ทุกวันนี้เป็นเสมือนยุคที่โลกไร้พรมแดน การเดินทางไปมาหาสู่กันทำได้รวดเร็วสะดวกสบายในทุกมุมโลก เชื้อโรคก็ถือโอกาสทำตัวเป็นผู้โดยสารติดตามผู้คนไปทุกหนทุกแห่ง การควบคุมโรคระบาดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก



ดูเหมือนภาวะโลกร้อนจะเป็นสาเหตุให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและเกิด โรคระบาดที่ร้ายแรงขึ้นทุกที หากถ้าเราไม่ช่วยกันหยุดยั้งหรือชะลอภาวะโลกร้อนกันตั้งแต่วันนี้ ห้วงเวลาที่เหลือก็จะเป็นห้วงเวลาที่มนุษย์จะอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างลำบาก ยากแค้นแสนสาหัส ความจริงแล้วสาเหตุใหญ่ของภาวะโลกร้อนนั้นก็เกิดขึ้นจากมนุษย์ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกขึ้นไปสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากฟอสซิลทั้งหลายเช่นน้ำมัน ถ่านหิน และเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดพลังงาน เกิดความร้อน และเกิดก๊าซเรือนกระจก

ซึ่งเราท่านทุกคนต่างก็มีส่วนด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะทางตรงหรือทาง อ้อม ทางตรงก็เช่นการขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแล้วปล่อยไอเสียออกมา ทางอ้อมก็เช่นการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่นอกจากจะก่อให้เกิดความร้อนแล้ว การผลิตไฟฟ้าก็ต้องใช้น้ำมัน ใช้ถ่านหิน ใช้พื้นที่ป่ามาสร้างเขื่อนเป็นต้น นอกจากนี้การใช้สินค้าทุกชนิดในชีวิตประจำวัน ซึ่งสินค้าเหล่านั้นต้องใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงาน ผ่านกระบวนการขนส่ง ซึ่งล้วนมีส่วนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกด้วยกันทั้งสิ้น

ความจริงเจ้าปรากฏการณ์เรือนกระจกนั้นมิใช่จะเป็นสิ่งเลวร้ายด้าน เดียว แต่กลับมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างสูงยิ่งหากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น ในภาวะที่สมดุล เพราะปรากฏการณ์เรือนกระจกนั้นมีส่วนช่วยให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิที่อบอุ่น เพราะก๊าซเรือนกระจกเช่นก๊าซคาบอนไดออกไซด์ และไอน้ำที่อยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น ทำหน้าที่เป็นเสมือนแผ่นกระจกในเรือนกระจกที่ชาวเมืองหนาวใช้เป็นโรงเรือน สำหรับปลูกพืช ซึ่งแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลกส่วนใหญ่จะสะท้อนกลับไป แต่จะมีความร้อนและรังสีบางส่วนที่เมื่อสะท้อนจากพื้นโลกกลับขึ้นไปก็จะ สะท้อนก๊าซเรือนกระจกกลับลงมายังผิวโลกอีก

นั่นจึงทำให้โลกใบนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งหากไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจกเช่นนี้ โลกก็จะมีอุณหภูมิหนาวเย็นถึงติดลบ 20 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นโลกจะมีสภาพเหมือนยุคน้ำแข็ง มนุษย์ สัตว์ และพืชก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน

แต่ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่รักษาสมดุลให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกอยู่ในภาวะแห่งความพอดี โดยเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในบรรยากาศอย่างมากมายอยู่ทุกเมื่อเชื่อ วัน ปริมาณความร้อนและรังสีที่ถูกกักขังไว้ในเรือนกระจกที่หนาแน่นขึ้นก็จะเพาะ บ่มให้โลกร้อนขึ้นๆ จนเป็นผลให้เกิดความแปรปรวนของฤดูกาลและสภาพดินฟ้าอากาศ จนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น น้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว แผ่นดินไหว ไฟป่า คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง พายุเฮอริเคน พายุใต้ฝุ่นที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ ดินถล่ม ระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้น ชายฝั่งถูกกัดเซาะ รวมทั้งโรคระบาดในเขตร้อนจะแพร่ระบาดทวีความรุนแรงขึ้นและขยายพื้นที่การ ระบาดไปทั่วโลก

ธรรมชาติสร้างสมดุลไว้บนผืนโลกจนเกิดพืช สัตว์และมนุษย์ขึ้นมาอาศัยอยู่บนผืนโลกอย่างมีความสุข หากเราทำลายความสมดุลให้สูญสิ้นไปแล้วเราจะอยู่อย่างไรบนโลกใบนี้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อดูแลรักษาโลกของเราวันนี้คงยังไม่สาย ด้วยการร่วมใจกันประหยัดพลังงาน ใช้ทรัพยากรของโลกอย่างประหยัดและคุ้มค่า เพียงเท่านี้เราก็จะมีส่วนดูแลรักษาโลกใบนี้ร่วมกัน



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 07-09-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


โลกร้อนส่งผล 100 ปี ระดับน้ำทะเลพุ่ง 1 ม.



องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดังของโลก ประเมินว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงกว่า 1 เมตร ในราว 100 ปีข้างหน้า

กองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ "ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ" (WWF) ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2643 หรือเกือบ 100 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นถึง 1.2 เมตร ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่สหประชาชาติคาดการณ์เอาไว้ที่ 59 เซนติเมตรถึง 1 เท่าตัว

"ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลก ทั้งขั้วโลกเหนือและใต้ละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชา กรถึง 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก ดังนั้นเราจึงตัดสินใจแจ้งเตือนเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะมีการประชุมแก้ปัญหา โลกร้อนที่ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคม 2552" รายงานกองทุนสัตว์ป่าโลก ระบุ



จาก : ข่าวสด วันที่ 7 กันยายน 2552

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 27-03-2017
moon1245
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายน้ำ.
  #5  
เก่า 16-12-2009
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

วันนี้ฟังจากข่าวตอนเช้า เค้าบอกว่าภาวะโลกร้อนมีผลต่อสัตว์หลายๆชนิด ..
หมีขั้วโลก ..
เพนกวินจักรพรรดิ ..
ปลาการ์ตูนที่อาจสูญเสียประสาทการรับกลิ่น จนอาจตกเป็นเหยื่อของนักล่าตามธรรมชาติได้ง่ายขึ้น ..
รวมถึงโคอาล่าที่กินอาหารได้น้อยลงจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นด้วย ..


ภาวะโลกร้อนใกล้ตัวกว่าที่คิดจริงๆ ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 18-12-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


ที่ประชุมโลกร้อนเตือน ระวังทะเลจะกลายเป็นกรด



อังกฤษจะได้เตือนที่ประชุมสุดยอดโลกร้อนให้ระวังว่า ทะเลจะกลายเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อบรรดาสัตว์น้ำทั้งหลาย ตั้งแต่กุ้ง หอย ปูปลาไปจนถึงปะการัง..

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. อังกฤษจะได้เตือนที่ประชุมสุดยอดโลกร้อนให้ระวังว่า ทะเลจะกลายเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายต่อบรรดาสัตว์น้ำทั้งหลาย ตั้งแต่กุ้ง หอย ปูปลาไปจนถึงปะการัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอังกฤษ กล่าวว่า เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า การที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศละลายในทะเล จะเป็นเหตุให้สภาพทางเคมีของน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปรไป การมีปริมาณของก๊าซในอากาศเพิ่มขึ้น จะยิ่งทำให้น้ำกลายเป็นกรดมากยิ่งขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญบางคน เห็นด้วยว่า มันจะก่อให้เกิดผลขึ้นได้ ไม่แพ้กับการปล่อยให้ระดับของก๊าซนั้นสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้สภาพดินฟ้าอากาศแปรเปลี่ยนไป แต่กลับไม่ค่อยมีการพูดถึงเรื่องทะเลจะกลายเป็นกรด ในที่ประชุมสภาพดินฟ้าอากาศของสหประชาชาติ "ผู้คนมักไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ทั้งที่มันเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ" เขากล่าว.



จาก : ไทยรัฐ วันที่ 18 ธันวาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 18-12-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


โลกร้อนกับปัญหามาบตาพุด

ณ เวลานี้ผู้นำประเทศต่างๆทั่วโลกได้เข้าร่วมประชุมสุดยอดว่าด้วย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกที่ กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เพื่อที่จะได้บรรลุข้อตกลงในการแก้ปัญหาโลกร้อนที่ทั่วภูมิภาคของโลกต่างประสบปัญหาในเรื่องวิกฤติโลกร้อน ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยก็ได้เดินทางไปร่วมประชุมกับผู้นำโลกชาติอื่นๆด้วยเช่นกัน ถ้าผู้นำของโลกสามารถตกลงกันในที่ประชุมในการลดโลกร้อนได้ไปในทิศทางเดียวกันก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะจะทำให้การแก้ไขวิกฤติโลกร้อนบรรลุผลสำเร็จเพื่ออนาคตโลกและมวลมนุษยชาติ

อย่างไรก็ดี หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับมาจากการประชุมลดโลกร้อนที่ประเทศเดนมาร์กแล้ว ปัญหาโลกร้อนในประเทศไทยที่กระทบถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศตามภูมิภาคต่างๆ คงจะมีแนวทางที่แก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ประเทศไทยและโลกรอดพ้นจากภาวะโลกร้อนที่เป็นประเด็นใหญ่ของโลกใน ปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะประเทศไทยนั้นจะมีผลกระทบถึงเศรษฐกิจ การลงทุน และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยส่วนรวม ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังให้ตรงจุดของวิกฤติที่เกิดขึ้น

ภาวะโลกร้อนอย่างหนึ่งที่ไทยมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ ก็คือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ที่ศาลปกครองสูงสุดได้สั่งระงับโครงการการลงทุนที่มาบตาพุด 65 โครงการเป็นการชั่วคราว อันเนื่องมาจากเป็นโครงการที่จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ผลการระงับดังกล่าวได้มีการตอกย้ำถึงเรื่องความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจที่จะหดตัวลงในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ซึ่งรัฐบาลก็เตรียมแนวทางในการแก้ไขให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาในวันอังคารหน้านี้ ก็หวังว่าวิธีการดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นประเทศไทยกลับคืนมา

เหตุของวิกฤติมาบตาพุดครั้งนี้ก็เพราะละเลยต่อ ปัญหาโลกร้อน ก็ย่อมส่งผลกระทบถึงโครงการต่างๆในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เมื่อเกิดปัญหาแล้วนักลงทุนก็ต้องเป็นห่วงที่ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวมที่จะตามมาในอนาคตก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง กลุ่มเอ็นจีโอที่ห่วงเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่จะกัดกร่อนชีวิตของประชาชนในพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องเช่นกัน แต่ทุกฝ่ายไม่ควรที่จะสร้างกระแสให้สุดโต่งจนเกินไป ควรต้องร่วมมือกันหาทางออกที่ให้เกิดความพอดีของแต่ละฝ่าย ปัญหามลพิษจากโลกร้อนและเศรษฐกิจของชาติก็จะเดินหน้าแก้ไขไปได้ด้วยดี.



จาก : เดลินิวส์ วันที่ 18 ธันวาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 19-12-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


ชะตากรรม "โลก" ผลกรรม “เรา” ในวันที่ร้อนจนเกินเยียวยา


นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมประชุม UNFCCC ที่กรุงโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก แสดงให้เห็นว่าถ้ายังไม่ลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง อุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกในปี 2100 จะเพิ่มขึ้น 2 (สีเหลือง) - 4 องศาเซลเซียส (สีส้ม) ในสิ้นศตวรรษนี้แน่นอน (AFP)

หากอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกสูงขึ้นจนผิดวิสัย มหันตภัยหลากหลายรูปแบบจะถาโถมเข้ามาสู่ดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงนี้ และสิ่งมีชีวิตที่เคยอาศัยอยู่ได้อย่างปกติสุข อาจต้องเผชิญกับความทุกข์ยากจนสุดจะทนทานไหว บางเผ่าพันธุ์อาจถูกกวาดล้างจนสิ้นซากไปพร้อมกับสิ้นศตวรรษนี้

นี่ไม่ใช่แค่ฉากหนึ่งในภาพยนตร์เกี่ยวกับมหันตภัยล้างโลกที่ทำรายได้ มหาศาล แต่เป็นหนึ่งในหลายฉากที่มนุษย์อย่างพวกเราอาจได้เผชิญด้วยตัวเอง ดั่งที่ปรากฏในรายงานฉบับที่ 4 (Fourth Assessment Report) ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ “ไอพีซีซี” (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 2007

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในรายงานฉบับดังกล่าว เผยให้เห็นถึงมหันตภัยรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับโลกใบนี้ภายในศตวรรษนี้ หากอุณหภูมิเฉลี่ยบนพื้นผิวโลกเพิ่มสูงขึ้นอีกราว 1.8-4 องศาเซลเซียส


จีน แม้จะเป็นประเทศกำลังพัฒนา แต่มาแรงแซงโค้งประเทศอุตสาหกรรมในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก (AFP)

เอเชียเผชิญอุทกภัยทั่ว พืชพันธุ์ถูกทำลาย โรคร้ายระบาด

ประชากรในทวีปเอเชียราว 120-1,200 ล้านคน จะต้องเผชิญกับอุทกภัยที่เพิ่มมากขึ้นภายในปี 2020 และอีกราว 185-981 ล้านคน ที่ต้องประสบชะตากรรมแบบเดียวกันภายในปี 2050 พร้อมกับผลผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารในบางพื้นที่ของเอเชียใต้จะถูกทำลายลงไป 30% จากปัจจุบัน

แม้ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นไม่มาก แต่ก็หนุนให้แม่น้ำสายสำคัญหลายแห่งเอ่อล้นทะลักตลิ่ง และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะบริเวณปากแม่น้ำสายสำคัญๆที่มีประชาชนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เช่น แม่น้ำแยงซีในจีน แม่น้ำแดงในเวียดนาม และแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร ในบังกลาเทศ

เมื่ออุทกภัยแผ่ขยายกินบริเวณกว้างมากขึ้น อหิวาตกโรคและมาลาเรียก็ระบาดหนักยิ่งกว่าเดิม

หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นถึง 3 องศาเซลเซียส ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัยที่มีขนาดไม่ถึง 4 กิโลเมตร จะละลายหายไปหมด และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำท่วมและดินโคลนถล่มตามมา แต่ท้ายที่สุดจะจบลงด้วยความแห้งเหือดของแม่น้ำที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยธารน้ำ แข็งจากเทือกเขาหิมาลัย ชาวอินเดียจะมีน้ำใช้ต่อหัวลดลงจาก 1,900 ลูกบาศก์เมตร เหลือเพียงแค่ 1,000 ลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2025


แอฟริกาทำลายโลกน้อยสุด แต่โดนหนักสุด นับร้อยล้านชีวิตขาดน้ำ-อาหาร

แม้แอฟริกาจะเป็นพื้นที่ปลดปล่อยก๊าซก่อเรือนกระจกน้อยที่สุด แต่กลับกลายเป็นทวีปที่ต้องเผชิญชะตากรรมเลวร้ายกว่าใครเพื่อน เพราะจะมีประชากรในทวีปนี้หลายร้อยล้านคนหรือราว 90% ของประชากรทั้งหมด จะต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำดื่มอย่างรุนแรงในปี 2080 หรืออาจเร็วกว่านั้น และในตอนนั้นประชากรโลกที่ขาดแคลนอาหารราว 40-50% คือชาวแอฟริกันที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลทรายซาฮารา เมื่อเทียบกับจำนวนในปัจจุบันนี้ที่คิดเป็น 25% ของผู้ที่ขาดแคลนอาหารจากทั่วโลก

ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลให้ฤดูเพาะปลูกหดสั้นลง และหลายพื้นที่ทำการเกษตรไม่ได้อีกต่อไป ทำให้ในบางประเทศเพาะปลูกได้ผลผลิตน้อยลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมผืนดินกินพื้นที่กว้าง 6-9 แสนตารางกิโลเมตร

ประชากรในแอฟริกากว่า 500 ล้านคนจะต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนน้ำดื่มอย่างฉับพลัน

หากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากปี 1990 แม้เพียง 2 องศาเซลเซียส อหิวาตกโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไข้เลือดออก จะระบาดหนักและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่ประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำไนล์และไนเจอร์ อันเป็นผลพวงมาจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น


ต้นปาล์มริมชายฝั่งบนเกาะ Ghormara ของอินเดีย ที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งลึกจนเห็นรากต้นปาล์มสูงท่วมหัว (AFP)

ยุโรปหิมะละลาย ความหลากหลายหายมากกว่า 60%

ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนจะสามารถยืนหยัดอยู่บนความเสี่ยงต่อภัยแล้งที่รุนแรง ผลผลิตตกต่ำ และมหันตภัยจากคลื่นความร้อนได้มากกว่า ขณะที่ประเทศในยุโรปที่ตั้งอยู่บนละติจูดที่สูงขึ้นไป จะต้องเผชิญกับน้ำท่วมและสภาพอากาศที่เลวร้าย ทว่าจะได้รับความสมดุลจากการที่มีฤดูเพาะปลูกยาวนานขึ้น และมีพื้นที่เกษตรกรรมและป่าไม้ขยายกว้างมากขึ้น

อุณหภูมิบริเวณเทือกเขาแอลป์จะพุ่งสูงขึ้นจนสร้างความเสียหายร้ายแรง ต่ออุตสาหกรรมการเล่นสกี ตลอดจนกวาดล้างชนิดพันธุ์พืชและสัตว์ให้หมดไปจากบริเวณดังกล่าวมากถึง 60% พื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่ได้รับผลจากภาวะน้ำท่วมขยายตัวจาก 19% ในปัจจุบัน เป็น 36% ในปี 2070

อุทกภัยฤดูหนาวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นบริเวณชายฝั่งของยุโรป ขณะที่บริเวณตอนกลางของยุโรปจะประสบกับอุทกภัยและน้ำท่วมฉับพลันอันเนื่องมา จากหิมะละลาย เกิดผลกระทบอย่างเลวร้ายต่อความหลากหลายทางชีวภาพในยุโรป พืชพรรณในท้องถิ่นเกือบทั้งหมดต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ หรือบางชนิดอาจสูญพันธุ์เมื่อสิ้นศตวรรษนี้


คลื่นร้อนรุนแรง-พายุถาโถมอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ไร้ธารน้ำแข็งเขตร้อน

ภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวหนุนให้พายุเขตร้อนและคลื่นความร้อนมีพละกำลังรุนแรงมากขึ้นในอเมริกาเหนือ พร้อมกับที่เป็นภัยคุกคามหลายสปีชีส์ในอเมริกาใต้ที่ต้องตกเป็นเหยื่อถูกทำให้สูญพันธุ์ และต้องอดอยากหิวโหยอีกมากมาย

ดินเยือกแข็งรวมทั้งน้ำแข็งในทะเลแถบแคนาดาและอะแลสกาถูกเร่งให้ ละลายเร็วขึ้น แมวน้ำและหมีขั้วโลก ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตหลักในบริเวณดังกล่าวจะถูกคุกคามก่อนใครเพื่อน ทั้งยังเป็นการเกื้อหนุนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นให้แพร่กระจายไปในบริเวณนั้นได้มากยิ่งขึ้น และไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตประจำถิ่นมากกว่าเดิม

ผู้คนกว่าครึ่งในทวีปอเมริกาต้องตกอยู่ในภาวะยากแค้นจากอุทกภัย วาตภัย คลื่นความร้อน โรคระบาด และหมอกควันในย่านชุมชนเมือง การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองริมชายฝั่งจะทำให้เสี่ยงได้รับความเสียหายจากพายุมากยิ่งขึ้น และจะหนักหน่วงยิ่งกว่าเดิมเมื่อได้รับแรงหนุนจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น

ในอเมริกาใต้มีแนวโน้มสูงมากที่ธารน้ำแข็งเขตร้อนจะละลายหายไปภายในช่วงปี 2020 และมีประชากรราว 7-77 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดแคลนน้ำ และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 60-150 ล้านคน ในปี 2100

ส่วนในบริเวณอ่างแคริบเบียนจะมีพายุเฮอริเคนเกิดถี่และรุนแรงมากขึ้น ขณะที่หากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะเกิดการสูญเสียน้ำในดินไปในบริเวณอะเมซอนตะวันออก และป่าฝนเขตร้อนทางตอนกลางและตอนใต้ของเม็กซิโกจะกลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าสะวันนา


โลกร้อนพ่วงท่องเที่ยวทำลายแนวปะการังยักษ์

ประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะสูญเสียทั้งชนิดพันธุ์ต่างถิ่นและสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมในท้องถิ่นนั้น อันเป็นผลพวงมาจากการท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องกับภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะระบบนิเวศบริเวณแนวปะการังยักษ์ (Great Barrier Reef) และอุทยานแห่งชาติคาคาดูในออสเตรเลีย ที่เสี่ยงจะถูกทำลายได้มากที่สุด

ปัญหาขาดแคลนน้ำที่สั่งสมมานานทางใต้และตะวันออกของออสเตรเลียจะยิ่ง ทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2030 พื้นที่ลุ่มน้ำเมอเรย์-ดาร์ลิ่ง (Murray-Darling Basin) จะลดลงอีก 10-25% ในปี 2050 ผลิตผลจากภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ลดลงอย่างมากทั้งในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แต่ยังมีบางพื้นที่ของนิวซีแลนด์ที่มีแนวโน้มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากขึ้น

ส่วนหมู่เกาะต่างๆในแปซิฟิกจะได้รับผลกระทบทั้งจากระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูง ขึ้น ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรวดเร็ว กำแพงตามธรรมชาติถูกทำลายลง ทั้งป่าชายเลนและแนวปะการัง ท่าเรือบางแห่งของเกาะฟิจิและซามัวถูกน้ำทะเลท่วม ผลผลิตลดลง 18% ในปี 2030


ธารน้ำแข็งขนาดยักษ์แตกออกจาก Knox Coast บริเวณเขตแอนตาร์กติกที่อยู่ใกล้กับออสเตรเลีย (AFP)

ขั้วโลกร้อนยาวนาน ลดปริมาตรธารน้ำแข็ง

สิ้นศตวรรษนี้มีแนวโน้มว่าน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกจะหายไปราว 23% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาด้วย ส่วนธารน้ำแข็งขนาดใหญ่บริเวณขั้วโลกเหนือ รวมถึงดินแดนแถบขั้วโลกเหนือที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งและกรีนแลนด์ ก็จะสูญเสียความหนาของชั้นน้ำแข็งไป

ชั้นน้ำแข็งจะบางลงแค่ไหนเป็นสิ่งที่ยากเกินคาดเดาได้ แต่จะมีประชากรที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวราว 4 ล้านคน ได้รับผลกระทบจากภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอน

ส่วนชั้นดินเยือกแข็งในแถบอาร์กติกจะลดลงไปราว 20-35% ในปี 2050 และฤดูร้อนของขั้วโลกเหนือจะยาวนานขึ้นกว่าปัจจุบันราว 15-25% ซึ่งน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อนก็จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้นด้วย

น้ำแข็งขั้วโลกใต้จะค่อยๆ ละลายหายไปตั้งแต่บริเวณแหลมแอนตาร์กติก ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดหนึ่งบนโลกที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนว่ามีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีแนวโน้มเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก และคาดการณ์ว่าก้อนน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกจะละลายเพิ่มขึ้นทีละน้อยๆ และละลายจนเกือบหมดในฤดูร้อนของขั้วโลกใต้

ขณะที่อนาคตของแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกยังไม่มีความแน่นอน เพราะมีหลักฐานที่แสดงถึงแผ่นน้ำแข็งด้านตะวันตกถูกทำลายลง ทว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนระบุว่า แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกนี้จะยังคงอยู่ เพราะยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้ายเมื่อราว 12,000 ปีที่แล้ว มากกว่าที่จะละลายหายไปเพราะภาวะโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เมื่อไม่นานมานี้

แม้ข้อมูลจากไอพีซีซีตามที่เราหยิบยกมาจะทำให้หลายฝ่ายตระหนักดีว่า โลกในวันข้างหน้าเป็นเช่นไรหากยังไร้การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ผู้แทนรัฐบาลจาก 192 ประเทศทั่วโลกที่กำลังร่วมโต๊ะประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กก็ยังคงมีความขัดแย้งและไม่ลงตัวกับการเจรจาต่อรองจากผู้แทนของรัฐบาลจากหลายๆ ประเทศ

ถ้าเวทีที่โคเปนเฮเกนปิดลง โดยที่ยังไม่สามารถตกลงแนวทางหลังปี 2012 ได้ ขณะเดียวกันกิจกรรมของมนุษย์ที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเพิ่มความร้อนให้โลกได้ วันสิ้นโลกอาจมาถึงเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้.




จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 18 ธันวาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 09-01-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,455
Default


เหมือนโลกหนาว เพราะปมโลกร้อน!



สัปดาห์นี้ทั้งในกรุงเทพฯ และในอีกหลายจังหวัดของไทยเจอกับสายฝนหลงฤดู ทำเอาหลายท่านเกิดอาการมึนงงว่า "นี่มันฤดูอะไรกันแน่"

ส่วนในต่างประเทศ ทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา เช่น จีน อังกฤษ แคนาดา และสหรัฐบางส่วนที่ประสบกับภาวะหนาวจับขั้วหัวใจ ต่างพูดคุยถึงประเด็นความแปรปรวนของอากาศเพราะภาวะโลกร้อนหนาหูไม่แพ้กัน

โดยมีคำพูดเป็นมุขตลกว่า "ไหนว่าโลกร้อน ในเมื่อหนาวจะตายอยู่แล้ว"

คำชี้แจงด้านวิทยาศาสตร์จากบรรดานักวิชาการและนักอุตุนิยมวิทยาก็คือ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของอากาศทางซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรหลายพื้นที่มีแนวโน้มอุ่นมากขึ้น 5-10 องศาเซลเซียส เช่น ทวีปอลาสกาและแคนาดาเหนือ แม้อุณหภูมิเฉลี่ยของขั้วโลกเหนือยังยะเยือกอยู่ที่ -30 องศาเซลเซียส



ด้าน แอฟริกาเหนือและแถบเมดิเตอเรเนียนอุ่นขึ้นเฉลี่ยราว 10 องศาเซลเซียส ขณะที่ยุโรปทางเหนืออุ่นขึ้น 5 องศาเซลเซียส แต่ในบางพื้นที่กลับมีอุณหภูมิลดลงทำให้หนาวจัดขึ้น

นายสตีเฟน ดอร์ลิ่ง อาจารย์จากสำนักวิชาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกแปลกใจที่จะมีผู้คนหันมาตั้งคำถามกันเกี่ยวกับเรื่องวิกฤตโลกร้อนมากขึ้นในช่วงที่กำลังประสบกับภาวะอากาศหนาวจัดผิดปกติ แต่ไม่ควรนำเรื่องนี้มาตัดสินว่า โลกไม่ได้ร้อนขึ้น

เนื่องจากการที่อากาศหนาวจัดไม่ได้หมายความว่าปัญหาโลกร้อนกำลังลดลงหรือหมดไป

ต่อไปนี้ มนุษยชาติจะต้องประสบกับภาวะอากาศที่ร้อนและเย็นผิดปกติ ซึ่งจะชัดเจนที่สุดในระหว่างเดือนธันวาคมถึงมกราคม เป็นเพียงผลลัพธ์จากต้นเหตุที่แท้จริง

สถิติการบันทึกพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในทศวรรษที่ผ่านมานั้นสูงที่สุด โดยใน 3 ปีสุดท้ายนั้น หากเฉลี่ยต่อ 1 ปีจะสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยในทศวรรษก่อนหน้านั้นอีกด้วย

ขณะที่การสำรวจในปีล่าสุดพบว่า โลกกำลังอุ่นขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง นายดอร์ลิ่งระบุว่าจะต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อหยุดยั้งแนวโน้มดังกล่าวของอุณหภูมิไม่ให้พุ่งสูงขึ้นเกินขีดอันตรายซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างมากต่อสภาพอากาศของโลก

เนื่องจากความกดอากาศสูงทำหน้าที่เสมือนกับกำแพงซึ่งตั้งขวางการเคลื่อนที่ของลม ทำให้ลมต้องพัดหนีไปทางอื่น ความกดอากาศสูงดังกล่าวพาดผ่านตั้งแต่ยุโรปตะวันออกไปจนถึงไซบีเรีย ทำให้ลมอุ่นจากมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตกของเกาะอังกฤษพัดเข้ามาไม่ได้ จึงต้องเผชิญกับอากาศหนาวจัดที่มาจากแถบขั้วโลกเหนือ

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้อุณหภูมิในสกอตแลนด์ดิ่งลงติดลบแม้ในเวลากลางวัน

อย่างไรก็ตามนักอุตุนิยมวิทยาคาดว่าอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งหิมะในฤดูหนาวของประเทศทางเหนือละลาย

ผนวกกับปรากฏการณ์เอล นิโน่ ในมหาสุทรแปซิฟิก ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น



จาก : ข่าวสด คอลัมน์สกู๊ปพิเศษ วันที่ 9 มกราคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 29-07-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



ขั้วโลกจะไร้น้ำแข็ง ภายในเวลาอีกชั่ว 30-40 ปี ที่ี่จะมาถึง


ศูนย์อุตุนิยมวิทยาของรัสเซียแจ้งการพยากรณ์อากาศว่า น้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือ จะพากันละลายกลายเป็นน้ำจนหมด ภายในกลางศตวรรษหน้านี้

นายอเล็กซานเดอร์ โฟรลอฟ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ กล่าวโดยอ้างข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศว่า "ภายในอีก 30-40 ปีนี้ เขตอาร์คติก รวมทั้งขั้วโลกเหนือในช่วงฤดูร้อนจะไม่มีน้ำแข็งเหลืออยู่เลย นอกจากนั้นปริมาณน้ำแข็งที่ลดลงในปี พ.ศ. 2553 นี้ จะยิ่งสูงเกินกว่าระดับเมื่อ พ.ศ. 2550 อีก"

เขาแจ้งว่า "มันมากเกินปริมาณเฉลี่ยมานานแล้ว ปริมาณน้ำแข็งที่เคยเหลืออยู่น้อยที่สุดแต่ก่อนอยู่ที่ 11 ล้านตารางกิโลเมตร แต่ขณะนี้ตามภาพถ่ายดาวเทียม แสดงว่ามันเหลือสัก 10.8 ตารางกิโลเมตร".


ขอบคุณข่าวและภาพจาก...http://www.thairath.co.th/content/tech/99523
รูป
 
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 04:28


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger