![]() |
#1
|
|||
|
|||
![]()
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2560) " ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในวันนี้อีก 1 วัน โดยมีผลกระทบตามภาคต่างๆดังนี้ - ภาคเหนือ บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี - ภาคกลาง บริเวณจังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล - ภาคตะวันออก บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากอาจทำให้น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ชาวเรือบริเวณดังกล่าวควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรง ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นในระยะนี้ สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นและมีลมกระโชกแร งบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-30 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 17-19 พ.ค. ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20-23 พ.ค. ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลงเว้นแต่ด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง ส่วนภาคใต้ยังคงมีตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร |
#2
|
|||
|
|||
![]()
ขอขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ส่องทะเลไทยหลังน้ำมันรั่วซ้ำซาก ปลาหน้าดินป่วย- ตาย 70% แผล พุพองบนตัวปลา ที่ชาวประมงได้จากการวางลอบ เมื่อเร๋็วๆนี้ ระยอง โ ตามรอยคราบน้ำมันกลางอ่าวไทย ชาวประมงเชื่อส่งผลกระทบรุนแรง-ยาวนาน หลังวิกฤตท่อส่ง ปตท.รั่วปี 56 จนน้ำมันทะลักลงทะเล 5 หมื่นลิตร วันนี้ไม่เพียงจับสัตว์น้ำได้น้อยลง-ต้องเสี่ยงออกเรือหากินไกลขึ้นแล้ว ยังพบปลาหน้าดินที่จับได้ 70% ป่วย-ตายปริศนา ขณะที่เจ้าท่าภูมิภาค สาขาระยอง กำลังเร่งรวบรวมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีกับเรือ MELODY สัญชาติ ไลบีเรีย ที่ร่วมกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด มหาชน หรือ PTTGC (พีทีทีจีซี) และบริษัท SPRC ขนถ่ายน้ำมันดิบโดยท่อส่งขึ้นฝั่งระหว่าง 13-15 พ.ค. แล้วทำน้ำมันรั่วไหลลงทะเล ซ้ำรอยกรณีท่อส่งน้ำมันดิบกลางทะเลขนาด 16 นิ้ว ของ PTTGC รั่ว เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา จนทำให้น้ำมันดิบไหลทะลักออกสู่ทะเลประมาณ 50-70 ตัน ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนการท่องเที่ยวมาแล้วนั้น อย่างไรก็ตาม วันนี้(17 พ.ค.) หากนำเรือออกไปบริเวณที่มีการพบคราบน้ำมันกลางทะเลทั้ง 2 ครั้ง..ดูเหมือนว่า ไม่มีคราบน้ำมันให้เห็นทางสายตาแล้ว..แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากคราบน้ำมันดังกล่าว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ..ก็ยังไม่มีหน่วยงานไหนยืนยันชัดเจน..!? แต่มีหลักฐานเชิงประจักษ์จากชาวประมงเรือเล็กที่ยึดทะเลอ่าวไทยทำมาหากินเลี้ยงปากท้อง และครอบครัวมาทั้งชีวิตเท่านั้น..ที่ล่าสุดพบว่า นอกจากต้องพากันออกเรือหากินไกลขึ้นแล้ว ปลาที่พวกเขาจับได้จากการวางลอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาหน้าดิน อย่างปลาเก๋า และผองเพื่อน เป็นปลาป่วย มีแผลพุพอง และปลาตาย โดยไม่รู้สาเหตุ นายบำรุง ไชยสิทธิ์ อายุ 60 ปี ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กก้นอ่าว เล่าว่า กลุ่มประมุงพื้นบ้านเรือเล็กก้นอ่าว มีจำนวนสมาชิกกว่า 20 ลำ ทั้งเรืออวนปู ตกหมึก ตกปลา และซั้ง ประสบปัญหาความเดือดร้อนสัตว์น้ำหายากแทบจับไม่ได้มานานเกือบ 2 ปีแล้ว ชาวประมงบางกระเชอ กลุ่มประมงเรือเล็ก ตั้งแต่บ้านก้นอ่าว เรื่อยไปจนถึงปากน้ำระยอง หลายรายยืนยันว่า จากการเดิมที่เคยนำลอบไปวางห่างจากฝั่งประมาณ 3โ6 ไมล์ทะเล ใกล้ปะการังเทียมที่อาศัยสัตว์น้ำ พบปลาในลอบที่วางไว้ ป่วย เป็นแผลพุพอง และตาย ประมาณ 70 % ของปลาที่อยู่ในลอบ ซึ่งเป็นปลาจำพวกหน้าดินทั้งหมด อาทิ ปลาสายบัว ปลานกเขา ปลาเก๋า ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร โปัญหาปลาป่วย ปลาตาย เริ่มพบมาตั้งแต่ปลายปี 2556 และเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 58 -59 และตั้งแต่ต้นปี 60 พบปลาป่วยเป็นแผลพุพอง และตายหนักมาก จนถือว่า เข้าขั้นวิกฤติ จึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจพิสูจน์หาเหตุที่แท้จริง ชาวบ้านจะไม่ไดต้องจินตนาการไปต่างๆนานาโ ขณะที่นายมนู จินดานนท์ อายุ 65 ปี ประธานกลุ่มประมงเรือรบหลวงประแสร์ หมู่ 1 ต.ปากน้ำประแสร์ เล่าเสริมว่า พวกเรากลุ่มประมง ต้องเลิกอาชีพประมง เพราะประสบปัญหาจับสัตว์น้ำไม่ค่อยได้ ออกเรือไปก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ทุกวันนี้ต้องประกาศขายเรือ หันมากู้เงินต่อรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง รับจ้างหากินไปวัน ๆ แล้ว เช่นเดียวกับนายบรรเจิด ล่วงพ้น ประธานกลุ่มโบสถ์ญวน ที่กล่าวทำนองเดียวกันว่า ตอนนี้สมาชิกกลุ่มเรือลากหมึก ต้องวิ่งเรือออกไปหากินไกล 20 โ 50 ไมล์ทะเล ไปถึงจันทบุรี ตราด พัทยา ชลบุรี เพราะระยะใกล้ฝั่งหากินไม่ได้แล้ว มันไม่มีสัตว์น้ำหลงเหลืออยู่ ต้องเสี่ยงชีวิตออกไปหากินในทะเลไกลๆ เมื่อเร็วๆนี้ถูกคลื่นซัดเรือจมเสียหายไป 1 ลำ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ชาวประมงเรือเล็ก เคยรวมตัว พร้อมทั้งทำจดหมายร้องเรียนสะท้อนถึงความเดือดร้อน ส่งผ่านนายกสมาคมประมงพื้นบ้านเรือเล็ก จ.ระยอง เพื่อให้ถึงมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกร้องให้ลงมาตรวจสอบ-แก้ไขปัญหาที่หนักหน่วงขึ้นจนถึงขั้นไม่มีอาชีพทำกินกันแล้ว แน่นอน..ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติท้องทะเลอ่าวไทยถูกทำลาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาความเจริญเติบโตของเมือง และการพัฒนาประเทศ..แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า เหตุน้ำมันรั่วไหลที่เกิดขึ้นซ้ำ 2 ครั้งซ้อน ก่อวิกฤตที่รุนแรงและยาวนาน เรือ Malody สัญชาติ ไลบีเลีย ขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล เมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2560 เจ้าหน้าที่กำลังจัดเก็บคราบน้ำมัน ที่ขึ้นอ่าวพร้าวเมื่อ ปี 2556 |
#3
|
|||
|
|||
![]()
ขอขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
กูรูออนไลน์เงิบ!!ทางการรู้แล้วสัตว์ประหลาดยักษ์เกยตื้นฝั่งอินโดฯเป็นตัวอะไร เดอะซันจาการ์ตาโกลบ - สัตว์ทะเลปริศนาขนาดเท่าตู้คอนเทนเนอร์ ที่เกยตื้นชายฝั่งแห่งหนึ่งในอินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท้ายที่สุดผู้เชี่ยวชาญก็สามารถระบุได้ว่ามันเป็น'ซากวาฬ' ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าข้อสันนิษฐานของพวกกูรูบนโลกไซเบอร์นั้นผิดเต็มๆ ชาวบ้านคนหนึ่งเป็นผู้พบสัตว์รูปร่างประหลาดขนาดใหญ่ตัวนี้ แถวๆชายหาดฮูลุง บนเกาะเซรัม เมื่อช่วงค่ำวันอังคารที่แล้ว(9พ.ค.) และเบื้องต้นโลกออนไลน์ต่างสันนิษฐานกันไปต่างๆนาๆ แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่าน่าจะเป็นหมึกยักษ์ อย่างไรก็ตามล่าสุดกระทรวงกิจการทะเลและประมงของอินโดนีเซีย เปิดเผยกับจาการ์ตา โกลบ ว่าซากสัตว์ยาว 50 เมตรตัวนี้คือซากวาฬหัวทุย (Sperm Whales) "วาฬหัวทุยตอนที่มันเน่าเปื่อย ไส้จะทะลักออกมาจากด้านล่างของลำคอ ซึ่งเป็นลายทางคล้ายฟักทอง" เชื่อว่าเกาะเซรัม บริเวณที่พบซากาวาฬ เป็นเส้นทางอพยพของฝูงวาฬสำหรับมุ่งหน้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งนี้มีความคิดเห็นต่างออกไปในชนิดของวาฬตัวดังกล่าว โดยเว็บไซต์ฮัฟฟิงตันโพสต์ สื่อของสหรัฐฯ อ้างความเห็นของ จอร์จ ลีโอนาร์ด หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของสถาบัน Ocean Conservancy สันนิษฐานว่ามันเป็นวาฬวาฬบาลีน(วาฬกรองกิน) จากลักษณะของโหนกและซี่กรองที่ใช้สำหรับกรองอาหารของมัน คำแถลงของกระทรวงกิจการทะเลและประมงของอินโดนีเซียและผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับเป็นการปฏิเสธข้อสันนิษฐานของกูรูสมัครเล่นบนสื่อสังคมออนไลน์ก่อนหน้านี้ หลังจากเบื้องต้นชาวเน็ตเชื่อว่ามันเป็นหมึกยักษ์ จากลักษณะที่มีหนวดยื่นออกมา แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย เด็กน้อย : 18-05-2017 เมื่อ 07:57 |
#4
|
|||
|
|||
![]()
ขอขอบคุณข่าวจาก มติชน
กรมประมงเล็งประกาศปิดอ่าวรูปตัว ก. นาน 2 เดือน ![]() นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำของอ่าว กรมประมงได้ประกาศปิดอ่าวในช่วงฤดูการวางไข่มาอย่างต่อเนื่อง โดยแยกเป็นอ่าวอันดามัน และอ่าวไทย โดยอ่าวไทยแยกออกเป็น 3 ตอน คือ 1.อ่าวไทยตอนบน หรืออ่าวด้านใน หรืออ่าวไทยรูปตัว ก. ประกอบด้วย ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี 2.อ่าวไทยตอนกลาง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎ์ธานี 3.อ่าวไทยตอนล่าง ไม่มีการประกาศปิด ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้ในส่วนของอ่าวไทยรูปตัว ก. นั้น ได้เริ่มประกาศปิดเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา (2556-2559 ) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน -31 กรกฎาคม เป็นระยะเวลา 2 เดือน พื้นที่ 4,940.55 ตารางกิโลเมตร 8 ล้านไร่ โดยห้ามใช้เครื่องมือบางประเภท ในการจับสัตว์น้ำ อย่างไรก็ตามผลดำเนินการพบว่าปลาทูซึ่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยคาดว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยประกอบด้วย 1.ปลาที่ลงไปว่างไข่ด้านล่างของทะเล มีน้อยลง เนื่องจากชาวประมงพัฒนาอวนให้จมทะเลเพื่อให้สามารถจับปลาได้มากขึ้น ส่งผลให้มีการจับปลาพ่อ แม่พันธุ์ที่โดยธรรมชาติจะว่ายลงก้นทะเลเพื่อวางไข่ 2.ช่วงที่เปิดอ่าว ตัว ก. ชาวประมงเข้าไปจับปลาในอ่าวในลักษณะรุมสกรัม ทำให้ปลาหลุดรอดจากอวนเพื่อเป็นพ่อ แม่ พันธุ์ในรุ่นต่อไปได้ยาก 3.ภาวะโลกร้อน ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลปรับเพิ่มขึ้นปลาทูที่ไม่ชอบน้ำที่ร้อนก็อพยพหนีไปเข้าสู่ทะเล อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งเป็นตอนล่างของอ่าวไทย 4.ภัยแล้งที่รุนแรงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ธาตุอาหารที่ไหลลงอ่าวไทยมีน้อยลง อาหารสำหรับปลาไม่อุดมสมบูรณ์เหมือนในอดีต ทำให้การแพร่พันธุ์ได้ยาก และ 5.มลพิษที่มากขึ้นทำให้วงจรชีวิตสัตว์น้ำเปลี่ยนไป นายอดิศร กล่าวว่า ทั้งหมดนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับชาวมงเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการปิดอ่าวตัว ก. ดังกล่าว จากที่ประกาศปิดพร้อมกันเป็นระยะเวลา 2 เดือน จะปรับให้มีการปิดอ่าวตามเส้นทางการอพยพของปลาทูเป็นหลัก ในเบื้องต้นคาดว่าจะประกาศปิดทางฝั่งซ้ายตั้งแต่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน -31 กรกฎาคม หลังจากนั้นจะเปิดและหันมาประกาศปิดในฝั่งขวา ตั้งแต่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม -30 กันยายน เป็นต้นไป ในขณะที่ชาวมประมงต้องเปลี่ยนตาอวนให้มีขนาด 2 นิ้วขึ้นไปเท่านั้นเพื่อให้ปลาทูและสัตว์น้ำอื่นๆ มีโอกาสหลุดรอดเป็นพ่อ แม่ พันธุ์ในปีต่อไป ห้ามใช้เรือปั่นไฟ แต่สามารถใช้เรือไดหมึกได้ ทั้งหมดจะหารือให้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ในขณะที่ปลาทูมีปริมาณการจับและจำหน่ายในประเทศประมาณปี 1 แสนตัน นายอดิศร กล่าวว่า สำหรับอ่าวไทยตอนกลาง ที่ดำเนินการปิดระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม ของทุกปีนี้น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร โดยกรมประมงประกาศเปลี่ยนการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบันในส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการประมงในเขตระยะ 7 ไมล์ทะเล นับจากแนวชายฝั่งทะเลในผลจากการดำเนินควบคุมเฝ้าระวังการทำการประมงตามมาตรการปิดอ่าวไทยของกรมประมง จากการปฏิบัติงานทั้งสิ้น 52 ครั้ง พบการกระทำความผิดรวม 11 คดี ได้แก่ การใช้เครื่องมืออวนลากประกอบเรือยนต์ทำการประมงในเวลากลางวัน ในพื้นที่บังคับใช้มาตรการฯจำนวน 2 คดี พบผู้กระทำผิด 10 ราย ใช้เรือไร้สัญชาติทำการประมง จำนวน 2 คดี ผู้กระทำผิด 9 ราย ใช้เรือซึ่งปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฏหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยออกทำการประมง จำนวน 6 คดี ผู้กระทำผิด 7 ราย ตรวจยึดเครื่องมืออวนรุน 1 คดี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กรมประมงใช้เครื่องมือตรวจสอบฝูงปลา(Sounder) ตรวจพบพ่อแม่พันธุ์ปลาจำนวน 3,000 กิโลกรัม และฝูงลูกปลาจำนวน 10,000 กิโลกรัม บริเวณเกาะพะงัน และยังพบข้อมูลชาวประมงพื้นบ้านจับปลาทูขนาดใหญ่ได้บริเวณอ่าวชุมพร โดยใช้เครื่องมืออวนติดตาขนาดไม่ต่ำกว่า 2 นิ้ว รวมทั้งในช่วงต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมายังได้รับรายงานว่าพบฝูงลูกปลาทูขนาดเล็กชุกชุมจำนวนมากบริเวณห่างฝั่ง 3-5 ไมล์ทะเล ตั้งแต่จังหวัดชุมพร ถึงสุราษฎร์ธานี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลบริเวณฝั่งอ่าวไทยเริ่มฟื้นคืนกลับมา โการประกาศดังกล่าวยังไม่ครอบคลุมพื้นที่แนวฝั่งทะเล ที่จะทำให้ลูกปลาทูขึ้นมาเจริญเติบโตบริเวณอ่าวตอนในหรือตัว ก. ได้ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น จึงต้องออกประกาศ เรื่อง กำหนดเครื่องมือ ทำการประมง วิธีการทำการประมง และพื้นที่ทำการประมง ที่ห้ามจับสัตว์น้ำบางแห่งของประจวบคีรีขันธ์ เพิ่มเติมจากเดิม และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม- 30 มิถุนายน 2560 โดย ห้ามใช้เครื่องมืออวน ทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมง และห้ามใช้เครื่องปั่นไฟโนางอดิศร กล่าว |
![]() |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|