เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 31-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. ? 1 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตัวนออกพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้

ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 5 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนทีปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีลมมตะวันออกพัดปกคลุมอยู่ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับภาคใต้ ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 31 ต.ค. ? 2 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 31-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทะเลสีเทา หินภูเขาไฟปกคลุมชายฝั่งโอกินาวา ผลพวงภูเขาไฟระเบิดใต้ทะเล


ที่มา :เกียวโดนิวส์

ทางการจังหวัดโอกินาวา เร่งมือเก็บหินภูเขาไฟที่ลอยปกคลุมชายฝั่งเป็นวงกว้าง จนชายฝั่งกลายเป็นสีน้ำตาลเทา ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวรวมทั้งชาวประมงที่ไม่สามารถออกทะเลในบริเวณดังกล่าวได้

นับเป็นฝันร้ายของชาวประมง รวมทั้งนักท่องเที่ยวที่จะไปพักผ่อนที่ชายทะเลของจังหวัดโอกินาวา หลังจากมีหินภูเขาไฟจำนวนมหาศาลลอยมาเกยชายหาดหนาทึบ บางจุดหนาถึง 30 เซนติเมตร จนแทบจะมองไม่เห็นน้ำทะเล ขณะที่เรือประมงไม่สามารถแล่นเรือฝ่ากลุ่มหินออกไปหาปลาได้ เช่นเดียวกับปลาในกระชังที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ต่างลอยตาย เพราะปลากินหินภูเขาไฟเข้าไป และขาดออกซิเจนในน้ำ โดยสาเหตุที่ทำให้ก้อนกรวดหินภูเขาไฟจำนวนมากลอยมาปกคลุมชายฝั่ง เป็นผลพวงมาจากการระเบิดของภูเขาไฟในทะเลเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และได้พัดพาหินภูเขาไฟเหล่านี้ลอยมาตามกระแสน้ำ เป็นระยะทางไกลเกือบ 1,500 กิโลเมตร

ซึ่งล่าสุดทางการโอกินาวากำลังเร่งเก็บกวาดหินภูเขาไฟขึ้นจากน้ำ โดยใช้รถตักดิน เริ่มจากบริเวณท่าเรือประมง เฮนโตนะ ในเมืองคูนิกามิทางตอนเหนือของจังหวัดโอกินาวาก่อน ส่วนจุดที่ไกลจากชายฝั่งจะใช้เรือเข้าไปเก็บหินและขึงตาข่ายทำแนวกั้นเพื่อไม่ให้หินภูเขาไฟกระจายไปไกลจนสร้างมลพิษ ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์กว่าจะสามารถกำจัดหินภูเขาไฟออกไปจากชายฝั่งได้ทั้งหมด

ด้านนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุว่า เขาได้ตั้งทีมฉุกเฉินรับมือกับสถานการณ์ครั้งนี้ และจะเตรียมงบประมาณไว้ช่วยเยียวยาให้แก่ชาวประมงในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบด้วย.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2231604

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 31-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า


ชวนท่องเที่ยวเกาะเต่าหลังสำรวจพบฉลามวาฬรอบเกาะเต่า 280 ตัว



วันที่ 30 ต.ค.64 ผู้สื่อข่าวได้รับการเปิดเผยจากนางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ว่าจากการสำรวจจำนวนฉลามวาฬของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปี 2560 ช่วงเดือนมกราคม ถึง สิงหาคม พบฉลามวาฬฝั่งอ่าวไทยอย่างน้อยถึง 91 ตัว และอย่างน้อย 4 ตัวที่ฝั่งอันดามัน ขณะที่ทางกลุ่มเอกชน Thai Whale Sharks แจ้งอย่างไม่เป็นทางการว่าในปี 2563 ได้พบฉลามวาฬบริเวณเกาะเต่าถึง 280 ตัวซึ่งเป็นจำนวนที่มาก

โดยสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า ได้ประสานข้อมูลกับนายทัศพล กระจ่างดารา ผู้เชี่ยวชาญด้านปลากระเบนและฉลามของไทย กรมประมง ให้ข้อมูลว่าฉลามวาฬเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เรวมถึงปลาขนาดเล็กที่รวมฝูง เช่น ปลากะตัก ปลาหลังเขียว จากการพบฉลามวาฬรอบเกาะเต่าจำนวนมากจากสถิติ คาดว่าการพบฉลามวาฬรอบเกาะเต่าบ่อยครั้งหน้าจะเกิดจากความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหาร ซึ่งมีปลาเล็กรวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์ และแพลงก์ตอนพืช ที่เป็นอาหารหลักของฉลามวาฬ จึงขอความร่วมมือชาวเกาะเต่า และผู้ประกอบธุรกิจดำน้ำให้ช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์

นายเจริญสุข สุขผล ประธานชมรมประมงพื้นบ้านเกาะเต่า เล่าถึงผลสำเร็จจากความร่วมมือในการทำซั้ง หรือบ้านปลารอบเกาะเต่าที่ภายในหนึ่งปีที่ได้ช่วยกันทำซั้ง ได้เห็นความสมบูรณ์กลับคืนสู่ท้องทะเลเกาะเต่าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่เริ่มทำซั้งรอบเกาะพบลูกปลาหลังเขียวที่ไม่เคยเข้าก็เข้ามาอาศัย รวมถึงปลาฉิ้งฉ้าง และปลาขนาดเล็กๆ ความสมบูรณ์นี้ทำให้ชาวประมงพบปลาทูน่าที่มีขนาด 6-7 กิโลกรัมบริเวณเกาะเต่า ทั้งนี้เพราะไม่พบปลาทูน่ารอบเกาะเต่ามาหลายปีแล้ว ป

นางรำลึก อัศวชิน นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวเกาะเต่า กล่าวอีกว่าความสมบูรณ์ที่ปรากฎในช่วงนี้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชนบนเกาะเต่าทุกภาคส่วนช่วยกันดูแล จัดการทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลเป็นอย่างดีและต่อเนื่อง จึงทำให้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้มาสัมผัสธรรมชาติใต้ทะเลเกาะเต่า พร้อมพบกับฉลามวาฬขนาดใหญ่ที่รอต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคน


https://www.naewna.com/likesara/612453

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 31-10-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


เครือข่ายปัตตานียื่นรบ. "แก้ทั้งระบบ" วิกฤตกัดเซาะชายฝั่งทะเลใต้จากโครงการรัฐ .............. โดย จรัสรวี ไชยธรรม

เครือข่ายฯ ชี้วิกฤตรุนแรงขึ้นตามลำดับ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีก่อสันดอนกลางอ่าว-กระทบชาวประมง-ต้องหยุด จี้แก้ทั้งระบบ-เปิดให้คนพื้นที่ร่วมหาทางออก ยื่น 8 ข้อเสนอรายละเอียด ปลัดจังหวัดฯ รับส่งต่อข้อเรียกร้อง สส.พื้นที่ขานรับดันต่อในสภาฯ




8 ข้อ แถลงการณ์ เร่งแก้ไข-ฟื้นฟู

วานนี้ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. 'เครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี' นามรวมตัวขององค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชนรวม 23 องค์กร ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีปลัดจังหวัดปัตตานี เป็นผู้รับข้อเรียกร้องของทางเครือข่าย และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้เเทนพรรคประชาธิปัตย์ สมุติ เบ็ญขลักษณ์ สมาชิกสภาผู้เเทนราษฏร์พรรคประชาชาติ และผู้เเทน พรรคก้าวไกล เเละพรรคภูมิใจไทย รับหนังสือ 8 ข้อเรียกร้องเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ระบุถึงสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) ภัยทางธรรมชาติ 2 ) การคุกคามจากมนุษย์ โดยชี้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง

อีกทั้งอธิบายปัญหาเชิงโครงสร้าง ได้แก่
1.การถอนรายงาน (EIA)
2.การส่งเสริมการมีส่วนร่วม
3.มาตรการไมสอดคล้อง
4.ไร้มาตรการฟื้นฟูชายฝั่ง
5.อำนาจหน้าที่ทับซ้อน
6.ไม่กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
7.ล็อกรูปแบบการรับฟังความเห็น
8.กระบวนการการพิจารณารายงานฯไม่ครอบคลุมปัญหา โดยขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของประเทศไทยอย่างยั่งยืน เพื่อการฟื้นฟู 8 ข้อดังนี้

"1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง

2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม

4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล โดยที่มาตรการเหล่านี้เป็นมาตรการที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชายฝั่ง

5. รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนชายฝั่งสามารถกำหนดเจตจำนงของตนเอง ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชายหาดอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมให้ความรู้และรับรองสิทธิชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการ ใช้ประโยชน์ และบำรุงรักษาทรัพยากรชายหาด

6. คณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่ง ต้องจัดให้มีคณะอนุกรรมการกัดเซาะชายฝั่ง โดยกำหนดให้มีสัดส่วนจากภาคประชาชนที่มาจากพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งร่วมเป็นอนุกรรมการดังกล่าว

7. รัฐบาลควรเร่งตั้งคณะกรรมการศึกษาสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อรวบรวมการใช้ประโยชน์ และจำแนกประเภทการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน

8. ปัจจุบันจังหวัดปัตตานีมีสถานการณ์การขุดลอกอ่าวปัตตานี ทำให้เกิดสันทรายขนาดใหญ่กลางอ่าวปัตตานี กระทบต่อการเดินเรือของประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง การจับสัตว์น้ำ และกระทบระบบนิเวศในอ่าวปัตตานี ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขุดลอกสันทรายบริเวณอ่าวปัตตานีจากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีโดยกรมเจ้าท่าออกจากอ่าวปัตตานี โดยเร็วที่สุด" แถลงการณ์ระบุ


แถลงการณ์ฯ นี้มี 22 องค์กรร่วมลงนามภายใต้เครือข่ายฯ ดังกล่าว เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้ง 8


แกนนำชี้ 'กำแพงกันคลื่น' ภัยชายฝั่งทะเลภาคใต้

สำนักข่าว Wartani วาร์ตานี รายงานบนเฟซบุ๊ก นูรีต้า กามา กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม Nec Club อธิบายถึง สถานการณ์ที่ผ่านมาในจังหวัดปัตตานี และชายฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยถูกทำลายด้วยการก่อสร้างโครงการประเภทกำแพงกันคลื่น ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)

"โครงการลักษณะดังกล่าวนี้ยังใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ที่ผ่านมามีบทเรียนชัดเจนว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างกำแพงกันคลื่นนั้นกลับสร้างปัญหามาขึ้น ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด

เครือข่ายมองว่า กำแพงกันคลื่นนั้นคือภัยต่อความมั่นคงของชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพราะทำให้ชายฝั่งทะเลถูกทำลาย จึงขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งทบทวนนำเอาโครงการประเภทกำแพงกันคลื่นกลับไปเป็นโครงการที่ต้องประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังเดิม และเรียกร้องให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามเจตจำนงของชุมชน" นูรีต้า กล่าว


รับส่งต่อนายกฯ ยืนยันไม่นิ่งนอนใจ

ณัฐกฤช สิทธิโอสถ ปลัดจังหวัดปัตตานี อธิบายว่า ขอยืนยันในส่วนของราชการภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ยินดีรับข้อเสนอของน้องๆทุกคน ไปเสนอราชการระดับสูงเพราะเชื่อว่าผู้บัญชาการระดับสูงทุกท่านตั้งแต่ นายกรัฐมนตรีลงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายพร้อมที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว

"โดยการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ตามข้อเสนอ 8 ข้อ ของน้องดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่าทางราชการจะนิ่งเฉย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดปัตตานี หรือจังหวัดอะไรแล้วแต่ ทางรัฐบาลเองเชื่อมั่นว่าจะดูแลพี่น้องประชาชนให้อย่างดีที่สุดแล้วก็ลดความเสียหาย ความเดือดร้อน ความทุกข์ยากใจของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ให้อย่างเต็มกำลังความสามารถ" ณัฐกฤช กล่าว

ด้านอันวาร์ สาและ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่น้องเยาวชนเอาปัญหาในพื้นที่และเรื่องนี้เป็นปัญหาระดับชาติ ที่เราสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งทะเลไป ทาง สส ที่มารับเรืองวันนี้พูดคุยกันว่า ในวันที่จะเปิดสภาในวาระแรก สส.จังหวัดชายแดนใต้จะยื่นเรื่องในสภาผู้แทนราษฎร หลักจากนั้น สส.แต่ละท่านจะนำเข้าสู่กรรมาธิการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต

ส่วน สมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ เน้นย้ำว่า การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ต้องได้รับการตอบรับเพื่อเป็นไปตามเรียกร้องของพี่น้องประชาชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับการกัดเซาะชายฝั่ง เราจะสืบสวนสอบสอน เพื่อให้เกิดข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืนต่อไป


https://greennews.agency/?p=26173

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:49


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger