เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 08-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-14 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 8 ? 10 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-15 องศาเซลเซียส และบริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศา

ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 13 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส และมีอากาศหนาวเย็นลง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนตลอดช่วง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 8 ? 10 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 11 ? 13 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 08-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


วิจารณ์กระหึ่ม! บันไดคอนกรีตกันคลื่น ทำหาดชะอำใกล้สิ้น 'ศศิน' แนะรื้อโครงสร้างแข็งออก

วิจารณ์กระหึ่มโซเชียล บันไดคอนกรีตกันคลื่นทำหาดทรายชะอำใกล้สิ้น นักกฎหมายชี้ตรวจสอบสถานะโครงการ-หากทำลายทรัพยากรธรรมชาติฟ้องศาลให้ระงับได้ "ศศิน" แนะรื้อโครงสร้างแข็งออก



7 ม.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสื่อสังคมออนไลน์ได้ลงภาพและโพสต์ข้อมูลกรณีที่นักท่องเที่ยวพากันผิดหวังภายหลังเดินทางไปเที่ยวหาดชะอำใต้ในช่วงวันหยุดปีใหม่ที่ผ่านมา เนื่องจากบริเวณดังกล่าวได้มีการสร้างบันไดคอนกรีตกันคลื่นตามโครงการรก่อสร้างฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ยาวกว่า 1,400 เมตรซึ่งดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มูลค่า 102.9 ล้านบาท ทำให้หาดทรายบริเวณดังกล่าวหายไปและภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงจนนักท่องเที่ยวไม่กล้าลงเล่นน้ำ ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณถึงความเหมาะสมของโครงการดังกล่าว

ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์นางสาวส.รัตนมณี พลกล้า และ นางสาวเฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ซึ่งระบุว่าหาดชะอำเคยเป็นหาดที่มีชายหาดที่กว้างมาก หากดูปัจจุบันพื้นที่ที่สร้างโครงการหาดทรายจะหายไป ส่วนหาดที่ยังไม่มีการสร้างทรายจะยังคงมีอยู่จำนวนมากและกว้าง

"เสียดายที่หาดถูกแก้ปัญหาการกัดเซาะไม่ถูกจุด เพราะการใช้โครงสร้างแข็งไปวางจะยิ่งทำให้หาดทรายที่มีอยู่หายไปจนหมด เหลือแต่ลานคอนกรีตในอนาคต ดูตัวอย่างได้จากหาดในจังหวัดประจวบฯ ไม่ว่าจะเป็นหาดประจวบฯ หาดคลองวาฬ และหาดอื่นๆที่มีการทำกำแพงกันคลื่น" น.ส.ส.รัตนมณี กล่าว



ผู้สื่อข่าวถามว่าโครงการนี้ได้เปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติในทางที่เลวร้ายลง หากจะมีการดำเนินการในเฟส 2 อีก ประชาชนมีสิทธิยับยั้งหรือไม่ นางสาวเฉลิมศรี กล่าวว่าการก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภทนี้เท่าที่ทราบ เมื่อสร้างแล้วจะต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากจะมีการกัดเซาะไปเรื่อยๆ หากมีการรุกล้ำหาดทราย การป้องกันไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของคนที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นเท่านั้น แต่ผู้ที่ใช้ประโยชน์ จะเป็นคนเดียวหรือคณะบุคคล หรือองค์กรที่มีจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ชายหาด ย่อมสามารถใช้สิทธิในการออกมาปกป้อง หรือเรียกร้องสิทธิของชายหาดได้ ในเมื่อเห็นว่าทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง กำลังถูกทำลายลง

เมื่อถามอีกว่า โครงการที่ดำเนินไปแล้วกว่า 1,400 เมตร ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ประชาชนมีสิทธิดำเนินการอย่างใดบ้าง นางสาวเฉลิมศรีกล่าวว่า เมื่อทราบว่ามีการดำเนินโครงการในลักษณะที่เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ควรทำหนังสือให้สอบถามถึงสถานะของโครงการและให้ชะลอการก่อสร้างไปก่อน เนื่องจากโครงการไม่มีความเหมาะสมต่อพื้นที่ ไม่มีความปลอดภัย และไม่มีความจำเป็นต่อชายหาด และหากดำเนินการขั้นตอนตามกฎหมายครบถ้วนแล้ว หน่วยงานยังดำเนินโครงการต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่มีความจำเป็น สมควรฟ้องคดีต่อศาลในท้ายที่สุด

"ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ผ่านมา เกิดจากการไม่ทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของหน่วยงานรัฐ ในด้านการศึกษาสภาพชายหาด และหาทางป้องกัน ที่สำคัญโครงการที่เกิดขึ้นนี้ มีผลจากการแก้ไขประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA เมื่อ ปี 2556 ที่ได้นำโครงการกำแพงกันคลื่นออกไป ทำให้โครงการในลักษณะนี้ไม่ต้องทำรายงาน EIA ทำให้หน่วยงานเร่งดำเนินการให้มีขึ้นจำนวนมากเกินกว่า 50 โครงการจากหลายหน่วยงาน โดยหน่วยงานรัฐมักอ้างว่า มีเหตุเดือดร้อนของประชาชน" น.ส.เฉลิมศรี กล่าว



นางสาวส.รัตนมณี กล่าวว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบขั้นตอนการดำเนินโครงการว่าได้มีการดำเนินการอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยต้องดูว่า มีการที่จะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมว่าจะมีผลอย่างไร หากมีโครงการ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนของโครงการต่อประชาชนและสาธารณะ การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และการขออนุญาตดำเนินการก่อสร้าง เพราะการก่อสร้างนี้จะเป็นเรื่องการสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำที่ต้องขออนุญาตก่อสร้างจากกรมเจ้าท่า การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่จะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นต้น

นางสาวส.รัตนมณี กล่าวว่ามูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชนทำงานร่วมกับกลุ่ม Beach for Life ติดตามสถานการณ์ปัญหาโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งมาโดยตลอด ได้มีการฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนโครงการที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลหลายคดี เช่น หาดชลาทัศน์ หาดม่วงงาม จ.สงขลา หาดอ่าวน้อย หาดคลองวาฬ จ.ประจวบฯ เห็นว่า ศาลปกครองเริ่มเข้าใจในสถานการณ์ปัญหา และพยายามให้ความคุ้มครองและป้องกันชายหาด กรณีหาดชลาทัศน์หลังจากฟ้องไปแล้วทางจังหวัดได้เปลี่ยนการสร้างโครงสร้างแข็งเป็นการเติมทราย ซึ่งต่อมาทางหาดพัทยาก็ใช้การแก้ปัญหาด้วยการเติมทรายเช่นเดียวกัน

ขณะที่นายศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า "ที่หาดนี้เทศบาล พ่อค้าแม่ค้า เขาเห็นการกัดเซาะชายฝั่งจริงๆ ครับ แต่ไม่มีความรู้ว่าสาเหตุเพราะอะไร และไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรเพราะคลื่นทะเลก็รุกเข้ามาทุกปี"



นายศศิน ระบุว่า มี 3 เรื่องที่มองด้วยตาไม่เห็น คือ

1. ถนนเลียบหาดชะอำ สร้างบนเนินทรายธรรมชาติมานานหลายสิบปี มีกิจกรรมสารพัดหน้าถนนนี้ รบกวนการสะสมตัวของทรายจากลมพัดขึ้นฝั่ง และทำหน้าที่ปะทะแรงคลื่นช่วงมรสุม ให้ทรายย้อนไปเป็นหาดทรายและสันดอนทรายใต้น้ำ ก่อนที่คลื่นดิ่งเบาๆในช่วงหลังมรสุมจะพาขึ้นมาแต่งหาดให้สวยใหม่ อันนี้แก้ยากที่สุด อาจจะต้องพึ่งการเติมทรายจากแหล่งทรายใกล้ๆมาช่วย

2. ทุกคนอยากได้หาดทรายกว้างๆ ตลอดไป เพื่อวางร่ม-เก้าอี้ผ้าใบ ด้านหลังจอดรถ ด้านหน้าให้วิ่งเล่นและลงน้ำ ซึ่งตามธรรมชาติจะไม่เป็นแบบนั้นเพราะมีน้ำขึ้น-น้ำลง และช่วงหาดกว้างสวยหลังมรสุมเดือน มี.ค.จนถึง ต.ค. และหาดแคบช่วงฤดูมรสุม 4 เดือน พ.ย.- ก.พ. จึงมีความพยายามถมหิน เทปูนให้พื้นที่ที่ต้องเปลี่ยนแปลงคงที่เข้าไว้ โดยคิดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อหน้าหาดที่เป็นหาดทรายกว้าง แต่ที่ไหนได้ คลื่นที่ปะทะแนวหินจะแรงยกตัวและพัดทรายหน้าหาดออกไปเรื่อยๆ หลายปี หาดก็ลึกหดแคบเรื่อยๆ ทำให้เกิดการกัดเซาะหาดทรายให้แคบลึก จนน่ากลัวว่าจะเซาะถึงที่จอดรถและถนน อันนี้ควรแก้ไขโดยการรื้อโครงสร้างแข็งพวกนี้ออกและยอมให้หาดทรายขยาย-หดตามธรรมชาติ เราก็ใช้หาดเท่าที่เป็นปกติ

3. ลานเอนกประสงค์ของเทศบาลสร้างยื่นไปในทะเล ให้คนไปยืนถ่ายรูป กีดขวางตะกอนและกระแสน้ำ และทำให้คลื่นปะทะเลี้ยวเบนเข้ากัดเซาะบริเวณที่สิ้นสุดลาน ทำให้ต้องถมหินป้องกัน เมื่อถมหินเริ่มต้น คลื่นจะปะทะแล้วเลี้ยวเบนกัดเซาะต่อเนื่อง และต้องถมหินไปเรื่อยๆ เรื่องนี้ผสมกับข้อ 2 เลยไปกันใหญ่ ถ้ายอมรื้อให้อยู่ในแนวเส้นชายฝั่ง จะช่วยได้เยอะ

"โครงการเขื่อนใหญ่ขั้นบันไดให้ม้าวิ่ง นี้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงปี 2556-2558 ช่วงนั้นหน่วยงานต่างๆ ยังไม่มีองค์ความรู้เรื่องธรณีสัณฐานชายฝั่งกันครับ ตอนนี้มีความรู้แล้วก็หวังว่าคนรุ่นหลังจะค่อยๆหาทางแก้ไขให้ถูกต้องในระยะต่อไปนะครับ รัฐบาลหน้ากรุณาหารัฐมนตรีที่รู้เรื่องมาแก้ไขด้วยนะ คุณบิ๊กป็อกแกไม่เชื่อใคร"นายศศิน ระบุ


https://www.thaipost.net/district-news/60024/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:02


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger