เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 27-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดพาความหนาวเย็นจากประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-13 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 26 - 27 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนในช่วงวันที่ 28 - 29 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 30 ม.ค. ? 1 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วยตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 27 - 29 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 30 ม.ค. ? 1 ก.พ. 65 ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่ จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 27-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


น้ำมันรั่ว 4 แสนลิตร กลางทะเลระยอง มากกว่าปี 56 ฝันร้ายเกาะเสม็ด



เหตุน้ำมันดิบรั่วไหล จำนวน 400,000 ลิตร หรือ 400 ตัน ห่างจากฝั่ง 20 กม. จากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบกลางทะเลอ่าวไทย บริเวณท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ตั้งแต่คืนวันที่ 25 ม.ค. 2565

ทางกรมควบคุมมลพิษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งยับยั้งไม่ให้น้ำมันเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่งทางด้านเหนือของจ.ระยอง และประกาศแจ้งเตือนประชาชน หยุดลงเล่นน้ำทะเล เนื่องจากน้ำมันอาจเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่งทะเลหาดแม่รำพึง จนถึงอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ในเวลาประมาณ 17.00 น. ของวันที่ 28 ม.ค.นี้ คาดจะมีน้ำมันไหลเข้าพื้นที่ ประมาณ 180,000 ลิตร

ขณะที่บริษัทสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้แถลงในทันทีที่เกิดเหตุ ได้ระดมทีมเพื่อควบคุมสถานการณ์ตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งหยุดกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงทั้งหมด ตามขั้นตอนความปลอดภัย และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ

จากการบินลาดตระเวนของกองทัพเรือ ภาคที่ 1 เพื่อสำรวจการเคลื่อนที่ของน้ำมัน พบมีปริมาณน้ำมันหลงเหลืออยู่ในทะเลประมาณ 20 ตัน หรือ 20,000 ลิตร และมีการประสานผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสิงคโปร์ ให้ความช่วยเหลือ คาดว่าจะสามารถขจัดและเก็บคราบน้ำมันได้ทั้งหมดภายในไม่ช้า และจัดส่งทีมติดตามสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด

ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2556 เกิดเหตุการณ์ท่อรับน้ำมันดิบของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) รั่วกลางทะเล ทางทิศเหนือและตะวันตกของเกาะเสม็ด จ.ระยอง มีปริมาณน้ำมันรั่วไหลประมาณ 50,000 ลิตร หรือ 50 ตัน อยู่ในระดับที่ 2 จากทั้งหมด 3 ระดับ (Tier) ตามการจำแนกในแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ

สำหรับครั้งนี้อยู่ในระดับ 3 เนื่องจากมีปริมาณน้ำมันรั่วไหลมากกว่า 1,000 ตันลิตร อาจเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรง และการขจัดคราบน้ำมันในระดับนี้ ต้องมีการร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศ และต้องอาศัยความช่วยเหลือระดับนานาชาติ

ขณะที่ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล ระบุกรณีน้ำมันรั่วนอกฝั่ง อย่างน้อย 4 แสนลิตร คล้ายกรณีน้ำมันรั่วบริเวณเกาะเสม็ด เพราะน้ำมันรั่วนอกฝั่งเหมือนกัน แต่ปริมาณครั้งนี้มากกว่า เห็นได้ชัดจากการแผ่ขยายของน้ำมันกว้างมาก

"ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ลมพัดขึ้นเหนือไม่ค่อยแรง ต่างจากครั้งก่อนที่ลมพัดไปทางตะวันออก ค่อนข้างแรง พื้นที่เกิดผลกระทบอาจต่างกัน หนนี้น่าจะเป็นชายฝั่ง เมืองระยอง หาดแม่รำพึง ก้นอ่าว และที่ต่างๆ ตรงนั้นเป็นหาดทรายยาว หากน้ำมันดิบมาถึงหาดทราย อาจเกิดคราบดำบนหาดหรือเกิดก้อนน้ำมันดิบ"

การกำจัดคราบน้ำมันจากหาดทรายทำยากมาก อาจใช้แผ่นซับ เก็บก้อนน้ำมันดิน ไปจนถึงตักหน้าทรายออก แต่ทุกอย่างยากหมด และวิธีดีสุดอย่าให้ถึงฝั่ง เนื่องจากลมค่อนข้างเบา พอมีเวลาใช้บูมดัก กวาดน้ำมันออก ใช้สารเคมีทำให้จมตัวลง ต้องใช้ในที่ลึก อย่าใช้ในที่ตื้นเกินไป เพราะน้ำมันกับสารจะแตกตัวไม่ทัน ไปกองที่พื้นก่อน ซึ่งมีในคู่มือการใช้ ขอเพียงทำตามและระวังให้มาก เพราะพื้นทะเลแถวนั้นเป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน

แต่ข้อจำกัดของเราอยู่ที่อุปกรณ์ แม้จะมีการพัฒนาการรับมือจากประสบการณ์ครั้งก่อน แต่ยังต้องระวังเพราะครั้งนี้ปริมาณน้ำมันมาก โดยกรมควบคุมมลพิษ ใช้โมเดล คาดว่าจะถึงฝั่ง 180,000 ลิตร ถือว่าปริมาณมากจนน่าเป็นห่วงระบบนิเวศหลักๆ จะส่งผลกระทบหาดทรายในพื้นที่เมืองระยอง ถึงก้นอ่าว หญ้าทะเลบริเวณบ้านเพ รวมถึงสวนสน ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก แต่ช่วงนี้น้ำไม่ลงต่ำจนแห้ง คราบน้ำมันไม่น่าลงไปบนหญ้าโดยตรง และทิศทางลมไม่ได้ไปทางเกาะเสม็ด แนวปะการังอาจได้รับผลไม่มาก แต่ควรเฝ้าระวังในพื้นที่เดิม เช่น อ่าวพร้าว และให้เน้นหาดทรายกับพื้นท้องทะเลเป็นหลัก.


https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2297621


*********************************************************************************************************************************************************


น้ำทะเลอ่าวบ้านกรูดเปลี่ยนเป็น "สีเขียวคล้ำ" เทศบาลสั่งงดลงเล่นน้ำ



นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกรูด ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ปภ.ฯ ประกาศห้ามมิให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ลงเล่นน้ำทะเลหรือกิจกรรมทางน้ำ หลังน้ำทะเลบริเวณชายหาดบ้านกรูด แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง จ.ประจวบฯ เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ คาดผลกระทบจากเรีอบรรทุกน้ำมันดีเซลอับปางห่างจากปากน้ำชุมพรประมาณ 24 ไมล์

ช่วงเย็นวันที่ 26 มกราคม 2565 นายอิศรา กาญจนรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกรูด อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เทศบาล ลงสำรวจบริเวณหน้าชายหาดบ้านกรูด แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากได้รับแจ้งว่าน้ำทะเลบริเวณหน้าชายหาดเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ

นายอิศรา เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ เรือบรรทุกน้ำมันดีเซล ชื่อ ป.อันดามัน 2 ซึ่งจอดทอดสมอและอับปางลงบริเวณห่างจากปากน้ำชุมพรประมาณ 24 ไมล์ (ประมาณ 44.4 กม.) เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา โดยภายในเรือมีน้ำมันอยู่ประมาณ 500,000 ลิตร โดยมีการคาดการณ์จากทางจังหวัดชุมพรว่ากลุ่มคราบน้ำมันน่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่แนวรอยต่อระหว่างจังหวัดชุมพรกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้มีการลงตรวจสอบชายหาดบ้านกรูดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว พบว่าน้ำทะเลบริเวณนี้เป็นสีเขียวคล้ำ จึงได้มีการประสานกับทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดชุมพร

"ในการนี้ ได้อาศัยอำนาจ ตาม พ.ร.บ.ปภ.50 มาตรา 21 ประกาศห้ามมิให้นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ลงเล่นน้ำทะเลหรือกิจกรรมทางน้ำในบริเวณชายหาดบ้านกรูด เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน"


https://www.thairath.co.th/news/local/central/2297980

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 27-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้องกรมเจ้าท่า ปมสร้างเขื่อนกันคลื่นร่องน้ำสะกอมทำชายหาดพัง

ศาลปกครองสูงสุด ยกฟ้องกรมเจ้าท่า กรณีชาวบ้านฟ้องสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นร่องน้ำสะกอม จนชายหาดถูกกัดเซาะเสียหายรุนแรง



วันนี้ (26 ม.ค. 2564) ศาลปกครองสงขลาอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 1328/2565 กรณีนายสาลี มะประสิทธิ์ กับพวกรวม 3 คน ยื่นฟ้องกรมเจ้าท่า อธิบดีกรมเจ้าท่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรณีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นร่องน้ำสะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพการประมงของผู้ฟ้องคดี

ก่อนหน้านี้ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้กรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด

แต่วันนี้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าโครงการก่อสร้างเขื่อนที่พิพาทของกรมเจ้าท่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นที่บริเวณปากร่องน้ำสะกอมเพื่อใช้ในการปรับปรุงร่องน้ำทางเดินเรือไม่ให้ถูกตะกอนทับถมช่วยให้ร่องน้ำเปิดทำให้การเดินเรือสะดวกและมีความปลอดภัยการก่อสร้างโครงการดังกล่าวมีลักษณะเป็นเขื่อนหินทิ้ง ไม่ได้เป็นการดำเนินการให้มีผืนแผ่นดินหรือพื้นดินขึ้นใหม่กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการถมที่ดินในทะเลที่อยู่ในบังคับที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ลงวันที่ 9 ก.ย.2535 และไม่ต้องมีรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามข้อ 2(6) ของกฎกระทรวงฉบับที่ 63(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทยพ.ศ.2556 แม้การกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะยังคงมีอยู่ก็ตาม แต่ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าเกิดจากการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นร่องน้ำสะกอมของกรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แต่เพียงอย่างเดียวหาก แต่อาจเกิดจากปัจจัยอื่นทางธรรมชาติประกอบด้วย

อย่างไรก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังการดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นร่องน้ำสะกอมของกรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้วเสร็จกรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีการติดตามสภาพการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเลซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปตลอดแนวชายฝั่ง และยังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณหาดสะกอม กรณีจึงเห็นได้ว่า กรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1และอธิบดีกรมเจ้าท่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ดำเนินการติดตามฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะของชายหาดสะกอมแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง


https://mgronline.com/politics/detail/9650000008632

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 27-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด


เปิดภาพดาวเทียม คราบน้ำมันรั่วกระจาย 2 เท่าเกาะเสม็ด เตรียมขึ้นหาดแม่รำพึง



เปิดภาพดาวเทียม คราบน้ำมันรั่วกระจาย 2 เท่าเกาะเสม็ด เตรียมขึ้นหาดแม่รำพึงและพื้นที่ชายหาดใกล้เคียง พบคราบน้ำมันลอยเป็นกลุ่มก้อนกลางอ่าวมาบตาพุด

จากกรณีพบน้ำมันดิบรั่วไหล บริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเล หรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 20 กิโลเมตร เมื่อเวลา 21.06 น. ของวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ใช้ภาพจากดาวเทียม Sentinel-2 ของวันที่ 26 ม.ค.65 เวลา 10.40 น. เบื้องต้นพบคราบน้ำมันลอยเป็นกลุ่มก้อนกลางอ่าวมาบตาพุด (กรอบสีเหลือง) คิดเป็นพื้นที่ 11.65 ตารางกิโลเมตร (7,280 ไร่) หรือกว่า 2 เท่าของเกาะเสม็ด

ซึ่งคราบน้ำมันดังกล่าวอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลของอำเภอเมืองระยอง ประมาณ 16.5 กิโลเมตร และจากการตรวจสอบทิศทางลม บริเวณอ่าวมาบตาพุด ด้วยแบบจำลอง Global Forecast System หรือ GFS พบว่าระหว่างวันที่ 26-28 ม.ค.65 ทิศทางลมมีแนวโน้มเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีระดับความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5-15 เมตร/วินาที

ลักษณะดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งเมืองระยอง ชายหาดแม่รำพึง และพื้นที่ชายหาดใกล้เคียง ทั้งนี้ ข้อมูลจากการวิเคราะห์ ทาง GISTDA จะส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้วางแผน ติดตาม ตรวจสอบในพื้นที่ต่อไป


https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6855559

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 27-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


"ดร.ธรณ์" ชี้ "น้ำมันรั่ว" กลางทะเลระยอง ต้องเฝ้าระวังเขตเมืองถึงก้นอ่าว



"ดร.ธรณ์" ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล ชี้ กรณีน้ำมันรั่วมาบตาพุด ต้องเฝ้าระวังอย่างมากในเขตเมืองระยองถึงก้นอ่าว ส่วนเกาะเสม็ดอาจได้รับผลไม่มาก แต่ควรเฝ้าระวังในพื้นที่เดิม เช่น อ่าวพร้าว

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นต่อกรณี ท่อส่งน้ำมันกลางทะเลของ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน เกิดเหตุรั่วไหลในทะเลพื้นที่ ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง โดยโพสต์ผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า

" อัพเดท - ข้อมูลล่าสุดจากกรมทะเล รายงานว่าบริษัทแจ้งว่าน้ำมันรั่วไม่ถึง 4 แสนลิตร แต่รั่วออกมา 160,000 ลิตร

กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ครับ กรณีของน้ำมันรั่วที่ระยอง 4 แสนลิตร ตอนนี้เริ่มมีความชัดเจน จึงนำมาอธิบายกับเพื่อนธรณ์

น้ำมันดิบ อย่างน้อย 4 แสนลิตร รั่วนอกฝั่ง ห่างไป 20 กม. เป็นกรณีคล้ายเกาะเสม็ด น้ำมันดิบเหมือนกัน รั่วนอกฝั่งเหมือนกัน แต่ปริมาณหนนี้เยอะกว่า ดูจากคลิปวิดีโอ เห็นชัดว่าน้ำมันแผ่ขยายกว้างมาก จุดแตกต่างนอกจากปริมาณ คือปัจจัยสิ่งแวดล้อม ลมพัดขึ้นเหนือไม่ค่อยแรง ต่างจากครั้งก่อนที่ลมพัดไปทางตะวันออก ค่อนข้างแรง พื้นที่เกิดผลกระทบอาจต่างกัน หนนี้น่าจะเป็นชายฝั่ง เมืองระยอง หาดแม่รำพึง ก้นอ่าว ฯลฯ

ตรงนั้นเป็นหาดทรายยาว หากน้ำมันดิบมาถึงหาดทราย อาจเกิดคราบดำบนหาดหรือเกิดก้อนน้ำมันดิบ การกำจัดคราบน้ำมันจากหาดทรายทำยากมาก เราอาจใช้แผ่นซับ เก็บก้อนน้ำมันดิน ไปจนถึงตักหน้าทรายออก แต่ทุกอย่างยากหมด วิธีดีสุดคืออย่าให้ถึงฝั่ง ลมค่อนข้างเบา พอมีเวลา ใช้บูมดัก กวาดน้ำมันออก ใช้สารเคมีทำให้จมตัวลง

เน้นย้ำว่าสารเคมีต้องใช้ในที่ลึก อย่าใช้ในที่ตื้นเกินไป เพราะน้ำมันกับสารจะแตกตัวไม่ทัน ไปกองที่พื้นก่อน ความลึกแค่ไหนมีในคู่มือการใช้อยู่แล้ว ขอเพียงทำตามและระวังให้มาก เพราะพื้นทะเลแถวนั้นเป็นแหล่งประมงพื้นบ้าน

ตอนนี้หลายท่านลงพื้นที่แล้ว แต่ข้อจำกัดของเราอยู่ที่อุปกรณ์ แม้จะมีการพัฒนาการรับมือจากประสบการณ์คราวก่อน แต่ยังต้องระวังเพราะครั้งนี้ถือว่าเยอะ

กรมควบคุมมลพิษใช้โมเดล คาดว่าจะถึงฝั่ง 180,000 ลิตร ถือว่าเยอะจนน่าเป็นห่วง ระบบนิเวศหลัก ๆ ที่ได้ผลกระทบคือหาดทราย พื้นที่เฝ้าระวังอย่างมากคือเมืองระยองถึงก้นอ่าว หญ้าทะเลอยู่ที่บ้านเพ/สวนสน อาจได้รับผลบ้างแต่คงน้อย เพราะช่วงนี้น้ำไม่ลงต่ำจนแห้ง คราบน้ำมันไม่น่าลงไปบนหญ้าโดยตรง ทิศทางลมไม่ได้ไปทางเกาะเสม็ด แนวปะการังอาจได้รับผลไม่มาก แต่ควรเฝ้าระวังในพื้นที่เดิม เช่น อ่าวพร้าว สรุปแล้วให้เน้นหาดทรายกับพื้นท้องทะเลเป็นหลัก ความคืบหน้าจะแจ้งมาเรื่อย ๆ ครับ"


https://www.komchadluek.net/news/502888

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:52


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger