เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-11-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่เข้าปกคลุมประเทศเวียดนาม ลาวตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในวันนี้(7 พ.ย. 2564) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ในช่วงวันที่ 7-13 พ.ย. 64 มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 - 12 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะเย็นลงกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 7 ? 12 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศหนาวเย็นลงบริเวณประเทศไทยตอนบน กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 7-13 พฤศจิกายน 2564)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 06 พฤศจิกายน 2564

ในช่วงวันที่ 7-13 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นจะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน อุณหภูมิจะลดลง 3-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-11-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ทำไมไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญา "ป่าไม้-ที่ดิน" กลาสโกว์ ................... โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

เวที COP 26 ชวนประชาคมโลกให้สิทธิชนเผ่าพื้นเมืองจัดการป่า แต่ไทยปฏิเสธ


ชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่บ้านน้อยพลังงาน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เสียพื้นที่บ้านและที่ทำกินเนื่องจากโครงการปลูกป่าที่ถูกทิ้งร้าง ภาพเมื่อเมษายน 2563 (ภาพ: แฟ้มภาพสิ่งแวดล้อม)


1.
รัฐบาลไทยเข้าร่วมการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อที่ประชุมว่าไทยจะร่วมมือกับนานาชาติแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แต่พอนานาชาติประกาศปฏิญญาว่าด้วยการป่าไม้และการใช้ที่ดินของผู้นำกลาสโกว์ (Glasgow Leaders? Declaration on Forests and Land Use) รัฐบาลไทยกลับไม่ยอมลงนามด้วย และแน่นอนว่าประเทศไทยเป็นประเทศกลุ่มน้อยที่ไม่ยอมลงนาม


2.
คำถามคือ ทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญาฉบับนี้ ทั้งๆ ที่ปฏิญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศน์และเร่งการฟื้นฟูป่า ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านนโยบายการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับสากลและในประเทศ

และที่สำคัญคือ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แถลงก่อนเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ว่าจะเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อย 55 ของพื้นที่ประเทศไทยใน 15 ปี ซึ่งเนื้อหาดูเหมือนจะสอดรับกันไม่ใช่หรือ


3.
สิ่งที่น่าสนใจในปฏิญญานี้คือ ยอมรับว่าชุมชนในชนบทและชนเผ่าพื้นเมือง มีบทบาทสำคัญในการดูแลพื้นที่ป่าของโลก จึงได้กำหนดเป็นข้อตกลงร่วมกันว่าจะส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและวิถีชีวิตในชนบท ด้วยการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนและสร้างผลกำไรได้ ตลอดจนยอมรับคุณค่าที่หลากหลายของผืนป่า และตระหนักถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ที่เป็นไปตามกฎหมายของชาติและกลไกระหว่างประเทศตามที่เหมาะสม

นอกจากนี้ยังยืนยันร่วมกันว่าประเทศสมาชิกมีพันธกรณีทางการเงินระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น ในการพัฒนาประสิทธิภาพและความสามารถในการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ที่ประชุม COP26 ยังได้วางแผนที่จะทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนกลุ่มชนพื้นเมืองผู้พิทักษ์ผืนป่าและการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย

คำประกาศของปฏิญญานี้จึงสวนทางกับแนวทางการจัดการป่าไม้ของรัฐบาลไทยหลายประการ

แนวคิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าของโลกพัฒนาไปไกลมากแล้ว ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ในแนวทางของปฏิญญานี้ ซึ่งมีทั้งการอนุรักษ์และเร่งฟื้นฟูป่าไม้ การสนับสนุนนโยบายการค้าและการพัฒนาที่คำนึงถึงความยั่งยืน โดยไม่ผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า การส่งเสริมศักยภาพของชุมชนและวิถีชีวิตในชนบท รวมทั้งกลุ่มเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้องถิ่น การสนับสนุนเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร และเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มการสนับสนุนทางการเงินและการลงทุนจากภาครัฐและเอกชน

ประการแรก ที่ผ่านรัฐบาลไทย โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะ รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประกาศว่าประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง มีแต่กลุ่มชาติพันธุ์ แน่นอนว่าคำพูดของคุณวราวุธ ไม่ใช่ความเห็นส่วนตัว แต่เป็นหลักการที่รัฐไทยยึดถือ

คือ รัฐไทยไม่ยอมรับว่าประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งคำเรียก "ชนเผ่าพื้นเมือง" มีนัยยะทางการเมือง ที่จะนำไปสู่การสั่นสะเทือนอำนาจของรัฐเหนือทรัพยากรบางอย่าง แต่ยุคสมัยปัจจุบันมันไม่เกี่ยวกับความมั่นคงหรืออำนาจอธิปไตย แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่อยู่ในมือของผู้มีอำนาจ

ประการที่สอง ที่ผ่านมามีปฏิบัติการแย่งยึดที่ดินและป่า จากชุมชนในชนบทและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง มีการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้านเหล่านี้ จำนวนมากกว่า 46,600 คดีทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังมีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติและเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ทับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของชาวบ้าน ทั่วประเทศอีก 4,192 หมู่บ้าน 4.2 ล้านไร่ ซึ่งถือเป็นการแย่งยึดที่ดินโดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ


รมว.สิ่งแวดล้อมกับนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุม COP26 (ภาพ: TOP Varawut ? ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา)



ประการที่สาม พื้นที่เป้าหมายปลูกป่าของรัฐบาลไทย ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้คือ ที่ดินทำประโยชน์ของคนชนบทและกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงที่ไม่มีเอกสารสิทธิ

ตามคำแถลงของคุณวราวุธ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 (ดูรายละเอียดได้ที่นี้ ) รัฐบาลมีมาตรการการปลูกและฟื้นฟูป่าธรรมชาติ 11 ล้านไร่ โดยพื้นที่เป้าหมายส่วนหนึ่งคือที่ดินทำกินของชาวบ้าน

โดยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป้าหมายคือ พื้นที่ คทช. ในลุ่มน้ำชั้น 1,2 โดยจะนำที่ดิน คทช.เหล่านั้นมาปลูกป่า 20% ของพื้นที่ โดยให้เจ้าของที่ดินทำกินระหว่างร่อง และห้ามตัดทำลาย รวมทั้งจะเจรจาขอคืนพื้นที่ ซึ่งหมายถึงการยึดที่ดินทำกินอีกร้อยละ 10 ? 20

สำหรับในเขตอุทยานแห่งชาติ เป้าหมายคือ ที่ดินทำกินที่ได้รับการสำรวจและอนุญาตให้ทำกินภายใต้เงื่อนไขที่พระราชกฤษฎีกากำหนด คือ ปลูกไม้ยืนต้นเลียนแบบธรรมชาติ หรือทำตามมาตรการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ เนื้อที่ 4.2 ล้านไร่ รวมทั้งการเจรจาขอพื้นที่จากคนที่ถือครองโดยไม่เป็นไปตามเขื่อนไข เช่น ครอบครัวที่ถือครองที่ดินเกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกินจะถูกยึดคืนไปปลูกป่า

นี่จึงน่าจะเป็นคำตอบว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมลงนามปฏิญญาว่าด้วยการป่าไม้และการใช้ที่ดินของผู้นำกลาสโกว์


4.
ค่านิยมของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าของสากลโลกในยุคสมัยใหม่ เขาให้ความสำคัญกับการคุ้มครองและมอบสิทธิในการจัดการและดูแลผืนป่าให้แก่ชนพื้นถิ่น ซึ่งสวนทางกับแนวทางของรัฐบาลไทย ที่ยังมีนโยบายแย่งยึดที่ดินจากคนชนบทและชนเผ่าพื้นเมือง เป็นแนวคิดแบบเผด็จการที่ล้าหลังและไม่เคยประสบความสำเร็จ มีแต่ความล้มเหลวและขัดแย้งรุนแรง

รัฐบาลเผด็จการ จะทำอะไรก็เอาแต่ผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องเท่านั้น พวกเขาไม่สนใจพัฒนาประเทศ สิ่งแวดล้อมและคุณชีวิตของประชาชนจริงๆ การไปร่วมประชุมกับนานาชาติครั้งนี้ ก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่าการหาเวทีสร้างความนิยมทางการเมืองของรัฐบาลที่นับวันจมดิ่งลงเหวไปทุกที

แล้วรัฐบาลไทยจะร่วมมือกับนานาชาติแก้ไขปัญหาป่าไม้ได้อย่างไร ในเมื่อเรื่องพื้นฐานที่สุดแบบนี้ยังไม่เอาด้วยกับเขาเลย


https://greennews.agency/?p=26303

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 07:36


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger