เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-11-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นในระยะนี้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆเป็นส่วนมาก อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 13 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 17 พ.ย. 64 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อน โดยบริเวณอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 12 ? 13 พ.ย. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก และประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศหนาวเย็นลงบริเวณประเทศไทยตอนบน กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบถึงที่ 13 พฤศจิกายน 2564)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2564

บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น อ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และทะเลอันดามันคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-11-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


"เรากำลังตัดต้นไม้เพื่อปกป้องแหล่งน้ำ" ก่อนจะถึงวันน้ำหมดในเคปทาวน์ ................. แอนดรูว์ ฮาร์ดิง บีบีซี นิวส์ เคปทาวน์


A man cutting down a tree in Cape Town, South Africa

การตัดต้นไม้เพื่อรักษาเมืองให้รอดพ้นจากภัยแล้งอาจดูเหมือนไม่ใช่แผนการที่น่าจะเป็นไปได้ แต่นี่คือสิ่งที่เมืองเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ได้เริ่มทำ หลังจากประสบวิกฤตขาดแคลนน้ำ และกลายเป็นเมืองใหญ่ระดับโลกแห่งแรกที่เข้าใกล้วันที่น้ำจะหมดไปจากเมือง

เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่เคปทาวน์เข้าใกล้วันอันตรายที่ถูกเรียกว่า "เดย์ซีโร" (Day Zero) ซึ่งเป็นวันที่ผู้อยู่อาศัยราว 4 ล้านคนในเมืองจะไม่มีน้ำใช้

วิกฤตนี้เกิดขึ้นจากภัยแล้งที่รุนแรงและคาดไม่ถึง ทำให้อ่างเก็บน้ำทุกแห่งในประเทศแห้งขอด

ขณะนี้ ทางการได้ส่งทีมงานหลายสิบทีมพร้อมเลื่อยไฟฟ้าออกไปปฏิบัติการรักษาอ่างเก็บน้ำเหล่านี้ด้วยวิธีการที่ไม่ค่อยมีใครทำกัน นั่นก็คือ การตัดต้นไม้หลายหมื่นต้นบนภูเขาที่อยู่ล้อมรอบอ่างเก็บน้ำเหล่านั้นทิ้ง

นี่เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก และยังดูขัดกับการต่อสู้กับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างแปลกประหลาดด้วย

บนภูเขาแห่งหนึ่ง คนงาน 2 คน กำลังใช้เชือกไต่หุบเหวลึกเพื่อตัดต้นสนจำนวนมากในบริเวณนั้นจนเหลือแต่ตอ


ต้นไม้ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้แต่เดิม ใช้น้ำปริมาณ 3 เดือน ของน้ำที่บริโภคทั้งปีของเมืองเคปดาวน์

"ต้นสนไม่ใช่พันธุ์ไม้ท้องถิ่นของพื้นที่นี้ พวกมันดูดน้ำไปใช้มากกว่าต้นไม้พื้นเมืองของที่นี่อย่างมาก นี่คือโครงสร้างระบบนิเวศที่เราจำเป็นต้องแก้ไข" นโกซินาทิ นามา ซึ่งเป็นตัวแทนของกองทุนน้ำเมืองเคปทาวน์มหานคร (Greater Cape Town Water Fund) อธิบาย

ต้นสนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ต่างถิ่นถูกนำเข้ามาในภูมิภาคนี้เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมไม้ในช่วงแรก ต่อมามันได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็วไปตามภูเขาต่าง ๆ เบียดต้นไม้ประจำถิ่นซึ่งทนแล้งและใช้น้ำน้อยกว่าในพื้นที่กักเก็บน้ำของเคปทาวน์

ต้นสนและต้นไม้สายพันธุ์ต่างถิ่นอีกหลายชนิดอย่างยูคาลิปตัส ใช้น้ำราว 55,000 ล้านลิตรต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการบริโภคน้ำ 2-3 เดือนของน้ำที่ใช้ทั้งปีในเมือง

"หนึ่งในบทเรียนของ เดย์ ซีโร คือ จำเป็นต้องฟื้นฟูและกอบกู้พื้นที่กักเก็บน้ำของเรา เพื่อให้พื้นที่เหล่านี้กลับมาเหมือนเดิม" เขากล่าว


"ผู้คนหวาดกลัว"

โครงการ 5 ปีในระยะแรกเป็นเพียงหนึ่งในการรับมือวิกฤตน้ำในปี 2018 ของเมืองเคปทาวน์ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์และผู้บริหารพยายามที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์

นอกจากการปกป้องและเพิ่มความหลากหลายของแหล่งน้ำในเมือง รวมถึงการเจาะเข้าไปที่ชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินและติดตั้งโรงงานแยกเกลือออกจากน้ำ ผู้เชี่ยวชาญยังได้ศึกษาถึงการรับมือของมนุษย์ต่อความเสี่ยงของ "เดย์ซีโร" ในแง่ของการใช้น้ำด้วย

"เราประเมินความสามารถของพลเมืองต่ำเกินไปในการปรับตัวต่อวิกฤต" ดร.เควิน วินเทอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมที่มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ (University of Cape Town) กล่าว

เขาชี้ว่า การบริโภคน้ำของเมืองลดลงเกือบครึ่งหนึ่งในช่วงเวลาเพียง 3 สัปดาห์ของต้นปี 2018 จากประมาณ 780 ล้านลิตร เหลือไม่ถึง 550 ล้านลิตรต่อวัน ก่อนที่ลดต่ำลงไปกว่านี้อีก ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือกันของประชาชน

"ประชาชนหวาดกลัวมาก...และมันทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงขึ้น" เขากล่าว

ซียาบอง มายเอซา นักกิจกรรมในท้องถิ่นจากกลุ่มจับตาสถานการณ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring Group) ในเมืองคาย์ลิตชา นอกเมืองเคปทาวน์ เห็นด้วยว่า "ความหวาดกลัวใช้ได้ผล"

"ความคิดที่ว่าน้ำจะหมด ทำให้ชาวเมืองรู้สึกเศร้าและหวาดกลัว และทางการรณรงค์ให้ประชาชนประหยัดน้ำได้ผลค่อนข้างดี ทำให้เราลดการใช้น้ำลงครึ่งหนึ่ง"

"แต่ในระยะยาว เราน่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติแบบองค์รวมมากขึ้น"


ชะลอการชลประทาน

ในช่วงหลายปีนับจากนั้น การใช้น้ำได้เพิ่มสูงขึ้นในเมืองเคปทาวน์ ซึ่งบางทีอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ปริมาณการใช้น้ำก็ยังคงต่ำกว่าระดับสูงสุดในปี 2014 ซึ่งมีการใช้น้ำ 1,200 ล้านลิตรต่อวัน

ความจำเป็นที่ทำให้ชาวเมืองต้องใช้น้ำอย่างประหยัด การถูกปรับหรือเผชิญบทลงโทษต่าง ๆ ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากช่วยประหยัดน้ำจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก


เขื่อนเทียวอเตอร์สเคลิฟ (Theewaterskloof Dam) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดื่มหลักของเคปทาวน์แห้งสนิทในปี 2018 แต่ทุกวันนี้น้ำเต็มเขื่อนแล้ว .... ที่มาของภาพ,AFP

นอกจากนี้ ยังมีการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตร เพราะแอฟริกาใต้ก็ไม่ต่างจากหลายพื้นที่ในโลกที่ 70% ของน้ำในแหล่งน้ำสำรองถูกใช้ป้อนการเกษตร

แต่เมื่อเกิดวิกฤต เกษตรกรที่อยู่รอบเมืองเคปทาวน์ต่างยินยอมหยุดใช้น้ำจากระบบชลประทานของเทศบาลเป็นเวลานานหลายเดือน

วิกฤต "เดย์ซีโร" ยังเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงรูปแบบของสภาพอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้ในยุคของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ภายในสิ้นปี 2018 เคปทาวน์ได้รับฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งผิดไปจากฤดูกาลปกติ


ภัยแล้ง 7 ปี

แต่แม้จะมีความมั่นใจมากขึ้นว่า จังหวัดเวสเทิร์น เคป จะสามารถรับมือกับภัยแล้งในอนาคตได้ดีกว่าเดิม แต่ก็แทบไม่มีหลักฐานว่า ส่วนอื่น ๆ ของแอฟริกาใต้ได้เรียนรู้บทเรียนเดียวกันนี้

ในจังหวัดอีสเทิร์นเคปที่ยากจนกว่ามาก และเกษตรต้องเผชิญกับความยากลำบากในการรับมือกับภัยแล้งที่ยาวนาน 7 ปี และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง พื้นที่อ่าวเนลสัน แมนเดลา ที่มีประชากรหนาแน่น กำลังเผชิญกับการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง โดยคนทั่วไปเห็นว่า เป็นเพราะการบริหารจัดการที่ผิดพลาดและการทุจริตนานหลายปี ตลอดจนความล้มเหลวในการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำให้อยู่ในสภาพดี

"โชคดีที่ผู้บริหารเมืองเคปทาวน์แก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี พวกเขาทำทุกอย่างและ...เห็นความสำคัญของประชาชน ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้นำได้ช่วยให้ประชาชนเอาชนะปัญหาได้" มคูเซลี แจ็ก นักธุรกิจและนักการเมืองฝ่ายค้านจากเมืองเกเบกเคอ กล่าว

"แต่ที่นี่ (จังหวัดอีสเทิร์นเคป) ผู้นำทำงานไม่มีประสิทธิภาพนัก จนถึงขั้นที่ประชาชนบางส่วนไม่เชื่อทุกอย่างที่นักการเมืองที่นี่พูด"

เกเบกเคอกำลังพยายามเตือนผู้คนว่า "เดย์ซีโร" ของเมืองอาจจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือน ขณะที่เมืองขนาดเล็กในจังหวัดเริ่มประสบปัญหาน้ำประปาไม่พอใช้แล้ว ในย่านที่อยู่อาศัยบางแห่ง ผู้คนต้องพึ่งพารถบรรทุกส่งน้ำที่จัดหามาให้โดยองค์กรการกุศล

เอลซี ฮานส์ วัย 53 ปี ที่อาศัยอยู่ที่เพิงแห่งหนึ่งในเมืองคราฟเรเน็ต ในจังหวัดอีสเทิร์นเคป กล่าวว่า "เราไม่มีน้ำใช้มา 2 วันแล้ว ฉันกังวลว่ามันจะแย่ลงเรื่อย ๆ เพราะ (รัฐบาล) ไม่ดูแลเรา"

"พวกเขาสร้างห้องน้ำให้เราที่นี่ แต่เราไม่ได้ใช้ เพราะไม่มีน้ำ"


https://www.bbc.com/thai/international-59234251

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:21


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger