เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,228
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส และยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้าปกคลุมภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนน้อยในระยะนี้

อนึ่ง ในวันที่ 26 - 30 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2?5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลงในระยะต่อไป


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีอากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 24 - 26 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1?3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า ในขณะที่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน และมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในวันที่ 27 - 29 ธ.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยจะเริ่มปกคลุมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกก่อน ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีอุณหภูมิลดลง 2?5 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง และจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ และภาคกลางในวันถัดไป ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง 1?4 องศาเซลเซียส ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร และบริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร สำหรับภาคใต้ตอนล่างทั้งสองฝั่งยังคงมีฝนตกต่อเนื่องในระยะนี้


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 - 29 ธ.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,228
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สมองปลาโบราณจากควีนส์แลนด์ ชี้การดัดแปลงสู่ชีวิตบนบก



เมื่อปี พ.ศ.2538 ทีมนักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส ในออสเตรเลีย สำรวจและขุดพบซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลปลาชนิดหนึ่งในรัฐควีนส์แลนด์ แดนออสซี ทว่ากายวิภาคของปลาชนิดนี้ยังไม่เป็นที่รู้แน่ชัด แต่เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักบรรพชีวินวิทยาไขความกระจ่างบางอย่างเกี่ยวกับฟอสซิลปลานี้ได้แล้ว

จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไปยังกะโหลกศีรษะอันซับซ้อนของฟอสซิลปลาตัวนี้ ก็ชี้ชัดได้ว่านี่คือปลา Cladarosym blema narrienense อยู่ในกลุ่มของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เรียกว่า เตตระโพโดมอร์ฟ (Tetrapodomorph) ซึ่ง Clada rosymblema narrienense มีอายุ 330 ล้านปีมาจากยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) และเป็นบรรพบุรุษของสัตว์บก ชนิดแรกอย่างเตตระพอด (tetrapod) สัตว์มีกระดูกสันหลังมี 4 ขา ที่สำคัญปลาโบราณจากควีนส์แลนด์ตัวนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ ที่ช่วยอธิบายได้ว่าปลาวิวัฒนาการเปลี่ยนจากอาศัยอยู่ในน้ำมาอยู่บนบกครั้งแรกเมื่อประมาณ 370 ล้านปีก่อนได้อย่างไร

ข้อมูลเชิงลึกดังกล่าวมาจากการเปรียบเทียบสมองของปลา Cladarosymble ma narrienense กับสมองของปลาอื่นๆ ที่ยังคงอาศัยอยู่ในน้ำ นักบรรพชีวินวิทยาพบหลักฐานที่แสดงว่าปลา Cladarosymblema narri enense มีสมองคล้ายกับสัตว์บนบกที่เชื่อว่าเป็นลูกหลานของมันที่วิวัฒนาการจากน้ำสู่บก อีกทั้งกะโหลกศีรษะที่ใหญ่ผิดปกติก็ให้เบาะแสเกี่ยวกับรูปร่างของสมองของปลาตัวนี้ โดยมันมีต่อมใต้สมองค่อนข้างใหญ่ บ่งชี้ถึงบทบาทสำคัญในการควบคุมต่อมไร้ท่อที่สำคัญต่างๆ.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2271176


*********************************************************************************************************************************************************


ตะลึง อิสราเอลเจอสมบัติในซากเรือโบราณ ใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

นักโบราณคดีเผยภาพสมบัติล้ำค่าจำนวนมาก ที่ค้นพบในซากเรือโบราณที่อับปางในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีทั้งเหรียญเงิน แหวนทองคำ และรูปปั้นอีกจำนวนมาก



คณะนักโบราณคดีทางทะเลของอิสราเอล ค้นพบสมบัติหายากในยุคโรมันจากซากเรือโบราณที่อับปางใต้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากพายุรุนแรงในสมัยโรมัน หรือราว 600-1,700 ปีก่อน จำนวน 2 ลำ

โบราณวัตถุที่ค้นพบครั้งนี้มีบางส่วนที่อยู่บนซากตัวเรือ และยังกระจัดกระจายอยู่ใต้น่านน้ำนอกชายฝั่งเมืองซีซาเรีย ที่ความลึกราว 4 เมตร โดยมีทั้งเหรียญเงินและสัมฤทธิ์หลายร้อยเหรียญ รูปปั้นนกอินทรีสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การปกครองของโรมัน รูปปั้นละครใบ้โรมันสวมหน้ากากตลก ระฆังสัมฤทธิ์ที่ถูกใช้เพื่อปัดเป่าวิญญาณชั่วร้าย รวมถึงภาชนะดินเผา

คณะนักโบราณคดีอิสราเอลยังค้นพบอัญมณีสีแดงสำหรับใส่ในแหวน ซึ่งมีการแกะสลักสัญลักษณ์รูปพิณ และแหวนทองคำ 8 เหลี่ยมหนาประดับพลอยสีเขียว ซึ่งนักวิจัยระบุว่าพลอยสีเขียวดังกล่าวเป็นภาพของคนเลี้ยงแกะแสนดี หรือภาพของคนเลี้ยงแกะสวมเสื้อคลุมแบกแกะไว้บนบ่า หนึ่งในภาพยุคแรกที่ใช้ในศาสนาคริสต์เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระเยซู.

ที่มา : ซีบีเอสนิวส์ , ซินหัว


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2271636

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 24-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,228
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


'ปลาหัวใส' พันธุ์หายากกลางทะเลลึกแถบแคลิฟอร์เนีย

ทีมนักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในแคลิฟอร์เนียกำลังมองหาแมงกะพรุนน้ำลึก แต่พวกเขากลับเจอ 'ปลาหัวใส' ที่ว่ายมาพร้อมด้วยดวงตาสีเขียวที่เรืองแสงใต้ทะเลลึก



โธมัส โนลส์ ผู้ดูแลอาวุโสประจำพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์ สังเกตเห็น??ปลาหัวใส? (Barreleye fish) ในอ่าวมอนเทอเรย์ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ในระหว่างที่ทีมงานกำลังสำรวจทะเลด้วยอุปกรณ์ดำน้ำแบบควบคุมระยะไกล?

แม้จะเป็นการมองเห็นจากระยะไกล แต่เขาก็แน่ใจว่ามันคือปลาหัวใส ทีมงานภายในห้องควบคุมใต้ทะเลต่างรู้สึกตื่นเต้นกันมาก พวกเขาต่างลงความเห็นว่านี่เป็นประสบการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิต เพราะครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้เห็นปลาดังกล่าวแบบตัวเป็น ๆ

จากสถิติการใช้อุปกรณ์ดำน้ำโดยการควบคุมระยะไกลถึง 5,600 ครั้ง และถ่ายคลิปวิดีโอไว้มากกว่า 27,600 ชั่วโมงในการสำรวจใต้ทะเล ทีมงานเคยเห็นปลาชนิดนี้เพียง 9 ครั้งเท่านั้น

แม้ว่าจะเป็นปลาที่พบเห็นได้ยาก แต่ทีมงานก็ไม่มีเจตนาจะจับมันมา เนื่องจากพวกเขาไม่ได้เตรียมการว่าจะเลี้ยงหรือดูแลปลาชนิดนี้อย่างไรในสวนสัตว์น้ำ?

ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยสัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ ปลาหัวใส (Barreleye fish) เป็นปลาพันธุ์หายาก สันนิษฐานว่าแถบที่อาศัยของมันคือกลางมหาสมุทรที่ระดับความลึก 2,000-2,600 ฟุต มีลักษณะเด่นคือดวงตาโตสีเขียวเรืองแสงได้เหมือนหลอดไฟขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ภายในส่วนหัวที่โปร่งใส ดวงตาของปลาประหลาดชนิดนี้สามารถขยับไปข้างหน้าได้เพื่อใช้มองเวลาที่มันกินอาหาร?

เมื่อปลาหัวใสโตเต็มที่ มันจะมีความยาวราว 6 นิ้ว พบเห็นได้ในทะเลแบริ่งแถบญี่ปุ่นไปจนถึงแถบบาฮา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


https://www.dailynews.co.th/news/600037/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 24-12-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,228
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"ปูแดงเกาะคริสต์มาส" เคลื่อนขบวนพาเหรด! ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่น่าทึ่ง เพราะการอนุรักษ์


เครดิตภาพ : Theconversation.com

ช่วงปลายปี ก่อนวันคริสต์มาส ขบวนพาเหรดปูแดงหลายล้านตัว มุ่งหน้าสู่เกาะคริสต์มาส คงเป็นภาพที่คุ้นตาคนท้องถิ่น ในปีนี้ เคลื่อนขบวนกันแล้วตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา แต่ก็เป็นอีกหนึ่งวาระสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาชมปรากฎการณ์ธรรมชาติอันน่าทึ่งได้ทุกปี

ปูแดง หรือ blazing red crabs ประมาณ 50 ล้านตัวออกเดินทางจากอุทยานแห่งชาติ มุ่งหน้าสู่ภาคตะวันตกของออสเตรเลีย กลายเป็นภาพที่นักท่องเที่ยวจดจ้อง การอพยพของเหล่าปูแดงนี้ เรียกได้ว่าเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดของสัตว์โลก ความมากมายมหาศาลของปูแดงทำให้พื้นถนนของเกาะฉาบไปด้วยสีแดงสด แต่ละตัวก็มีพฤติกรรมตลกๆ ให้ช่างภาพทั้งหลายได้คอยยกกล้องขึ้นมาถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการเดินข้ามถนน ข้ามสะพาน เกาะหินและว่ายน้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทันเวลาที่พวกมันจะพร้อมผสมพันธุ์

เบรนแดน เทียร์แนน ผู้จัดการทรัพยากรธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเกาะคริสต์มาส กล่าวว่า "การย้ายถิ่นในปีนี้เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่อย่างยิ่ง"

เจ้าหน้าที่บนเกาะคริสต์มาส จะต้องตระเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับฤดูการอพยพของปูแดง โดยใช้เวลาหลายเดือน อาทิ การสร้างสะพานให้ปูได้ข้ามถนนอย่างปลอดภัย และสร้างแนวกำแพงให้ปูเดินไม่ให้พวกมันออกมาบนถนนและกีดขวางการจราจร โดย ดร. ทันยา เดทโต ผู้ประสานงานโครงการ Invasive Species หรือสัตว์นอกพื้นที่ ของเกาะคริสต์มาส กล่าวกับสำนักข่าวเดลี่เมล ของออสเตรเลียว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้เห็นการอพยพครั้งใหญ่ที่มีจำนวนปูมากมายขนาดนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.2005

เธอบอกว่า เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานในการสร้างสะพาน และแนวกั้นทางเดินให้กับบรรดาปู เพื่อส่งพวกมันไปให้ถึงจุดหมายคือ Flying Fish Cove ?ตอนที่เห็นปูเดินไปตามทางที่เรากั้นไว้ ไม่ให้ลงไปเดินบนผิวการจราจรมันน่ารักมาก แล้วพวกมันก็ปลอดภัย? เธอกล่าวและบอกว่า แม้ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์จะพยายามคาดเดาว่า ปูจะใช้เส้นทางไหนในการอพยพแต่ละปีเพื่อเตรียมการล่วงหน้า แต่บางครั้งบรรดาปูก็เลือกจะเดินทางอื่น

ในขณะที่ปูบางตัวก็ใช้วิธีปีนตึก บางตัวก็ตกจากหน้าผา แต่ท้ายที่สุดแล้ว ในบรรดาปู 50 ล้านตัวนั้นส่วนใหญ่พวกมันก็รอด โดยฤดูการอพยพทุกปีจะเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ส่วนพฤติกรรมตามธรรมชาติของปูนั้น หลังจากที่มีฝนตกไม่กี่วัน ปูตัวผู้จะเริ่มออกจากรังและเดินมุ่งหน้าสู่ทะเล พร้อมกับเลือกคู่ของมันระหว่างทาง การเดินทางของปูนั้นขึ้นอยู่กับรอบข้างขึ้นข้างแรมด้วย โดยในปีนี้คาดว่า ปูจะเริ่มวางไข่ในช่วง 3 วันสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน

ปูตัวเมียจะสามารถวางไข่ได้มากกว่า 1 แสนฟองและมันจะทิ้งไข่ของพวกมันลงไปในมหาสมุทรอินเดียตลอด 5-6 คืนช่วงที่พวกมันกำลังอพยพ และภายใน 1 เดือน ลูกปูตัวจิ๋วจะกลับสู่ฝั่งเพื่อเดินหน้าสู่ป่า ที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของพวกมันไปตลอดจนถึงปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ปูจิ๋วเหล่านี้ก็มีอัตรารอดไม่มากนัก เนื่องจากขณะกำลังเป็นตัวอ่อนในทะเล มันก็มักจะเป็นอาหารของ ปลา กระเบน และฉลามวาฬได้เช่นกัน



บีอันกา พรีซ รักษาการผู้จัดการของเกาะคริสต์มาส กล่าวว่า ปรากฎการณ์มหัศจรรย์นี้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ?เกาะคริสต์มาสเป็นอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของเราได้สร้างแนวกั้นยาวหลายกิโลเมตรเพื่อทำทางอพยพ ทำป้ายบอก ป้ายเตือนต่างๆ และปิดถนนรอบเกาะในขณะที่ปูกำลังออกเดินจากบ้านไปสู่ทะเล? เขากล่าว

เกาะคริสต์มาสเป็นถิ่นอาศัยของปูแดงจำนวนมากที่สุดในโลกและนักท่องเที่ยวจะต้องรับทราบกฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติในการเยี่ยมชม


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000127004

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 05:13


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger