เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประเทศลาว และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ก.พ. 65 ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นเป็นบางแห่ง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยภาคเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือ ทำให้บริเวณภาคเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเป็นบางพื้นที่

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.พ. 65 ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นโดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงแระมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ส่วนชาวเกษตรกรบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 6 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง และขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ และชาวเกษตกรในบริเวณภาคเหนือ ควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"ดร.ธรณ์" เผย "น้ำมันรั่วระยอง" ยังประเมินความเสียไม่ได้

"ดร.ธรณ์" เผย "น้ำมันรั่วระยอง" ยังประเมินความเสียไม่ได้ เหตุการณ์ยังไม่จบ ห่วงการท่องเที่ยวเสียหาย อย่างน้ำมันเข้าหาดแม่รำพึง แต่คนก็ไม่ไปเที่ยวตั้งแต่ระยอง สัตว์น้ำก็ขายไม่ได้ แนะเสนอข่าวให้ชัดเจนว่าจุดไหนที่ได้รับผลกระทบ



วันที่ 31 ม.ค. 2565 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง "นิวส์วัน" ในหัวข้อ "น้ำมันรั่วระยอง ผลกระทบที่ยังไม่จบ ?"

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวถึงความเสียหายกรณีน้ำมันรั่วระยอง ว่า หาดแม่รำพึงเป็นหาดทราย ไม่มีปะการัง ไม่มีหญ้าทะเล แต่มีสิ่งมีชีวิต เด่น ๆ ก็หอยเสียบ ปูทหาร พวกที่ได้รับผลกระทบก็สัตว์ที่ว่ายน้ำหนีไม่ได้ น้ำมันมาก็ถูกทับไป

ส่วนอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด มีแนวปะการัง แต่ตอนนี้น้ำมันไม่ได้เข้าถึงขั้นที่จะเป็นแบบเมื่อหลายปีก่อน ผลกระทบยังไม่ชัดเจน แต่ก็ยังต้องเฝ้าระวัง

ไปที่สวนสน บ้านเพ ตรงนั้นมีหญ้าทะเล จากประสบการณ์คราวก่อน หญ้าทะเลผลกระทบจะไม่มากเท่าปะการัง

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวอีกว่า จุดที่น่าห่วงตอนนี้คือบริเวณอ่าวพร้าว เพราะคราบน้ำมันกำลังเข้าใกล้เกาะเสม็ดมากขึ้น คราบดำ ๆ ที่หาดแม่รำพึงก็จะน้อยลง ไปที่อ่าวพร้าวมากขึ้น

ความเสียหายยังประเมินไม่ได้ตอนนี้ถ้ามันยังไม่จบ แต่เราสามารถบอกได้ว่าก่อนที่จะเกิดครั้งนี้ เรามีบทเรียนมาก่อน ทางคณะประมง กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้นเรามีข้อมูลก่อนที่น้ำมันจะมา ครั้งนี้เราจึงมีเวลาที่จะเตรียมการ แต่ก็คาดเดาได้ยาก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์รายวัน

เมื่อถามว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ปกติน้ำมันจะเข้ามาเป็นลิ่ม ผ่านไปก็จะเริ่มมาเป็นคราบเป็นฟองเป็นเหลื่อม ๆ ในที่สุดก็เป็นก้อนน้ำมันดิบ ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 2-3 สัปดาห์ หรืออาจจะเป็นเดือน

หากเทียบกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่อ่าวพร้าวเมื่อ 9 ปีก่อน ครั้งนั้นน้ำมันอัดมาที่เดียวกันสะสมอยู่ในอ่าวพร้าว ปากอ่าวแค่ 500 เมตร หาด 400 เมตร แต่ครั้งนี้มันแผ่กว้าง หาดแม่รำพึงยาว 13 กิโลเมตร คราวนี้ผลกระทบต่อจุดมันจะเบากว่า แต่พื้นที่กว้างกว่าเยอะมาก

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวต่ออีกว่า ข้อมูลทางวิชาการมันมีค่าต่อการเยียวยา ตนไม่ได้เป็นคนประเมินการเยียวยา แต่บอกได้ว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบตรงไหนแดงเข้ม และร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเล ท้ายที่สุดขบวนการมันไม่จบภายใน 3 เดือน 6 เดือน ต้อเป็นไปตามขบวนการศาล

ผลกระทบบอกได้ยาก เพราะบอกว่าน้ำมันเข้าหาดแม่รำพึง คนก็ไม่ไปเที่ยวตั้งแต่ระยองแล้ว บางทีจับสัตว์น้ำได้ก็ขายไม่ได้ ไม่มีนักท่องเที่ยวจะไปขายใครล่ะ ปัญหามันเกิดจากเอกชน ภาครัฐก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นทำไมไม่เอาเรือประมงไปช่วยเก็บ การที่ภาครัฐเอาเงินไปซื้อน้ำมันให้เอกชน คนอนุมัติติดคุกนะ

ส่วนเรื่องของชาวบ้าน บอกให้เขาเลิกจับปลาหรืออะไรก็ตาม ต้องเยียวยาเขาด้วย ไม่ใช่ให้เขาเลิกทำเฉย ๆ เพราะว่าพี่น้องประมงพื้นบ้านทำประมงกันอย่างเดียวไม่ได้มีอาชีพเสริมด้านอื่น แล้วก็เรื่องของผู้ประกอบก็ขาดรายได้ไปเยอะ

บริษัทที่เป็นต้นเหตุ เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เขาก็ทำตามคู่มือต่างประเทศ แต่ในความเป็นจริงจะเหมือนหรือเปล่าก็ต้องสืบสวนสอบสวน

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวด้วยว่า เวลาข่าวออกไปต้องชัดเจนว่าผลกระทบอยู่ตรงไหน ตอนนี้ที่แม่รำพึง เกาะเสม็ดยังไม่แน่ แหลมแม่พิมพ์ ตอนนี้เช็กยังไม่มีคราบน้ำมัน ต้องเอาให้ชัด ไม่เช่นนั้นเดือดร้อนกันค่อนข้างเยอะ


https://mgronline.com/onlinesection/.../9650000010349

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 01-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


รู้ยัง? ระนองมี "ภูเขาไฟใต้ทะเล" ห่างไทย 700 กม.



กรมอุตุนิยมวิทยา ยืนยันไทยก็มีภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กับจุดที่เฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลียและแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย กรมทรัพยากรธรณี ชี้มีจริง ส่วนบนบกดับสนิทแล้วที่ปราสาทพนมรุ้ง

กรณีเกิดภูเขาใต้ทะเลระเบิดที่ประเทศตองกา เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิ จนในมหาสมุทรแปซิฟิกหลายประเทศ หลายประเทศออกคำเตือนสึนามิสูง 1.2 เมตรซัดเข้าหาชายฝั่ง โดยหลายประเทศรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน เช่น ฟิจิ และวานูอาตู

วันนี้ (31 ม.ค.2565) เฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ยืนยันกรณีที่กระแสข่าวว่า พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิ

โดยทางเพจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ระบุว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลจริง

พบภูเขาไฟใต้ทะเลห่างจาก จ.ระนอง 700 กิโลเมตร เป็นจุดเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิแนวมุดตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลียกับแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย เป็นบริเวณที่มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเป็นประจำและมีภูเขาไฟกระจายอยู่ตามแนวมุดตัวนี้อยู่แล้ว ตามแนวหมู่เกาะอันดามันนิโคบาร์ และหมู่เกาะสุมาตรา ซึ่งอยู่ห่างออกไปจากแนวชายฝั่งตะวันตกของประเทศไทยไปประมาณ 600-700 กิโลเมตร

ส่วนสาเหตุการเกิดสึนามิที่สามารถสร้างความเสียหายได้ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีการยกมวลน้ำเป็นบริเวณกว้างมากกินพื้นที่หลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งต่างจากการระเบิดของภูเขาไฟที่เป็นจุดเดียว และพื้นที่การยกตัวของมวลน้ำไม่มาก

อย่างไรก็ตาม ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดสึนามิในบริเวณฝั่งอันดามัน กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแจ้งเตือนการเกิดสึนามิไปสู่ประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์

นายสุวิทย์ โควสุวรรณ ผอ.ส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ภูเขาไฟใกล้ จ.ระนองมีจริง แต่ไม่ได้มีความเสี่ยงแบบกรณีของภูเขาไฟใต้ทะเลตองกา ที่เป็นภูเขาไฟใต้น้ำยอดปล่องทะลเหนือทะเล 150 เมตร ส่วนภูเขาไฟที่ใกล้จ.ระนอง ชื่อบาเร็น Barren Volcano ซึ่งอยู่บนเกาะนิโคบาร์อันดามัน เป็นเกาะขนาดใหญ่มีภูเขาไฟอยู่บนเกาะที่ผ่านมามีการปะทุแต่ไม่มีเคยมีลาวาลงทะเล และอยู่บนเกาะ

"ภูเขาไฟบาเร็น Barren Volcano อยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นภูเขาไฟที่ใกล้ไทยมากที่สุด ประวัติเคยปะทุ แต่ไม่อันตรายเท่าตองกา ส่วนปล่องภูเขาไฟบนบกในไทย มีที่จ.บุรีรัมย์์ ดับสนิทไปแบ้ว 1 ล้านปีเป็นที่ตั้งปราสาทพนมรุ้ง เป็นภูเขาที่ดับสนิทแล้ว "


https://news.thaipbs.or.th/content/312181

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger