เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 02-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนยังคงพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีเมฆบางส่วน กับหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นเป็นบางแห่ง และมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า

ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 7 ก.พ. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณภาคเหนือมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกเป็นบางพื้นที่

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ส่วนชาวเกษตรกรบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 7 ก.พ. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง และประชาชนบริเวณภาคเหนือระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฟ้าผ่า โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ และชาวเกษตกร ควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 02-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


น้ำมันรั่ว หายนะระบบนิเวศ วิถีชุมชน ยาวนาน เสี่ยงสารพิษก่อมะเร็ง ปนเปื้อน



ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมถึงวิถีชุมชน ยังไม่สามารถประเมินได้ จากเหตุน้ำมันรั่วบริเวณมาบตาพุด จ.ระยอง แม้ผ่านมากว่า 7 วัน ตั้งแต่คืนวันที่ 25 ม.ค. และยังคงเฝ้าระวัง ไม่ให้คราบน้ำมันเข้าชายฝั่งอ่าวพร้าว ในหมู่เกาะเสม็ด

แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วต่อการทำมาหากินในจ.ระยอง ทำให้ร้านค้าขายอาหารทะเลแทบไม่ได้ และบรรดารีสอร์ตที่พักถูกยกเลิกเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลข้อเท็จจริงไม่มีรายละเอียดอย่างชัดเจน เกิดความสับสนตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุโดยเฉพาะปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล ทำให้การแก้ไขอาจไม่ทันท่วงที

พร้อมคำถามเกี่ยวกับปริมาณการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันให้จมสู่ใต้ทะเล เพื่อการประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของสารพิษตามแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และแนวปะการัง ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะการทำประมงพื้นบ้าน อาจมีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง
กลุ่ม Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) หากผู้บริโภครับสารอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นพิษต่อระบบร่างกายได้

เหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งนี้ คงไม่ต่างจากปี 2556 และอาจรุนแรงกว่า ในการสร้างหายนะต่อระบบนิเวศ วิถีชุมชนเศรษฐกิจ การประมง และสุขภาพ จากความกังวลของหลายฝ่าย นำไปสู่การร่วมหาทางออกของเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย Thai Climate Justice for All (TCJA) ร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศ และกรีนพีซ ประเทศไทย เพื่อการขับเคลื่อนที่ยั่งยืนและเป็นธรรม




หวั่นสารก่อมะเร็ง ปนเปื้อนระบบนิเวศ-ห่วงโซ่อาหาร

ในแง่ผลกระทบจากสารพิษ แม้จะต้องใช้เวลาในการศึกษา ?ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์? ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมยุทธ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ได้หยิบยกเหตุน้ำมันรั่วในปี 2556 จากการเก็บตัวอย่างดินนำมาสกัดโดยทางวิทยาศาสตร์ พบสารก่อมะเร็ง PAHs หรือ Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ตกค้างอยู่ในน้ำมันดิบที่มีปริมาณมหาศาล จะปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน

ผลการวิเคราะห์สารก่อมะเร็ง พบว่ากระจุกตัวอยู่ที่อ่าวพร้าว หลังมีการรั่วไหลของปิโตรเลียม และแม้เวลาจะผ่านไปก็ตาม และยังพบในอ่าวลุงดำ อ่าวช่อ และอ่าวน้อยหน่า หรือครั้งล่าสุด จะเกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งนักวิชากังวลมากต่อสารพิษก่อมะเร็ง

"การใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมันดิบ คิดว่าจะจบแต่ไม่น่าจะจบ อย่างกรณีเม็กซิโก มีผลในระยะยาวต่อแพลงก์ตอน และกระทบในแง่สุขภาพ ซึ่งไทยยังขาดแผนในการจัดการทางโครงสร้าง ต้องมีการจัดการทั้งระบบเหมือนในต่างประเทศ ต้องรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมด"

ขณะที่ "รศ.ดร.เรณู เวชรัชต์พิมล" นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม และมลพิษอุตสาหกรรม ตั้งคำถามว่า ทำไมน้ำมันถึงรั่วในท่อ และต้องลงไปปิดวาล์ว เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะโรงงานเหล่านี้ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรการเพื่อป้องและลดผลกระทบ ภายใต้การดูแลของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน นอกจากนี้หน่วยงานราชการจะตรวจสอบได้ ในการนำเข้าน้ำมัน และจะทราบถึงปริมาณน้ำมันที่รั่วออกมา

การป้องกันความเสี่ยงจะเกิดน้ำมันรั่วอีก ควรมีระบบป้องกันไม่ให้เกิดน้ำมันรั่วซ้ำรอย และประชาชนควรเข้าถึงข้อมูลกรณีได้รับผลกระทบ และทำไมต้องใช้สารเคมีเพื่อแค่กำจัดคราบน้ำมันเท่านั้น ซึ่งยังมีพิษต่อสัตว์น้ำ หรือแม้น้ำมันดิบที่รั่วครั้งนี้ เป็นประเภทโมเลกุลไม่ยาว ระเหยง่ายไม่เหมือนครั้งที่แล้ว และได้หายไปเกือบ 60% แต่ยังเป็นห่วงสารพิษจากเบนซินยังหลงเหลือ จะกระทบห่วงโซ่อาหาร

"ทำไมน้ำมันรั่วครั้งนี้ มีการขอความช่วยเหลือจากสิงคโปร์ และทำไมพื้นที่ซึ่งมีสองโรงกลั่นไม่สามารถช่วยกันได้ และเห็นการใช้ทุ่น ในช่วงหลังๆ อยากเรียกร้องถ้าการขนส่งทางท่อ ถ้าไม่พร้อมก็ควรหยุดไปก่อน เพราะคนไม่อยากได้เงินชดเชยเยียวยา แต่อยากทำมาหากินมากกว่า อีกอย่างเป็นพื้นที่อีอีซี ทำให้ยิ่งกังวลใจมาก ควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหามากกว่านี้ เพราะการพัฒนาต่างๆ ได้ทำลายล้างสิ่งแวดล้อม"




หายนภัยอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ครั้งรุนแรงที่สุด

เช่นเดียวกับ "เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง" ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ ระบุได้ติดตามสถานการณ์พอสมควร และส่งทีมงานเก็บข้อมูล ถ้าเทียบกับปี 2556 รู้สึกว่าเหตุการณ์ครั้งนี้น่าจะเป็นหายนะ จากภัยของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมครั้งที่รุนแรงที่สุด เชื่อว่ามีการใช้สารเคมีสลายคราบน้ำมันสูงมาก เพราะปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลสูง โดยครั้งนี้บริษัทเปิดเผยข้อมูลไม่ครบถ้วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปกปิดข้อมูล จากน้ำมันรั่ว 4 แสนลิตร แต่ภายหลังระบุน้อยกว่านี้ โดยใช้เวลานานในการกำจัดคราบน้ำมัน

สิ่งที่อยากเรียกร้อง ขอให้มีการให้ข้อมูลปริมาณน้ำมันที่เป็นจริง เพราะขณะนี้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในข้อมูล อยากให้รัฐบาลออกมายอมรับ และบริษัทออกมาแถลงอย่างตรงไปตรงมา โดยเมื่อปี 2556 เคยเสนอให้มีคณะกรรมการในการสอบสวนข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย และเพื่อจ่ายเงินเยียวยาที่เหมาะสม แต่กลับมีแต่กรรมการมาจากฝ่ายปิโตรเลียม ส่งคนเข้ามา และจากบทเรียนปี 2556 ทำให้ได้รับค่าเยียวยาอย่างไม่เป็นธรรม เป็นปัญหาใหญ่ของไทย เมื่อเวลาเกิดปัญหาไม่มีกลไกตรวจสอบ

นอกจากนี้การให้ข้อมูลที่เป็นจริง จะสร้างความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะบริษัทผู้ถือหุ้น ซึ่งระบบโครงข่ายท่อน้ำมันกลางทะเล อาจเกิดรอยรั่วจากท่อที่ผุกร่อน และคาดว่าน้ำมันรั่วครั้งนี้ จะกระทบอุตสาหกรรมประมงและท่องเที่ยวอย่างรุนแรง ทั้งสัตว์หน้าดิน นอกเหนือจากปะการัง ดังนั้นเมื่อไทยมีโรงกลั่นมาก ถึงเวลาต้องลงทุนซื้อเรือสกิมเมอร์ และซื้อบูมหรือทุ่น
ส่วนการประเมินผลกระทบสารเคมีต้องใช้เวลาศึกษา โดยรัฐบาลอย่าเดินตามภาคเอกชน เพราะไม่ต้องการเห็นอุบัติภัยลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก จากความไม่มืออาชีพ ควรลงทุนเพื่อความปลอดภัย เพื่อประชาชนและระบบนิเวศ

"ธารา บัวคำศรี" ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย ระบุหายนะน้ำมันรั่วในไทย ยังขาดวิทยาศาสตร์พลเมือง ในการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการตรวจสอบ ตามคู่มือองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (NOAA) แม้ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ตามในการหาข้อมูลน้ำมันรั่วไหลบนผิวทะเล และจากข้อถกเถียงน้ำมันรั่วครั้งนี้ จะสามารถคำนวณได้จากคราบน้ำมันที่ปกคลุมผิวทะเล

หากความหนาจากคราบน้ำมัน 1 ไมครอน ก็เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร หากคราบน้ำมัน 5 ไมครอน ประเมินปริมาณน้ำมันก็น่าจะเท่ากับ 58,250 ลิตร จากพื้นที่ 47 ตร.กม.ตามภาพถ่ายของจีสด้า หรือ 1 ไมครอน น่าจะราว 5 หมื่นลิตร ขณะเข้าหาดแม่รำพึง แต่ไม่ว่าน้ำมันรั่วไหลเท่าใด จะส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน




น้ำมันรั่ว ปี 56 ผ่านไป 9 ปี ชีวิตชาวบ้านไม่ดีขึ้น

แง่มุมกฎหมายในการปกป้องสิทธิ "ส.รัตนมณี พลกล้า" หนึ่งในทีมทนายความ เคยช่วยชาวบ้านเมื่อปี 2556 ในการสืบพยานในชั้นศาล ระบุปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลสำคัญมากในการพิสูจน์ และในครั้งนี้จากภาพจีสด้า น่าจะมีปริมาณน้ำมันมากกว่าปี 2556 ซึ่งครั้งนั้นอย่างน้อย 5 หมื่นลิตร และใช้สารเคมีหลายหมื่นลิตร สมมติใช้สารเคมี 1 หมื่นลิตร ก็เท่ากับมีปริมาณน้ำมัน 1 แสนลิตร ซึ่งทางกรมควบคุมมลพิษ มีข้อมูลในเรื่องนี้

เนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื่อมโยงกับสารเคมีในการสลายคราบ และกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการรายงานในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งน้ำมันรั่วครั้งที่แล้วไม่ใช่เฉพาะชาวประมง ยังมีผู้ประกอบการอื่น จากกิจกรรมต่อเนื่องทั้งการประมง ร้านค้า และกิจการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบ และแม้ได้เงินชดเชย แต่น้ำมันและสารเคมีไปตกอยู่ตามเกาะแก่งหิน ต้องมีการฟื้นฟูเป็นเวลานาน

"ผ่านไป 9 ปี ชีวิตชาวบ้านไม่ดีขึ้น ไม่มีอะไรที่ชัดเจนจากคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน หรือ กปน. เท่าที่ควร และประเทศไทยจะต้องเจอภาวะแบบนี้อีกเท่าไร เรื่องการแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร ควรใช้ปราชญ์ชาวบ้านในการร่วมทำแผน ต้องใช้หลักการวิชาการและการปกครองมาช่วยกัน และฟังเสียงประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างไร ในการแก้ปัญหา รัฐต้องเคารพสิทธิมนุษยชนในการเยียวยา โดยเฉพาะการฟื้นฟู"

ที่ผ่านมายอมรับว่ากฎหมายในไทยมีจำนวนมาก มีการตีความคนละแบบ และการเยียวยาไม่ได้เกิดขึ้นจริง ไม่ถูกต้อง ไม่อยากให้ผลักภาระให้ประชาชนรับผิดชอบ โดยหน่วยงานรัฐต้องเข้ามาดูแล และการตั้งกรรมการเข้ามามีส่วนตรวจสอบ นำไปสู่การแก้ปัญหาให้ถูกต้องถูกจุด ไม่ได้ซุกให้อยู่ใต้พรม เหมือนใช้สารเคมีให้จมใต้ทะเล ไม่อยากให้ครั้งนี้ถูกปิดบังข้อมูล โดยชาวบ้านจะต้องเข้ามาช่วยดูแล

ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการด้านพลังงาน กล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับเหตุน้ำมันรั่ว ซึ่งเพิ่งเกิดไม่กี่ปี กระทั่งเกิดเหตุครั้งนี้ดูเหมือนไม่มีการเตรียมพร้อม ไม่มีบทเรียนในการใช้สกิมเมอร์เหมือนทุ่นลอย ลงไปดูดน้ำมัน ควรมีเรือสกิมเมอร์ ในการดึงน้ำมันออกจากทะเลให้มากที่สุด แต่กลับใช้สารเคมีไปก่อน ซึ่งไม่น่าถูกต้อง เพราะสารเคมีมีผลต่อตัวอ่อนปะการัง มีผลต่อระบบนิเวศในทะเล

"ไทยใช้วิธีการเหมือนไม่คุ้นเคย ทั้งที่มีบทเรียนไปแล้ว และตั้งข้อสังเกตรัฐไปฟังจากบริษัทน้ำมันมากกว่า จริงๆ ควรทำงานราบรื่นกว่านี้ มีข้อมูลที่โปร่งใส กระทั่งในที่สุดน้ำมันก็ขึ้นฝั่ง ถึงวันนี้ต้องจริงจังสักที ขอให้ครั้งนี้ไม่ให้จบไปแบบง่ายๆ ทำให้ชาวบ้านต้องรับผลกระทบรวมถึงคนทั้งประเทศ".


https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2303726

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 02-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


การวิจัยฟอสซิลเปลือกหอย ไขเคมีในมหาสมุทรโบราณ


(ภาพประกอบ Credit : William Foster et al.)

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อราว 252 ล้านปีก่อนในปลายยุคเพอร์เมียน (Permian) ได้กวาดล้างสิ่งมีชีวิตกว่า 90% สูญไปจากโลก การสูญพันธุ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นจากการปะทุของภูเขาไฟขนาดใหญ่ในดินแดนที่ปัจจุบันคือไซบีเรีย ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากสู่ชั้นบรรยากาศในชั่วเวลาอันสั้น ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็ว

เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงมากขึ้น มหาสมุทรก็จะดูดซับก๊าซบางส่วน ก่อภาวะเป็นกรดตามมา ทว่าก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่าสภาวการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างเหตุการณ์สูญพันธุ์ยุคเพอร์เมียนหรือไม่ มีการวิจัยก่อนหน้านี้บางฉบับแสดงการวิเคราะห์ทางเคมีของหินและชี้ว่าทะเลของโลกเป็นกรดในช่วงเวลานั้น ทว่าหลักฐานทางธรณีเคมีอื่นๆ ชี้ให้เห็นตรงกันข้าม ทีมวิจัยนำโดยวิลเลียม ฟอสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์จากมหา วิทยาลัยฮัมบูร์กในเยอรมนี เผยถึง การวิจัยฟอสซิลเปลือกหอยมากกว่า 2,300 ชิ้นของหอยทากทะเลและหอยกาบคู่ด้วยกล้องจุล ทรรศน์ ที่เชื่อว่าจะให้มุมมองที่ละเอียดยิ่งขึ้น เพราะซากเปลือกหอยจะจับสถานะทางเคมีของมหาสมุทรได้เร็วหลังเกิดการสูญพันธุ์จากบนลงล่าง ไม่ใช่แค่บริเวณที่ตะกอนตกลงมา ทีมพบว่าแม้เปลือกหอยจำนวนหนึ่งจะมีหลักฐานการลดความเจริญเติบโต แต่ก็ไม่มีร่องรอยรูพรุนที่บ่งบอกว่าหอยอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดรุนแรงในน้ำ ผิวดิน หรือบนพื้นทะเล

การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าฟอสซิลเปลือกหอยได้เปิดประตูสู่การวิจัยที่กว้างขวางยิ่งขึ้นเกี่ยวกับสภาพเคมีในมหาสมุทรเมื่อครั้งอดีตของโลกและความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางภูมิอากาศ.


https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2302622
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 02-02-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


พบฝูงปลาเริ่มเข้ามาอาศัยใน เรือหลวงปราบปรปักษ์แล้ว



วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าหลังจากที่ได้ทำพิธีวางเรือหลวงปราบปรปักษ์ เรือ ต.15 และเรือ ต.16สู่ท้องทะเล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามโครงการอุทยานการเรียนรู้ใต้ท้องทะเล บริเวณเกาะหมา ตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา

และเมื่อผ่านไปประมาณเดือนเศษ ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเล กองทัพเรือ เกาะลันตาน้อย (นรภ.ทร.เกาะลันตาน้อย) จัดกำลังพลทำการดำน้ำสำรวจตัวเรือ และพบว่าเริ่มมีฝูงปลาน้อยใหญ่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในตัวเรือใต้น้ำเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นภาพที่งดงามยิ่งนัก

ทั้งนี้นับว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการสร้างอุทยานการเรียนรู้ใต้ทะเลจังหวัดกระบี่ที่ต้องการสร้างให้เป็นอุทยานกองเรือรบใต้ทะเลกระบี่ เป็นแหล่งเรียนรู้คุณค่าความสำคัญของระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ที่มีปะการังทำให้เกิดห่วงโซ่อาหาร หรือ Food Chain



ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างบ้านปลาให้เป็นแหล่งอยู่อาศัยของฝูงปลาและสัตว์น้ำวัยอ่อนหลากหลายชนิดพันธุ์ พร้อมกันนี้ยังเป็นการสร้างแหล่งดำน้ำ เพิ่มเสน่ห์ให้การท่องเที่ยวทางทะเลของจังหวัดกระบี่อีกด้วย


https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3162439

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:56


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger