เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 05-03-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก สำหรับลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 6-8 มีนาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 4 ? 5 และ 9 - 10 มี.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณ์เช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับมีลมใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทย และทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 มี.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ซึ่งจะเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเกิดในระยะต่อไป สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 5 ? 8 มี.ค. 65 ทำให้ภาคใต้เพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 6-8 มี.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมทั้งฟ้าผ่าที่จะเกิดขึนได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 6-8 มีนาคม 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 05 มีนาคม 2565

ในช่วงวันที่ 6-8 มีนาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นด้วย โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

โดยจะมีผลกระทบดังนี้


วันที่ 6 มีนาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี


วันที่ 7 มีนาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหารกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น และมหาสารคาม

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา

สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์


วันที่ 8 มีนาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดตาก และกำแพงเพชร

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 05-03-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ตะลึง! แอฟริกาใต้พบ "กุ้งล็อบสเตอร์" เกยตื้น 500 ตัน

ทางการแอฟริกาใต้ตรวจสอบ กรณีกุ้งล็อบสเตอร์จำนวนมหาศาล มีปริมาณรวมประมาณ 500 ตัน เกยตื้นตามแนวชายฝั่ง เมื่อไม่นานมานี้



สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองเวสต์โคสต์ ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 4 มี.ค.ว่า สำนักสิ่งแวดล้อมของแอฟริกาใต้ ประกาศใช้แผนงานฉุกเฉินและออกการแจ้งเตือนระดับสีแดง หลังจากพบกุ้งล็อบสเตอร์เกยตื้นกองพะเนิน บนชายหาดในพื้นที่เวสต์ โคสต์ จังหวัดเวสเทิร์น เคป คิดเป็นปริมาณราว 500 ตัน โดยเหตุการณ์ชวนตะลึงครั้งนี้ มีต้นตอจากปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง หรือปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล


https://www.dailynews.co.th/news/824280/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 05-03-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เศร้า! ไม่เหลือภาพความสวยงาม "ปะการังเขากวางน้ำตื้น" ที่เกาะเฮ อ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต ผ่านมา 4 ปี ตายเกือบหมด



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - นักวิชาการเผยภาพ "ปะการังเขากวางน้ำตื้น" ที่เกาะเฮ อ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต ผ่านมา 4 ปี ตายจำนวนมาก ระบุเป็นเรื่องน่าเศร้า ไม่เหลือภาพความสวยงาม สาเหตุที่ระบุได้เกิดจากผลกระทบปรากฏการณ์น้ำลงมากผิดปกติในช่วงปลายปี 2562

กำลังกลายเป็นกระแสในสื่อโซเชียล หลังผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Kongkiat Kittiwatanawong ซึ่งคือ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้โพสต์ภาพ พร้อมข้อความระบุว่า "ปะการังเขากวางน้ำตื้น บริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเฮ อ่าวกุ้ง ภูเก็ต ที่เคยสวยงามในเนื้อที่เกือบ 1,000 ตารางเมตร ผ่านมา 4 ปี ในวันนี้ดูแล้วเศร้า สาเหตุที่สรุปได้ตอนนี้คือ ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำลงมากผิดปกติในช่วงปลายปี 2562 ซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ IOD (Indian Ocean Dipole) ตามข้อมูลของพี่นิพนธ์ พงษ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญปะการัง สามารถอ่านรายละเอียดใน comments ครับ"

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพแรกที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ เป็นภาพซากปะการังเขากวางน้ำตื้น ที่ตายเป็นบริเวณกว้าง หลังจากนั้นมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยบางคนเข้ามาสอบถามถึงสาเหตุ บางคนนำภาพที่เคยมีการถ่ายไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว มาโพสต์ต่อ และมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง

โดยนายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กล่าวว่า ภาพที่นำมาโพสต์เป็นภาพที่ทางเจ้าหน้าลงพื้นที่สำรวจแนวปะการังตามวงรอบ ซึ่งพบว่าจุดดังกล่าวมีปะกังตายเป็นบริเวณกว้าง เมื่อเที่ยวกับ 4 ปีที่แล้ว พบว่าปะการังในจุดเดียวกันเริ่มมีการฟื้นตัวและสวยงาม ส่วนสาเหตุนั้นจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญทราบว่าเกิดจากเรื่องของน้ำลงผิดปกติ ส่วนจะมีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องหรือไม่กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นสาเหตุการตายแบบธรรมชาติต้องรอให้ฟื้นตัวเอง ซึ่งการที่ปะการังจะฟื้นตัวกลับมาได้ต้องใช้เวลานาน สิ่งที่ทำได้คืออย่าไปรบกวนเขา ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ขณะที่ นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งใช้เฟซบุ๊กชื่อ Niphon Phongsuwan ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า แนวปะการังที่เกาะเฮ ในอ่าวกุ้ง เกาะภูเก็ต ดงปะการังเขากวาง (Acropora pulchra) ยืนตายหลังจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์น้ำลงมากผิดปกติในช่วงปลายปี 2562

นอกจากนั้น ยังได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์น้ำทะเลลดลงต่ำมากผิดปกติ เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง เช่นในปี 2540, 2549 และปี 2562 แต่ละปีอาจมีความรุนแรงต่างกัน เช่น ในปี 2540 ระดับน้ำได้ต่ำกว่าปกติประมาณ 30 เซนติเมตร (หมายความว่าน้ำยังคงขึ้น-ลง เป็นวัฏจักรตามปกติ แต่ระดับน้ำต่ำกว่าเดิมได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ในช่วงเดือนที่ peak สุด)

ในปี 2562 ก็เช่นกัน ระดับน้ำต่ำกว่าเดิมได้มากถึง 15 เซนติเมตร การที่น้ำลงต่ำกว่าปกติ ทำให้ปะการังตรงโซนที่ตื้นโผล่พ้นน้ำนานกว่าปกติตามไปด้วย (เช่น เดิมเคยโผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำแห้งเต็มที่ช่วงน้ำเกิดราว 2 ชั่วโมง แต่กลับกลายเป็นโผล่พ้นน้ำนาน 3-4 ชั่วโมง) เหตุการณ์เช่นนี้อาจเกิดต่อเนื่องไป 2-3 เดือนหรือนานกว่านั้น (โดยความรุนแรงค่อยๆ เกิด จนถึงจุดพีก รุนแรงสุด แล้วค่อยๆ ลด จนกลับสู่สภาพปกติ) ทำให้ปะการังปรับตัวในสภาพอย่างนั้นไม่ได้ ปะการังตรงโซนที่ตื้นตายไปเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้น ยังได้แสดงความคิดเห็นอีกหลายครั้ง โดยระบุ หากปะการังไม่สามารถปรับตัวได้ โดยเฉพาะปะการังตรงบริเวณที่ตื้น ที่โผล่พ้นน้ำ และถูกแสงแดดแผดเผาเป็นระยะเวลานานขึ้นตอนน้ำลง ปะการังนั้นจะตายไป หากพื้นที่นั้นอยู่ในบริเวณน้ำขุ่น มีตะกอนมาก เช่นใกล้ป่าชายเลน หรือร่องน้ำเดินเรือซากหินปะการังมักจะถูกปกคลุมด้วยตะกอน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของแนวปะการัง แต่ตะกอนอาจถูกพัดพาค่อยๆ หายไปได้หากพื้นที่นั้นมีคลื่นลมมรสุมหรือกระแสน้ำไหลเวียนดี พัดพาตะกอนออกไป ซึ่งแต่ละแห่งมีอัตราการฟื้นตัวต่างกันไป การฟื้นตัวจะเกิดเร็วขึ้นหากไม่มีสิ่งรบกวนอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การเดินเหยียบย่ำบนแนวปะการัง การพลิกรื้อปะการังเพื่อค้นหาหอย ปู หรือหมึกยักษ์ที่ซ่อนอยู่ เป็นต้น

นายนิพนธ์ ยังได้แสดงความคิดเห็นต่อไปว่า สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ช่วยให้แนวปะการังฟื้นตัวเองได้ตามธรรมชาติ โดยลดปัจจัยที่เกิดจากการรบกวนโดยมนุษย์ เช่น กิจกรรมที่ก่อให้เกิดตะกอนคลุ้งกระจายมาปกคลุมปะการัง เดินเหยียบย่ำปะการัง แต่เท่าที่ทราบและเคยไปคุยด้วย ชาวบ้านบริเวณอ่าวกุ้ง เขาภูมิใจกับแนวปะการังที่อ่าวกุ้งมาก เขาถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของเขา เขาระมัดระวังมากเรื่องการไม่เดินเหยียบย่ำรบกวนแนวปะการัง เรื่องที่น่าเป็นห่วงคือการขุดลอกร่องน้ำที่ทำให้ตะกอนฟุ้งกระจาย

อย่างไรก็ตาม สำหรับการสำรวจแนวปะการังเมื่อวันที่ 1 พ.ค.2561 ที่ผ่านมา กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามัน ได้เผยผลการสำรวจสถานภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต รวมทั้งเกาะในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีรายงานว่าจะมีโครงการสร้างท่าเทียบเรือสำราญกีฬา ซึ่งได้มีการสำรวจทั้งหมด 7 สถานี เบื้องต้น พบว่าแนวปะการังในพื้นที่ส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่กรมมาสำรวจไว้เมื่อปี 2556

โดยพบว่าแนวปะการังฟื้นตัวจากสถานภาพเสียหายมาก กลับอยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง 4 สถานี ได้แก่ เกาะเฮ เกาะปายู เกาะรา และเกาะแพ ส่วนที่ยังมีสถานภาพเสียหายมี 2 สถานี ได้แก่ เกาะงำ และแหลมขาด และที่มีสถานภาพเสียหายมาก 1 สถานี คือ ชายฝั่งอ่าวกุ้ง ปะการังที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กลุ่มปะการังโขด (Porites spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.)

ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพปะการังในบริเวณนี้คือตะกอนตามธรรมชาติ เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวพังงา ล้อมรอบด้วยป่าชายเลน และลักษณะพื้นทะเลเป็นทรายปนโคลน ทำให้น้ำค่อนข้างขุ่น แนวปะการังมีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า และง่ายที่ตะกอนพื้นทะเลจะฟุ้งกระจายขึ้นมาทับถมบนปะการัง


https://mgronline.com/south/detail/9650000021733

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:33


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger