เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-03-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 30 มีนาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงมีฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่างและปลายแหลมญวน ในช่วงวันที่ 1 ? 3 เม.ย. 65 ทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 - 31 มี.ค. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่

สำหรับในช่วงวันที่ 3 -4 เม.ย. 2564 บริเวณประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันนออกกฉียงเหนือ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนช่วยคลายความร้อนลง

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 ? 3 เม.ย. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมเวียดนามตอนล่างและปลายแหลมญวน ทำให้ลมฝ่ายตะวันออกที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 ? 3 เม.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 1 ? 3 เมษายน 2565)" ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2565

ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงมีฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงในระยะนี้

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่างและปลายแหลมญวน ในช่วงวันที่ 1 ? 3 เม.ย. 65 ทำให้ลมฝ่ายตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-03-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ฝูงโลมาหลังโหนก 16 ตัว ออกหากินหน้าอ่าวไข่เต่า อช.หมู่เกาะระนอง



เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ขณะเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวนป้องกันภัยคุกคามในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง พบฝูงโลมาหลังโหนก กำลังออกหากินบริเวณร่องน้ำหน้าอ่าวไข่เต่า เกาะช้าง

นายบำรุงรัตน์ พลอยดำ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (สายที่ 1) ออกลาดตะเวนเชิงคุณภาพ (SMART PATROL ) โดยร่วมกับฝ่ายวิชาการฯ เก็บกู้ซากเครื่องมือประมงที่พายุพัดเกยแนวปะการัง, รวมทั้งสำรวจสถานภาพปะการังและสัตว์ทะเล,ซุ่มเฝ้าระวังปัจจัยคุกคาม บริเวณเกาะโคม และอ่าวเสียด เกาะช้าง ม.2 ต.เกาะพยาม อ.เมือง จ.ระนอง

ต่อมาเจ้าหน้าที่ชุดลาดตระเวนเชิงคุณภาพ (สายที่ 1) พบฝูงโลมาหลังโหนก (โลมาสีชมพู) จำนวน 16 ตัว ออกหากินบริเวณร่องน้ำหน้าอ่าวไข่เต่า เกาะช้าง ทิศทางมุ่งหน้าสู่เกาะพยาม

สำหรับโลมาหลังโหนก ,โลมาสีชมพู หรือโลมาเผือก มีพฤติกรรมชอบรวมกลุ่มกันตั้งแต่ 10-40 ตัว ลำตัวมีสีต่างกันมากตามอายุ วัยเด็กจะมีสีเทาดำ และจางลงเมื่อโตขึ้น ตัวเต็มวัยบาง ตัวมีสีเทาประขาว เมื่ออายุมากขึ้นจะมีสีออกขาวเผือกหรือชมพู โลมาหลังโหนกมีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2562


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9650000030657


*********************************************************************************************************************************************************


ใต้มหาสมุทรมีความสวยงามเสมอ "ทช. พาสำรวจแนวปะการังสวยๆ ที่หมู่เกาะยาว"

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ใต้มหาสมุทรมีความสวยงามเสมอ "ทช. พาสำรวจแนวปะการังสวยๆ ที่หมู่เกาะยาว" จ.พังงา เฝ้าระวังแนวปะการังฟอกขาว พบยังมีความสมบูรณ์



ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน สำรวจติดตามระบบนิเวศแนวปะการังหมู่เกาะยาว จ.พังงา ผลการสำรวจไม่พบการเกิดปะการังฟอกขาว อุณหภูมิน้ำทะเลวัดได้ 29 องศาเซลเซียส แนวปะการังมีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง-สมบูรณ์ดี ปะการังที่พบโดยทั่วไป เช่น ปะการังโขด (Porites lutea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona sp.) ปะการังดาวเล็ก (Cyphastrea spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora) ปะการังดาวช่องเหลี่ยม (Leptastrea spp.) ปะการังกาแล็คซี่ (Galaxea fascicularis) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังเขากวาง (Acropora spp.)

ส่วนการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปะการังเคลือบหิน (Podabacia spp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites spp.) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora spp.) ขณะที่โรคปะการังที่พบส่วนใหญ่ ยังคงพบโรคจุดขาว และโรคเนื้องอกสีชมพูในปะการังโขด (Porites spp.) มีการทับถมของตะกอนค่อนข้างสูง รวมถึงการปกคลุมเห็ดทะเล (corallimorph) อีกทั้งยังมีรอยกัดกินและการเจาะไชของสัตว์น้ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคได้



ปลาที่พบส่วนใหญ่ เช่น ปลาสลิดหินเล็กหางเหลือง (Neopomacentrus sororius) ปลาสลิดหินเล็กเกล็ดวาว (Neopomacentrus anabatoides) ปลานกขุนทองเกล็ดด่าง (Halichoeres nigrescens) ปลาอมไข่ลายทแยง (Taeniamia fucata) ปลากระดี่ทะเลครีบทอง (Pempheris schwenkii) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ที่พบ เช่น กุ้งผี (Kemponia tenuipes) ฟองน้ำครก (Xestospongia testudinaria) หอยปากแบน (Pinctada margaritifera) และทากทะเลชนิดต่างๆ ขยะในแนวปะการังที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะตกค้างจากการทำประมง เช่น เศษอวน เชือก เหล็ก และสายเส้นเอ็นตกปลา


https://mgronline.com/south/detail/9650000029653

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 17:59


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger