เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 05-04-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 5 เมษายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลัปานกลาง ทำให้ภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 5 - 7 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส สำหรับลมตะวันออกกำลังแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 8 - 10 เม.ย. 65 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 5 - 7 เม.ย. 65 ประชาชนบริเวณภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 05-04-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


IPCC เผยแนวทางสู้โลกร้อน ลั่นต้องเริ่มตอนนี้ เลี่ยงวิกฤติสภาพอากาศรุนแรง

นักวิทยาศาสตร์ของสหประขาขาติ เปิดเผยแผนที่พวกเขาเชื่อว่าสามารถจำกัดสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้แล้ว โดยโลกต้องเริ่มลงมือตอนนี้ มิเช่นนั้นจะไม่ทันการณ์



สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า หลังจากการประชุมเครียดของนักวิทยาศาสตน์และเจ้าหน้าที่รัฐบาลของหลายประเทศ ซึ่งมีการโต้เถียงกันอย่างหนัก ในที่สุด คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ ก็สามารถเผยแพร่รายงานแนวทางที่โลกควรทำ เพื่อหลีกเลี่ยงสภาพอากาศสุดขั้วในอนาคตออกมาแล้ว เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เม.ย. 2565

รายงานดังกล่าวเปิดเผยถึงข่าวร้ายเป็นลำดับแรก ระบุว่า ต่อให้นโยบายลดการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดที่รัฐบาลทั่วโลกเริ่มใช้ในสิ้นปี 2563 มีผลบังคับใช้อย่างเต็มที่ อุณหภูมิโลกก็จะยังอยู่บนเส้นทางของการทะลุขีดจำกัดที่ 1.5 องศาเซลเซียส และจะเพิ่มเป็น 3.2 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 นี้

การค้นพบดังกล่าวทำให้นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติออกมาตำหนิรัฐบาลและธุรกิจต่างๆ อย่างรุนแรง "บางรัฐบาลและผู้นำธุรกิจพูดอย่างหนึ่ง แต่กำลังทำอีกอย่าง พูดง่ายๆ พวกเขากำลังโกหก และผลลัพธ์ก็คือหายนะ"

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกในระดับนั้น หมายความว่า โลกของเราจะเผชิญภาวะคลื่นความร้อน, พายุรุนแรง และปัญหาขาดแคลนน้ำรุนแรงอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงชะตานั้น นักวิทยาศาสตร์เตือนมานับสิบปีแล่วว่า โลกต้องคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

รายงานล่าสุดของ IPCC ยังมีข่าวดีคือยังมีเวลาพอที่จะควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก แต่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในภาคการผลิตพลังงาน, อุตสาหกรรม, การคมนาคม, การบริโภค และวิธีที่มนุษย์ปฏิบัติต่อธรรมชาติ โดย IPCC ระบุว่า ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกจะต้องถึงจุดสูงสุดภายในปี 2568 หรือ 3 ปีข้างหน้า และจากนั้นต้องลดลงอย่างรวดเร็วและไปให้ถึงระดับ ศูนย์สุทธิ (net-zero) ภายในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 21 และต้องลดหรือกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศให้ได้ในครึ่งศตวรรษหลัง

ศ.เฮลีน เดอ โคนิงค์ ศาสตราจารย์ด้านสภาพภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีไอนด์โฮเฟน และเป็นหัวหน้าผู้เขียนรายงานฉบับล่าสุดของ IPCC บอกกับ บีบีซี ว่า "ฉันคิดว่ารายงานฉบับนี้กำลังบอกว่าเรามาถึงจุดที่ ถ้าไม่ทำตอนนี้ก็จะหมดโอกาสในการควบคุมอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียสแล้ว"

หนึ่งในกุญแจสำคัญสำหรับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะสั้นคือ เปลี่ยนวิธีผลิตพลังงาน โดย นางไคซา โคโซเนน จากองค์กรกรีนพีซซึ่งเข้าร่วมการประชุมของ IPCC ด้วยระบุว่า นี่คือเกมโอเวอร์สำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งกำลังกระตุ้นทั้งสงครามและวิกฤติสภาพภูมิอากาศในตอนนี้ ?ไม่มีที่ว่างสำหรับการพัฒนาเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ๆ แล้ว และโรงงานถ่านหินกับก๊าซธรรมชาติที่เรามีอยู่แล้ว จำเป็นต้องปิดโดยเร็ว"

นอกจากนั้น เรื่องอาหารและการใช้ชีวิตของผู้คนก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อการปล่อยคาร์บอน "การมีนโยบาย, โครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีที่ถูกต้องมาใช้ เพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตเกิดขึ้นจริง จะส่งผลให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 40-70% ภายในปี 2593? นายปรียาดาร์ชิ ชุคลา ประธานร่วมของ IPCC กล่าว ?หลักฐานยังแสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตจะช่วยพัฒนาสุขภาพและสวัสดิภาพของเราได้ด้วย"

สำหรับในภาพปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตหมายถึง รัฐบาลต่างๆ ต้องสนับสนุนการเดินและการทานอาหารเพื่อสุขภาพให้มากขึ้น รวมถึงเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้

ขณะที่หนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงมากที่สุดในรายงานฉบับนี้คือ การกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งทำได้ด้วยหลายวิธี รวมถึงการปลูกต้นไม้และเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตร แต่วิธีการเหล่านั้นเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โลกจำเป็นต้องมีเครื่องจักรสำหรับกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศโดยตรง

เทคโนโลยีที่ว่าถือเป็นของใหม่และปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ขณะที่ผู้ร่วมการประชุมอนุมัติรายงานของ IPCC หลายคนก็แสดงความกังขาอย่างมากว่า วิธีการเหล่านี้จะใช้ได้ผลจริงหรือไม่


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2360100

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 05-04-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


บางจากฯขับเคลื่อนเกาะหมาก Low Carbon Destination แห่งแรกของไทย



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางกลอยตา ณ ถลาง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ นายสุธารักษ์ สุนทรวิภาต ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 3 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมลงพื้นที่ประสานความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด เพื่อศึกษาโอกาสในการสนับสนุนการพัฒนาเกาะหมากให้เป็น Low Carbon Destination แห่งแรกของทะเลไทย ครอบคลุมกิจกรรมทั้งบนบกและในทะเล มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ

เบื้องต้น บางจากฯ ให้การสนับสนุนคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการศึกษาการใช้แหล่งหญ้าทะเลเพื่อช่วยในการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในแนวปะการังบริเวณเกาะหมากและเกาะกระดาด จังหวัดตราด ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนผ่านระบบนิเวศทางธรรมชาติทางทะเล (Blue Carbon) รอบพื้นที่เกาะหมาก และจากการลงพื้นที่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้หารือความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ผ่านวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะหมาก รวมถึงจะมีการทำงานร่วมกับ อบต. เกาะหมาก

ทุกฝ่ายมีเป้าหมายเดียวกันในการสร้างความยั่งยืนและมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อดูแลสภาพแวดล้อมทั้งบนบกและในทะเล ผ่านภารกิจและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตกระแสไฟฟ้า การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะพลังงานสะอาด การจัดการขยะ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในทะเลด้วยโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูปะการัง ตลอดจนการฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังบริเวณเกาะหมาก เป็นต้น

ทั้งนี้ การสนับสนุนการศึกษา Blue Carbon ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออกและการร่วมดำเนินงานเพื่อพัฒนาเกาะหมากเป็น Low Carbon Destination นั้นช่วยตอกย้ำยุทธศาสตร์ของกลุ่มบางจากฯ ที่กำลังมุ่งหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี 2050 โดยมีเป้าหมายแรกคือความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2030


https://www.matichon.co.th/economy/news_3271514

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 05-04-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,234
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


องค์การอนามัยโลกเตือน ประชากรเกือบทั้งโลกกำลังหายใจอากาศเสีย

องค์การอนามัยโลกกระตุ้นเตือนให้เห็นอันตรายของมลพิษทางอากาศที่สามารถฆ่าคนทั่วโลกได้หลายล้านคนต่อปี และชี้ให้เห็นว่าการใช้พลังงานทางเลือกจะเป็นตัวช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้


แฟ้มภาพ ถ่ายเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 เผยให้เห็นหมอกควันพิษปกคลุมเมืองลียง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส แม้ว่าการปล่อยมลพิษจะลดลงเนื่องจากการมาตรการควบคุมโควิด-19 แต่ชาวยุโรปเกือบทั้งหมดต้องเผชิญกับระดับมลพิษทางอากาศที่เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ในปี 2563 (Photo by PHILIPPE DESMAZES / AFP)

เอเอฟพีรายงานคำแถลงเตือนขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันจันทร์ที่ 4 เมษายน กล่าวว่า ผู้คนบนโลกกว่า 99% กำลังสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป และอ้างว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตหลายล้านคนเนื่องมาจากคุณภาพอากาศที่ไม่ดี

ข้อมูลใหม่จากหน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติแสดงให้เห็นว่าทุกมุมโลกกำลังเผชิญกับมลพิษทางอากาศ และสถานการณ์มักรุนแรงหนักในบรรดาประเทศยากจน

"เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกยังคงหายใจด้วยอากาศที่อันตรายเกินมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ซึ่งนั่นเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญอย่างมาก" มาเรีย เนย์รา ผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อม, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพขององค์การอนามัยโลก กล่าวกับผู้สื่อข่าว

แม้ข้อมูลขององค์การสหประชาชาติในปีที่แล้วระบุว่า การล็อกดาวน์จากการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาและมาตรการจำกัดการเดินทาง ทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอากาศขึ้นมาในช่วงระยะเวลาเหล่านั้น แต่มลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไขให้หมดไปอยู่ดี

เนย์รากล่าวว่า "เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่ผู้คนพยายามเอาชีวิตรอดจากโรคระบาดใหญ่ แต่กลับต้องมาเสียชีวิตกว่า 7 ล้านคน จากมลพิษทางอากาศ ทั้งๆที่สามารถป้องกันได้ และยังไม่รวมสุขภาพดีๆที่สูญเสียไปอีกนับไม่ถ้วน"

จากข้อมูลดาวเทียมและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพอากาศที่แย่ที่สุดพบได้ในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา

องค์การอนามัยโลกได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการควบคุมการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และหวังว่าสถานการณ์ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย น่าจะช่วยขับเคลื่อนให้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานทางเลือกที่สะอาดกว่าเพื่อผลที่ดีอย่างยั่งยืนของคุณภาพอากาศทั่วโลก

อากาศเป็นพิษตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกคืออากาศที่มีความเข้มข้นของอนุภาคอันตรายซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) รวมไปถึงสารพิษอย่างซัลเฟตและเขม่าดำจากการเผาไหม้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถเจาะลึกเข้าไปในปอดหรือระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ และไนโตรเจนไดออกไซด์ซึ่งจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหอบหืด.


https://www.thaipost.net/abroad-news/118011/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:36


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger