![]() |
#1
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนน้อยในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก เลย หนองคาย อุดรธานี จันทบุรี และตราด สำหรับทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยในช่วงวันที่ 15 - 19 มิ.ย. 62 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดาและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 15 - 19 มิ.ย. 62
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
'มาเรียม' พะยูนน้อยแห่งเกาะลิบง ภาพสะท้อนพลังชุมชนร่วมอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ![]() ภาพจาก trang-dugong.simdif.com เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นพื้นที่ที่มีพะยูนอาศัยอยู่มากที่สุดในน่านน้ำทะเลไทย คือมีประมาณ 176-180 ตัว เนื่องเพราะมีแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารสำคัญของพะยูนอยู่ประมาณ 20,000 ไร่ ขณะที่จำนวนพะยูนที่มีอยู่ในเขตน่านน้ำไทยขณะนี้มีเหลืออยู่ประมาณ 200 ตัว ดังนั้นท้องทะเลเกาะลิบงจึงถือเสมือนเป็น 'เมืองหลวงของพะยูน' แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธรรมชาติได้ประทานแหล่งหญ้าให้แก่พะยูนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีพลังของชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะชาวประมงพื้นบ้านบนเกาะลิบงและพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้ร่วมกันปกป้องแหล่งหญ้าทะเล ตลอดจนร่วมกันต่อสู้กับการทำประมงแบบล้างผลาญ จนทำให้เกาะลิบงเป็น ?บ้านหลังสุดท้าย? ของพะยูน พะยูนหรือ 'ดุหยง' (ภาษามาลายูและท้องถิ่น) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยอยู่ในทะเล รูปร่างคล้ายปลาโลมาแต่อ้วนกว่าเล็กน้อย ผิวหนังเรียบลื่นสีเทา แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐและมีด่างขาว ในอดีตประเทศไทยเคยมีฝูงพะยูนอยู่มากมายทั้งชายฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงเนื่องมาจากถูกล่า หรือเข้าไปติดในเครื่องมือประมง และการทำลายแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารสำคัญของพะยูน ![]() สุวิทย์ สารสิทธิ์ อาสาสมัครพิทักษ์ดุหยงเกาะลิบง เล่าว่า พื้นที่บริเวณเกาะลิบงเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์มีเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ จึงเป็นแหล่งอยู่อาศัยของฝูงพะยูน ซึ่งเมื่อหลายสิบปีก่อนฝูงพะยูนมีจำนวนหลายร้อยตัว แต่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงแบบล้างผลาญ โดยเฉพาะเรืออวนรุนและอวนลากที่ลักลอบเข้ามาทำประมงชายฝั่ง ทำให้อวนเหล่านี้ลากเอาสัตว์เล็กสัตว์น้อยในท้องทะเล รวมทั้งพะยูนติดอวนไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการล่าพะยูนโดยตรง จึงทำให้ฝูงพะยูนลดน้อยลง "ชาวประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเรืออวนราก อวนรุน ที่เข้ามาลักลอบจับปลาในเกาะลิบง รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดตรัง เช่น สิเกา ประเหลียน ฯลฯ จึงรวมตัวกันเป็นเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังเพื่อปกป้องท้องทะเล มีการร้องเรียนให้หน่วยงานที่รับผิดชอบมาจัดการกับเรือประมงที่ทำผิดกฎหมาย รวมทั้งชาวประมงได้รวมตัวกันประท้วงด้วยการปิดอ่าว จัดทำแนวทุ่นทะเล และเฝ้าระวังไม่ให้เรือประมงทำลายล้างเข้ามา ปัญหาจึงค่อยๆ ทุเลาลง ท้องทะเลจึงค่อยๆ ฟื้นตัว" สุวิทย์เล่าถึงบทบาทของชาวประมงพื้นบ้านแบบย่อๆ ส่วน 'มาเรียม' พะยูนน้อยที่พลัดหลงกับแม่และหลายฝ่ายกำลังช่วยกันดูแลนั้น สุวิทย์บอกว่า มาเรียมเป็นพะยูนเพศเมีย อายุประมาณ 6 เดือน พลัดหลงกับแม่ที่บริเวณชายหาดธารานพรัตน์ จังหวัดกระบี่ เมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงนำมาเรียมมาปล่อยที่เกาะลิบง เพราะเป็นแหล่งอยู่อาศัยแห่งใหญ่ของพะยูน มีหญ้าทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่ด้วยมาเรียมยังเป็นพะยูนวัยอ่อน ต้องกินนมจากแม่ เมื่อปล่อยไปแล้ว มาเรียมจะว่ายกลับเข้าชายฝั่งและมาเกยตื้น เพราะไม่มีแม่พะยูนคอยดูแลและให้นม จนมีชาวบ้านไปพบ จึงแจ้งเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเกาะลิบงให้มาดูแล หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำจึงเข้าช่วยดูแล โดยการป้อนนมแพะผสมวิตามินเพื่อให้มาเรียมแข็งแรง ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติได้ ![]() "ตอนนี้เจ้าหน้าที่ต้องผลัดกันไปป้อนนมให้มาเรียมในช่วงกลางวัน มาเรียมจะกินนมครั้งละประมาณ 100 ซีซี วันหนึ่งจะกินประมาณ 2,000 ซีซี และเจ้าหน้าที่จะพาไปหัดกินหญ้าทะเลด้วย คิดว่าต้องใช้เวลาดูแลมาเรียมอีกประมาณ 6 เดือน จนมีอายุได้ประมาณ 1 ปี เพื่อให้มาเรียมแข็งแรง และกลับไปใช้ชีวิตร่วมกับพะยูนตัวอื่นๆ ได้" สุวิทย์ซึ่งเป็นอาสาสมัครที่ช่วยดูแลมาเรียมเล่าถึงภารกิจประจำวัน อีสมาแอน เบ็ญสอาด ประธานวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยากรเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง กล่าวว่า คนเกาะลิบงมีความผูกพันกับพะยูนเหมือนกับเป็นญาติที่ต้องดูแลกัน และดูแลกันมานานหลายสิบปีแล้ว เพราะพะยูนเหมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของเกาะลิบง หากชาวลิบงเห็นพะยูนมาเกยตื้นก็จะช่วยกันนำไปปล่อย หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาดูแล "ถ้าไม่มีพะยูน คนเกาะลิบงก็อยู่ไม่ได้ เพราะถ้าที่ไหนมีพะยูน ท้องทะเลตรงนั้นก็จะแสดงถึงความอุดมสมสมบูรณ์ และคนเกาะลิบงส่วนใหญ่ก็หากินกับท้องทะเล ทำประมงพื้นบ้าน มีปลาอินทรีย์ มีหอยชักตีน มีปลิงทะเล เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และเป็นแหล่งอาหารของคนเกาะลิบง พวกเราจึงต้องช่วยกันดูแลทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งแหล่งหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูนและสัตว์น้ำวัยอ่อนต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วย เพราะเมื่อมีพะยูนอยู่มาก นักท่องเที่ยวก็อยากจะมาที่เกาะลิบง" ประธานกลุ่มฯ หรือ บังแอน บอก นอกจากจะช่วยกันดูแลพะยูนและแหล่งหญ้าทะเลที่เกาะลิบงมานานหลายสิบปีโดยใช้เครื่องไม้เครื่องมือและกำลังคนเท่าที่มีอยู่แล้ว ในวันศุกร์ที่ 14 มิถุนายนนี้ จะมีการเปิดตัว 'โครงการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลเพื่อการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง' ที่จังหวัดตรัง ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ชาวชุมชนตำบลเกาะลิบงจะมีเครื่องมือที่ทันสมัยมาดูแลฝูงพะยูนนั่นก็คือ การใช้อากาศยานไร้คนขับหรือ 'โดรน' มาบินสำรวจ เพื่อเฝ้าดูแลการทำประมงที่ผิดกฎหมาย เพื่อช่วยปกป้องแหล่งหญ้าทะเลและฝูงพะยูน นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนด้วย ![]() โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวฯ เกาะลิบง ได้รับการอนุมัติและสนับสนุนโครงการจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัล (depa) เพื่อใช้โดรนในการถ่ายภาพทางอากาศ จำนวน 1 เครื่อง ในวงเงินงบประมาณ 300,000 บาทเศษ โดยชุมชนร่วมออกเงินสมทบ 150,000 บาท "เราจะใช้โดรนขึ้นบินตรวจพื้นที่จุดเสี่ยงที่อาจจะมีเรือประมงลักลอบเข้ามาเพื่อจับพะยูน หรือมาขโมยตัดไม้บนเกาะเพื่อเอาไปขาย นอกจากนี้ยังใช้โดรนบินถ่ายภาพฝูงพะยูนแล้วต่อสัญญาณภาพมาที่จอโปรเจคเตอร์เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ดู ไม่ต้องนั่งเรือลงไปดูใกล้ๆ เป็นการรบกวนพะยูน และอาจทำให้พะยูนได้รับอันตราย เพราะเมื่อก่อนเคยมีเรือสปีดโบ๊ตพานักท่องเที่ยวมาดูแล้วชนพะยูนตาย" ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากโดรนเพื่อปกป้องทรัพยากรและส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเกาะลิบง นอกจากการเปิดตัวโครงการดังกล่าวแล้ว ในวันเดียวกันนี้จะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการส่งเสริม สนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิตัลแก่ชุมชน ระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัล โดย ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผอ. depa และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยนายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผอ.พอช. มีนายลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และนายไมตรี อินทุสุต ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ร่วมแสดงความยินดีและเป็นสักขีพยานการลงนามในครั้งนี้ "ผมถือว่า ปรากฏการณ์มาเรียมที่เกาะลิบงนี้ จะช่วยกระตุ้นให้สังคมสนใจและร่วมกันอนุรักษ์พะยูน รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ทั้งในทะเลและบนบก เพราะหลังจากที่มีภาพข่าวมาเรียมออกทางสื่อต่างๆ ทำให้มีนักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เข้ามาดูมาเรียมที่เกาะลิบงมากขึ้น และหากเราไม่ช่วยกันปกป้องและอนุรักษ์พะยูนเอาไว้ พะยูนในท้องทะเลไทยก็อาจจะสูญพันธุ์ไป นั่นหมายถึงคนที่หากินกับท้องทะเลก็จะต้องได้รับผลกระทบไปด้วย" สุวิทย์ อาสาสมัครพิทักษ์ดุหยงเกาะลิบงกล่าวทิ้งท้าย https://www.thaipost.net/main/detail/38491
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
![]()
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
กรมศิลปากรลงนาม MOU? ออสเตรเลีย ทำแผนขุดค้นจัดการแหล่งเรือจม"พนม-สุรินทร์" ![]() 13 มิ.ย.62- นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร และดร.วิกกี้เลวาน่ ริชาร์ด นักอนุรักษ์แผนกโบราณคดีทางทะเลและแผนอนุรักษ์โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ(MOU) ระหว่างไทย? ออสเตรเลียด้านการวิจัยการขุดค้นการอนุรักษ์และการจัดการแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์และแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยโดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ฉายสุวรรณผู้อำนวยการกองโบราณคดีใต้น้ำและผู้บริหารกรมศิลปากรร่วมเป็นสักขีพยานณห้องประชุมกรมศิลปากร ![]() นายอนันต์กล่าวว่าบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรมกับสถาบันสมุทรศาสตร์และวิทยาลัยสังคมศาสตร์(โบราณคดี) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลียแผนกโบราณคดีทางทะเลและแผนอนุรักษ์โบราณวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและภาควิชาโบราณคดีคณะศึกษาศาสตร์มนุษยศาสตร์และกฎหมายมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สประเทศออสเตรเลียเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมระหว่างกรมศิลปากรและภาคีหน่วยงานฝ่ายออสเตรเลียในการจัดทำแผนการบริหารจัดการแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์ จ.สมุทรสาคร รวมถึงแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยโดยภาคีหน่วยงานฝ่ายออสเตรเลียจะร่วมกำหนดแผนบริหารจัดการแหล่งดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้วยการให้ความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีใต้น้ำและนักอนุรักษ์ในการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่บุคลากรของกรมศิลปากรให้สามารถปฏิบัติงานในแหล่งเรือจมพนม-สุรินทร์และแหล่งเรือจมอื่นๆในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ![]() นายอนันต์ กล่าวต่อว่างานโบราณคดีใต้น้ำระหว่างไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์อย่างยาวนานรัฐบาลประเทศออสเตรเลียได้เคยส่งผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีใต้น้ำเข้ามาช่วยเหลือในการสำรวจแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยตั้งแต่พ.ศ.2525 ซึ่งเป็นยุคเริ่มงานโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยร่วมสำรวจแหล่งเรือจมสีชังหมายเลข1,2 และหมายเลข3 นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเคยส่งนักโบราณคดีใต้น้ำไทยไปศึกษาต่อด้านโบราณคดีทางทะเลณมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สประเทศออสเตรเลียอีกด้วย ![]() ข้อมูลจากหนังสือแหล่งเรือโบราณพนม-สุรินทร์ของกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรมระบุว่าจากการศึกษาอักษรอาหรับบนชิ้นส่วนภาชนะดินเผารูปภาชนะดินเผาที่พบทั้งจากแหล่งผลิตจากจีนตะวันออกกลางและภาชนะในท้องถิ่นทั้งรูปแบบเรือที่ใช้วิธีการต่อเรือแบบอาหรับโบราณ และการกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ตัวอย่างอินทรียวัตถุที่พบสอดคล้องกันว่าเรือโบราณลำนี้มีอายุราวพ.ศ. 1200-1300 (ประมาณพุทธศตวรรษที่13-14) ร่วมสมัยกับเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี นับเป็นหลักฐานแหล่งเรือจมมีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบแหล่งเรือจมในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://www.thaipost.net/main/detail/38481
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
![]() |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|