เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #31  
เก่า 11-01-2013
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ในยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจมเลยต้องเอา “ปลากะพงมาเลี้ยงกุ้งฝอย” ..................... โดย สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ


สัตว์น้ำที่จับได้โดยเรือประมงอวนลากมีหลากหลายชนิดแ ละขนาด จากสถิติปริมาณไม่ถึงร้อยละ 40 มีคุณภาพดีพอสำหรับการบริโภค ที่เหลือส่งขายโรงงานปลาป่น

การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนเหนือเส้นศูนย์สูตร เพียงเล็กน้อย ทำให้ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งของประเทศมีความหลากหลายมากที่สุดแห่งหนึ่ งของโลก ประกอบกับการมีชายฝั่งทะเลที่ทอดยาวกว่าสองพันกิโลเม ตร ทำให้เราได้เปรียบประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ ทั้งในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมง ที่มีหลากหลายชนิดและมีปริมาณมากมายมหาศาล ตลอดจนความกว้างใหญ่ของอาณาเขตพื้นที่ทะเลให้ชาวประม งไทยได้ทำมาหากินกัน

ด้วยลักษณะทางธรรมชาติของทะเลในเขตร้อน ทำให้องค์ประกอบชนิดของปลาในทะเลมีความหลากหลาย (Multi Species Composition) มากกว่าทะเลในเขตอบอุ่น ซึ่งมีองค์ประกอบชนิดของปลาที่มีความหลากหลายน้อยกว่ า (Single Specie Composition) ดังนั้น การทำประมงของไทยที่เป็นการทำประมงขนาดใหญ่ ซึ่งใช้เครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงในการจับส ัตว์น้ำ เช่น เครื่องมือประมงอวนลาก หรือการทำประมงที่ใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เลือกจับช นิดสัตว์น้ำ เช่น อวนรุน โพงพาง เป็นต้น จะจับปลาได้หลากหลายชนิด และหลากหลายขนาดในการทำประมงแต่ละครั้ง

ดังตัวอย่างงานวิจัยของกรมประมงที่ได้เสนอไว้ว่า องค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำอวนลากมีสัดส่วนของสัตว์ น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการ (targeted species) มีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ด (ไม่สามารถใช้บริโภค ใช้สำหรับผลิตอาหารสัตว์) ถึงร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดทั้งหมด เป็นสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อ น (Chantawong, 1993) ซึ่งถ้าคำนวนร้อยละ 30 ของสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนที่สูญเสียไปของผลผลิตสัต ว์น้ำของอวนลากทั้งหมดทั่วประเทศ จะเห็นว่าเป็นตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญเสียไปอย่างมหาศาลในแต่ละปี

ในอดีต การผลิตปลาป่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมการประมง โดยจะใช้ของเหลือจากการทำประมง หรือที่เรียกว่า “ปลาเป็ด” ซึ่งประกอบด้วยปลาที่ไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะไม่เป็นที่นิยมรับประทานกัน และ/หรือปลาที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง แต่มีขนาดเล็กเกินไป เช่น ลูกปลาอินทรี ปลาทู ปลาเก๋า ปลากระพง เป็นต้น ที่ติดมากับเครื่องมือประมงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต “ปลาป่น” เพื่อนำไปใช้เลี้ยงกุ้งในฟาร์มเป็นหลัก และใช้ในการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆรองลงไป

แต่หลังจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นเป็นอย่างมา ก และรวดเร็วในระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้การผลิตปลาป่นกลายเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมกา รผลิตอาหารสัตว์ของประเทศ ที่มีการกำหนดเป้าหมายการผลิต และปริมาณความต้องการผลผลิตปลาป่นที่ชัดเจนขึ้น การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีข ีดจำกัด เพื่อเป็นอาหารของคนในประเทศ และเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ความต้องการปลาป่นมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อความต้องการผลผลิตปลาป่นมีปริมาณที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งปรับเปลี่ยนพฤติก รรมการทำประมงให้ตอบสนองกับความต้องการนี้ ตัวอย่างเช่น ในประมาณปี พ.ศ.2545 ผู้เขียนได้รับข้อมูลมาว่า ในฤดูปิดอ่าวไทยในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ปลาทูวางไข่ และเจริญเติบโต มีเรือประมงอวนล้อมปั่นไฟขนาดใหญ่เข้ามาแอบลักลอบจับ ลูกปลาทูในเขตห้ามทำการประมง เพื่อนำไปขายให้แก่โรงงานปลาป่นด้วยราคาเพียง 5 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะนั้นราคาปลาขนาดปกติซื้อขายที่แพปลาราคา 17 บาทต่อกิโลกรัม) อวนล้อมแต่ละลำสามารถจับลูกปลาทูได้ประมาณ 10-20 ตันต่อคืน ทำให้ลูกปลาทูถูกจับอย่างมากมายมหาศาลในช่วงฤดูวางไข่ของแต่ละปี

หรือตัวอย่างของการทำประมงอวนลาก ที่ทำประมงอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการหยุดพัก เพราะถึงแม้ว่าการทำประมงในบางช่วงเวลาจะไม่สามารถจั บปลาเศรษฐกิจเป้าหมายได้อย่างที่ตั้งใจ แต่เรืออวนลากเหล่านี้ก็ยังสามารถจับปลาเป็ดขายให้แก่โรงงานปลาป่นได้


ลูกเรือประมงกำลังคัดเลือกสัตว์น้ำที่จับโดยเครื่องมือประมงอวนลาก ซึ่งใช้วิธีกวาดต้อนใต้ท้องทะเลมาก่อน แล้วค่อยคัดแยกที่หลัง ทำให้เกิดการทำลายระบบนิเวศท้องทะเล และตัดวงจรชีวิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญๆ

อาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมปลาป่นได้สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำประมงอ ย่างเอารัดเอาเปรียบธรรมชาติ ทะเลไม่มีโอกาสฟื้นตัว และลูกปลาวัยอ่อนมีโอกาสถูกจับมากกว่าได้เจริญเติบโต เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ปลาเป็ดที่ขายให้แก่โรงงานปลาป่นมาจากการทำประมงขนาดใหญ่ ที่เน้นจับปลาในปริมาณมาก ไม่เลือกชนิดสัตว์น้ำ จับมาก่อน และค่อยคัดแยกทีหลัง

ในขณะที่ผลผลิตที่มาจากเรือประมงขนาดเล็กส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ชนิด และขนาดที่เหมาะสมของสัตว์น้ำเป้าหมายดังที่ตั้งใจไว้ เช่น ถ้าจะจับปูม้าก็ใช้อวนลอยปู จับกุ้งก็จะใช้อวนลอยกุ้งสามชั้น จับหมึกหอมก็จะใช้ลอบหมึก หรือจับปลากระบอกก็จะใช้อวนลอยปลากระบอก เป็นต้น อาจจะมีสัตว์น้ำชนิดอื่นๆติดมาบ้าง ก็จะถูกนำมาเป็นอาหารสำหรับสมาชิกในครัวเรือน

เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ปลาทะเลเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณต่อสุขภาพสูงกว่าเนื้อสัตว์ประเภทไก่ หมู และเนื้อวัว แต่ปลาทะเลที่มีคุณค่า และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงกลับถูกตัดวงจรชีวิต ถูกจับมาแปรรูปเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์เหล่านี้

การกระทำเช่นนี้ขัดแย้งกับสำนวนไทยที่ว่า “เอากุ้งฝอยมาตกปลากะพง” ซึ่งหมายถึงการเอาสิ่งใดใดที่มีมูลค่าต่ำมาแลกเปลี่ย น หรือมาทำให้เกิดสิ่งอื่นๆที่มีมูลค่าสูงกว่า เพราะเรากำลังเอา “ปลากะพงไปเลี้ยงกุ้งฝอย” ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพราะ “ปลากะพง” นั้นไม่มีเจ้าของ เป็นสมบัติสาธารณะ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบของรัฐไม่สามารถบริหารจัดการได ้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ “กุ้งฝอย” กลับเป็นของบริษัทผลิตปลาป่น และอาหารรายใหญ่ของประเทศ



จาก ...................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 มกราคม 2556
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #32  
เก่า 11-01-2013
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


จาก ......... ไทยรัฐ วันที่ 10 มกราคม 2556
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	560110_Thairath_01.jpg
Views:	0
Size:	110.0 KB
ID:	14058   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	560110_Thairath_02.jpg
Views:	0
Size:	103.2 KB
ID:	14059  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #33  
เก่า 12-02-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ปิดอ่าวไทยช่วงปลาวางไข่ 3 เดือน ................... หลากเรื่องราว



เป็นประจำทุกปีที่ กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือนในช่วงระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์–15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในฝั่งทะเลอ่าวไทย เพื่อเปิดโอกาสให้สัตว์น้ำได้แพร่ขยายพันธุ์ตามฤดูกาล พร้อมขอความร่วมมือชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมาย โดยปีนี้จะมีการทำพิธีปล่อยขบวนเรือตรวจประมงทะเลออกปฏิบัติการ ภายใต้ประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 57 นี้ ณ บริเวณท่าเทียบเรือเทศบาลปากน้ำชุมพร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกรมประมงจะประกาศห้ามให้ชาวประมงใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำประมงในช่วงเวลาดังกล่าว ในพื้นที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานีอย่างเด็ดขาด หากพบการกระทำผิดจะดำเนินการจับกุมทันทีไม่มีการผ่อนผันใด ๆ ทั้งสิ้น

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำนั้น ครอบคลุมพื้นที่ทำการประมงประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี โดยกำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ที่อาจส่งผลต่อการขยายพันธุ์ของพ่อแม่พันธุ์และสัตว์น้ำวัยอ่อนในท้องทะเลอ่าวไทย โดยเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามจำนวน 6 ประเภท คือ

1. เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่ความยาวเรือไม่เกิน 16 เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน

2. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทู หรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน

3. เครื่องมืออวนติดตาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้น ก. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่วางเครื่องกลางลำไม่มีเก๋ง (หลังคา) ขนาดความยาวเรือไม่เกิน 14 เมตร หรือการใช้เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์เพลาใบจักรยาว ข. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลและเครื่องมือกว้าน ช่วยในการทำการประมงโดยใช้อวนที่มีขนาดความลึกอวนไม่เกิน 70 ช่องตาอวน ความยาวอวนตั้งแต่ 4,000 เมตร ลงมาในขณะทำการประมงแต่ละครั้ง ทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ของทุกปี กรณีใช้อวนตามข้อ ข. วรรคแรกซึ่งมีความยาวอวนเกินกว่า 4,000 เมตร ขึ้นไป ในขณะทำการประมงในแต่ละครั้ง ห้ามใช้เครื่องมือกว้านช่วยในการทำการประมง การนับความยาวอวนให้นับความยาวอวนทั้งหมดรวมกันขณะทำการประมง



4. เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง

5. เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก และ

6. เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า 14 เมตรขึ้นไป ในการวัดขนาดความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมง ตามความในประกาศนี้ให้ใช้วิธีการวัดขนาดความยาวเรือตลอดลำ (Length Over All : L.O.A.) คือ วัดความยาวเรือทั้งหมด

หากพบมีชาวประมงรายใดฝ่าฝืนใช้เครื่องมือต้องห้ามทำการประมงในพื้นที่ที่ได้ประกาศปิดอ่าวฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งการประกาศปิดอ่าวฯ ของกรมประมงแสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้เป็นอีกแนวทางที่จะสามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องทะเลให้คืนกลับมาอย่างยั่งยืน ชาวประมงมีรายได้จากการประกอบอาชีพประมง และพี่น้องประชาชนมีสัตว์น้ำบริโภคตลอดไป.


จาก....เดลินิวส์ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #34  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

กฎหมายการประมงของไทยฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ " พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐" และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ศึกษาได้ที่นี่ค่ะ


http://www.fisheries.go.th/if-phayao/Menu_head/law.htm


พระราชบัญญัติ

การประมง

พ.ศ. ๒๔๙๐

---------------

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระยามานวราชเสวี

ให้ไว้ ณ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2490

เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน



โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการประมง พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้



มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490



มาตรา 2(1) พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป



มาตรา 3 ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ รัตนโกสินทรศก 120
(2) พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำรัตนโกสินทรศก 120
(3) ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ร.ศ.120
(4) พระราชบัญญัติเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ศก 120
(5) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2472
(6) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ รัตนโกสินทรศก 120 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2477
(7) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2479
(8) พระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2481
(9) กฎกระทรวงว่าด้วยวิธีจัดการและตั้งอัตราเก็บเงินอากรค่าน้ำตามความในพระราชบัญญัติอากรค่าน้ำ ศก 120
และบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบทบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับบทแห่ง
พระราชบัญญัตินี้



มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

(1)(1) สัตว์น้ำ หมายความว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า กระ ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ

(2)(1 ทวิ) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยใช้สัตว์น้ำตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อเป็นวัตถุดิบ

(2) ทำการประมง หมายความว่า จับ ดัก ล่อ ทำอันตราย ฆ่าหรือเก็บสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือทำการประมงหรือด้วยวิธีใด ๆ

(3) เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไกเครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสา หลัก หรือเรือบรรดาที่ใช้ทำการประมง

(4) เรือ หมายความว่า ยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด

(5) ที่จับสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ซึ่งมีน้ำขังหรือไหล เช่น ทะเล แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บ่อ เป็นต้น และหาดทั้งปวง บรรดาซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งป่าไม้ และพื้นดินซึ่งน้ำท่วมในฤดูน้ำไม่ว่าจะเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ และภายในเขตน่านน้ำไทยหรือน่านน้ำอื่นใด ซึ่งประเทศไทยใช้อยู่หรือมีสิทธิที่จะใช้ต่อไปในการทำการประมง โดยที่น่านน้ำเหล่านั้น ปรากฏโดยทั่วไปว่ามีขอบเขตตามกฎหมายท้องถิ่น หรือธรรมเนียมประเพณี หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสนธิสัญญาหรือด้วยประการใด

(6) บ่อล่อสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่ล่อสัตว์น้ำเพื่อประโยชน์ในการทำการประมงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(7) บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายความว่า ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(8) ประทานบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งข้าหลวงประจำจังหวัดออกให้บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทำการประมงในที่ว่าประมูล

(9) ใบอนุญาต หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่บุคคลใดใช้ทำการประมง หรือทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต

(10) อาชญาบัตร หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมง

(11) ผู้รับอนุญาต หมายความว่า บุคคลผู้ได้รับประทานบัตร ใบอนุญาต อาชญาบัตร หรือผู้ได้รับอนุญาตให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชบัญญัตินี้

(12) เครื่องมือประจำที่ หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งใช้วิธีลงหลักปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือนั้นอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง

(13) เครื่องมือในพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งระบุชื่อ ลักษณะ หรือวิธีใช้ไว้ในกฎกระทรวง

(14) เครื่องมือนอกพิกัด หมายความว่า เครื่องมือทำการประมงซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในกฎกระทรวงว่าเป็นเครื่องมือในพิกัด

(15) สถิติการประมง หมายความว่า สถิติหรือข้อความที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การค้าสินค้าสัตว์น้ำ การทำการประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

(16) พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าหลวงประจำจังหวัดและนายอำเภอท้องที่ พนักงานประมง และผู้ซึ่งรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

(17) อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมการประมง

(18) รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้



มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราอากร และค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้และกำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้



กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้



หมวด 1 ที่จับสัตว์น้ำ



มาตรา 6 บรรดาที่จับสัตว์น้ำทั้งปวงให้กำหนดเป็น 4 ประเภท คือ

(1) ที่รักษาพืชพันธุ์
(2) ที่ว่าประมูล
(3) ที่อนุญาต
(4) ที่สาธารณประโยชน์



มาตรา 7 ให้คณะกรมการจังหวัดโดยอนุมัติของรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดประเภทที่จับสัตว์น้ำภายในเขตท้องที่ของตนว่า เข้าอยู่ในประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าประมูล หรือที่อนุญาตที่จับสัตว์น้ำซึ่งมิได้มีประกาศตามความในวรรคหนึ่งให้ถือเป็นที่สาธารณประโยชน์



มาตรา 8 ที่รักษาพืชพันธุ์ คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ ดังกล่าวแล้ว บริเวณประตูน้ำ ประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ หรือที่ซึ่งเหมาะแก่การรักษาพืชพันธุ์สัตว์น้ำ



มาตรา 9 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดี ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดให้



มาตรา 10 ที่ว่าประมูล คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งสมควรจะให้บุคคลว่าประมูลผูกขาดทำการประมง และ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การกำหนดที่จับสัตว์น้ำแห่งใดเป็นที่ว่าประมูลนั้น จะต้องไม่อยู่ในเขตชลประทานหลวง หรือไม่เป็นการเสียหายแก่การทำนา หรือการสัญจรทางน้ำ



มาตรา 11 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูล เว้นแต่ผู้รับอนุญาตผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด



การทำการประมงในที่ว่าประมูลเฉพาะเพื่อบริโภคภายในครอบครัวให้กระทำได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่คณะกรรมการจังหวัดประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี



มาตรา 12 ที่อนุญาต คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และรวมตลอดถึงบ่อล่อสัตว์น้ำ



มาตรา 13 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต เว้นแต่ผู้รับอนุญาตผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด



มาตรา 14 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ บุคคลย่อมขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำได้แต่ต้องไม่เป็นการเสียหายแก่พันธุ์สัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์



มาตรา 15 ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ติดโคมไฟและเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัยของการสัญจรในทางน้ำตามที่กำหนดในกฎกระทรวง



มาตรา 16 ที่สาธารณประโยชน์ คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้บุคคลใดซึ่งทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณประโยชน์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



มาตรา 17(1) ห้ามมิให้บุคคลใดปลูกสร้างสิ่งใดลงไปในที่รักษาพืชพันธุ์ที่ว่าประมูล ที่อนุญาต ซึ่งมิใช่ที่ของเอกชนและที่สาธารณประโยชน์ หรือปลูกบัวข้าว ปอ พืชหรือพันธุ์ไม้น้ำอื่นใดตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อในที่เช่นว่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด



มาตรา 18(2) ห้ามมิให้บุคคลใดวิดน้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ ที่ว่าประมูลที่อนุญาต ซึ่งมิใช่ที่ของเอกชน และที่สาธารณประโยชน์ หรือบ่อล่อสัตว์น้ำ หรือทำให้น้ำในที่จับสัตว์น้ำเช่นว่านั้นแห้งหรือลดน้อยลง เพื่อทำการประมง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด



มาตรา 19(3) ห้ามมิให้บุคคลใด เท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาลงไปในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใด ๆ อันทำให้สัตว์น้ำมึนเมาหรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำหรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ เว้นแต่เป็นการทดลองเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 20 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้วัตถุระเบิดในที่จับสัตว์น้ำ เว้นไว้แต่ในกรณีที่ทำเพื่อประโยชน์ในทางวิทยาศาสตร์และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดให้



มาตรา 20 ทวิ(4) ห้ามมิให้บุคคลใดมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสัตว์น้ำ โดยรู้ว่าได้มาโดยการกระทำผิดตามมาตรา 20



มาตรา 21 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งมิได้อยู่ในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้



มาตรา 22 ห้ามมิให้บุคคลใด ติดตั้ง วาง หรือสร้างเขื่อน ทำนบรั้ว เครื่องมือที่เป็นตาข่าย หรือเครื่องมือทำการประมงอื่น ๆ ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งกางกั้นทางเดินของสัตว์น้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือกระทำการเช่นว่านั้นเพื่อประโยชน์แก่การกสิกรรมในที่ดิน อันบุคคลถือกรรมสิทธิ์

ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ เช่นบันไดปลาโจน หรือเครื่องอุปกรณ์อื่น ๆเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายขึ้นลงได้

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2014 เมื่อ 20:12
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #35  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



พรบ. การประมง พศ. 2490 (ต่อ)


หมวด 2 บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ




มาตรา 23 ห้ามมิให้บุคคลใดขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต



มาตรา 24 การทำการประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ต้องขออนุญาตและไม่ต้องเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้







หมวด 3 การจดทะเบียนและการขออนุญาต




มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุไว้ในท้องที่ใด ๆ มาจดทะเบียนได้ และจะกำหนดให้ผู้มีอาชีพเช่นว่านี้มาขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เสียก่อนดำเนินอาชีพเช่นว่านั้น โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ก็ได้



มาตรา 26 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองเครื่องมือทำการประมงชนิดหนึ่งชนิดใดในท้องที่ใด ๆ จดทะเบียนการมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องมือนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 27 เมื่อมีกรณีจำเป็นแก่ราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยอนุมัติรัฐมนตรี ข้าหลวงประจำจังหวัดอาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาต หรือประทานบัตรรายใด ๆ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้รับอนุญาตได้รับคืนเงินอากรเฉพาะส่วนที่ต้องเพิกถอน



มาตรา 28 บุคคลใดจะใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมงได้ต่อเมื่อได้รับอาชญาบัตรระบุชื่อบุคคลนั้นและเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้แล้วรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องให้รับอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในท้องที่ใด ๆ ก็ได้



มาตรา 28 ทวิ(1) บุคคลใดเป็นเจ้าของเรือ ใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนทำการประมงหรือเพื่อทำการประมง จนเป็นเหตุให้มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกิดจากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าว

ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำวินิจฉัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง เพราะไม่พบตัวบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีผู้ใดยอมรับแทน ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแล้วในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ส่งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำวินิจฉัยไว้ในที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงานภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลดังกล่าวโดยมีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นพยานในการนั้น



มาตรา 29 เครื่องมือในพิกัดซึ่งได้รับอาชญาบัตรในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ถ้าบุคคลใดประสงค์จะนำไปใช้ทำการประมงในท้องที่จังหวัดอื่น ซึ่งจะต้องเสียเงินอากรสูงกว่า จะต้องเสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามอัตราในท้องที่นั้นเสียก่อนจึงจะใช้เครื่องมือนั้นได้



มาตรา 30 บุคคลใดประสงค์จะทำการประมงในที่อนุญาต ต้องขออนุญาตและเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้ และเงินซึ่งผู้รับอนุญาตที่จะต้องชำระโดยการว่าประมูล ให้ถือว่าเป็นเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องเสียเงินอากรค่าอนุญาตในที่อนุญาตรายตัวบุคคลได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว



มาตรา 31 ห้ามมิให้บุคคลใดตั้ง หรือปัก หรือสร้างเครื่องมือประจำที่ลงในที่สาธารณประโยชน์ ส่วนที่จับสัตว์น้ำ อื่น ๆ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำการเช่นว่านั้น โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 32 รัฐมนตรีหรือข้าหลวงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีเฉพาะภายในเขตท้องที่ของตน มีอำนาจประกาศกำหนดได้ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดขนาดตาและระยะช่องเครื่องมือทำการประมงทุกชนิด กำหนดขนาด ชนิดจำนวนและส่วนประกอบของเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่จับสัตว์น้ำ

(2) กำหนดมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในที่จับสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด

ุ(3) กำหนดระยะที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ให้ห่างกันเพียงใด

(4) กำหนดวิธีใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ

(5) กำหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้และกำหนดวิธีทำ การประมงในที่จับสัตว์น้ำใด ๆ ในฤดูดังกล่าว

(6) กำหนดชนิด ขนาด และจำนวนอย่างสูงของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้ทำการประมง

(7) กำหนดมิให้ทำการประมงสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเด็ดขาด



มาตรา 33 การโอนประทานบัตร ใบอนุญาตและอาชญาบัตรและการออกใบแทนเอกสารเช่นว่านั้น และการสลักหลังอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมงจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้

ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรใดซึ่งหมดอายุแล้ว แต่ได้ยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันสิ้นอายุมิให้ถือว่าการทำการประมง หรือการใช้เครื่องมือนั้นเป็นการกระทำโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งว่าไม่อนุญาต



มาตรา 34 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือทำการใด ๆ ในเครื่องมือประจำที่ของผู้รับอนุญาต หรือในบริเวณที่ตั้งเครื่องมือเช่นว่านั้นตามที่คณะกรมการจังหวัดจะได้ประกาศกำหนดเขตโดยอนุมัติรัฐมนตรี



มาตรา 35 ผู้รับอนุญาตจะต้องนำประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตร ติดตัวไปด้วยเสมอในเวลาไปทำการประมงและต้องนำออกแสดงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจ



มาตรา 36 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้หรือปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรหรือค้างเงินอากรที่เกี่ยวกับประทานบัตรใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งเพิกถอนประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรนั้นเสียก็ได้


มาตรา 37 ในขณะใดหรือในท้องที่ใดยังไม่สมควรจะเก็บเงินอากรให้ประกาศยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา



มาตรา 38 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจยกเว้น งด หรือคืนอากรค่าประทานบัตรใบอนุญาต และอาชญาบัตร ให้บางส่วนหรือทั้งหมดตามแต่จะเห็นสมควร



มาตรา 39 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผ่อนเวลาชำระเงินอากรได้ตามที่เห็นสมควรสำหรับเงินอากรที่ค้างนั้น ผู้รับอนุญาตจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบต่อปีของเงินอากรและเงินดอกเบี้ยนี้ให้ถือเป็นเงินอากรค้าง



มาตรา 40 ถ้าผู้รับอนุญาตค้างชำระเงินอากร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังต่อไปนี้

(1) ประกาศหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตนำเงินอากรที่ค้างมาชำระภายในเวลาตามที่เห็นสมควร

(2) เมื่อได้ดำเนินการตามอนุมาตรา (1) แล้ว ผู้รับอนุญาตยังเพิกเฉยอยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจสั่งให้หยุดทำการประมง

(3) จัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ผู้รับอนุญาตนำมาวางเป็นหลักประกัน หรือจัดการเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินอากรแทนผู้รับอนุญาต เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้คิดชำระเงินอากรและค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดจนครบ เหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี



มาตรา 41 เงินอากรที่ค้างชำระนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดและจัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับอนุญาตแต่พอคุ้มกับเงินอากรที่ค้างชำระ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการยึดและการขายทอดตลาด



มาตรา 42 ประทานบัตร ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรที่ถูกสั่งเพิกถอนตามมาตรา 36 นั้น อากรที่ชำระแล้วจะเรียกคืนมิได้



มาตรา 43 กำหนดอายุอาชญาบัตรสำหรับการขออนุญาตและเสียเงินอากรนั้น ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 31 มีนาคม



มาตรา 44 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 43 เพื่อประโยชน์แก่การเก็บอากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศกำหนดฤดูกาลทำการประมงตามความเหมาะสมแห่งท้องที่ โดยให้นับเวลาสิบสองเดือนเป็นหนึ่งฤดู และให้ถือระยะเวลาดังกล่าวแล้วเป็นระยะเวลาสำหรับการขออนุญาตและเสียอากรสำหรับหนึ่งปี



มาตรา 45 ในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องออกไปตรวจสอบหรือกำหนดที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ให้แก่ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องมือ ให้ผู้ขออนุญาตจัดหาพาหนะรับและส่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือออกค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จำเป็นและจ่ายจริงตามแต่ผู้ขออนุญาตจะเลือก



มาตรา 46 ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกประทานบัตรใบอนุญาตและอาชญาบัตรไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานเช่นว่านั้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำอุทธรณ์นั้นให้เจ้าพนักงานเช่นว่านั้นเสนอรัฐมนตรีโดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด







หมวด 4 สถิติการประมง




มาตรา 47 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ทำการเก็บสถิติการประมงในท้องที่ใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร



มาตรา 48 เมื่อได้มีประกาศตามความในมาตรา 47 แล้ว อธิบดีอาจขอให้ผู้หนึ่งผู้ใดที่มีอาชีพเกี่ยวกับสัตว์น้ำส่งรายการข้อความจำนวนเกี่ยวกับสถิตินั้นได้



มาตรา 49 คำขอของอธิบดีนั้น ให้ทำเป็นหนังสือระบุชื่อเจ้าของกิจการผู้จัดการหรือผู้แทน และให้กำหนดเวลา สถานที่และวิธีการยื่น



มาตรา 50 บุคคลซึ่งได้รับคำขอตามมาตรา 48 ต้องกรอกคำตอบลงในแบบพิมพ์แสดงรายการข้อความจำนวนตามที่รู้เห็น พร้อมทั้งลงชื่อกำกับ และจัดการยื่นตามกำหนดเวลา ณ สถานที่และตามวิธีการที่กำหนดในคำขอ



มาตรา 51 ถ้ามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีเพื่อการนี้ มีอำนาจเข้าในสถานที่ทำการของผู้รับคำขอในเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพื่อทำการตรวจสอบ จดข้อความจำนวนเกี่ยวกับสถิติการประมง และให้เป็นหน้าที่ของผู้รับคำขอ หรือผู้แทนตอบคำถาม อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือพนักงานเจ้าหน้าที่ในการนี้






__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #36  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


พรบ. การประมง พศ. 2490 (ต่อ)



หมวด 5 การควบคุม




มาตรา 52 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลอื่นนอกจากผู้รับอนุญาต เข้าไปในที่จับสัตว์น้ำแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้รับอนุญาตหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน



มาตรา 53(1) ห้ามมิให้บุคคลใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่ระบุไว้ ในพระราชกฤษฎีกา หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งเกินจำนวนหรือปริมาณ หรือเล็กกว่าขนาดที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีที่สัตว์น้ำที่ห้ามบุคคลมีไว้ในครอบครองเป็นชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลหรือสาธารณชน ให้กำหนดลักษณะของสัตว์น้ำนั้นว่าจะมีอันตรายอย่างใด และกำหนดเวลาสำหรับผู้ซึ่งมีสัตว์น้ำนั้นในครอบครองอยู่แล้วส่งมอบสัตว์น้ำนั้นให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

บุคคลใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำในวันที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในวรรคหนึ่งใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นต่อไป ต้องยื่นคำขออนุญาตตามวรรคสามภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ เว้นแต่ในกรณีสัตว์น้ำตามวรรคสอง จะขออนุญาตหรืออนุญาตมิได้ และในระหว่างเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับการขออนุญาตจนถึงวันที่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้นำมาตรา 67 ทวิ มาใช้บังคับ

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสี่ยื่นคำขออนุญาตแล้วแต่ไม่ได้รับอนุญาตอธิบดีมีอำนาจสั่งให้บุคคลดังกล่าวส่งมอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันได้รับคำสั่ง

ในกรณีมีการส่งมอบสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามวรรคสองหรือวรรคห้า ให้กรมประมงคิดราคาสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำดังกล่าวตามสมควรแก่ผู้ส่งมอบ

ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า และวรรคหก มิให้ใช้บังคับแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นเฉพาะที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



มาตรา 54 ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 55 ห้ามมิให้บุคคลใดนำสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดตามที่ระบุในพระราชกฤษฎีกา ไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำแห่งหนึ่งแห่งใด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่



มาตรา 56 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะเข้าไปในที่จับสัตว์น้ำแห่งใด ๆ หรือเรือทำการประมงของบุคคลใด ๆ เพื่อตรวจการทำการประมงเครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำ หลักฐานบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของผู้รับอนุญาตได้ทุกเมื่อ ผู้รับอนุญาตต้องอำนวยความสดวกและชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ทุกประการ



มาตรา 57 เมื่อปรากฏว่าบุคคลใดกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทำการเช่นว่านั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมผู้นั้นพร้อมด้วยเรือ เครื่องมือทำการประมง สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้ในการกระทำผิดเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย



มาตรา 58 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตรื้อถอนเครื่องมือทำการประมงสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งใด ๆ ในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งได้กระทำโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งประทานบัตรหรือใบอนุญาตได้สิ้นอายุแล้วบรรดาที่เป็นของผู้รับอนุญาต ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนดังกล่าวแล้ว ให้ผู้รับอนุญาตเป็นผู้ออก



มาตรา 59 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจทำการรื้อถอน ทำลายหรือยึดเครื่องมือซึ่งตั้งอยู่ในที่จับสัตว์น้ำ โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ และสิ่งต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 58 ในกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ได้รื้อถอนไปภายในเวลาอันสมควร ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนดังกล่าวให้ผู้รับอนุญาตหรือผู้ฝ่าฝืนเป็นผู้ออก



มาตรา 60 การประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้ามิได้กำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ทำเป็นหนังสือปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอและศาลากลางจังหวัดประจำท้องที่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน


หมวด 6 บทกำหนดโทษ




มาตรา 61(1) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 11 มาตรา 14 มาตรา 15 มาตรา 16 วรรคสอง มาตรา 23 มาตรา 31 มาตรา 34 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 62(2) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 9 มาตรา 13 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 30 มาตรา 54 หรือมาตรา 55 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 62 ทวิ(3) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 19 หรือมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท



มาตรา 62 ตรี(4) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 20 ทวิ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกิน ห้าพันบาท



มาตรา 63 บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 25 หรือมาตรา 26 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 64(5) บุคคลใดใช้เครื่องมือทำการประมง ซึ่งต้องมีอาชญาบัตรตามพระราชบัญญัติโดยไม่มีอาชญาบัตรตามมาตรา 28 หรือมิได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามมาตรา 29 ต้องระวางโทษปรับสามเท่าของเงินอากรและให้อธิบดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้

เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสิบห้าวันให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน



มาตรา 64 ทวิ(6) บุคคลใดไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามมาตรา 28 ทวิ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือจำคุกไม่เกินห้าปีหรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 65(7) บุคคลใดฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งประกาศตามความในมาตรา 32 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 66 ผู้รับอนุญาตใดไม่ปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 35 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าสิบบาท



มาตรา 67 บุคคลซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติการตามมาตรา 50 หรือมาตรา 51 หรือมาตรา 56 ละเลยไม่ปฏิบัติการเช่นว่านั้น มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท



มาตรา 67 ทวิ(8) บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา 53 วรรคหนึ่งหรือวรรคห้าต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

ถ้าหากปรากฏว่าสัตว์น้ำนั้นเป็นสัตว์ชนิดที่อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาตรา 53วรรคสอง ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนสองหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหกปีหรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 68 ผู้รับอนุญาตใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัด ซึ่งสั่งตามมาตรา 58 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาทหรือจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ



มาตรา 69(9) เรือ เครื่องมือทำการประมง สัตว์น้ำ และสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้ ศาลจะริบเสียก็ได้แต่ถ้าสิ่งเช่นว่านั้น ได้ใช้หรือได้มาโดยการกระทำความผิดในที่รักษาพืชพันธุ์หรือโดยการฝ่าฝืนมาตรา 20 ให้ศาลริบเสียทั้งสิ้น



มาตรา 70 เครื่องมือทำการประมงที่ได้มีประกาศตามความในมาตรา 32 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้โดยเด็ดขาดนั้น ถ้านำมาใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำ ให้ศาลริบเครื่องมือนั้นเสีย

มาตรา 71 ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินสองพันบาทและต้องชดใช้เงินซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการไปตามมาตรา 59 ในกรณีที่ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดให้ศาลพิพากษาให้ผู้กระทำความผิดชำระเงินดังกล่าวแล้ว ถ้าไม่ชำระให้จัดการตามมาตรา 18 แห่งกฎหมายลักษณะอาญาโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าปรับ



มาตรา 72 บุคคลใดทำลาย ถอดถอน หรือทำให้โคมไฟ เครื่องหมายหลักเขต แผ่นประกาศหรือสิ่งอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำไว้ในที่จับสัตว์น้ำบุบสลาย หรือเสียหายด้วยประการใด ๆ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ







บทเฉพาะกาล



มาตรา 73 ในกรณีที่ได้มีประกาศกำหนดประเภทที่จับสัตว์น้ำไว้ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นประกาศที่ออกตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เป็นต้นไป ประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตที่ออกก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้แล้วแต่กรณี และให้คงใช้ต่อไปได้จนหมดอายุแห่งประทานบัตร อาชญาบัตร และใบอนุญาตนั้น ๆ





ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเรือตรี ถ. ธำรงนาวาสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรี







บัญชีหมายเลข 1 อัตราเงินอากรค่าที่อนุญาต

บัญชีหมายเลข 2 อัตราเงินอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด

บัญชีหมายเลข 3 อัตราเงินอากรค่าใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง

บัญชีหมายเลข 4 อัตราค่าธรรมเนียม



__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #37  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

พรบ. การประมง พศ. 2490 แก้ไขเพิ่มเติม



พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2496


หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ด้วยปรากฏว่าเวลานี้มีผู้ใช้วัตถุระเบิดทำการประมงทั้งในน่านน้ำจืดและน่านน้ำเค็มกันเป็นจำนวนมาก อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ผู้ฝ่าฝืนไม่ค่อยกลัวเกรง เพราะโทษแห่งความผิดได้กำหนดไว้ให้ในอัตราต่ำ และการจับกุมผู้กระทำผิด ก็จับได้ด้วยความยากลำบาก การใช้วัตถุระเบิดทำการประมงนั้น ปรากฏจากผลของการทดลองของกองทัพเรือ ร่วมกับกรมการประมงว่า เป็นการทำลายพันธุ์ปลาชนิดดี ๆ อย่างร้ายแรงมาก การใช้วัตถุระเบิดส่วนมาก ผู้ฝ่าฝืนใช้ตามหินกองในท้องทะเลซึ่งมีปลาพันธุ์ดีอาศัยอยู่ เช่น ปลาเหลือง ปลาสีกุน การระเบิดครั้งหนึ่ง ๆ ปรากฏว่าได้ทำลายพันธุ์ปลาที่อยู่ในรัศมีการระเบิดโดยสิ้นเชิง ทั้งปลาใหญ่และลูกปลาที่เป็นปลาที่มีราคาและปลาเหล่านี้เป็นปลาประจำท้องที่ ถ้าหากยังมีการฝ่าฝืนเช่นนี้ต่อไปอีก ไม่ช้าพันธุ์ปลาดี ๆ ในท้องทะเลก็จะถูกทำลายให้สูญพันธุ์ในกาลต่อไปได้ เป็นการทำลายอาชีพการประมงของบรรดาชาวประมง และบัดนี้ก็ปรากฏว่าเครื่องมือทำการประมงบางชนิดเช่น อวนยอ อวนมุโร เบ็ดสาย ลอบปะทุน ทำการประมงไม่ได้ผล เพราะบริเวณที่ใดถูกระเบิดปลาก็ถูกทำลายแทบหมดสิ้น ไม่มีพันธุ์พอที่จะเกิดและเพิ่มปริมาณให้มีการจับได้อีกเป็นเวลานาน ทำให้ชาวประมงที่ใช้เครื่องมือประจำที่ทำการจับไม่ได้ต่างพากันร้องว่าเดือดร้อน ฉะนั้น จึงควรกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ในอัตราสูง เพื่อปราบปรามให้เข็ดหลาบ และป้องกันการทำลายพันธุ์ปลาไว้มิให้ถูกทำลายหมดไป โดยการกระทำของผู้เห็นประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะหน้า

อนึ่ง ปรากฏว่ามีผู้ฝ่าฝืนทำการบุกรุกและวิดน้ำจับสัตว์น้ำ ในที่จับสัตว์น้ำอันเป็นที่สาธารณประโยชน์ โดยมิได้รับอนุญาต เป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่ที่จับสัตว์น้ำและพันธุ์สัตว์น้ำ จึงเห็นควรแก้ไขให้การควบคุมและการรักษาสัตว์น้ำได้ประโยชน์รัดกุมยิ่งขึ้น

*[รก.2496/61/1145/29 กันยายน 2496]





พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีผู้มีปลาปิรันยา (PIRANHA) หรือปลาคาริบี (CARIBE) ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุลเซราซาลมัส (SERASALMUS) และมีแหล่งกำเนิดเดิมอยู่ในแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ไว้ในครอบครอง ปลาชนิดนี้เป็นปลาขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาแปบ หรือปลาโคก แต่มีฟันคมและมีนิสัยดุร้ายมาก ชอบอาศัยอยู่เป็นฝูง ชอบรุมกัดกินเนื้อมนุษย์และสัตว์ทุกขนาดเป็นอาหาร เช่น โค กระบือ ม้า ฯลฯ ที่ลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ปลานี้อาศัยอยู่ และบัดนี้มีผู้นำหรือสั่งปลาในสกุลนี้มาจากต่างประเทศเข้ามาขายในประเทศไทยหลายราย โดยจำหน่ายเป็นปลาประเภทสวยงาม และแปลกประหลาด ถ้าปล่อยให้มีปลาในสกุลนี้ไว้ในครอบครองอาจจะมีการผสมพันธุ์ปลาในสกุลนี้ขึ้นจำหน่าย หรืออาจจะมีผู้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ปลาสกุลนี้จะขยายพันธุ์และแพร่หลายทั่วไปจะเป็นอันตรายต่อประชาชน สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง โดยห้ามมิให้มีสัตว์น้ำตามที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะมีไว้เพื่อการค้าหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และโดยที่เป็นกรณีเหตุฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยสาธารณะหรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ ก่อนที่จะได้มีการขยายพันธุ์จนสายเกินที่จะป้องกันกำจัดได้ สมควรออกพระราชกำหนดโดยด่วน

*[รก.2513/27/1พ./30 มีนาคม 2513]





พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าได้มีมีผู้นำปลาปิรันยา (Piranha) หรือปลาคาริบี (Caribe)ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดในสกุลเซราซาลมัส (Serasalmus) จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรหลายราย เพื่อจำหน่ายและเลี้ยงเป็นปลาประเภทสวยงาม ปลาชนิดนี้มีเหล่งกำเนิดเดิมอยู่ในแม่น้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล เป็นปลาขนาดเล็ก รุปร่างคล้ายปลาแปบหรือปลาโคก แต่เป็นปลาที่มีฟันคมและมีนิสัยดุร้ายมาก อาศัยอยู่เป็นฝูง ชอบรุมกัดกินเนื้อมนุษย์และสัตว์มีชีวิตทุกขนาดเป็นอาหาร เช่น โค กระบือ ม้า ฯลฯ ที่ลงไปในแม่น้ำลำคลองที่ปลาชนิดนี้อาศัยอยู่ ถ้าปล่อยให้บุคคลมีปลาชนิดนี้ไว้ในครอบครอง อาจจะมีการผสมขยายพันธุ์พืชเพื่อจำหน่ายหรืออาจจะมีผู้นำไปปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ปลาชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์ได้โดยรวดเร็ว เพราะถิ่นกำเนิดเดิมมีอุณหภูมิอยู่ในระดับเดียวกับ ประเทศไทย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชน สัตว์เลี้ยงและสัตว์น้ำอย่างร้ายแรง เพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะดังกล่าวแล้ว และเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและรีบด่วน จึงจำเป็นต้องออกเป็นพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 โดยบัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดมีสัตว์น้ำตามระบุในพระราชกฤษฎีกาไว้ในครอบครองไม่ว่าจะมีไว้เพื่อการค้าหรือไม่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับผู้ที่มีปลาชนิดนี้ไว้ในครอบครองในวันพระราชกฤษฎีกาออกใช้บังคับ โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศให้นำปลาชนิดนี้มาส่งมอบแก่เจ้าพนักงานกรมประมงภายใน 7 วัน โดยกรมประมงจะคิดค่าสัตว์น้ำให้ตามสมควรจึงได้ออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 พ.ศ. 2513 ประกาศในราชกิจจนุเบกษา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2513 ฉะนั้น จึงเห็นสมควรออกพระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดดังกล่าวตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 146 ต่อไป





พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 (มาตรา 15)


มาตรา 15 บรรดาพระราชกฤษฎีกาและประกาศรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะมีพระราชกฤษฎีกาหรือประกาศรัฐมนตรีให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง แล้วแต่กรณี





พระราชบัญญัติการประมง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๘

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปรากฏว่าในปัจจุบันนี้มีประชาชนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ใช้วัตถุมีพิษเพื่อทำการประมงอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคสัตว์น้ำได้ จึงสมควรจะได้กำหนดมาตรการควบคุมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น พร้อมกับกำหนดความรับผิดของเจ้าของเรือ กรณีที่มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ ประกอบกับมีสัตว์น้ำบางชนิดที่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ เช่น เต่า และกระ ได้ถูกจับจนเกินปริมาณที่สมควร หากไม่มีมาตรการอนุรักษ์ที่เหมาะสมแล้ว สัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจประเภทดังกล่าวจะถูกทำลายจนไม่มีเหลือสำหรับแพร่พันธุ์ หรือนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกต่อไป จึงสมควรที่จะออกมาตรการห้ามครอบครองสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบางชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจดังกล่าว และโดยที่พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ไม่มีบทบัญญัติครอบคลุมไปถึงมาตรการเหล่านี้ อีกทั้งโทษบางมาตราที่บัญญัติไว้มีอัตราต่ำไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

*[รก.2528/120/38พ./5 กันยายน 2528][/B]

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #38  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

จะเห็นได้ว่า กฏหมายการประมงที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ยึด พรบ. การประมง พศ. 2490 เป็นหลัก เมื่อสถานการณ์ด้านการประมงของไทยและของโลกเปลี่ยนไป มีแนวความคิดใหม่ๆ ที่ต้องการให้มีการทำประมงแบบยั่งยืน คิดถึงเรื่องคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีการประท้วงเรื่องการทำประมงแบบล้างผลาญ กับทั้งมีกลุ่มประมงพื้นบ้านเข้ามามีส่วนในการประสานและต่อรองกับทางการมากขึ้น จึงมีความพยายามที่จะมีการแก้ไขกฎหมายการประมงให้ทันยุคทันสมัย ใช้ได้กับโลกในปัจจุบัน...

ลองอ่านข่าวคราวเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายการประมงดูนะคะ
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2014 เมื่อ 20:19
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #39  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



พระราชบัญญัติกรมประมงฉบับใหม่

เป้าคลี่คลายปัญหาการประมง


ผลผลิตของภาคการประมงสามารถ ทำรายได้ให้แก่ประเทศปีละกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันการประมงต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย อาทิ ภัยธรรมชาติ ความเสื่อมโทรม ของทรัพยากรประมง มลพิษในแหล่งน้ำ รวม ถึงการแย่งชิงทรัพยากรประมง โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการทาง กฎหมายว่าด้วยการประมงที่ล้าสมัย ซึ่งบังคับใช้มาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรแก่ การปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ........ โดยยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งฉบับ และเพิ่มหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญ ๆ อาทิ มีการกำหนดให้มีแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต อย่างชัดเจน ได้แก่ เขตประมงน้ำจืด เขตประมงทะเลชายฝั่ง และเขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง และมีความรุนแรงมากขึ้น

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้ประสงค์จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของตนให้ได้มาตรฐาน และออกหนังสือรับรองให้ ซึ่งจะทำให้สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ และการขนส่ง โดยรัฐออกหนังสือรับรองให้ กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมง โดยกำหนดให้มีส่วนร่วมใน 2 ลักษณะ คือ การให้ตัวแทนภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายประ มงแห่งชาติ และกำหนด ให้กรมประมงมีหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในเขตประมงน้ำจืดหรือเขตประมงทะเลชายฝั่ง และกำหนดให้มี คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย เพื่อเสนอแนะนโยบายและแนวทางการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทยต่อคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ และเสนอแนะต่อหน่วยงานในการออกกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการจัดระเบียบการใช้เรือไทยออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยเป็นการเฉพาะ

สำหรับหลักการอื่น ๆ ยังคงยึดถือแนวทางตามกฎหมายฉบับเดิม เพียงแต่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันให้มากขึ้น เช่น การกำหนดอัตราโทษ อัตราค่าอากร ค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจ เป็นต้น ทั้งนี้ กรมประมงได้เริ่มยกร่างกฎหมายนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหลายครั้งมาอย่างต่อเนื่อง และได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาเป็นลำดับ ซึ่งคณะกรรมการ กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาและนำเสนอคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลปัจจุบันให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในเวลาไม่ช้านี้

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายประมงฉบับใหม่นี้ จะเป็นคำตอบหรือเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการประมงในปัจจุบัน และพัฒนาการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ของกรมประมงที่ว่า มุ่งสู่การเป็นผู้นำทางการประมงอย่างยั่งยืนในภูมิภาค เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน” ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง กล่าว.




ข้อมูลจาก....http://www.farmrachan.com/%E0%B8%81%...%E0%B9%88.html
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-06-2014 เมื่อ 20:21
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #40  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



สาระสำคัญของกฎหมายการประมงฉบับใหม่

กฎหมายการประมงที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 ซึ่งได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานาน จึงไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

ปัญหาด้านการประมงนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในแต่ละปีการประมงสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท แต่การประมงก็พบกับอุปสรรคมากมายนานับประการ ไม่ว่าจะเป็นความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ มลพิษในน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม กากน้ำมันของเรือต่างๆ ระบบนิเวศน์ถูกทำลาย

ร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การประมง พ.ศ... จะมีหลักการใหม่ ๆ ที่สำคัญๆ เช่น การกำหนดแบ่งเขตการประมงในน่านน้ำไทยออกเป็น 3 เขต คือ (1) เขตประมงน้ำจืด หมายถึง เขตประมงที่อยู่ในแผ่นดิน (2) เขตประมงทะเลชายฝั่ง หมายถึง เขตตั้งแต่ชายฝั่งทะเลออกไป 3 ไมล์ทะเล และอาจขยายได้แต่ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล และ (3)เขตประมงทะเลนอกชายฝั่ง หมายถึง เขตทะเลนอกเหนือจากเขตทะเลชายฝั่งออกไปจนสุดเขตน่านน้ำไทย ในแต่ละเขตมีการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำแตกต่างกันตามความเหมาะสม ตามประเภทของเครื่องมือประมง และสภาพพื้นที่การใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสมกับทรัพยากรสัตว์น้ำ จะทำให้สัตว์น้ำขนาดเล็กถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ก่อนวัยอันควร การใช้เครื่องมือประมงที่ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพ ย่อมเป็นวิธีที่จะรักษาระบบนิเวศน์อีกด้วย ซึ่งกฎหมายเดิมไม่ได้กำหนดเขตพื้นที่ทำการประมง ทำให้เครื่องมือประมงที่ได้รับอนุญาตสามารถทำการประมงในทะเลได้อย่างเสรีในทุกเกือบพื้นที่ ก่อให้เกิดปัญหาการแย่งชิงพื้นที่ทำการประมง

การกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมีคุณภาพที่ได้มาตรฐาน โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้รัฐสามารถออกมาตรการควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้คุณภาพมีมาตรฐาน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจน จึงทำให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ผ่านมามีการใช้สารเคมี จึงมีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ขาดศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า

การกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมด้านสุขอนามัย โดยรัฐมีหน้าที่กำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานด้านสุขอนามัยสำหรับประชาชน นับตั้งแต่ขั้นตอนการจับ การดูแลสัตว์น้ำหลังการจับ การแปรรูป และการขนส่งหรือการขนถ่ายสัตว์น้ำ อันจะส่งผลให้สามารถรักษาคุณภาพสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติส่งเสริมควบคุมด้านสุขอนามัย ทำให้ไม่สามารถควบคุมสัตว์น้ำให้มีคุณภาพสุขอนามัย

การกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ บำรุงรักษา อนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งจะส่งผลดีในระยะยาวต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ อันจะทำให้รัฐสามารถกำหนดมาตรการด้านการบริหารจัดการได้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของประชาชน ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบัญญัติไว้

การกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางและเป้าหมายในการพัฒนาการประมงของประเทศ แนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านการประมง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งกฎหมายเดิมไม่มีบัญญัติไว้ จึงทำให้ขาดการบริหารจัดการการประมงภาพรวม และทำให้เกิดปัญหาการทำการประมงโดยละเมิดน่านน้ำและฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างประเทศ

การแก้ไขพ.ร.บ การประมง โดยแก้ไขหลักการที่สำคัญต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมการประมง แต่พื้นที่การประมงยังคงมีเท่าเดิม และการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโนบายประมงแห่งชาติ จึงน่าจะทำให้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆด้านการประมงลดน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการประมง เพื่อการจัดการทรัพยากรประมง การผลิตสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้ได้คุณภาพต่อการบริโภคของประชากรในประเทศ และเพื่อการส่งออกอันจะเป็นการสร้างอาชีพและทำรายได้ให้กับประเทศ

ร่างกฎหมายฉบับใหม่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตามกฎหมายที่จะใช้บังคับจะสัมฤทธิ์ผลเพียงใด ก็ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนที่ต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ที่ออกมาใช้บังคับอย่างจริงจัง

รุจิระ บุนนาค

rujira_bunnag@yahoo.com

Twitter : @ RujiraBunnag


ข้อมูลจาก....http://www.naewna.com/politic/columnist
/7603
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:55


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger