เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 14-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เนื่องจากลมพี่พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าวมีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศา เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 13 ? 14 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนบางแห่งเกิดขึ้นได้ ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในวันที่ 15 - 19 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 -3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 13 ? 14 ม.ค. 66 ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วยและสำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 15 ? 19 ม.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง



******************************************************************************************************



อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 2 (12/2566)

ในช่วงวันที่ 15-19 ม.ค. 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 14-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


มลพิษทางเสียงจากมนุษย์ ตัวการทำลายสุขภาพ-ประชากรโลมา



สำนักข่าวบีบีซี เปิดเผยผลการศึกษาใหม่ พบว่า โลมาสื่อสารได้ยากลำบาก เนื่องจากมลพิษทางเสียงเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์

เพอร์นิล เมเยอร์ โซเรนเซน นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยบริสทอล ผู้นำทีมวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยโลมาและมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ เผยว่า "เราทราบจากผลวิจัยก่อนหน้าแล้ววว่า มลพิษทางเสียงส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ แต่การวิจัยครั้งแรกของเราเป็นการศึกษาว่า เสียงส่งผลกระทบต่อการทำงานร่วมกันของสัตว์อย่างไร"

ทีมวิจัยศึกษาจากโลมาปากขวดสองตัว ได้แก่ เดลตาและรีซ ในทะเลสาบทดลองกับเหล่าผู้ฝึกสอน โดยโลมาแต่ละตัวจะติดตั้งแท็กติดตามการเคลื่อนไหวและเสียงบนช่องลมชั่วคราว จากนั้นคอยวัดระดับเสียงและพฤติกรรมของโลมา

นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อโลมาเจอกับระดับเสียงที่เพิ่มขึ้นของกิจกรรมมนุษย์ โลมาจะผิวปากนานเป็นสองเท่าและให้ดังขึ้นเพื่อเอาชนะเสียงรบกวนต่างๆ

แม้เดลตาและรีซใช้ความพยายามอย่างมากที่สุด ทั้งสองจะมีโอกาสเจอกัน 85% เมื่ออยู่ในช่วงทดลองด้วยเสียงรบกวน แต่จะมีโอกาสเจอกันเพียง 62.5% เมื่อประสบกับมลพิษทางเสียงระดับสูงมาก

ซึ่งเสียงรบกวนในการทดลองอยู่ที่ระดับ 150 เดซิเบล แต่เสียงจากเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่เคลื่อนที่ในมหาสมุทรมีความดังถึงระดับ 200 เดซิเบล

ทั้งนี้ โลมาเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลที่อาศัยการผิวปากและตำแหน่งเสียงสะท้อนในการสื่อสารกับโลมาตัวอื่น เพื่อออกล่าและสืบพันธุ์ แต่มลพิษทางเสียงจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการขนส่งทางเรือและการก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นักวิจัยกล่าวว่า หากโลมาไม่สามารถสื่อสารกันได้ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพโลมาและประชากรโลมาได้ เนื่องจาก "เสียง" ถือเป็นสัญชาตญาณที่สำคัญที่สุดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล

และโซเรนเซนกังวลว่า เมื่อโลมาป่าหรือโลมาที่โตในธรรมชาติเจอกับมลพิษเสียงที่มากกว่าเสียงในศูนย์วิจัย อาจประสบปัญหาแย่กว่าเดลตาและรีซ


https://www.bangkokbiznews.com/world/1047874


******************************************************************************************************


ทำอย่างไร เมื่อไทยพบ "ขยะทะเล" ตกค้างชายฝั่งกว่า 444 ตัน



"ขยะทะเล" เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน ที่ผ่านมา พบขยะตกค้างชายฝั่งทะเลกว่า 444 ตัน ส่วนใหญ่ยังเป็นขยะพลาสติก การแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป้าหมายจัดการกับขยะให้เป็นศูนย์

การจัดเก็บ "ขยะทะเล" กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ปีงบประมาณ 2564 ที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่งทะเลรวมทั้งสิ้น 443,987 กิโลกรัม (ประมาณ 444 ตัน) รวมจำนวนขยะ 3,950,904 ชิ้น ขยะที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ถุงพลาสติกอื่น ๆ เศษโฟม ขวดเครื่องดื่มแก้ว และถุงก๊อปแก๊ป

นอกจากนี้ ข้อมูลปริมาณขยะทะเลที่มีแหล่งกำเนิดจากแม่น้ำสายสำคัญบริเวณอ่าวไทยตอนบนและอ่าวไทยตอนล่าง แม่น้ำ 9 สาย พบขยะลอยน้ำที่ไหลออกจากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีปริมาณ 84,524,933 ชิ้น/ปี (น้ำหนัก 738 ตัน/ปี) มีขยะที่ไหลผ่านทางแม่น้ำเจ้าพระยามากที่สุด จำนวนเฉลี่ย 52,649,113 ชิ้น/ปี (น้ำหนัก 317 ตัน/ปี) และมีปริมาณสูงขึ้นจาก 168 ตัน ในปี 2563 เป็น 317 ตัน ในปี พ.ศ. 2564

ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด - 19) มีการใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกจำนวนมาก จำนวนชิ้นขยะลอยน้ำในภาพรวมจากทุกปากแม่น้ำมีปริมาณสูงกว่าในปี พ.ศ. 2563

ส่วนปริมาณขยะลอยน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีปริมาณเฉลี่ย 10,061,877 ชิ้น/ปี (น้ำหนัก 284 ตัน/ปี) โดยผ่านมาทางปากทะเลสาบสงขลามากที่สุด จำนวนเฉลี่ย 5,517,079 ชิ้น/ปี (น้ำหนัก 142 ตัน/ปี)

สถิติการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากในช่วง 10 ปีงบประมาณ พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นรวมทั้งสิ้นจำนวน 5,536 ตัว คิดเป็นค่าเฉลี่ยปีละ 554?183 ตัว โดยพบว่าตั้งแต่ปี 2555 ? 2563 มีแนวโน้มการเกยตื้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่มีความเสื่อมโทรมลง ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดตามธรรมชาติ และผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ เช่น การติดพันรัด หรือถูกรัดด้วยขยะทะเล หรือขยะทะเลจำพวกอวน และเชือก การติดเครื่องมือประมง โดยเฉพาะอวนปู และอวนปลาจาระเม็ด เป็นต้น


ตั้งศูนย์มอนิเตอร์ขยะทะเล

ล่าสุด (6 ม.ค.) "วราวุธ ศิลปอาชา" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าร่วมหารือกับ Mr.ONO Hiroshi รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ถึงแนวทางการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) การฟื้นฟู และดูแลรักษาธรรมชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

การหารือร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ มีประเด็นที่สำคัญหลายหัวข้อ อาทิ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย และปัญหาเรื่องขยะ ได้แนวคิดร่วมกันที่จะจัดตั้งศูนย์มอนิเตอร์ขยะทะเล เพื่อจัดการกับขยะให้เป็นศูนย์ ซึ่งในเรื่องนี้ไทย และญี่ปุ่นมีการสนับสนุนกันมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดปลายปีที่ผ่านมา


ก้าวสู่ Net zero

นอกจากนี้ ยังเห็นตรงกันว่าจะต้องยกระดับความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบความตกลงปารีส ข้อ 6.2 และจากนี้ไปจะมีการแลกเปลี่ยนทั้งประสบการณ์ เทคโนโลยี และการสนับสนุนด้านเงินทุน เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะก้าวเข้าสู่ Net Zero Greenhouse Gas Emissions และความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050

ในการนี้ยังได้ร่วมหารือกับ "เคอิจิโร นากาซาวะ" รองประธานอาวุโสองค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA (Japan International Cooperation Agency) ในประเด็นโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาพัฒนา ทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสานงานต่อภายใต้กรอบความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงขยะทะเล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชื่อว่าการพัฒนาการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในอนาคตของประเทศไทย จะได้องค์ความรู้จากประเทศญี่ปุ่น รวมถึงเทคโนโลยี และงบประมาณ ที่จะช่วยพัฒนาโครงการฯ ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น เนื่องจาก JICA เป็นองค์การฯ ที่มีบทบาท เรื่องการดำเนินโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามข้อตกลงของรัฐบาลประเทศที่กำลังพัฒนา หนึ่งในประเด็นหารือมีเรื่องแนวทางการ ขยายกรอบ การศึกษาปัญหา PM 2.5 ที่ JICA ให้ความสนใจ เพื่อเพิ่มเนื้องานในการศึกษาประโยชน์และคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นการสานต่องานร่วมกันระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

"ปัญหา PM 2.5 ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการจัดการเรื่องนี้ ถ้าไทยได้เรียนรู้ หรือได้สานต่อโปรเจคร่วมกัน เชื่อว่าจะสามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้ เพราะญี่ปุ่นน้อยมากที่จะประสบปัญหาเรื่อง PM 2.5 เพราะประชาชนให้ความตระหนัก และเห็นความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมากซึ่งเป็นเรื่องดี ถ้าเราได้นำเทคโนโลยีมาใช้"

รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ตามเป้าหมายของประเทศไทย ที่จะก้าวเข้าสู่ Net Zero Greenhouse Gas Emissions และความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050

จะทำอย่างไรให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณ 388 ล้านตัน ลดลงไปเหลือ 120 ล้านตัน และแผนระยะสั้น Nationally Determined Contributions หรือ NDC ที่ ประเทศไทยตั้งเป้าว่าภายในปี 2030 จะลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40 % รวมทั้งหารือด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพการจัดการขยะอย่างยั่งยืนอีกด้วย


"ทะเล" ไม่ได้มีแค่ "ปัญหาขยะ"

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) รายงาน ?คุณภาพน้ำทะเล? พบว่าในปีงบประมาณ 2564 ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ร้อยละ 75 เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 22 และเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 3 เมื่อพิจารณาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ปี 2557 ? 2564 พบว่า โดยรวมคุณภาพน้ำทะเลมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ คือ สถานการณ์คุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี

คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งรายพื้นที่ พบว่าพื้นที่ อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี รองลงมา อยู่ในเกณฑ์พอใช้

อ่าวไทยตอนบน ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรม เนื่องจากเป็นอ่าวกึ่งปิด และได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสายหลัก 4 สาย

อ่าวไทยตอนกลางถึงตอนล่าง ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นพื้นที่ใน ?อ่าวปากพนัง? มีสถานะคุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้

และฝั่งทะเลอันดามัน พบสถานะเสื่อมโทรม ร้อยละ 1 ในจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง คือ บริเวณหาดกมลา

ส่วนสถานการณ์ น้ำมันรั่วไหล และก้อนน้ำมันดิน ในปีงบประมาณ 2564 พบน้ำมันรั่วไหล และก้อนน้ำมันดิน รวม 44 ครั้ง แบ่งเป็น เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล 17 ครั้ง (ไม่ทราบสาเหตุ) ทั้งนี้ ผลจากการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังสถานภาพของน้ำมันรั่วไหลในช่วงที่ผ่านมา พบว่า จังหวัดระยองและชลบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของการเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเลซึ่งเกิดเหตุการณ์บ่อยครั้ง

เนื่องจากมีกิจกรรมชายฝั่งหลากหลายประเภท ได้แก่ การเดินเรือเข้าออก เรือขนส่งสินค้า เรือประมง และเรือท่องเที่ยว ตลอดจนบริเวณชายฝั่งจังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งมีโรงกลั่นน้ำมันทำให้มีการเดินเรือเข้าออกเพื่อขนส่งน้ำมัน รวมทั้งมีระบบท่อขนส่งน้ำมันในทะเล


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1047688

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 14-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,204
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


ผลชันสูตร "พะยูน" ป่วยตาย แต่มีอวนในท้อง



ผลชันสูตรซากพะยูนยาว 2 เมตร ตายบริเวณอ่าวท่าเลน จ.กระบี่ คาดตายจากธรรมชาติ สาเหตุติดเชื้อภายในร่างกาย จนเกิดอาการช็อก และพบเศษอวนเล็กน้อยภายในกระเพาะอาหาร

กรณีพบพะยูนขนาดใหญ่ลอยตื้นลอยกลางทะเล บริเวณอ่าวท่าเลน จ.กระบี่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ม.ค.2566 นายสุชาติ รัตนเรืองสี ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) นำซากพะยูนมาชันสูตรซากหาสาเหตุการตาย

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นซากพะยูน ความยาววัดแนบ 258 ซม. ตัวเมีย ช่วงโตเต็มวัย สภาพซากสด ลักษณะภายนอกมีรอยเขี้ยว จากพฤติกรรมฝูงของพะยูนบริเวณหลัง พบหญ้าชะเงาเต่าอยู่ในช่องปากของพะยูน

เมื่อเปิดผ่าดูอวัยวะภายใน พบว่ากล้ามเนื้อมีรอยช้ำเล็กน้อยบริเวณด้านซ้ายของลำตัวส่วนท้าย มีน้ำในช่องอก และช่องท้อง ปริมาณมากสีน้ำตาลขุ่น พบคราบแผ่นหนองสีขาวเหลืองปกคลุมช่องท้อง และทางเดินอาหารจำนวนมาก

หัวใจมีเลือดคั่ง มีน้ำในถุงหุ้มหัวใจ ลิ้นหัวใจบวม เนื้อเยื่อปอดสีแดงเข้ม พบจุดเลือดออกกระจายเป็นหย่อมๆ บ่งบอกการอักเสบของปอด ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ บ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อภายในร่างกาย

ส่วนของทางเดินอาหารพบอาหารอัดแน่น เต็มกระเพาะอาหาร พบเศษอวนเล็กน้อยภายในกระเพาะอาหาร แต่ไม่ใช่สาเหตุการตาย

สรุปสาเหตุการตายคาดว่าป่วยตามธรรมชาติ เนื่องจากภาวะช็อกจากการติดเชื้อภายในร่างกาย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ ศวอล.ได้ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ


https://www.thaipbs.or.th/news/content/323513

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:43


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger