เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 25-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 25 มกราคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2?4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรงในระยะนี้

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็นกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 25 - 26 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 5 ? 7 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 3 ? 5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ ส่งผลทำให้บริเวณภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 27 - 30 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 ? 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรง ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างควรระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วยตลอดช่วง






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 25-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


นักวิจัยพบ 'แบคทีเรีย' ช่วยย่อยขยะพลาสติกในทะเล เปลี่ยนเป็นสารชีวภาพที่ปลอดภัย

หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์พบข้อกังขามานานว่า ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลนั้น หายไปไหนบ้าง ผลวิจัยใหม่นี้ ช่วยหาคำตอบได้ส่วนหนึ่ง และยังเป็นความหวังใหม่ในการกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทร



แต่ละปีมีขยะพลาสติกที่โดนทิ้งลงสู่มหาสมุทรอย่างน้อย 14 ล้านตัน แต่มีการตรวจพบพลาสติกจากการเก็บตัวอย่างเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าขยะพลาสติกในทะเลหายไปไหนบ้าง?

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีผลการศึกษาจากสถาบันวิจัยทางทะเล โดยสถาบันรอแยลเนเธอร์แลนด์ (NIOZ) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Marine Pollution Bulletin ระบุว่า สามารถพิสูจน์ได้ว่า แบคทีเรียที่มีอยู่ทั่วไปในท้องทะเลชื่อว่า Rhodococcus ruber เป็นตัวย่อยขยะพลาสติก เปลี่ยนให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

Maaike Goudriaan นักศึกษาปริญญาเอกของ NIOZ ชี้ว่า กรณีศึกษานี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีการพิสูจน์ได้ว่า แบคทีเรียนี้สามารถย่อยพลาสติกได้จริง อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่มีอยู่เกลื่อนมหาสมุทร แต่เป็นเพียงหนึ่งในคำตอบต่อคำถามที่ว่า "พลาสติกหายไปไหนบ้าง" เมื่อมันลงไปอยู่ในมหาสมุทร

ในการวิจัยครั้งนี้ ทีมงานได้ดำเนินการทดลองเชิงห้องปฏิบัติการหลายครั้ง ด้วยการป้อนพลาสติกให้แบคทีเรียในน้ำทะเลหลังจากที่นำไปผ่านแสงยูวีมาก่อนแล้ว เพื่อเลียนแบบสภาพการโดนแสงแดดในมหาสมุทร?

เป็นที่รู้กันดีว่า แสงอาทิตย์เป็นตัวทำให้พลาสติกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งทำให้แบคทีเรียดูดซึมชิ้นส่วนพลาสติกได้ง่ายขึ้น

ทีมวิจัยได้ประเมินว่า เพียงแค่แบคทีเรีย Rhodococcus ruber ชนิดเดียวก็สามารถสลายพลาสติกได้อย่างน้อย 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนพลาสติกที่โดนทิ้งลงทะเลต่อปี จึงมีความเป็นไปได้ว่า จะนำแบคทีเรียเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในการกำจัดขยะพลาสติกในมหาสมุทรได้มากขึ้น?

กระนั้น ก็ยังมีข้อควรระวัง หากใช้แบคทีเรียจำนวนมากกำจัดขยะพลาสติกที่มีอยู่หลายล้านตัน กระบวนการย่อยสลายพลาสติกจำนวนมหาศาล จะก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งไม่เป็นผลดีโลก

Rhodococcus ruber?เป็นแบคทีเรียที่พบได้ทั่วไปและทั่วโลก มีอยู่ทั้งในพื้นดิน ในแหล่งน้ำจืดและน้ำทะเล ส่วนแบคทีเรียที่ใช้ในการทดลองของทีมวิจัย เป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกแล้วว่าสามารถเปลี่ยนสารที่เป็นมลพิษ เช่น สารเคมีจากธุรกิจอุตสาหกรรมและยาฆ่าแมลง ให้เป็นโมเลกุลของสารประกอบที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ยังพบในระหว่างการทดลองว่า แสงอาทิตย์มีส่วนช่วยอย่างมากในการกำจัดขยะพลาสติก เนื่องจากแสงแดดช่วยย่อยสลายพลาสติกให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือที่เรียกว่าไมโครพลาสติก ซึ่งทำให้แบคทีเรียย่อยพลาสติกเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

ทีมวิจัยชี้ว่า จากข้อมูลที่มีอยู่แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ว่า แสงอาทิตย์เป็นตัวการสำคัญในการสลายขยะพลาสติกที่ล่องลอยอยู่ในทะเลตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1950 และประเมินว่า แสงแดดสามารถทำลายขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเลในอัตราปีละ 2% ของขยะทั้งหมด

แม้ว่าการค้นพบครั้งนี้ จะทำให้มีความหวังและช่องทางใหม่ที่นำไปสู่การกำจัดขยะพลาสติกในทะเล แต่หนทางที่ดีกว่าการ "ทำความสะอาดทะเล" ด้วยแบคทีเรีย ก็คือการป้องกันการทิ้งขยะลงทะเล ซึ่งมีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่จะทำได้


https://www.dailynews.co.th/news/1925653/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 25-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เฮ! กองเรือเบ็ดทูน่าไต้หวันกลับเข้าภูเก็ต เชื่อช่วยสานฝันให้ภูเก็ตเป็นฮับทูน่า

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เฮ! กองเรือเบ็ดทูน่าไต้หวันกลับมาแล้ว หลังหยุดเข้าภูเก็ตมานานกว่า 7 ปี เชื่อแนวโน้มดี สานฝันให้ภูเก็ตเป็นศูนย์กลางการค้าและส่งออกปลาทูน่าในอาเซียนต่อไป ทำเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต สร้างรายได้มหาศาลอย่างแน่นอน



วันนี้ (24 ม.ค.) ที่บท่าเทียบเรือน้ำลึก จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่จากสำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันตรวจสอบเรือประมงทูน่า จากไต้หวันซึ่งขออนุญาตเทียบท่าขึ้นปลาทูน่า ที่จังหวัดภูเก็ต โดยเรือลำดังกล่าวสามารถจับปลาทูน่าชนิดต่างๆ ได้กว่า 50 ตัน และนับว่าเป็นกองเรือทูน่าชุดแรกที่กลับเข้ามาเทียบท่าที่จังหวัดภูเก็ต หลังหายไปนานกว่า 7 ปี

นายสิทธิพล เมืองสง ประมงจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การกลับมาของกองเรือทูน่าจากไต้หวันส่งผลดีต่อจังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก เดิมจังหวัดภูเก็ตนับว่าเป็นศูนย์กลางของกองเรือทูน่า โดยเมื่อปี 2556 จังหวัดภูเก็ตมีเรือเบ็ดราวทูน่าย้ายฐานมาจากรัฐปีนัง มาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตเกือบทั้งหมด เนื่องจากใกล้กับแหล่งจับปลา มีท่าเทียบเรือ มีสนามบินที่สามารถส่งออกปลาไปญี่ปุ่นได้โดยตรง มีโรงงาน มีสถานที่พักผ่อน และสถานบันเทิงของลูกเรือประมง โดยมีกองเรือประมงทูน่านำปลามาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตประมาณ 11,000 ตัน ทำให้มีรายได้สะพัด 1,100 ล้านบาท

แต่ในปี 2558 ประเทศไทยได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ที่ระบุว่าประเทศไทยทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ทำให้ประเทศไทยต้องดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย และออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ส่งผลให้เรือประมงทูน่าเข้ามาเทียบท่าลดลง ปริมาณขนถ่ายปลาทูน่าเหลือเพียง 158 ตัน เงินหมุนเวียน 15 ล้านบาทเท่านั้น

สำหรับการกลับมาของกองเรือทูน่าในครั้งนี้ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อจังหวัดภูเก็ต และจะทำให้ภูเก็ตก้าวขึ้นสู่การเป็นฮับของทูน่า หรือศูนย์กลางการค้าขายและส่งออกปลาทูน่าในอาเซียนต่อไป ตามแผนพัฒนาของจังหวัดภูเก็ตได้ ซึ่งปีนี้มีเรือทูน่าเข้ามาขึ้นปลาแล้ว 4 ลำ และมีแนวโน้มว่าเรือทูน่าจะเข้ามาเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความพร้อม ทั้งเรื่องของการขนส่ง มีท่าเทียบเรือประมงที่อนุญาตให้เรือประมงต่างชาตินำสัตว์น้ำขึ้นท่าเรือได้เลย มีสนามบินนานาชาติบินตรงไปประเทศที่มีการบริโภคทูย่ารายใหญ่ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ซึ่งนิยมใช้ปลาสดในการปรุงอาหาร เพราะฉะนั้นปลาที่ส่งออกไปจะต้องเป็นปลาที่สด มีคุณภาพ

นอกจากนั้น จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา ยังมีโรงงานแปรรูปทูน่ามากถึง 8 โรงงาน สามารถรองรับปลาทูน่าได้ถึง 300 ตัน จังหวัดภูเก็ตยังมีอู่เรือ คานเรือรองรับเรือทูน่าที่ต้องการซ่อมบำรุง ที่สำคัญ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตไม่มีผู้มีอิทธิพลที่จะบีบบังคับเรียกค่าคุ้มครองจากเรือทูน่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นทางเลือกที่สำคัญที่ทำให้เรือประมงทูน่ากลับมาขึ้นปลาที่จังหวัดภูเก็ต เชื่อว่าในปีนี้จะมีเรือกลับมาจำนวนมาก ซึ่งจะสร้างงานและสร้างรายได้ให้จังหวัดภูเก็ตมากขึ้น แม้จะยังไม่ดีเท่าปี 2556 แต่เชื่อว่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน

นายสิทธิพล กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันการเข้ามาของกองเรือทูน่ายังมีอุปสรรคอยู่บ้าง เนื่องจากขณะนี้เรือไม่สามารถเข้าไปจอดที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาได้ เนื่องจากร่องน้ำตื้น ทำให้ต้องมาขึ้นปลาที่ท่าเทียบเรือน้ำลึกแทน ซึ่งการมาเทียบท่าที่ท่าเรือน้ำลึกมีปัญหาเรื่องของความไม่พร้อมของสถานที่ เพราะเป็นที่โล่ง ซึ่งเรื่องนี้จะนำเสนอปัญหาไปทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้ามาขึ้นปลาทูน่าของกองเรือเบ็ดราวทูน่า เชื่อว่าถ้าสามารถแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้ได้ การจะก้าวขึ้นเป็นฮับด้านทูน่าของจังหวัดภูเก็ตมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอน


https://mgronline.com/south/detail/9660000007340

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 25-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ลูกเต่ามะเฟืองฟักเป็นรังที่ 2 ของปี

พังงา 24 ม.ค. ? ลูกเต่ามะเฟืองลืมตาดูโลกเป็นรังที่ 2 ของปี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสั่งติดตามสถานการณ์การขึ้นมาวางไข่ของแม่เต่าทะเลและให้เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด



นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกล่าวว่า ได้รับรายงายจากศูนย์เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เต่ามะเฟือง ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงาว่า ไข่เต่ามะเฟืองฟักเป็นรังที่ 2 ของปีนี้ โดยพบการยุบตัวของปากหลุมรังฟักไข่รังที่ 2 ตั้งแต่เวลา 02.00 น. ของวันที่ 23 มกราคม 2566 เจ้าหน้าที่จึงเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ปากหลุมได้ยุบตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนเวลา 00.24 น. คืนที่ผ่านมา (24 มกราคม) ลูกเต่ามะเฟืองได้ทยอยขึ้นปากหลุมอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยเปิดปากหลุมและขุดช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากไข่ขึ้นมาจากหลุมนำไปปล่อยลงสู่ทะเล 56 ตัว นำไปอนุบาลที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) 25 ตัว ส่วนลูกเต่ามะเฟืองอ่อนแอนำเข้าพักฟื้นในตู้ ICU Box 5 ตัว มีไข่เต่ามะเฟืองที่ไม่พัฒนา 28 ฟอง และลูกเต่ามะเฟืองตายแรกคลอด 4 ตัว อัตราการฟักอยู่ที่ 76.27% อัตราการรอดตาย 96% ซึ่งรังไข่เต่ามะเฟืองรังที่ 2 เป็นรังที่ตรวจพบเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 จำนวนไข่ 118 ฟอง นับเป็นวันที่ 55 หลังจากที่พบร่องรอยการขึ้นมาวางไข่

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา ได้รับข่าวดีว่า มีแม่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บริเวณหาดตอนบนของหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงาซึ่งเป็นข่าวดีในช่วงเทศกาลตรุษจีน และคาดว่า หลังจากนี้แม่เต่าทะเลจะทยอยขึ้นมาวางไข่กันตามฤดูกาล ก่อนจะกลับลงสู่ทะเลและกลับขึ้นมาวางไข่อีกครั้งในฤดูกาลถัดไป

นายอรรถพลกล่าวว่า ได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังสถานการณ์และดูแลความปลอดภัยของหลุมฟักไข่เต่ามะเฟืองอย่างใกล้ชิด พร้อมจัดชุดลาดตระเวนชายหาด (เดินเต่า) เพื่อคอยช่วยเหลือหากพบการขึ้นมาวางไข่ของเต่าทะเล อีกทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมถึงข้อมูลด้านสัตว์ทะเลหายากแก่ผู้เยี่ยมชมอีกด้วย.


https://tna.mcot.net/environment-1100856

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 25-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


หอยนางรมช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างไร


ที่มาของภาพ,THINKSTOCK

หอยนางรมถือเป็นอาหารยอดนิยมสำหรับผู้คนทั่วโลก แต่ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนาของสหรัฐฯ นอกจากจะเป็นอาหารเลิศรสแล้ว เปลือกของหอยนางรมยังถูกนำไปสร้างเป็นปราการป้องกันน้ำทะเลกัดเซาะแนวชายฝั่ง และน้ำท่วมจากพายุเฮอร์ริเคนอีกด้วย

โครงการนี้เกิดขึ้นจากบรรดาร้านอาหารในเมืองนิวออร์ลีนส์ที่มีแนวคิดในการนำเปลือกหอยนางรมที่บริโภคแล้วปริมาณมหาศาลมาใช้สร้างแนวกั้นน้ำทะเลกัดเซาะพื้นที่ชุ่มน้ำของเมืองที่มักเผชิญปัญหาน้ำท่วมในฤดูพายุเฮอร์ริเคนเป็นประจำทุกปี

ดิ๊ก เบรนแนน จากร้านอาหาร Bourbon House เล่าว่า ร้านอาหารของเขาเพียงแห่งเดียวรีไซเคิลเปลือกหอยนางรมไปแล้วกว่า 700 ตัน โดยเปลือกหอยที่ได้ถูกนำไปใส่ถุงตาข่ายแล้วนำไปวางกั้นริมตลิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อสร้างแนวกั้นที่มีชีวิตและเติบโตได้

ดาร์ราห์ บาค จากแนวร่วมฟื้นฟูชายฝั่งลุยเซียนา อธิบายว่า "เปลือกหอยที่เราวางไว้ในน้ำ จะดึงดูดลูกหอยนางรมให้เกาะตามเปลือกหอย และทำให้แนวกั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น"

เธอบอกว่า ไม่เพียงเปลือกหอยพวกนี้จะช่วยให้มีประชากรหอยนางรมเพิ่มขึ้น แต่ยังดึงดูดสัตว์ชนิดอื่นด้วย และช่วยเสริมสร้างระบบนิเวศที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่แถบนี้

ปัจจุบัน โครงการนี้ได้สร้างแนวกั้นจากเปลือกหอยนางรมครอบคลุมพื้นที่แนวชายฝั่งระยะทาง 2.4 กม. และพบว่าสามารถลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรัฐลุยเซียนาลงได้ 50% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา


https://www.bbc.com/thai/articles/cd1zw36k868o

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:20


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger