เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 28-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 28 กันยายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีพายุไต้ฝุ่น "โนรู" ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง กับมีลมแรงในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "โนรู" บริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 70 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก ของแขวงเซกอง ประเทศลาว พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทยบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ในช่วงวันที่ 29 ก.ย. 65 โดยพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 28 ? 30 ก.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศลาวตอนบน ส่งผลทำให้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพายุไต้ฝุ่น "โนรู" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางในวันพรุ่งนี้ (28 ก.ย. 65) และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่าง และเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและตอนล่างของประเทศไทยในวันที่ 29 กันยายน 2565 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนตกชุกหนาแน่น และฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในวันที่ 1 ? 3 ต.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง


ข้อควรระวัง

ในวันที่ 28 ? 30 ก.ย. 65 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงในวันที่ 27 ก.ย. ? 3 ต.ค. 65 ไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ โนรู" ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 28 กันยายน 2565

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (28 ก.ย. 65) พายุไต้ฝุ่น "โนรู" ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนามแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 70 กิโลเมตรทางตะวันออกของแขวงเซกอง ประเทศลาว หรือที่ละติจูด 16.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.1 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่างเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทยบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญและอุบลราชธานี ในวันที่ 29 ก.ย. 65 โดยพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ

ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 28 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 29 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล


วันที่ 30 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 28-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ท่อส่งก๊าซรัสเซียใต้ทะเลบอลติกรั่ว 3 จุด ยุโรปเร่งสืบหวั่นโดนก่อวินาศกรรม

เจ้าหน้าที่ของยุโรปกำลังสืบสวนเหตุรั่วไหลที่ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นอร์ด สตรีม ทั้ง 2 ท่อ โดยหลายประเทศรวมถึงรัสเซียประเมินว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นการก่อวินาศกรรม



สำนักข่าว รอยเตอร์ส รายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ 27 ก.ย. 2565 เจ้าหน้าที่ของยุโรปกำลังสืบสวนเหตุการรั่วไหลของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ นอร์ด สตรีม 1 และ 2 ใต้ทะเลบอลติก จนทำให้หลายประเทศตั้งแต่โปแลนด์จนถึงรัสเซียออกมาแสดงความกังวลว่า อาจมีการก่อวินาศกรรมต่อท่อส่งน้ำมันซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกกับรัสเซียอยู่ตอนนี้

จนถึงตอนนี้ยังไม่หลักฐานใดๆ ว่า การรั่วไหลครั้งนี้ไม่ใช่อุบัติเหตุ อย่างไรก็ตาม นักแผ่นดินไหววิทยาในเดนมาร์กและสวีเดนตรวจพบการระเบิดรุนแรงในพื้นที่ที่เกิดก๊าซรั่วเมื่อวันจันทร์ ขณะที่ GFZ ศูนย์วิจัยธรณีวิทยาของเยอรมนี ก็ระบุว่าพบการระเบิด 2 ครั้งใกล้เกาะบอร์นโฮล์ม ของเดนมาร์กในวันเดียวกัน

นายมาเทอุซ โมราเวียคคี นายกรัฐมนตรีโปแลนด์อ้างว่า นี่เป็นการก่อวินาศกรรม แต่ไม่ระบุหลักฐานสนับสนุน ส่วนนายกรัฐมนตรีเดนมาร์กระบุว่า ไม่สามารถตัดความเป็นได้เรื่องการก่อวินาศกรรมออกไปได้

ด้านรัสเซีย ซึ่งตัดการส่งก๊าซธรรมชาติให้แก่ยุโรป หลังชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตร เพื่อลงโทษที่ยกทัพบุกโจมตียูเครน ก็ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นการก่อวินาศกรรม และเหตุการณ์นี้ได้บ่อนทำลายความมั่นคงทางพลังงานในทวีปไปแล้ว ด้านยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรั่วไหลครั้งนี้ เพื่อทำลายเสถียรภาพของยุโรป

ก่อนหน้านี้ หน่วยงานเดินทะเลของสวีเดนออกคำเตือนเกี่ยวกับการรั่วไหล 2 จุดที่ท่อส่งก๊าซ นอร์ด สตรีม 1 หลังจากวันก่อนหน้านั้นเพิ่งพบการรั่วไหล 1 จุดที่ท่อ นอร์ด สตรีม 2 ซึ่งอยู่ใกล้กัน ส่วนเดนมาร์กต้องจำกัดการเดินเรือ เนื่องจากก๊าซที่รั่วออกมาทำให้ผิวน้ำปั่นป่วนกินพื้นที่เส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 1 กม. และบังคับใช้เขตห้ามบินขนาดเล็ก

ตามการเปิดเผยของนาย คริสตอฟเฟอร์ บอตเซาว์ หัวหน้าสำนักงานพลังงานเดนมาร์ก การรั่วไหลที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่มาก และอาจต้องใช้เวลานานนับสัปดาห์กว่าที่ก๊าซจะถูกดูดออกจากท่อ นอร์ด สตรีม 2 จนหมด แต่ตอนนี้พื้นผิวน้ำทะเลเต็มไปด้วยก๊าซมีเทน อาจทำให้เรือที่แล่นผ่านสูญเสียการลอยตัว และความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดการระเบิด


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2511702

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 28-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


นักวิทย์ชี้ กลาเซียร์เยอรมนี 1 ใน 5 ละลายแล้ว หลังเผชิญฤดูร้อนหฤโหด



สำนักข่าวเอพีรายงานเมื่อวันที่ 27 กันยายนว่า นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิทยาศาสตร์บาวาเรียน ประเทศเยอรมนี แถลงการณ์ในวันเดียวกันว่า ธารน้ำแข็งหรือ ?กลาเซียร์? บริเวณ Southern Schneeferner ในเทือกเขาเอลป์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลาเซียร์ที่สำคัญของประเทศมีขนาดเล็กลงอย่างมาก จากการละลายตัวของธารน้ำแข็ง หลังจากที่เยอรมนีเผชิญหน้ากับปัญหาอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูร้อนหฤโหด ส่งผลให้ในปัจจุบัน เยอรมนีเหลือกลาเซียร์เพียง 4 แห่งเท่านั้น

Southern Schneeferner เดิมเป็นแผ่นน้ำแข็งที่ทอดตัวยาวอยู่บนที่ราบสูงทางตอนใต้ของยอดเขาซูกชปิทเซ ยอดเขาที่สูงที่สุดของเยอรมนี โดยนักวิจัยกล่าวว่าการวัดขนาดของธารน้ำแข็งในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่าธารน้ำแข็งดังกล่าวมีขนาดลดลงครึ่งหนึ่งในช่วง 4 ปีที่ผ่านมมา และในปัจจุบันกลาเซียร์ดังกล่าวมีความหนาน้อยกว่า 2 เมตร ซึ่งหมายความว่ามันจะไม่ทอดตัวไปตามทางลาดของเทือกเขา ส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งนี้ไม่ถูกยอมรับในฐานะกลาเซียร์อีกต่อไป

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังตอกย้ำข่าวร้ายนี้อีกว่า แผ่นน้ำแข็งที่ยังเหลืออยู่นี้จะละลายหายสูญทั้งหมดภายใน 1 ? 2 ปีข้างหน้า ขณะที่มีการคาดการณ์ว่ากลาเซียร์ในหลายพื้นที่ของยุโรปจะละลายหายไปจนหมดภายใน 10 ปีที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มนุษย์สร้างขึ้น


https://www.matichon.co.th/foreign/news_3585925

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 28-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ทรัพยากรประมง: จัดสรรทรัพยากรกันเองหรือใช้ระบบโควตา? ................. โดย เรวดี จรุงรัตนาพงศ์



กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านกำลังเผชิญกับภัยคุมคามหลายด้าน ซึ่งรวมทั้งผลกระทบจากการจับปลาเกินขนาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ชาวประมงพื้นบ้านเป็นกลุ่มชาวประมงส่วนใหญ่ในประเทศไทย โดยเรือประมงพื้นบ้านคิดเป็นร้อยละ 80 ของเรือประมงทั้งหมด ทั้งนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรประมงที่จับได้ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งรายได้แล้วยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านกำลังเผชิญกับภัยคุมคามหลายด้าน ซึ่งรวมทั้งผลกระทบจากการจับปลาเกินขนาดและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ข้อมูลสำคัญที่บ่งชี้ถึงสัญญาณความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงของทรัพยากรทางทะเลที่ชาวประมงพื้นบ้านพึ่งพาอยู่ ได้แก่

การลดลงของปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยลงแรงประมง (catch per unit effort : CPUE) ข้อมูล CPUE บริเวณอ่าวไทยแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากประมาณ 300 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี 2504 ลดลงเหลือเพียงประมาณ 27 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี 2556 เช่นเดียวกับ CPUE บริเวณทะเลอันดามัน โดยลดลงจากประมาณ 400 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี 2509 เป็นประมาณ 90 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี 2561

ปริมาณการลงแรงในการจับปลามากกว่าระดับการผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน (maximum sustainable yield : MSY) ปริมาณการลงแรงในการจับปลาหน้าดินของฝั่งอ่าวไทยมีค่าเกิน MSY ถึงร้อยละ 32.8 และฝั่งทะเลอันดามันมีค่าเกิน MSY กว่าร้อยละ 5.3

หากทรัพยากรร่อยหรอลง ชีวิตชาวประมงพื้นบ้านจะเป็นอย่างไร ดังนั้น นโยบายกำกับการใช้ประโยชน์การใช้ทรัพยากรชายฝั่งจะมีผลต่อความยั่งยืนของประมงพื้นบ้านในอนาคต

มาตรการหนึ่งที่กรมประมงพยายามบรรเทาปัญหาดังกล่าวคือ การบังคับใช้มาตรการการควบคุมการจับสัตว์น้ำหรือระบบโควตาในแง่ของการจำกัดปริมาณเครื่องมือประมง (Total Allowance Effort : TAE) ซึ่งเป็นการบังคับใช้กับประมงพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2560 แต่ทางออกอื่นๆ ในการจัดการประมงพื้นบ้าน 4.0 โดยอาศัยการกำกับกันเองก็ยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

การศึกษาของแผนงานคนไทยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการตอบสนองของชาวประมงพื้นบ้าน ภายใต้มาตรการต่างๆ ด้วยการใช้วิธีการศึกษาในรูปของการทดลองที่เรียกว่าการทดลองทรัพยากรร่วม (common-pool resource (CPR) experiment)

ข้อดีของการใช้การทดลองเมื่อเทียบกับเครื่องมืออื่น (เช่น การใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ เป็นต้น) คือ การใช้การทดลองช่วยให้มีข้อมูลการตอบสนองที่เกิดขึ้นจริงได้ เพราะผู้เข้าร่วมการทดลองเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจภายใต้แรงจูงใจที่เกิดขึ้นจริง นักวิจัยได้ทำการทดสอบด้วยกลไกที่ต้องการทดสอบ 3 มาตรการ

ได้แก่ มาตรการการจัดสรรทรัพยากรกันเอง มาตรการโควตาภายใต้ความน่าจะเป็นสูงที่จะถูกลงโทษ และมาตรการโควตาภายใต้ความน่าจะเป็นต่ำที่จะถูกลงโทษ

การศึกษาของแผนงานคนไทย 4.0 ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดย ผศ.ดร.เรวดี จรุงรัตนาพงศ์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ Dr.Therese Lindahl จาก Beijer Institution of Ecological Economic ประเทศสวีเดน เพื่อทดสอบว่า การใช้มาตรการโควตาด้วยการจำกัดปริมาณสูงสุดของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้ทำการประมง (total allowance catch : TAC) เทียบกับมาตรการให้ชาวประมงจัดสรรทรัพยากรประมงกันเอง มาตรการใดจะมีประสิทธิภาพและความยั่งยืนมากกว่ากัน

การศึกษาดังกล่าวใช้วิธีการทดลองทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า การทดลองทรัพยากรร่วม โดยทดลองกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ 5 อำเภอของ จ.นครศรีธรรมราช 540 ราย นักวิจัยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็นกลุ่มๆ ระหว่างกลุ่มที่ให้จัดสรรทรัพยากรประมงกันเอง และกลุ่มที่ใช้มาตรการโควตาที่มีบทลงโทษถ้ามีการจับเกินโควตาที่กำหนด

ผู้เข้าร่วมการทดลองจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ที่เป็นผลตอบแทนจริงจากการตัดสินใจว่าจะจับปลาเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งแต่ละคนสามารถที่จะเลือกว่าจะจับปลาจากปลาที่แบ่งกันภายในกลุ่ม ในระดับที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกคนในกลุ่ม หรือเลือกที่จะจับปลาในระดับที่จะทำให้ผลตอบแทนของตนเองสูงสุด

การตัดสินใจของแต่ละคนจะส่งผลต่อปริมาณปลาที่แบ่งกันภายในกลุ่ม (สะท้อนสต๊อกของปลาในชีวิตจริง) และในที่สุดจะส่งผลต่อผลตอบแทนของแต่ละคน (สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตจริง)

การทดลองนี้เปรียบเสมือนการจำลองสถานการณ์การใช้มาตรการที่ต้องการทดสอบ ก่อนที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริงที่มีบริบทที่กว้างขึ้น ดังนั้น จึงเป็นวิธีการที่จะช่วยลดต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้ามาตรการใหม่ที่ต้องการทดสอบไม่สามารถใช้ได้ในชีวิตจริง

ผลการศึกษา พบว่า

มาตรการโควตาเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากกว่ามาตรการการจัดสรรทรัพยากรประมงกันเอง เหตุผลส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ไม่มีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะตกลงกันเองในการจัดสรรทรัพยากรประมง สอดคล้องกับข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยที่ชาวประมงส่วนใหญ่มีความเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะให้โควตาในระดับชุมชน เพราะคงไม่สามารถตกลงกันได้ แต่ควรเป็นโควตาในระดับครัวเรือนน่าจะเหมาะสมกว่า

มาตรการโควตาที่โอกาสถูกลงโทษที่สูงขึ้นถ้ามีการจับเกินโควตา จะช่วยให้มีการแบ่งรายได้ในกลุ่มชาวประมงให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น และ 3) มาตรการโควตาที่มีการตรวจตราผู้กระทำผิดที่มากขึ้น (ซึ่งหมายถึงโอกาสที่ผู้กระทำผิดจะถูกจับจากการจับเกินโควตาที่มากขึ้นด้วย) จะส่งผลให้โอกาสในการจับปลาจนหมดสต๊อกลดลง หมายความว่า มาตรการโควตาต้องมาพร้อมกับระบบการตรวจตราที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจะรับประกันได้ว่าสต๊อกของปลาจะไม่หมดลงในอนาคต
การศึกษานี้ยังพบว่า การให้ความรู้กับชาวประมงถึงการเกิดใหม่ของทรัพยากรประมงทะเลว่าเกิดขึ้นอย่างไร โดยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดใหม่ของทรัพยากรประมงทะเลว่าจะมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับสต๊อกของปลาในปัจจุบันว่ามีจำนวนเท่าใด จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการจับปลาจนหมดสต๊อกในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การตีความของผลการศึกษานี้ที่สนับสนุนมาตรการโควตาว่า เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากกว่ามาตรการการจัดสรรทรัพยากรประมงกันเอง ควรตีความด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นเพียงผลการศึกษาในประเทศไทยเพียงผลการศึกษาเดียว ซึ่งไม่ได้หมายความว่าผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถประยุกต์ใช้กับชาวประมงในประเทศไทยทั้งหมด

เพราะความเป็นอยู่ของชาวประมงในแต่ละที่ย่อมมีบริบทที่แตกต่างกัน แต่ควรมีการศึกษาซ้ำในพื้นที่อื่นเพื่อยืนยันข้อสรุปดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอื่นในการควบคุมการจับสัตว์น้ำที่อาจจะให้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ในการศึกษานี้เน้นศึกษากลไกโควตาเท่านั้น


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1029199

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:36


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger