เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 07-12-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 7 ธันวาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนล่างของภาคใต้และประเทศมาเลเซีย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 - 11 ธ.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันน้อย เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรงและยังคงมีฝนเกิดขึ้นบางพื้นที่


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 7 ? 10 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1- 2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 12 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ในระดับบนยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง โดยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส

สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางและลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตลอดช่วง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 8 - 11 ธ.ค. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 9 ? 11 ธ.ค. 65


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 07-12-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


พะยูนไทย เพิ่มปริมาณ แต่ยังป่วย-เกยตื้นสูง



วันที่ 6 ธันวาคม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยว่า พะยูนในประเทศไทยพบแพร่กระจายอยู่บริเวณแหล่งหญ้าทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แบ่งเป็นกลุ่มประชากรย่อย ที่อาศัยอยู่บริเวณเกาะต่างๆ ประกอบด้วย เกาะลิบง เกาะมุก และอ่าวสิเกา จังหวัดตรัง เกาะศรีบอยา เกาะปู เกาะจำ และอ่าวนาง จังหวัดกระบี่ เกาะยาวน้อย เกาะยาวใหญ่ อ่าวพังงา จังหวัดพังงา อ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต เกาะลิดี เกาะสาหร่าย จังหวัดสตูล เกาะพระทอง จังหวัดพังงา หมู่เกาะกรูด จังหวัดตราด อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง อ่าวสัตหีบ จังหวัดชลบุรี อ่าวทุ่งคาสวี จังหวัดชุมพร อ่าวบ้านดอน จังหวัด สุราษฎร์ธานี อ่าวปัตตานี จังหวัดปัตตานี และอ่าวเตล็ด จังหวัดนครศรีธรรมราช

จากการสำรวจสถานภาพใน ปี พ.ศ. 2565 พบพะยูนประมาณ 273 ตัว โดยพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยพบประมาณ 31 ตัว และพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามันพบประมาณ 242 ตัว แม้ว่าจากการสำรวจจะพบว่าประชากรพะยูนมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ยังมีการเกยตื้นหรือการตายของพะยูนอยู่ทุกปี ซึ่งมีการตายจากสาเหตุต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย ลูกพะยูนพลัดหลงจากแม่ หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น ถูกกระแทกด้วยของแข็ง เงี่ยงปลากระเบนแทง อุบัติเหตุ และเครื่องมือประมง

การเกยตื้นของพะยูนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม 2564 ? กันยายน 2565) พบ พะยูนเกยตื้นรวม 18 ตัว โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการป่วยร้อยละ 73

สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ตุลาคม ? ธันวาคม 2565) พบพะยูนเกยตื้นรวม 7 ตัว โดยเป็นการเกยตื้นในพื้นที่จังหวัดระยอง 1 ตัว ชลบุรี 1 ตัว ตรัง 2 ตัว กระบี่ 1 ตัว สุราษฎร์ธานี 2 ตัว โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากการป่วย 3 ตัว (ร้อยละ 43) สาเหตุจากการถูกกระแทกด้วยของแข็ง (กระดูกซี่โครงหัก) 2 ตัว ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดชลบุรี (ร้อยละ 29) สาเหตุจากการป่วยร่วมกับการคาดว่าติดเครื่องมือฯ 1 ตัว (ร้อยละ 14) และไม่ทราบสาเหตุจากสภาพซากเน่ามาก 1 ตัว (ร้อยละ 14)

นายอรรถพล กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ทำงานเพื่อแก้ไขและฟื้นฟูเพิ่มจำนวนพะยูนรวมถึงสัตว์ทะเลหายากในท้องทะเลไทยมาโดยตลอด ผ่านกระบวนการทำงานภายใต้ ?มาเรียมโปรเจค? ซึ่งผลความสำเร็จสามารถเพิ่มจำนวนประชากรพะยูนในธรรมชาติจาก 250 เป็น 273 ตัว และในอนาคตจะเพิ่มขึ้น 280 ตัว

สำหรับการอนุรักษ์พะยูนนั้น สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง คือ การสร้างการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของพะยูนและระบบนิเวศหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแนวทางที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์อย่างเต็มใจ โดยเราจะเริ่มต้นจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างรักและหวงแหนในทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมาก

โดยทช. จะมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ ทำความเข้าใจ และเพิ่มเติ่มความรู้ในด้านต่างๆ อาทิ การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนมาอยู่ในสภาพ ที่สมบูรณ์อีกครั้ง งดการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อชีวิตพะยูนในแหล่งที่อยู่อาศัยของพะยูน หรือในแหล่งหญ้าทะเล ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ล่าและบริโภคเนื้อพะยูน

รวมทั้งงดการซื้อ-ขายชิ้นส่วนอื่นๆ ของพะยูน ไม่ใช้เครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อพะยูน เช่น อวนปิดอ่าว อวนรัง อวนรุน อวนลอยกระเบน และไม่ทำประมงในพื้นที่ที่มีพะยูนอาศัยอยู่ เป็นต้น นอกจากนี้ กรม ทช. ได้นำเทคโนโลยีโดรนมาใช้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยการบินสำรวจจำนวนประชากรของฝูงพะยูน เพื่อตรวจสอบจำนวนและวางแผนอนุรักษ์พะยูน แทนการใช้เรือประมงออกลาดตระเวน อีกทั้งเฝ้าระวังไม่ให้มีคนเข้าไปรบกวนหรือทำประมงผิดกฎหมายซึ่งจะเป็นอันตรายต่อฝูงพะยูน


https://www.matichon.co.th/local/qua...e/news_3712675

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 07-12-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


ใกล้สูญพันธุ์! ทหารเรือกู้ซากพะยูนเพศเมียขนาดใหญ่ ติดอวนตายเกยอ่าวสัตหีบ



6 ธ.ค.2565- เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 6 ธ.ค.65 กองทัพเรือ โดย นาวาเอก ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ รองผู้บัญชาการฯ รักษาราชการ ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (ผบ.สอ.รฝ.) ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยมูลนิธิสว่างโรจนธรรมสถานสัตหีบ ได้มีพะยูนขนาดใหญ่ตายเกยตื้น บริเวณหน้าอ่าวดงตาล ขณะนี้ได้ลากนำขึ้นมาบนชายฝั่ง สะพานท่าเทียบเรือตำรวจน้ำ ม.1 ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ขอให้ส่งเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบ

ต่อมา ได้มอบหมายให้ น.สพ.กิริน สรพิพัฒน์เจริญ สัตวแพทย์ ประจำ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ นำกำลังทหารมาทำการเคลื่อนย้ายซากพะยูน เพื่อทำการผ่าพิสูจน์หาสาเหตุการตาย จากการตรวจสอบในเบื้องต้น พบเป็นพะยูน เพศเมีย อายุราว 15 ปี ตามตัวมีร่องรอยของการถูกเส้นอวนบาด ยังไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิต ต้องรอผลผ่าพิสูจน์ทราบภายหลัง

นับเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างมาก จากข้อมูลทราบว่า พะยูนตัวนี้ อาจจะเป็นตัวเดียวกับที่เคยปรากฏตัว ให้ประชาชนได้เห็นบ่อยครั้ง บริเวณหน้าอ่าวฐานทัพเรือสัตหีบ เนื่องจากบริเวณดังกล่าว เคยมีฝูงพะยูนอาศัยอยู่ ก่อนจะมาพบการเสียชีวิตของพะยูน ณ อ่าวถิ่นอาศัย และเป็นที่สลดใจอย่างมาก เมื่อพบว่า ในระยะนี้ มีพะยูนล้มตายจากการกระทำของมนุษย์จำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ในเวลาอันใกล้ อาจทำให้พะยูนสูญพันธุ์ก็เป็นได้.


https://www.thaipost.net/district-news/277902/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 07-12-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


อุณหภูมิสูงเป็นประวัติการณ์ หวั่นทำปะการัง Great Barrier Reef ฟอกขาว เป็นครั้งที่สองในฤดูร้อน



อุณหภูมิของมหาสมุทรแถบแนวปะการัง Great Barrier Reef บางส่วนสูงทำสถิติในเดือนพฤศจิกายน จนทำให้เกิดข้อกังวลว่านี่อาจจะเป็นฤดูร้อนที่ทำให้เกิดปะการัง ฟอกขาว เป็นจำนวนมากอีกครั้ง โดยข้อมูลจากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิผิวน้ำที่แถบตอนเหนือของแนวปะการัง ซึ่งสูงสุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน นับตั้งแต่เริ่มเก็บสถิติเมื่อปี 1985

แต่ช่วงที่ความร้อนสะสมสูงสุดเหนือแนวปะการังจะยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อากาศที่เย็นลง หรือพายุหมุนในพื้นที่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้อาจจะยังป้องกันไม่ให้เกิดปะการังฟอกขาวขึ้นได้

ศาสตราจารย์ Terry Hughes ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง ฟอกขาว จากมหาวิทยาลัย James Cook ระบุว่าเขาไม่เคยเห็นความร้อนสะสมที่บริเวณแนวปะการังเร็วเท่านี้มาก่อน แต่ "พายุไซโคลนที่เกิดถูกเวลา" ในเดือนธันวาคมอาจลดความเสี่ยงการเกิดปะการังฟอกขาวได้

"สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิที่สูงจนทำสถิติ สัญญาณเตือนชัดเจน" เขากล่าว

การฟอกขาวของปะการังเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว ซึ่งประกาศโดยหน่วยงาน Great Barrier Reef Marine Park ถือเป็นครั้งแรกที่การฟอกขาวเกิดขึ้นระหว่างที่มีปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งปกติแล้วปรากฏการณ์นี้จะส่งผลให้อุณหภูมิของมหาสมุทรเย็นพอที่จะไม่ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวได้

Hughes ตั้งข้อสังเกตว่า "ตามการคาดการณ์ของ Noaa มีโอกาสที่เราจะได้เห็นการเกิดปะการังฟอกขาวติดๆ กันได้อีก ซึ่งที่จริงไม่ควรจะเกิดขึ้นจนกว่าจะถึงช่วงกลางศตวรรษ"

อุณหภูมิของมหาสมุทรที่เพิ่มสูงขึ้นจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์ ซึ่งส่วนมากเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสาเหตุให้เกิดปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ที่แนวปะการังนี้มาแล้วถึง 6 ครั้ง ในปี 1998, 2002, 2016, 2017, 2020 และปี 2022

ปะการังฟอกขาวในช่วงฤดูร้อนที่แล้วส่งผลกระทบต่อแนวปะการังถึง 91% และเกิดขึ้นหลังจากมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนธันวาคม

แต่จากข้อมูลของ NOAA ขณะนี้มีความร้อนสะสมทางตอนเหนือของบริเวณแนวปะการังแห่งนี้มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันนี้ของเมื่อปีที่แล้ว การประเมินของ NOAA ชี้ว่าภายในปลายเดือนมกราคม พื้นที่ส่วนใหญ่ทางแถบเหนือของแนวปะการังจะเผชิญภาวะฟอกขาวและในอีกไม่กี่สัปดาห์ให้หลังบางจุดอาจจะร้อนจนทำให้ปะการังตายได้

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิผิวน้ำ เหนือแนวปะการัง แสดงให้เห็นว่ามีความร้อนสะสมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม นอกจากนี้ การสังเกตการณ์ยังแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิในตอนกลางและตอนเหนือของแนวปะการังสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส

ปะการังสามารถฟื้นฟูตัวเองจากการฟอกขาวได้หากไม่เผชิญอุณหภูมิที่รุนแรง นักวิทยาศาสตร์พบว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีปริมาณปะการังในแนวปะการังแห่งนี้มากขึ้น จากการโตของปะการังชนิดที่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นชนิดที่เปราะบางและเสี่ยงต่อการฟอกขาวมากที่สุดเช่นกัน

ดร. David Wachenfeld หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ของ GBRMPA ระบุว่าทางการกำลังศึกษาการประเมินจากทั้ง NOAA และหน่วยงานอื่นๆ ?เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรอาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อนนี้? เขายังกล่าวด้วยว่าสภาวะก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูร้อนเป็นสิ่งหนึ่งที่สร้างความกังวล แต่ย้ำว่าสภาวะอากาศในท้องถิ่นจะมีผลอย่างมากต่ออุณหภูมิผิวน้ำตลอดช่วงฤดูร้อน เช่น หากมีฝนหรือเมฆมาก อุณหภูมิอาจจะร้อนที่สุดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

"ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแนวปะการังในช่วงฤดูร้อนนี้ แม้ว่าปรากฏการณ์ลานีญาที่กำลังเกิดขึ้นน่าจะทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในแถบชายฝั่งทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือก็ตาม"

เขากล่าวว่าทางการจะใช้ข้อมูลดาวเทียม ข้อมูลทางอากาศและการสังเกตการณ์จากในน้ำเพื่อติดตามสภาวะต่างๆ และทำการประเมินต่อไป

ด้านศาสตราจารย์ Ove Hoegh-Guldberg นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกการศึกษาปะการังฟอกขาวจากมหาวิทยาลัย Queensland ระบุว่า "ปรากฏการณ์นี้เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในมหาสมุทรอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเกิดขึ้นเร็วกว่าปกตินานหลายสัปดาห์ จากที่ปกติมักจะพบได้ช่วงเดือนมกราคม จนทำให้ผมต้องหันมองนาฬิกาข้อมือเพื่อเช็ควันเวลาดูให้แน่ใจ"

"ความจริงก็คือเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาอาจจะร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ (ที่แนวปะการัง) และเท่าที่เรารู้เกี่ยวกับผลของความร้อนต่อปะการัง นี่ไม่ใช่สัญญาณที่ดีเลย"


https://dxc.thaipbs.or.th/news_updat...8%b2%e0%b8%a7/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:58


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger