เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีฝนบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่เกิดจากสภาพอากาศแห้งไว้ด้วย

สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวน ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มขึ้น เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 10 ? 14 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในช่วงวันที่ 11 ? 12 ม.ค. 66 ส่งผลทำให้บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรกหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

หลังจากนั้นในวันที่ 15 ม.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ระวังอันตรายการสัญจร ในบริเวณที่มีหมอก รวมถึงฝนฟ้าคะนองบริเวณประเทศไทยตอนบนที่จะเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 10 ? 12 ม.ค. 66 สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ดราม่า "สระมรกต" หลังกองถ่ายปักเสาลงสระ ชาวบ้านหวั่นกระทบธรรมชาติ

ดราม่า "สระมรกต" แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง จ.กระบี่ หลังชาวบ้านโพสต์กองถ่ายหนัง ปักเสาเวทีลงในสระ หวั่นกระทบธรรมชาติ ล่าสุดเพจของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ชี้แจงแล้ว



วันที่ 9 มกราคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีเมื่อวันที่ 8 มกราคม ที่ผ่านมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Amon Meekaeo นำภาพกองถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งมีการตั้งเวที ปักเสาเหล็กลงไปภายในสระน้ำของ "สระมรกต" แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.กระบี่ ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม บ้านบางเตียว หมู่ 2 ต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม โดยเจ้าของโพสต์ระบุข้อความไว้ว่า "มันควรทำ ฤ ตามจิตสำนึก มันเป็นเขตรักษาพันธุ์ ไม่ใช่หรือ ปกติ เข้าได้แต่รถป่าไม้ นี่มันคืออะไร เราต้องการคำชี้แจงค่ะ"

จากการสอบถามเจ้าของเฟซบุ๊กดังกล่าว ทราบชื่อคือ น.ส.คัทลียา มีแก้ว อายุ 23 ปี ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ และเปิดร้านขายของอยู่ด้านหน้าทางเข้าสระมรกต เล่าว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้ ทราบว่ามีกองถ่ายภาพยนตร์เข้ามาขอใช้พื้นที่ของสระมรกต เพื่อถ่ายทำ ซึ่งตนในฐานะคนพื้นที่ และทำมาหากินอยู่ที่สระมรกต ยินดีที่มีการถ่ายทำเพื่อโปรโมตแหล่งท่องเที่ยว แต่สิ่งที่ตนและชาวบ้านหลายคนไม่ค่อยสบายใจ คือลักษณะการถ่ายทำที่มีการติดตั้งเวทีลงไปในสระ จะส่งผลกระทบเสียหายต่อธรรมชาติหรือไม่ จึงอยากให้ทางหน่วยงานรับผิดชอบ ช่วยอธิบายเรื่องนี้ให้ชาวบ้านเข้าใจด้วย

นอกจากนี้เมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยว ซื้อตั๋วเข้าไปเที่ยวแล้วถูกไล่กลับออกมา ทำให้นักท่องเที่ยวเสียความรู้สึก แต่ช่วงบ่ายทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ก็อนุญาตให้นักท่งเที่ยวกลับเข้าไปเที่ยว และลงเล่นน้ำได้ตามปกติ

เบื้องต้นเรื่องดังกล่าว ทางเพจของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า "วันที่ 7-9 ม.ค.66 บริเวณสระมรกต มีการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณามีการกั้นพื้นที่บางส่วน แต่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นน้ำได้ตามปกติ ในการถ่ายทำได้รับการอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเรียบร้อยแล้ว และได้มีการปิดป้ายขออภัยในความไม่สะดวก ณ บริเวณทางเข้าและบริเวณอื่นๆ"

โดยการถ่ายทำดังกล่าว ทราบว่าเป็นการถ่ายทำโฆษณาสินค้าประเภทครีมบำรุงผิวของบริษัทในประเทศเกาหลี ซึ่งขออนุญาตผ่านมาทางกรมอุทยานฯ และกรมการท่องเที่ยว โดยมีเงื่อนไขให้ปฏิบัติตามระเบียบของกรมอุทยานฯ อย่างเคร่งครัด.


https://www.thairath.co.th/news/society/2597843

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-01-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก


ทช.ออกแถลงการณ์ "โรคปะการังแถบสีเหลือง" พบโรคนี้ครั้งแรกในไทย



ทช. ออกแถลงการณ์ "โรคปะการังแถบสีเหลือง" พบเนื้อเยื่อของปะการังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชัดเจน หลังจากนั้นเนื้อเยื่อจะตาย เริ่มมีสาหร่าย มาปกคลุมส่วนที่ตาย ล่าสุดได้แยกปะการังที่เกิดโรคออกจากบริเวณอ่าวไทยตอนบน-ตอนลกลาง แล้ว

แถลงการณ์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เรื่อง การระบาดของโรคปะการังแถบสีเหลือง (Yellow Band Disease) บริเวณจังหวัดชลบุรี โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้สำรวจแนวปะการังและพบโรคปะการังแถบสีเหลือง ครั้งแรกในปี 2564 บริเวณหมู่ เกาะสัตหีบ เจ้าหน้าที่จึงทำการสำรวจการแพร่กระจายทั่วอ่าวไทย พร้อมได้ทำการศึกษาอัตราการลุกลามและผลกระทบต่อปะการังมาอย่างต่อเนื่อง

จากการสำรวจระบบนิเวศแนวปะการัง ในปี 2564 - 2565 จำนวนทั้งสิ้น 90 สถานี ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในบริเวณอ่าวไทยตอนบนและตอนกลาง พบว่าโรคแถบสีเหลืองนั้นกระจายตัวอยู่ เฉพาะบริเวณเกาะสัตหีบ - แสมสาร จังหวัดชลบุรี จำนวน 11 สถานี

นับเป็นรายงานการพบโรคนี้ครั้งแรกในประเทศไทย ปะการังส่วนใหญ่ที่สำรวจพบว่าเป็นโรค ได้แก่ ปะการังโขด (Porites spp.) และปะการังเขากวาง (Acropora spp.) โดยปริมาณการพบคิดเป็นร้อยละ 1 - 10 ของปะการังทั้งสองชนิด

ทั้งนี้ สามารถพบโรคได้ในปะการังชนิดอื่นๆ ด้วย แต่พบในปริมาณที่น้อย ได้แก่ ปะการังลายดอกไม้ (Pavona spp.) ปะการังดอกไม้ (Goniopora sp.) ปะการังดอกกะหล่ำ (Pocillopora sp) ปะการังวงแหวน (Favia spp.) ปะการังช่องเล็ก (Montipora spp.) และปะการังช่องเหลี่ยม (Favites sp.)

ลักษณะอาการของโรคพบว่าเนื้อเยื่อของปะการังเปลี่ยนเป็นสีเหลืองชัดเจน หลังจากนั้นเนื้อเยื่อจะตาย และเริ่มมีสาหร่าย มาปกคลุมส่วนที่ตาย การลุกลามประมาณ 1 เซนติเมตร/เดือน ในปะการังโขด Porites และประมาณ 1 - 6 เซนติเมตร/สัปดาห์ ในปะการังเขากวาง Acropora และหากส่วนไหนของ ปะการังเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วนั้น ปะการังส่วนนั้นจะตาย

ส่วนสาเหตุการเกิดโรค ณ ปัจจุบันยังไม่ สามารถระบุเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคดังกล่าวได้ แต่จากรายงานในต่างประเทศพบว่า เกิดจากแบคทีเรีย Vibrio alginolyticus

สถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 65 เจ้าหน้าที่กรม ทช. ร่วมกับทัพเรือภาค 1 มูลนิธิกิจกรรม วิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ บมจ. เอจีซี วีนิไทย คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และอาสาสมัครนักดำน้ำ ร่วมปฏิบัติการแยกปะการัง ส่วนที่เป็นโรคแถบสีเหลือง ออกมาจากปะการังที่ไม่เป็นโรค เพื่อป้องกันการติดต่อลุกลามและหยุดยั้งการตายของปะการัง บริเวณเกาะขาม จังหวัดชลบุรี

อย่างไรก็ตามจากการปฏิบัติการ ดังกล่าวสามารถนำปะการังที่เป็นโรคออกมาได้ แค่บางส่วน แต่ยังคงเหลืออีกจำนวนมากทั้งบริเวณเกาะขามและในหลายพื้นที่บริเวณสัตหีบ-แสมสาร สำหรับการดำเนินงานของกรม ทช. ได้ทำการประสานกับหลายภาคส่วน ได้แก่ คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาระบาดวิทยา ของโรคที่พบในปะการัง

ในขณะเดียวกัน ทช. กำลังเร่งดำเนินการแยก ปะการังที่เกิดโรคออกจากบริเวณดังกล่าว โดยอาศัยความร่วมมือจากนักดำน้ำอาสาสมัครและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป


https://www.komchadluek.net/news/society/534614

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:31


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger