|
#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลาง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 17 ? 18 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และอากาศร้อนไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
นักวิจัยสุดกังวล แมวน้ำกว่า 330 ตัวในสหรัฐฯ ตายเพราะติดเชื้อไข้หวัดนก Cr ภาพ : @NOAAงวด ทีมนักวิจัยกังวลหนัก พบแมวน้ำกว่า 330 ตัวในสหรัฐฯ ตายเพราะติดเชื้อไข้หวัดนก หวั่นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกอาจเกิดการกลายพันธุ์ พัฒนาจนสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ในเร็ววันนี้ เมื่อ 16 มี.ค. 2566 เดลี่เมล รายงาน การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในเขตนิวอิงแลนด์ ซึ่งประกอบด้วย 6 รัฐ ได้แก่ รัฐคอนเนคติกัต, นิวแฮมป์เชียร์, เมน, แมสซาชูเสตต์, โรดไอแลนด์ และเวอร์มอนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำให้ แมวน้ำ ตายไปเป็นจำนวนกว่า 330 ตัว เมื่อปีที่แล้ว พ.ศ.2565 จนหวั่นเกรงว่า เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ดังกล่าวกำลังกระโดดมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และอาจพัฒนาจนสามารถติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ต่อไป ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Tufts ในรัฐแมสซาชูเสตต์ พบว่า แมวน้ำเหล่านี้ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่รัฐเมน ตายในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ทีมนักวิจัยระบุว่ามีนกทะเลกว่า 1,000 ตัว ในเขตนิวอิงแลนด์ ติดเชื้อไข้หวัดนก ทีมนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Tufts ยังพบหลักฐานว่ามีเชื้อไข้หวัดนกที่เกิดการกลายพันธุ์ในแมวน้ำจำนวนเล็กๆ จำนวนหนึ่งที่ตาย ซึ่งอาจทำให้เชื้อไข้หวัดนกนี้จะเกิดการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถรอดชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างหลากหลายออกไป ด้าน ดร.ไรอัน มิลเลอร์ แพทย์ด้านโรคติดต่อที่คลีฟแลนด์ คลินิก ในรัฐโอไฮโอ กล่าวกับนักข่าว Healthday ว่า ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อมีความกังวลอย่างมากในเรื่องที่ว่า เชื้อไวรัสไข้หวัดนกได้แพร่ระบาดมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้เมื่อใด เพราะว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ ทั้งนี้ เชื้อไข้หวัดนกได้เริ่มระบาดในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว และถือเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อสัตว์ปีกกว่า 200 ล้านตัว เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 สามารถแพร่ติดต่อมาสู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อย่างเช่นตัวมิงก์ สุนัขจิ้งจอก แรคคูน และหมีได้แล้ว จนทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อเกิดความกังวลว่าเชื้อไข้หวัดนกอาจจะเกิดการกลายพันธุ์ใหม่ และสามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ในเร็ววันนี้ ในขณะที่ประเทศจีนพบคนติดเชื้อไข้หวัดนก 2 ราย ขณะที่กัมพูชามีเด็กหญิงวัย 11 ปีเสียชีวิตเป็นรายแรกในประเทศในรอบหลายปี. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2656000 ****************************************************************************************************** นักวิจัยบราซิลตะลึง เจอหินพลาสติกบนเกาะห่างไกล นักวิจัยในบราซิลพบหินที่มีส่วนประกอบเป็นพลาสติก ที่เกาะตรินดาจี ซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าตนุ ห่างจากแผ่นดินใหญ่เป็นพันกิโลเมตร ชี้ให้เห็นถึงพิษภัยของพลาสติกที่แทรกซึมไปได้ทุกที่ทั่วโลก หินที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบนี้ พบที่เกาะห่างไกล ห่างจากรัฐ เอสพิริโตซานโตของบราซิลไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ราว 1,104 กิโลเมตร โดยการค้นพบครั้งนี้นับเป็นการค้นพบสุดสะพรึงที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า โลกเรากำลังปนเปื้อนด้วยพลาสติกในทุกอณู ไม่เว้นแม้แต่บนเกาะที่ห่างไกลจากผู้คน โดยเกาะแห่งนี้เป็นสถานที่สำหรับการอนุรักษ์เต่าตนุที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพราะแต่ละปีจะมีเต่าตนุหลายพันตัวว่ายน้ำมาวางไข่ที่เกาะซึ่งไม่มีคนอาศัยอยู่ โดยจะมีเพียงอาสาสมัครทหารจากกองทัพเรือบราซิลจำนวนหนึ่งเท่านั้น ที่ตั้งฐานอยู่บนเกาะเพื่อดูแลและปกป้องเต่าเหล่านี้ โดยหินพลาสติกที่นักวิจัยพบก็อยู่ในบริเวณที่ใกล้กับที่เต่าวางไข่ด้วย เฟอร์นันดา อวีลาร์ ซานโตส นักธรณีวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยกลางแห่งปารานา ระบุว่ามลพิษจากขยะในทะเล และพลาสติกที่ถูกทิ้งในมหาสมุทร ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุทางธรณีวิทยา โดยมีการหลอมรวมกับทราย หิน เปลือกหอยและปะการัง ซึ่งสะท้อนถึงพิษภัยของพลาสติกที่แทรกซึมไปได้ทุกที่ทั่วโลก จนทำลายธรรมชาติโดยที่เราไม่รู้ตัว. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2655478
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
กุ้งแม่น้ำ เป็นอาหารทะเลไหม คนแพ้อาหารทะเลกินได้ไหม กุ้งแม่น้ําเป็นอาหารที่ถูกใจใครหลายคน แต่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัดอยุธยา ใครที่เคยกินกุ้งเผาอยุธยาจะทราบว่าราคากุ้งเผาอยุธยานั้น คุ้มค่ากับรสชาติที่ได้ลิ้มลอง หลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกุ้งแม่น้ำว่าใช่กุ้งสายพันธุ์เดียวกันกับกุ้งก้ามกรามหรือเปล่า และเลี้ยงในกระชังได้ไหม กุ้งแม่น้ํา คนแพ้อาหารทะเลกินได้ไหม มาฟังคำตอบกัน กุ้งแม่น้ำ ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ที่ใช้เรียกกุ้งในภาษาอังกฤษ มี 2 แบบ คือ Shrimp และ Prawn ส่วนกุ้งแม่น้ำเป็นกุ้งที่มีขนาดตัวใหญ่ ในเมนูตามร้านอาหารจึงใช้คำเรียกกุ้งแม่น้ำ ภาษาอังกฤษ ว่า River Prawn ส่วนกุ้งเผาตัวย่อมๆ หรือที่คนไทยเรียกกันว่ากุ้งก้ามกราม มักใช้คำว่า Grilled Shrimp กุ้งแม่น้ำ กับกุ้งก้ามกราม คือกุ้งชนิดเดียวกัน กุ้งแม่น้ำกับกุ้งก้ามกราม มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Macrobrachium rosenbergii ซึ่งเป็นกุ้งสายพันธุ์เดียวกัน แต่ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นกุ้งคนละแบบ เพราะขนาดตัวที่ทำให้เข้าใจผิด กุ้งแม่น้ำ มีชื่อเรียกหลายชื่อ อาทิ กุ้งนา กุ้งหลวง กุ้งก้ามกราม กุ้งแก้ว กุ้งโก๋ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. กุ้งแม่น้ำ ราคาโลละ 300 - 1,200 บาท กุ้งแม่น้ำ เป็นกุ้งสายพันธุ์เดียวกับกุ้งก้ามกรามตัวเล็กๆ หรือกุ้งเผาที่เห็นกันตามแหล่งท่องเที่ยว ที่มีราคาสูง เพราะรูปแบบการเติบโตที่ต้องใช้เวลา และขนาดตัวที่ใหญ่กว่า คุณสมบัติของกุ้งแม่น้ำที่มีราคาสูง มีดังนี้ 1.1) ตัวใหญ่ 1.2) หัวมันเยอะ 1.3) เนื้อแน่น เคี้ยวสนุก เหนียวกว่ากุ้งก้ามกราม 1.4) บางคนบอกว่ารสชาติหวานกว่า 1.5) บางคนบอกว่ากลิ่นเผาหอมกว่า กุ้งแม่น้ำที่มีชื่อเสียง คือกุ้งเผาอยุธยา เนื่องจากร้านต่างๆ ได้นำกุ้งเผามาเป็นเมนูแนะนำ นำมาจากแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำป่าสัก ชาวบ้านที่จับกุ้งจากแม่น้ำที่ไหลผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็จะนำกุ้งมาจำหน่ายให้แก่ร้านอาหาร สวนอาหาร โรงแรมต่างๆ กุ้งเผาอยุธยา ราคาต่อจาน 500 - 1,200 บาท ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก บางร้าน 1 จานได้กุ้งตัวเดียว แต่ถือว่ากินแล้วอิ่ม ฟิน อยู่ท้อง เมื่อกินคู่กับน้ำจิ้มซีฟู้ดแซ่บๆ 2. กุ้งก้ามกราม หรือ กุ้งเผา - กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามกรามหรือเมนูกุ้งเผาที่เป็นสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อของจังหวัดต่างๆ เช่น กุ้งเผาตลาดกลางกุ้งอยุธยา, กุ้งเผาริมถนนสุพรรณบุรี, กุ้งเผาบางเลน จ.นครปฐม ล้วนเป็นกุ้งแม่น้ำเช่นเดียวกัน แต่เป็นกุ้งที่ผ่านการเลี้ยงในกระชัง กุ้งก้ามกรามมีหลายชื่อเรียก ว่ากันว่าเพี้ยนจากคำว่า ?กุ้งก้ามคราม? เนื่องจากสีก้ามของมันเป็นสีคราม ความนิยมของการรับประทานกุ้งก้ามกรามทำให้เกิดเป็นหลายชื่อเรียก เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกรสชาติที่ชื่นชอบ เช่น - กุ้งมันแก้ว กุ้งมันแก้ว หรือ กุ้งหัวแก้ว เป็นกุ้งตัวเมียที่ไม่มีไข่ แต่สมองของกุ้งจะเป็นสีส้มสด ถึงสีแดงเข้ม แสดงให้เห็นว่ากำลังพร้อมที่จะเป็นแม่กุ้ง รสชาติของกุ้งมันแก้ว จะกรุบกรอบ เมื่อดึงหัวกินเป็นคำๆ จะรู้สึกมัน และนิยมนำไปทำอาหารอย่างอื่น เช่น ต้มยำกุ้ง ได้อย่างหอมอร่อย - กุ้งนาง กุ้งนาง เป็นกุ้งก้ามกรามที่มีไข่ที่ท้อง ไข่ของมันก็กินได้ หลายคนชื่นชอบ รสชาติของเนื้อกุ้งจะไม่ถึงกับเด้ง แต่ก็ได้รสชาติมันกรุบจากไข่ นิยมกินเป็นเมนูกุ้งเผา - กุ้งโก๋ กุ้งโก๋ หรือกุ้งจิ๊กโก๋ เป็นกุ้งตัวเล็กไซส์ขนาดมาตรฐาน ถือเป็นกุ้งในกลุ่มกุ้งแม่น้ำที่มีราคาถูกที่สุด พบได้ในร้านบุฟเฟ่ต์ชาบู หมูกระทะทั่วไป ส่วนกุ้งเด้ง กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย ไม่ใช่กุ้งแม่น้ำ อันจะกล่าวต่อไป กุ้งแม่น้ำ ทำเมนูอะไรได้บ้าง กุ้งแม่น้ำที่ตัวใหญ่ นิยมนำไปเผาเพื่อกินกับน้ำจิ้มซีฟู้ด ส่วนกุ้งก้ามกรามที่เป็นกุ้งแม่น้ำเช่นกัน มีขนาดย่อมๆ ก็นิยมนำมาทำเมนูอื่น ได้แก่ 1. กุ้งทอดซอสมะขาม 2. ต้มยำกุ้งน้ำข้น 3. กุ้งเผา 4. พล่ากุ้ง 5. หลนกุ้ง กุ้งแม่น้ํา คนแพ้อาหารทะเลกินได้ไหม คนแพ้อาหารทะเลกินกุ้งได้ไหม อาการแพ้นี้แตกต่างกันไป บางคนเคยกินกุ้งแล้วแพ้น้อยๆ เป็นผื่น หายใจไม่ออก แต่บางคนแพ้กุ้งรุนแรง ดังนั้นคนที่ทราบว่าตัวเองแพ้กุ้ง ก็ควรหลีกเลี่ยง และรู้จักระดับการแพ้ของตัวเอง คนที่แพ้กุ้ง คนไทยส่วนใหญ่แพ้สารฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) ที่อยู่ในกุ้งแม่น้ำ หรือกุ้งก้ามกราม บางคนแพ้โปรตีนในเปลือก และมักจะแพ้สัตว์ที่เป็นกระดองทั้งหมด ตั้งแต่ กุ้ง กั๊ง ปู ไม่ได้แพ้ที่ความเป็นอาหารทะเล หรืออาหารที่เลี้ยงกุ้ง ซึ่งตรวจสอบได้ด้วยการตรวจสารการแพ้ตามโรงพยาบาล แต่หากสังเกตตัวเองด้วยการกินทีละน้อยๆ ก็เป็นทางเลือกที่จะป้องกันตัวเองได้ในครั้งต่อไป บางคนไม่ได้แพ้กุ้ง แต่แพ้อาหารเลี้ยงกุ้ง แพ้กุ้งชนิดรุนแรง ไม่ควรกิน คนที่เคยแพ้กุ้งชนิดรุนแรง หอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หมดสติ ไม่ควรกินกุ้ง ไม่เคยแพ้กุ้ง แต่กินกุ้งแล้วแพ้ ตอนเด็กไม่แพ้กุ้ง แต่โตมาแล้วแพ้นั้นมาจากสาเหตุในร่างกาย เช่น ช่วงเวลานั้นพักผ่อนน้อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือกำลังรับประทานยาบางอย่างที่ไปขัดกับสารในตัวกุ้ง หากพบว่ามีอาการแพ้ ควรหลีกเลี่ยง กุ้งทะเลมีกุ้งอะไรบ้าง กุ้งที่เป็นอาหาร ในหมวดกุ้งทะเล ได้แก่ กุ้งกุลาดำ, กุ้งม้าลาย, กุ้งขาว เป็นต้น คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกุ้ง คือ Q : กุ้งขาวเป็นกุ้งทะเลไหม A : กุ้งขาวเป็นอาหารทะเล Q : กุ้งฝอยเป็นอาหารทะเลไหม A : กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืด Q : กุ้งก้ามกรามใช่กุ้งทะเลไหม A : กุ้งก้ามกลามเป็นกุ้งน้ำจืด สรุปแล้ว กุ้งแม่น้ำ ไม่ใช่อาหารทะเล แต่คนที่แพ้อาหารทะเลแล้วแพ้กุ้งทุกชนิดบนโลก เกิดจากการแพ้โปรตีนในสัตว์ที่มีกระดอง ตั้งแต่ ปลาหมึก กั๊ง ปู หอยบางชนิด และกุ้งต่างๆ และการกินยาแก้แพ้ดักไว้ก่อนกินกุ้งนั้น เป็นความเข้าใจที่ผิด หากรู้ว่ากินกุ้งแล้วแพ้หนัก ควรหลีกเลี่ยง และควรศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เกิดภาวะช็อก หมดสติ https://www.thairath.co.th/lifestyle/food/2655458
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ศรชล.สุราษฎร์ ไลจับประมงพื้นบ้าน ลอบคราดลูกหอย เรือ 30 กว่าลำเผ่นหนีกระเจิง วันที่ 16 มี.ค.66 น.อ.ณัฐพล สินพูลผล รอง ผอ.ศรชล.จว.สุราษฎร์ธานี ร่วมกับ ศคท.จว.สุราษฎร์ธานี ออกเรือตรวจการกระทำผิดกฎหมาย ในพื้นที่สาธารณะอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณพื้นที่ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี การปฏิบัติตรวจพบเรือประมงพื้นบ้านกำลังคราดลูกหอย ประมาณ 30 ลำ เมื่อเห็นเรือเจ้าหน้าที่ เรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ได้ขับเรือหลบหนีเข้าไปในลำคลอง ได้พูดคุยกับเรือประมงพื้นบ้านบางส่วนถึงเหตุที่ต้องออกมาป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายในทะเลจากนั้นได้นำเรือเดินทางกลับตามลำคลองและเเม่น้ำตาปี ตรวจพบการวางลอบแบบพับได้ (ไอ้โง่) ในแม่น้ำตาปีบริเวณท่าปลาวาฬ จำนวน 44 ชุด พร้อมกับสมอขนาดเล็ก จำนวน 7 อัน จึงเก็บกู้ และนำส่ง ประมงอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อดำเนินการต่อไป https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7563296
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย
"วราวุธ" เดินหน้าแก้ปัญหาการเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 15 มี.ค. ? รมว.ทส. ห่วงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่บางขุนเทียน ย้ำมีหลายมาตรการในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะโครงการทำเขื่อนกันคลื่นยาว 4.7 กิโลเมตร ตามที่ กทม. เสนอ ย้ำจะต้องหาแนวทางไม่ให้บริเวณหัวท้ายของเขื่อนกันคลื่นเกิดการกัดเซาะเพิ่ม ผู้ว่าฯ กทม. ขอให้เร่งรัดการอนุมัติงบประมาณที่รัฐบาลจะสนับสนุน 30% เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำคณะผู้บริหารกระทรวง สำรวจและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบางขุนเทียน โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมรับฟังปัญหาและหาแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวจากประชาชนในพื้นที่ นายวราวุธ กล่าวว่า สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยมี 2 ประการ คือ การกัดเซาะชายฝั่งโดยธรรมชาติ เช่น คลื่น กระแสน้ำชายฝั่ง น้ำขึ้น น้ำลง ลมมรสุม และพายุ และการกัดเซาะชายฝั่งจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การสร้างสิ่งก่อสร้างริมชายฝั่ง การสร้างรอดักทราย การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เป็นต้น สำหรับการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบางขุนเทียนนั้น สาเหตุไม่ได้มาจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูง สังเกตได้จากหลักเขตกรุงเทพมหานคร หลักที่ 28 แบ่งพื้นที่ระหว่างเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กับจังหวัดสมุทรปราการ และหลักที่ 29 พื้นที่ระหว่างเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กับจังหวัดสมุทรสาคร ที่จัดสร้างขึ้นหลังจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 ตลอดระยะเวลา 60 ปี หลักเขตนี้ก็ยังโผล่พ้นเหนือน้ำ หากเกิดการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอย่างมีนัยสำคัญ หลักเขตนี้ควรจะจมอยู่ใต้น้ำ การแก้ไขปัญหาต้องใช้หลายมาตรการควบคู่กันไป ส่วนโครงการจัดสร้างเขื่อนกันคลื่นที่กรุงเทพมหานครเสนอความยาว 4.7 กิโลเมตร ซึ่งต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากรัฐบาลนั้น จะช่วยเร่งรัดให้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อสร้างเขื่อนกันคลื่น บริเวณหัวท้ายเขื่อนกันคลื่นอาจเกิดการกัดเซาะมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่น พร้อมได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด? นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ได้ฝากนายวราวุธให้ช่วยเร่งรัดงบประมาณโครงการดังกล่าว โดยการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นบริเวณนี้ใช้งบประมาณของ กทม. 70% รัฐบาลสนับสนุน 30% ตลอดจนต้องเร่งฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่ง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดิน สาเหตุจากเป็นพื้นดินอ่อนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ บางส่วนของกรุงเทพมหานครจึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง รวมทั้งการสูบน้ำบาดาลในอดีต การก่อสร้างอาคารที่มีน้ำหนักมาก การถมคลองเปลี่ยนเป็นถนน ทำให้พื้นที่รับน้ำที่เคยมีจำนวนมากในอดีตหายไป การกีดขวางและการอุดตันการระบายน้ำ เป็นต้น สถานการณ์โลกร้อนที่มีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพฯ มีผลกระทบต่อเนื่องมาจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) และเอลนีโญ (EI Nino) ที่ทำให้มีฝนมากหรือน้อยกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกประเทศก็ให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อยู่ระหว่างปรับปรุงแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ UNFCCC : NAPs ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านการปรับตัวแคคูน UNFCCC : Cancun Agreement เพื่อเป็นกลไกและวิธีการในการระบุความจำเป็นต่อการปรับตัวในระยะกลางและระยะยาว นำไปสู่การบูรณาการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับนโยบาย แผนงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศใช้ต่อไป นายอภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยว่า ในส่วนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) มีภารกิจที่เกี่ยวข้องในเขตบางขุนเทียน เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานครที่ติดทะเล ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร โดยสถานภาพชายฝั่งของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน มีระยะทางชายฝั่งประมาณ 7.11 กิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นหาดโคลนอยู่ในแนวทางการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง (Coastal rehabilitation) เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ได้มีการดำเนินการแก้ไขในพื้นที่ดังกล่าวแล้วทั้งหมด แต่ยังมีการกัดเซาะอยู่ประมาณ 2.60 กิโลเมตร และไม่มีการกัดเซาะเพิ่มระยะทาง 4.51 กิโลเมตร ปัจจุบันมีโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพฯ ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น การปักเสาคอนกรีต เขื่อนหินป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง และเขื่อนหินทิ้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายหลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แนวชายฝั่งในเขตบางขุนเทียนเริ่มปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งที่เป็นผลมาจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลัง ทั้งนี้ กรม ทช. ได้มีแนวทางบริหารจัดการแนวชายฝั่งทะเลเขตบางขุนเทียน เพื่อช่วยลดปัญหาที่อาจจะทำให้กรุงเทพมหานครจมใต้น้ำ โดยดำเนินการตามแนวทางการจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 โดยใช้แนวทางฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่งเป็นหลัก คือ การกำหนดพื้นที่ถอยร่น การปลูกป่า และการปักเสาดักตะกอน พร้อมกับการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) มีการสนับสนุนการใช้แนวทางธรรมชาติในการจัดการปัญหาภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน อาทิ การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งดั้งเดิมที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญ เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่ง ปัจจุบันผืนป่าชายเลนบริเวณบางขุนเทียนขาดความอุดมสมบูรณ์ มีความหนาแน่นประมาณ 50 เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ต้องมีความหนาแน่นประมาณ 300 เมตร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องการดำเนินการในรูปแบบการปักเสาดักตะกอน หรือวิธีการดักตะกอนอื่นๆ ที่เหมาะสม การปลูกป่าชายเลนโดยภาครัฐและเอกชน การสร้างแรงจูงใจในการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่เอกสารสิทธิ อาทิ การลดภาษี การถอยร่นพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ประกอบอาชีพ เช่น การเลี้ยงกุ้ง จากแนวน้ำทะเล เพื่อพื้นฟูป่าชายเลน การจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณชายฝั่งให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เวนคืนพื้นที่แนวชายฝั่งในระยะ 300-500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่งเพื่อสร้างแนวป่าชายเลน ทำการรื้อถอนโครงสร้างแข็งที่ไม่มีการใช้ประโยชน์และไม่มีการใช้งานแล้ว เช่น ท่าเรือ อาคาร ร้านค้าที่ปลูกสร้างรุกล้ำชายหาด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงการเสริมตะกอนดินจากการขุดลอกปากแม่น้ำ. https://tna.mcot.net/environment-1134594
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|