#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางแห่งในภาคเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งและชาวเรือควรเดินเรือ ด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีลมแรง โดยมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 1 ? 2 ธ.ค. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงยังคงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 7 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่จะมีลมตะวันตกพัดพาความหนาวเย็นจากประเทศเมียนมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศหนาวเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงได้อีก 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ยังคงมีกำลังแรง ประกอบกับในช่วงวันที่ 2 ? 3 ธ.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียเข้าสู่ทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 4 - 7 ธ.ค. 63 ภาคใต้มีฝนลดลง และคลื่นลมมีกำลังอ่อนลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 2 ? 7 ธ.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นลงด้วย สำหรับประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ในช่วงวันที่ 1 ? 3 ธ.ค. 63 ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากด้วย และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ควรหลีกเลี่ยงการเดืนเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 2563)" ฉบับที่ 12 ลงวันที่ 02 ธันวาคม 2563 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย และจะเคลื่อนตัวทางตะวันตกเข้าสู่ทะเลอันดามันต่อไป (วันที่ 3 ธ.ค. 63) ทำให้บริเวณภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก มีดังนี้ ในช่วงวันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ภาคใต้: จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ในวันที่ 3 ธันวาคม 2563 มีฝนตกหนักบางแห่ง ภาคใต้: จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณ อ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 4 ธ.ค. 63
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ทส.สั่งทุกจังหวัดตรวจหมึกบลูริงโผล่เสียบไม้ขาย ทส.สั่งสแกนหมึกบลูริง สัตว์ทะเลมีพิษทั่วทุกจังหวัด หลังเจอหมึกพิษโผล่เสียบไม้ขายตลาดนัดพื้นที่ จ.ปทุมธานี และก่อนหน้าเคยเจอ จ.ตาก เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจทั้งผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ประชาชนวงกว้าง กรณีพบหมึกบลูริงเสียบไม้ปิ้งขายในตลาดนัดพื้นที่ จ.ปทุมธานี วันนี้ (1 พ.ย.2563) นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าว่าหมึกบลูริงมีพิษที่รุนแรงถึงชีวิต จึงต้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้ประชาชนหากพบเห็นรีบหลีกเลี่ยง ห้ามสัมผัสและบริโภคเด็ดขาด และเตรียมประสานทุกจังหวัดทั่วประเทศช่วยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว และประชาชน หากพบเห็นให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบทันที เบื้องต้นให้นักวิชาการที่ศึกษาด้านชีววิทยาสัตว์ทะเลที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหมึกบลูริง จัดทำสื่อการเรียนรู้และข้อมูลประกอบ เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับนักท่องเที่ยวและประชาชนทุกคนทราบ ควบคู่กับเร่งประชาสัมพันธ์อย่างเข้มข้นทุกรูปแบบและกระจายทั่วทั้งประเทศ เนื่องจากเคยพบหมึกบลูริงเสียบไม้ปิ้งขายลักษณะนี้ในพื้นที่จ.ตาก สำหรับหมึกบลูริงเป็นหมึกจำพวกเดียวกับหมึกยักษ์ มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก จะพบได้ในทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมทั้ง ทะเลแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นสัตว์ที่อาศัยบริเวณผืนทรายใต้ท้องน้ำและแนวปะการัง เคยมีรายงานพบคนได้รับพิษจากหมึกบลูริง ส่วนมากจะติดมากับเครื่องมือประมงและการแอบเลี้ยงของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ทะเลแปลกสวยงาม ซึ่งกรมประมงได้ประกาศห้ามไม่ให้เลี้ยงหรือนำเข้าหมึกชนิดนี้แล้ว แต่ยังพบมีลักลอบนำเข้า นายโสภณ กล่าวว่า ทั้งนี้นายวราวุธ ศิลปอาชารมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ยังได้กำชับให้ขยายผลไปยังสัตว์ทะเลมีพิษอื่นๆที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตด้วย เช่น ปลาปักเป้า แมงกระพรุน ที่มีนำมาบริโภคในปัจจุบัน ดังนั้นจึงขอฝากเตือนประชาชนทุกคนที่พบเห็นหมึกที่มีลักษณะคล้ายหมึกยักษ์ แต่มีขนาดเล็กและมีลายวงสีน้ำเงินเด่นชัด ห้ามสัมผัสหรือบริโภคเด็ดขาด แม้จะผ่านกรรมวิธีด้วยความร้อนแล้ว เนื่องจากพิษชนิดนี้สามารถทนความร้อนได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ เมื่อพบเห็นในธรรมชาติให้พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสและพบมีการจำหน่ายทั้งแบบยังมีชีวิตหรือขายเป็นอาหารตามท้องตลาด หรือไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ ควรแจ้งหน่วยงานกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หรือสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดทั่วประเทศ หรือแจ้งสายด่วน GREEN CALL 1310 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่มีความรู้ความชำนาญไปตรวจสอบต่อไป ทำความรู้จักกันหมึกสายวงน้ำเงิน "หมึกบลูริง" สำหรับหมึกสายวงน้ำเงิน หรือหมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกยักษ์จำพวกหนึ่งแต่มีขนาดเล็ก ขนาดตัวเต็มวัยมีความยาวลำตัวประมาณ 4-5 เซนติเมตรมี 8 หนวด แต่ละหนวดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร หมึกสายวงน้ำเงินมีจุดเด่นที่ต่างจากหมึกทั่วไปตรงที่มีลวดลายเป็นวงแหวนสีน้ำเงิน กระจายตามลำตัวและหนวด มีสารพิษที่มีความร้ายแรงมากผสมอยู่ในน้ำลาย ผู้ที่ถูกกัดอาจตายได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง จึงนับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สารพิษของหมึกสายวงน้ำเงินนั้น เรียกว่าเตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากเตโตรโดท็อกซินมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 50-60 แต่ถ้าผู้ป่วยยังมีชีวิตรอดหลังได้รับพิษแล้ว 24 ชั่วโมง จะพบว่ามีอัตราการรอดชีวิตได้มากขึ้น พิษที่เกิดจากหมึกสายวงน้ำเงินกัดจะเกิดอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาทีหลังถูกกัด ลักษณะอาการเริ่มจากการชาบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ต่อมาชาบริเวณใบหน้า แขนขาและเป็นตะคริวในที่สุด น้ำลายไหลคลื่นไส้ อาเจียน มีอาการท้องเสียร่วมกับปวดท้อง ซึ่งอาการปวดท้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นกล้ามเนื้อจะเริ่มทำงานผิดปกติ อ่อนแรง ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษปริมาณมาก ระบบประสาทส่วนกลางจะไม่ทำงาน หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถนำอากาศเข้าสู่ปอดได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมงแต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น https://news.thaipbs.or.th/content/298815 ********************************************************************************************************************************************************* จับตา! ผืนป่าแอมะซอนถูกทำลายมากที่สุดในรอบ 12 ปี ผืนป่าแอมะซอนของบราซิลถูกทำลาย ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 12 ปี ซึ่งมีข้อสังเกตว่าอาจเกี่ยวข้องกับนโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาล วันนี้ (1 ธ.ค.2563) สถาบันวิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิล เปิดเผยว่า ปีนี้ป่าแอมะซอนถูกทำลายไป 11,088 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 12 ปี นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่าผืนป่าแอมะซอนถูกทำลายอย่างรวดเร็ว หลังจากจาอีร์ โบลโซนาโร ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิล เมื่อเดือน ม.ค.ปีที่แล้ว เนื่องจากผืนป่าแอมะซอนที่ถูกทำลาย เมื่อปี 2561 ก่อนการขึ้นดำรงตำแหน่งของผู้นำบราซิลคนปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่เพียง 7,536 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น โดยผู้นำบราซิลส่งเสริมการทำเกษตรกรรมในเชิงพาณิชย์และการทำเหมืองแร่ในผืนป่าแอมะซอนเพื่อแก้ปัญหาความยากจน สวนทางกับนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวชี้ว่าบราซิลไม่สามารถทำตามเป้าหมายในการลดจำนวนผืนป่าที่ถูกทำลายให้เหลือประมาณ 3,900 ตารางกิโลเมตร ได้ตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อปี 2552 https://news.thaipbs.or.th/content/298819
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
บทบรรณาธิการ: หมอกควันธันวา ปัญหามลพิษฝุ่นไม่มีวันหมด ถ้าไม่เปลี่ยนวิธีแก้ ................. โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ และแล้วประเทศไทยก็เข้าสู่ฤดูหนาวเต็มตัว ในเดือนสุดท้ายของปี พ.ศ.2563 เช่นเดียวกับลมเย็นๆ ที่พัดผ่านหน้าชาวกรุงฯ ยามรอรถไฟฟ้าตอนเช้า หากเรามองออกไปยังเส้นขอบฟ้า ชั้นอากาศขมุกขมัวที่ปกคลุมเหนือป่าคอนกรีตก็กลับมาตามสัญญาอีกครั้ง และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ปัญหาฝุ่นควันพิษก็จะแผ่ปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนบนของประเทศ เกิดเป็นวิกฤตด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเรื้อรัง ปีแล้วปีเล่า แม้ว่านักวิชาการและหน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาชั้นนำ ต่างคาดการณ์ว่า ฤดูหนาวปีนี้ ไทยเราจะเผชิญกับปรากฏการณ์ ลานีญา (La Ni?a) ระดับแรง ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพอากาศเย็นและฝนตกชุกกว่าปกติ ทำให้สถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในไทยฤดูกาลนี้ น่าจะรุนแรงน้อยกว่าปีก่อนๆ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ ก็เริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นควันมลพิษในพื้นที่เมืองหลวงและปริมณฑลกันแล้ว เปลวไฟเผาผลาญผืนป่าบนดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา //ขอบคุณภาพจาก: ฝ่าฝุ่น จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของ PM2.5 ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.2541 ? 2559 ด้วยข้อมูลดาวเทียม สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ประเทศไทยเผชิญปัญหามลพิษทางอากาศ และฝุ่น PM2.5 มาอย่างยาวนาน โดยข้อมูลจากดาวเทียมพบว่า แนวโน้มความเข้มข้นของมลพิษฝุ่น PM2.5 มีค่ากระจุกในพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ จ.น่าน จ.พะเยา จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย และ จ.แม่ฮองสอน ซึ่งอยู่ในจุดเสี่ยงที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานมานานเกือบ 20 ปี ถึงแม้เราเริ่มตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือมาไม่ต่ำกว่า 10 ปีแล้ว แต่การแก้ปัญหาฝุ่นควันยังคงเสมือนพายเรือวนในอ่าง ปีแล้วปีเล่า หน่วยงานรัฐยังคงเน้นใช้มาตรการแก้ปัญหาแบบรวมศูนย์ และใช้กฎหมายนำในการควบคุมกิจกรรมการเผาในที่โล่งและไฟป่า โดยมองชาวบ้าน เกษตรกร และกลุ่มชาติพันธุ์ ว่าเป็นผู้ต้องหาหลักที่ทำให้เกิดไฟป่าและปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือรุนแรงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่า มาตรการเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมมลพิษฝุ่น PM2.5 ในช่วงปีนี้ เราได้เห็นความกระตือรือร้นของภาครัฐในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศที่มีมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อรรถพล เจริญชันษา เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีการถอดบทเรียนและทบทวนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ?การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง? และจัดทำแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ โดยได้ยืนยันว่าการดำเนินแผนเฉพาะกิจฯ จะช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเชิงรุกมากขึ้น นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ กรมควบคุมมลพิษ ยังได้ทดลองใช้ระบบบัญชาการดับไฟป่า ผ่านแอปพลิเคชัน Line Chatbot รวมถึงแอปพลิเคชัน ?FIRE Ranger? และ ?จองเบิร์น? เพื่อสนับสนุนปฎิบัติการควบคุมไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือในปีนี้ กระนั้น กองบรรณาธิการสำนักข่าวสิ่งแวดล้อม ยังสังเกตุว่า มาตรการทั้งหลายเหล่านี้ แม้จะมีความเข้มข้นมากขึ้น แต่ก็ยังเน้นการปฏิบัติการแบบรวมศูนย์ ที่เน้นการใช้กฎหมายและการสั่งการโดยหน่วยงานรัฐเป็นหลักอยู่ดี เนื้อแท้ของการปฏิบัติการยังแทบไม่ต่างจากรูปแบบที่ภาครัฐเคยปฏิบัติซ้ำๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งการ ออกมาตรการห้ามเผา 60 วัน หรือการควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรโดยใช้กฎหมายควบคุมที่ตัวเกษตรกร ภาครัฐยังคงไม่มีความชัดเจนในเรื่องมาตรฐานการแจ้งเตือนภัยคุณภาพอากาศผ่านช่องทางของภาครัฐ เช่น แอปพลิเคชัน Air4Thai และ social media ของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังคงใช้ค่าเฉลี่ย PM2.5 ราย 24 ชั่วโมง ซึ่งไม่เหมาะสมกับการแจ้งเตือนคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ ที่ควรใช้ค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง อีกทั้งยังใช้เกณฑ์มาตรฐานค่าฝุ่น PM2.5 ที่ 50 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ขององค์การอนามัยโลกกว่า 2 เท่า ทำให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชน ต่อความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นควัน นี่จึงยังทำให้เรากังขาว่า แผนเฉพาะกิจฯ แก้ไขปัญหาหมอกควันในปีนี้จะมีประสิทธิภาพเพียงใด อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราก็ได้เห็นพัฒนาการของเครือข่ายนักวิชาการ ประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ที่ได้ประสานกำลังกันในการสนับสนุนภาครัฐแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 อาทิ สภาลมหายใจเชียงใหม่ ที่ได้ผลักดันการออกกฎหมายอากาศสะอาด เพื่อผลักดันการแก้ไขมลพิษทางอากาศอย่างรอบด้าน หรือเครือข่าย ?ฝ่าฝุ่น? ที่ได้ทำงานสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควันภาคเหนือ จนเห็นผลสัมฤทธิ์ที่ชุมชนบ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ที่กล่าวมา ยังไม่นับถึงโครงการต่างๆ อีกจำนวนมากที่ริเริ่มผลักดันโดยชุมชนท้องถิ่น ในการป้องกันไฟป่า รวมถึงจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ทำให้เห็นว่า ภาควิชาการและประชาสังคมไทย มีศักยภาพสูงมากในการช่วยเหลือสนับสนุนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 ของภาครัฐ ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ภาครัฐจะหันมาทบทวนมาตรการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 อย่างแท้จริง และหันมาสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันพิษอย่างรอบด้าน รวมถึงปฎิรูปมาตรฐานการแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นควันแก่ประชาชนให้ทันกาลและตรงกับความเป็นจริงที่สุด เพื่อปกป้องคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศอย่างยั่งยืน https://greennews.agency/?p=22229
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|