เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #5  
เก่า 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,359
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


'ทำไมฤดูร้อนของไทย อากาศร้อนจนแทบอยู่ไม่ได้ ?'


ภาพถ่ายจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 (ที่มา :NASA Earth Observatory)

"ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 [6] คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปี 2613 จะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุด ณ ปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี"

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการกรีนพีซ ประเทศไทย ได้ออกบทความ "ทำไมฤดูร้อนของไทยอากาศร้อนจนแทบอยู่ไม่ได้ ?"มีเนื้อหาดังนี้

ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้นใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจึงร้อนเป็นธรรมดา นี่เป็นคำตอบแบบกำปั้นทุบดินไปหน่อย และหากจะตอบว่าเป็นเพราะโลกร้อนขึ้นอาจจะเหมารวม (oversimplify) ไปนิด เรื่องนี้เราต้องพิจารณาในทางเวลาหลายระดับ

ในช่วงฤดูร้อนของไทย อุณหภูมิสูงสุดในแต่ละวันอาจทะลุไปมากกว่า 40 องศา ดังที่เราเคยประสบ ประเทศไทยเจออากาศร้อนสูงขึ้น 12 องศาเซลเซียส มากกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีการทำลายสถิติอุณหภูมิรายวันมากกว่า 50 ครั้ง จากข้อมูลที่ประมวลจากภาพถ่ายจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 ข้อมูลที่บันทึกโดยกรมอุตนิยมวิทยาระหว่างปี 2494-2565 จังหวัดแม่ฮ่องสอนทุบสถิติอากาศร้อนสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียสในวันที่ 28 เมษายน 2559 [1]

แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้สึกร้อนมากน้อย ไม่ใช่เป็นตัวเลขอุณหภูมิล้วนๆ แต่คือสิ่งที่เรียกว่า ?ดัชนีความร้อน(Heat Index)? คิดจากอุณหภูมิอากาศ(Air Temperature) และเปอร์เซ็นต์ของความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity%) กล่าวง่ายๆ คือเป็นอุณหภูมิที่เรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิอากาศจริง

ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเจออุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียสในวันนั้นที่แม่ฮ่องสอน และมีความชื้นสัมพัทธ์ 15% เราจะรู้สึกร้อนประมาณนั้นซึ่งจริงๆ แล้วก็เกินระดับเฝ้าระวัง ทำให้เราอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวได้

แต่เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ขึ้นเป็น 35% ในอุณหภูมิ 44.6 องศาเซลเซียส ดัชนีความร้อน(ซึ่งไม่มีหน่วย) จะกลายเป็น 54 ที่ทำให้เราเป็นภาวะลมแดด(heat stroke) ในทันที


อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือน

ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี เราสามารถสัมผัสกับอากาศร้อนที่อาจสูงถึง 40?C ในปี 2559 ประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 65 ปี

เรารับรู้ถึงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและจากสภาพอากาศสุดขั้ว ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [3] ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนของประเทศไทยในทศวรรษล่าสุด (ปี ค.ศ.2020 ? เส้นสีแดง) เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนระหว่างทศวรรษ 1951-1980 (เส้นสีดำและแถบสีเทา)เกือบตลอดทั้งปี เดือนที่ร้อนที่สุดคือเมษายนโดยมีค่าเฉลี่ย 30.6 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562) เดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดคือธันวาคมโดยมีค่าเฉลี่ย 23.8 องศาเซลเซียส(พ.ศ.2562 และ 2563)


อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยระยะยาวของไทย

ข้อมูลที่วิเคราะห์โดย Berkeley Earth [4] ที่เก็บรวบรวมตั้งแต่ พ.ศ.2383 (ช่วงรัชกาลที่ 3 ปีที่ 59 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นต้นมา อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส มากกว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่ 1.3 องศาเซลเซียส

ทำไมเราต้องแคร์การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 1 หรือ 2 องศาเซลเซียส เพราะการผกผันของอุณหภูมิในแต่ละวันของพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ก็มากกว่านั้นอยู่แล้ว

คำตอบคือ การบันทึกอุณหภูมิพื้นผิวโลกนั้นแทนค่าเฉลี่ยของพื้นผิวทั้งหมด อุณหภูมิที่เราเจอในพื้นที่และในช่วงเวลาสั้นๆ นั้นผันผวนขึ้นลงอย่างมากเนื่องจากเหตุการณ์ที่เป็นวัฐจักรซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ (กลางคืนและกลางวัน ฤดูร้อนและฤดูหนาว) แบบแผนของกระแสลมและการตกของฝน/หิมะ/ลูกเห็บ/น้ำค้างที่คาดการณ์ยาก แต่อุณหภูมิผิวโลกขึ้นอยู่ปริมาณพลังงานที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์และพลังงานที่แผ่กลับออกไปนอกโลก ซึ่งขึ้นอยู่องค์ประกอบของสารเคมีในชั้นบรรยากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซเรือนกระจกที่มีคุณสมบัติกักเก็บความร้อน

อุณหภูมิผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศาองศาเซลเซียส จึงมีนัยสำคัญยิ่งเนื่องจากต้องใช้ความร้อนมหาศาลในการทำให้มหาสมุทร ชั้นบรรยากาศและผืนแผ่นดินร้อนขึ้น(ที่ 1 องศาเซลเซียส) ในทางตรงกันข้าม การลดลงของอุณหภูมิผิวโลกเพียง 1 หรือ 2 องศา ในอดีตสามารถทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง (Little Ice Age) การลดลงของอุณหภูมิผิวโลก 5 องศา เพียงพอที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนืออยู่ใต้มวลน้ำแข็งหนาเมื่อ 20,000 ปีก่อน

ดังนั้น "โลกร้อน" จึงมิได้หมายถึงอุณหภูมิทุกจุดบนพื้นผิวโลกเพิ่มขึ้น 1 องศา อุณหภูมิในปีหนึ่งๆ หรือในทศวรรษหนึ่งๆ อาจเพิ่มขึ้น 5 องศาในที่หนึ่ง และลดลง 2 องศาในอีกที่หนึ่ง ฤดูหนาวที่เย็นผิดปกติในภูมิภาคหนึ่งอาจตามมาด้วยฤดูร้อนรุนแรงในเวลาต่อมา หรือฤดูหนาวที่เย็นยะเยือกในที่หนึ่งอาจถ่วงดุลด้วยฤดูหนาวที่อุ่นขึ้นอย่างผิดปกติในอีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก โดยรวม ผืนแผ่นดินจะร้อนขึ้นมากกว่าพื้นผิวมหาสมุทร เนื่องจากมวลน้ำจะค่อยๆ ดูดซับความร้อนและค่อยๆ คายความร้อนออก (มหาสมุทรโลกมีความเฉี่อยทางความร้อนมากกว่าผืนแผ่นดิน) การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกจึงแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคพื้นทวีปและแอ่งมหาสมุทร

กลับมาที่ประเทศไทย เมื่อใช้แถบสี(Climate Stripe) [5] ด้านล่าง เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวระยะยาวในประเทศไทยซึ่งชี้ชัดถึงหน้าตาของภาวะโลกร้อนที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่ได้เป็นอย่างดี

Berkeley Earth ยังได้ใช้แบบจำลองคาดการณ์อนาคตซึ่งหากไม่มีการลงมือทำอย่างจริงจังของประชาคมโลกเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนถึง พ.ศ.2643 อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยของไทยเพิ่มขึ้น 2.5-5.5 องศาเซลเซียส โดยมีค่ากลางที่ 3.8 องศาเซลเซียส

เป็นเวลาหลายพันปีที่เผ่าพันธุ์มนุษย์วิวัฒนาการในพื้นที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปี (Mean Annual Temperature) ระหว่าง 11-15 องศาเซลเซียส โดยเป็นลักษณะของสภาพอากาศของโลกในช่วงแคบๆ แท้ที่จริงแล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่านี้มาก และต้องรับมือกับอุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนที่ท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์

จากการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นความร้อนของไทยในปี 2561 แม้แต่คลื่นความร้อนที่มีกำลังน้อยถึงปานกลางก็สามารถสร้างความเสียหายได้ นอกจากความเครียดจากความร้อนโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงเครื่องปรับอากาศ ยังเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ โรคปอดบวม และโรคติดเชื้ออื่นๆ

ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26 องศาเซลเซียส การศึกษาในปี 2563 [6] คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงมากกว่า 29 องศาเซลเซียส คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปี 2613 จะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุด ณ ปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี

กลุ่มประชากรในไทยที่ต้องเผชิญอากาศร้อนจัดมักเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือมีสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงระบบการลดความร้อน / ที่มา : https://earth.org/data_visualization...ot-to-live-in/
พื้นที่ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ในประเทศไทยทั้งหมดจะต้องเผชิญกับช่วงความร้อนสูงที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อะไรคือมาตรการรับมือในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศต้องขยายตัวมากขึ้น เครือข่ายระบบเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่พอที่จะปกป้องประชากรส่วนใหญ่จะเป็นคำตอบหรือไม่

รัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายไม่มีทางเลือกนอกจากพิจารณาถึงแผนการรับมือและปรับตัวจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ทั้งคลื่นความร้อน ภัยแล้งยาวนาน อุทกภัย และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เป็นต้น

สิ่งสำคัญคือลงมือกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศบนรากฐานของความเป็นธรรมทางสังคม


หมายเหตุ :

[1] https://www.tmd.go.th/climate/tempmaxstatlatest
[2] http://www.arcims.tmd.go.th/Research...D%E0%B8%99.pdf
[3] http://berkeleyearth.lbl.gov/regions/Thailand
[4] Berkeley Earth จัดตั้งโดย Richard และ Elizabeth Muller ในช่วงต้นปี 2553 เมื่อพวกเขาพบข้อดีในข้อกังวลบางประการของผู้สงสัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พวกเขาจัดตั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เพื่อทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลอุณหภูมิผิวโลก และเผยแพร่ข้อค้นพบครั้งแรกในปี 2555 ปัจจุบัน Berkeley Earth เป็นองค์กรอิสระไม่แสวงหากำไร
[5] Climate Stripe คิดโดย Professor Ed Hawkins (University of Reading) เพื่อให้บทสนทนาเรื่องโลกร้อนไปสู่วงกว้างมากขึ้นและสื่อสารออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ละแถบแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละปี (ถ้าเป็นสีฟ้าคือเย็นกว่าค่าเฉลี่ย ถ้าเป็นสีแดงคือร้อนกว่าค่าเฉลี่ย
[6] https://www.pnas.org/content/117/21/11350



https://www.thaipost.net/news-update/578820/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:38


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger