เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 29-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน "โนรู" มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2?3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในวันที่ 29 ? 30 ก.ย. 65 พายุโซนร้อน "โนรู" ที่ปกคลุมบริเวณประเทศลาวตอนล่าง จะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในคืนนี้ (28 ก.ย. 65) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และฝนตกเป็นบริเวณกว้าง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ และมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนในวันที่ 1 ? 4 ต.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในวันที่ 28 ? 30 ก.ย. 65 ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงในวันที่ 28 ก.ย. ? 3 ต.ค. 65 ไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ "โนรู"" ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 29 กันยายน 2565

เมื่อเวลา 01.00 น. ของวันนี้ (29 ก.ย. 65) พายุดีเปรสชัน "โนรู" มีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ หรือที่ละติจูด 15.6 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.5 องศาตะวันออก โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งให้ระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 29 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และสงขลา


วันที่ 30 กันยายน 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ชัยภูมิ และนครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 29-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ฮือฮา! ฉลามวาฬ โผล่อวดโฉม นักท่องเที่ยว ที่เกาะห้อง

กระบี่ - ฉลามวาฬ โผล่อวดโฉม นักท่องเที่ยว ที่เกาะห้อง อุทยานฯ ธารโบกขรณี สั่งเฝ้าระวัง ห้ามรบกวน พร้อมขอให้ชาวเรือขับเรือด้วยความระมัดระวัง



เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จ.กระบี่ ได้เผยแพร่คลิปออกลาดตระเวน ตรวจตราความเรียบร้อยบริเวณหมู่เกาะห้อง เขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ได้พบ ฉลามวาฬ ขนาดใหญ่ จำนวน 1 ตัว กำลังว่ายน้ำหากินอยู่บริเวณผิวน้ำ จึงได้หยิบโทรศัพท์ออกมาถ่ายคลิปไว้ โดยฉลามวาฬตัวดังกล่าว ว่ายมาอวดโฉมใกล้ๆเรือ ซึ่งมีปลาช่อนทะเลนับสิบตัวว่ายอยู่รอบ ๆ โดยไม่ท่าทีตื่นกลัว

นายวีระศักดิ์ ศรีสัจจัง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี เปิดเผยว่า สำหรับฉลามวาฬตัวดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่อุทยานฯ พบบริเวณหน้าเกาะห้อง ขณะออกตรวจตราลาดตระเวนดูความเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ (27 ก.ย.)

ซึ่งขณะที่กำลังลาดตระเวน พบฉลามวาฬ ที่บริเวณหน้าเกาะห้อง ห่างชายฝั่งประมาณครึ่งกิโลเมตร พบว่า มีจำนวน 2 ตัว คาดว่าเป็นตัวผู้กับตัวเมีย มีความยาวประมาณ 5 เมตร ถือว่าเป็นฉลามวาฬ ที่ค่อนข้างใหญ่ และ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน เจ้าหน้าที่ ได้พบเจอฉลามวาฬ ประมาณ 3 ครั้งแล้ว คาดว่ามาหากินอาหาร เนื่องจากบริเวณหมู่เกาะห้อง ท้องทะเลค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี กล่าวด้วยว่า ขอให้ผู้ประกอบการที่นำนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวบริเวณหมู่เกาะห้อง ขอให้ขับเรือด้วยความระมัดระวัง เพราะใบพัดเรืออาจจะไปถูกตัวฉลามวาฬ ได้รับบาดเจ็บและตายได้ เนื่องจากฉลามวาฬ ที่เจอค่อนข้างจะเชื่องและคุ้นกับคน เมื่อเห็นเรือก็จะว่ายน้ำตาม นอกจากนี้ขออย่าไปรบกวน ปล่อยให้ฉลามวาฬอยู่ตามธรรมชาติ ดีที่สุด


https://mgronline.com/south/detail/9650000093243

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 29-09-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


สถาบันวิจัยชั้นนำโลกเรียกร้องทุกชาติเร่งลดมลพิษ ................. โดย ชมัยพร ศรีขยัน



สถาบันวิจัยชั้นนำโลกเรียกร้องทุกชาติเร่งลดมลพิษ ขณะผลศึกษาปี 2564 ระบุว่า ถ่านหินเป็นตัวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในปริมาณมากที่สุดในโลก รองลงมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและปูนซีเมนต์

น้ำท่วมหนักปากีสถานช่วงที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่บอกว่าแม้ประเทศเล็กๆอย่างปากีสถานที่ไม่ได้ปล่อยควันพิษ หรือก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในชั้นบรรยากาศมากเท่าประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ แต่ก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อนขึ้น และปัญหามลพิษในระดับที่รุนแรงเกินคาด

ล่าสุด "บ็อบ วอร์ด" ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย จากสถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ?แกรนแธม? (Grantham) ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ในฐานะเป็นวิทยากรร่วมในงานสัมมนา Sustainability Expo (SX) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้หัวข้อ ?Is the world on track to avoid dangerous climate change?? หรือ ?โลกของเรา หนีพ้นจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมายหรือไม่? เมื่อวันอังคาร(27 ก.ย.)

วอร์ด ได้นำเสนอข้อมูลอ้างอิงจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ไอพีซีซี) ที่เผยแพร่เมื่อปี 2564 ว่า การทำให้โลกร้อนขึ้น หรือการสร้างมลพิษโดยน้ำมือมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศหลายรูปแบบ เช่น เกิดคลื่นความร้อน ฝนตกหนัก เกิดพายุไซโคลนเขตร้อน เป็นต้น และพบว่า อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2393-2565 เพิ่มขึ้น 0.9-1.2 องศา

ส่วนไทย ตั้งแต่ปี 2493-2563 มีอุณหภูมิสูงโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 25-27 องศาเซียลเซียส ขณะที่การใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ยังคงมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

จากสมมติฐานการปล่อยมลพิษคาดว่า อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกินกว่า 1.5-2 องศาเซลเซียส ในช่วงศตวรรษที่ 21 หากไม่เร่งลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก โดยครั้งล่าสุดที่โลกมีอุณหภูมิคงที่มากที่สุดคือ 3 ล้านปีก่อน

หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส มีโอกาสสูงว่าอาจทำให้เกิดน้ำท่วมรุนแรงและถี่มากขึ้นในทวีปแอฟริกาและเอเชีย รองลงมาคือภูมิภาคอเมริกาเหนือและยุโรป หรือบางภูมิภาคอาจเกิดความแห้งแล้งในภาคเกษตรและระบบนิเวศ ยกเว้นทวีปเอเชีย และหากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส จะทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงมากขึ้น

บ็อบ ระบุว่าผลการศึกษาปี 2564 บ่งชี้ว่า ถ่านหินเป็นตัวปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์มากที่สุด รองลงมาเป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและปูนซีเมนต์

ด้านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยว่า เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในราคาอาหารและราคาพลังงาน รวมถึงระบบห่วงโซ่อุปทานต่าง ๆ จะเกิดความไม่สมดุลด้วย

เมื่อทั่วโลกเกิดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงจัดทำ 'ความตกลงปารีส' (Paris Agreement) ให้เป็นตัวกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้อุณหภูมิโลกต่ำกว่าอุณภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส และควบคุมให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนที่สุด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด 45% ภายในปี 2573 เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยมีผู้ร่วมความตกลงปารีสแล้วทั้งสิ้น 197 ประเทศ รวมถึงไทย

ขณะที่ข้อมูลช่วงปี 2553-2562 บ่งชี้ว่า ต้นทุนของเทคโนโลยีที่ปล่อยมลพิษต่ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้นทุนพลังงานจากแสงอาทิตย์ลดลง 85% ต้นทุนพลังงานลมลดลง 55% แบตเตอรีลิเทียมลดลง 85%

ด้านองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) เห็นว่า พลังงานทดแทนไม่เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันในตลาด เนื่องจากราคาพลังงานเชื้อเพลิงและราคาไฟฟ้าสูงขึ้นสูงขึ้นอย่างอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ไตรมาสุดท้ายของปี 2564

พอสรุปได้ว่าโลกของเราจะไม่สามารถหลีกหนีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเลวร้ายมากขึ้นได้ หากทุกคนไม่ร่วมกันช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และควรหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นและให้ไวที่สุด รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด เพื่อบรรเทาการเกิดภัยพิบัติ และรักษาโลกของเราให้ปลอดภัยและมีความยั่งยืนต่อไป

ข้อเรียกร้องของวอร์ด มีขึ้นหลังจากหลายประเทศเผชิญคลื่นความร้อนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศในยุโรป ส่งผลให้ผู้คนเจ็บป่วย และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และไม่ใช่แค่ผลกระทบต่อผู้คนเท่านั้น คลื่นความร้อนยังทำให้ปริมาณธารน้ำแข็งบนเทือกเขาแอลป์ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ด้วย

"แอนเดรียส ลินส์บาวเออร์"นักธรณีวิทยาชาวสวิส กล่าวว่า ปกติแล้วจะมีการวัดปริมาณน้ำแข็งบริเวณธารน้ำแข็งมอเทอราท (Morteratsch Glacier) ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงปลายฤดูร้อน หรือช่วงปลายเดือนก.ย. เพื่อพิจารณาจากความแตกต่างของปริมาณหิมะที่ตกลงมาในฤดูหนาว และปริมาณน้ำแข็งที่ละลายในฤดูร้อน แต่เนื่องจากการละลายของธารน้ำแข็งที่รวดเร็วขึ้น ทำให้ต้องตรวจเช็คปริมาณธารน้ำแข็งล่วงหน้าสองเดือน และพบว่าน้ำแข็งลดลงไปมาก

การละลายของธารน้ำแข็งมอเทอราทมีขึ้นในขณะที่ธารน้ำแข็งบนภูเขาส่วนใหญ่ทั่วโลกกกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เทือกเขาแอลป์ในยุโรปมีความเสี่ยงสูงกว่าที่อื่นๆ เพราะมีน้ำแข็งปกคลุมค่อนข้างน้อย

ขณะที่อุณหภูมิในเทือกเขาแอลป์สูงขึ้นประมาณ 0.3 องศาฯ ทุกๆ 10 ปี ซึ่งเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกประมาณสองเท่าจึงเห็นได้ว่าในช่วง 60 ปี ปริมาณน้ำแข็งลดต่ำลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว มีปริมาณหิมะตกค่อนข้างน้อย และเทือกเขาแอลป์ก็เผชิญคลื่นความร้อนอย่างรุนแรงในช่วงต้นฤดูร้อน ในเดือนก.ค. อุณหภูมิบริเวณภูเขาเซอร์แมท (Zermatt)สูงเกือบ 30 องศาเซลเซียส


https://www.bangkokbiznews.com/world/1029537
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 09:10


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger