เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 10-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default คู่มือ...รับสถานการณ์น้ำท่วม

ก่อนน้ำท่วม



การป้องกันตัวเองและความเสียหายจากน้ำท่วม ควรมีการเตรียมการไว้ล่วงหน้า เพราะหาก รอให้มีการเตือนภัย เวลามักจะไม่เพียงพอ



เตรียมความพร้อมก่อนน้ำท่วม


การรับมือสำหรับน้ำท่วมครั้งต่อไปควรปฏิบัติดังนี้



1. คาดคะเนความเสียหายที่จะเกิดกับทรัพย์สินของคุณเมื่อเกิดน้ำท่วม

2. ทำความคุ้นเคยกับระบบการเตือนภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการอพยพ

3. เรียนรู้เส้นทางการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุดจากบ้านไปยังที่สูงหรือพื้นที่ปลอดภัย

4. เตรียมเครื่องรับวิทยุแบบพกพา อุปกรณ์ทำอาหารฉุกเฉิน แหล่งอาหารและไฟฉาย รวมทั้งแบตเตอรี่สำรอง

5. ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ควรจะเตรียมวัสดุ เช่น กระสอบทราย แผ่นพลาสติก ไม้แผ่น ตะปู กาวซิลิโคน เป็นต้น เพื่อใช้ป้องกันบ้านเรือน และทราบแหล่งทรายที่จะนำมาใช้

6. นำรถยนต์และพาหนะไปเก็บไว้ในพื้นที่ซึ่งน้ำไม่ท่วมถึง

7. ปรึกษาและทำข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยเกี่ยวกับการประกันความเสียหาย

8. บันทึกหมายเลขโทรศัพท์สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และเก็บไว้ตามที่จำง่าย

9. รวบรวมของใช้จำเป็นและเสบียงอาหารที่ต้องการใช้ภายหลังน้ำท่วมไว้ในที่ปลอดภัยและสูงกว่าระดับที่คาดว่าน้ำจะท่วมถึง

10. ทำบันทึกรายการทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด ถ่ายรูปหรือวีดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐาน

11. เก็บบันทึกรายการทรัพย์สิน เอกสารสำคัญและของมีค่าอื่นๆ ในสถานที่ปลอดภัยห่างจากบ้านหรือห่างจากที่น้ำท่วมถึง เช่น ตู้เซฟที่ธนาคาร หรือไปรษณีย์

12. ทำแผนการรับมือน้ำท่วม และถ่ายเอกสารเก็บไว้ในที่สังเกตได้ง่าย และติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วมที่เหมาะสมกับบ้านของคุณ


รู้จักกับภัยน้ำท่วมของคุณ


สอบถามหน่วยงานที่จัดการด้านน้ำท่วม ด้วยคำถามต่อไปนี้

- ภายในละแวกใกล้เคียงในรอบหลายปีที่ผ่านๆมา เคยเกิดน้ำท่วมสูงที่สุดเท่าไหร่

- เราสามารถคาดคะเนความเร็วน้ำหรือโคลนได้หรือไม่

- เราจะได้การเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่น้ำจะมาถึงเป็นเวลาเท่าไหร่

- เราจะได้รับการเตือนภัยอย่างไร

- ถนนเส้นใดบ้างในละแวกนี้ที่จะถูกน้ำท่วมหรือจะมีสิ่งกีดขวาง


ถ้าคุณคือพ่อแม่ :

· ทำการซักซ้อมและให้ข้อมูลแก่บุตรหลานของคุณขณะเกิดน้ำท่วม เช่น ไม่สัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำและอยู่ใกล้เส้นทางน้ำ

· ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานท้องถิ่น

· ต้องทราบแผนฉุกเฉินสำหรับ โรงเรียนที่บุตรหลานคุณเรียนอยู่

· เตรียมแผนการอพยพสำหรับครอบครัวของคุณ

· จัดเตรียมกระสอบทราย เพื่อกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่บ้านเรือน

· ต้องมั่นใจว่าเด็กๆได้รับทราบแผนการรับสถานการณ์น้ำท่วมของครอบครัวและของโรงเรียน

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 11-10-2011 เมื่อ 08:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 10-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

การทำแผนรับมือน้ำท่วม



การจัดทำแผนรับมือน้ำท่วม จะช่วยให้คุณนึกถึงสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำหลังได้รับการเตือนภัย เดินสำรวจทั่วทั้งบ้านด้วยคู่มือเล่มนี้ พร้อมทั้งจดบันทึกด้วยว่าจะจัดการตามคำแนะนำอย่างไร ในช่วงเวลาที่ทุกๆ คน เร่งรีบและตื่นเต้นเนื่องจากภัยคุกคาม สิ่งสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ หมายเลขโทรศัพท์ต่างๆ ที่สำคัญไว้ในแผนด้วย



ถ้าคุณมีเวลาเพียงเล็กน้อยหลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องทำและมีในแผน



- สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉิน และสถานีวิทยุหรือสถานีโทรทัศน์ที่รายงานสถานการณ์และรายชื่อสถานีวิทยุที่รายงาน



- รายชื่อสถานที่ 2 แห่งที่สมาชิกในครอบครัวสามารถพบกันได้หลังจากพลัดหลง โดยสถานที่แรกให้อยู่ใกล้บริเวณบ้าน และอีกสถานที่อยู่นอกพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง



- เมื่ออพยพออกจากบ้าน ในกรณีที่คุณไม่สามารถกลับเข้าบ้านได้หลายวันควรติด ข้อความอธิบายที่บ้านด้วยว่า คุณอพยพไปที่ไหนและสามารถติดต่อได้อย่างไร



- เมื่อจะออกจากบ้านให้ปิดบ้านให้เรียบร้อย และวิ่งออกไปตามเส้นทางที่วางแผนไว้สู่ที่อพยพ



ถ้าคุณมีเวลามาก หลังการเตือนภัย : สิ่งที่ต้องเพิ่มลงไปในแผนคือ



- ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เตรียมไว้สำหรับการป้องกันน้ำท่วม

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้านได้

- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า แก๊สและประปาในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือถ้าคาดว่าน้ำจะท่วมเฉพาะชั้นล่างก็สามารถปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะส่วนนั้นและเปิดใช้ในส่วนที่อยู่อาศัยได้ ในแผนรับมือน้ำท่วม ให้ทำเครื่องหมายจุดที่เป็นฟิวส์ หรือเบรกเกอร์ เพื่อแสดงวงจรไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวบ้าน

- ปิดถังแก๊สให้สนิท

- จัดเตรียมน้ำสะอาดใส่ในภาชนะเพื่ออุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอ

- ตรวจสอบแหล่งพลังงานที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำ

- เคลื่อนย้ายทรัพย์สินมีค่าไปเก็บไว้ที่สูงหรือปลอดภัย



น้ำสามารถไหลเข้าบ้านคุณได้อย่างไร




น้ำท่วมสามารถไหลเข้าบ้านได้หลายทาง โดยทางเข้าจะสูงกว่าระดับพื้นบ้านดังนั้นหลังจากระดับน้ำท่วมลดลง น้ำจึงยังคงอยู่ในตัวบ้าน เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหาย



น้ำเข้าบ้านได้หลายทาง ดังนี้



- น้ำสามารถผ่านเข้ารอบๆประตู และช่องว่างของอิฐได้

- หากน้ำท่วมสูงมาก น้ำจะสามารถไหลย้อนกลับเข้าบ้าน

ทางท่อในห้องน้ำหรือท่ออ่างล้างหน้าได้

- น้ำสามารถซึมผ่านรอยร้าวและรอยต่อของกำแพง

- น้ำสามารถซึมผ่านขึ้นมาทางพื้นชั้นล่างได้

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางรอยร้าวและรอยต่อรอบๆสายไฟ

หรือ สายโทรศัพท์ที่เจาะผ่านกำแพง

- น้ำสามารถผ่านเข้าทางท่อระบายน้ำทิ้ง

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 10-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

ระหว่างเกิดน้ำท่วม


ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม


ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ


1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม ( Flood Watch) : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์

2. การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม

3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง

4. การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ



สิ่งที่คุณควรทำ : หลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม



1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน


2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้

- ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

- อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด

- อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก


3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว


4. ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม


5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้

- อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน

- อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น

- ล๊อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง

- ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน


6. หากบ้านพักอาศัยของคุณไม่ได้อยู่ในที่น้ำท่วมถึงแต่อาจมีน้ำท่วมในห้องใต้ดิน

- ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องใต้ดิน

- ปิดแก๊สหากคาดว่าน้ำจะท่วมเตาแก๊ส

- เคลื่อนย้ายสิ่งของมีค่าขึ้นข้างบน

- ห้ามอยู่ในห้องใต้ดิน เมื่อมีน้ำท่วมถึงบ้าน


น้ำท่วมฉับพลัน

- น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย

- ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ

- เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง

- ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที

- ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี

- อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม


ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน


- ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม : อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้

แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน

ของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท

- ระวังสัตว์อันตราย : สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน

- เดินอย่างระมัดระวัง : ระวังอันตรายจาก โคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่พังลอยมากับน้ำตอนที่น้ำลดแล้ว

- ระวังแก๊สรั่ว : หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความ

เสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว

- อันตรายจากคาร์บอนมอนออกไซด์ : ควรใช้ เตาย่าง และโคมไฟ นอกบ้านเพราะควันที่ออกมาจากสิ่งเหล่านี้อาจมีพิษ และไม่ ควรนำไปใช้ในบ้าน

- ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ : น้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน

ห้ามบริโภคทุกอย่างที่สัมผัสน้ำ อาหาร ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด

- ดูแลตัวเองและครอบครัว : หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ความเจ็บป่วยทางจิตใจอาจใช้เวลารักษานานกว่าความเจ็บป่วยทางกาย ดังนั้นควรพยายาม เรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล



ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน


- ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล : มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมา ความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามีความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง


- ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดนน้ำท่วม : การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมากที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตรพัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้


- ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย : กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 13-10-2011 เมื่อ 11:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 10-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

หลังน้ำท่วม



3 ขั้นตอนที่คุณควรทำในวันแรกๆหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม



ขั้นตอนที่ 1 : เอาใจใส่ตัวเอง



หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม คุณและครอบครัวอาจเกิดความซึมเศร้า และต้องใช้เวลาเพื่อกลับสู่ภาวะปกติ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วมก็อาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหาย คุณต้องดูแลทั้งตัวเองและครอบครัวพร้อมกับการบูรณะบ้านให้กลับมาเหมือนเดิม



อุปสรรคที่สำคัญคือ ความเครียด และหงุดหงิดง่ายรวมทั้งปัญหาอื่น เช่น นอนหลับยาก ฝันร้าย และปัญหาทางกายโรคภัยไข้เจ็บ จริงๆแล้วเรื่องความเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณและครอบครัวควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้


1. ให้เวลากับครอบครัวเพราะความอบอุ่นในครอบครัวอาจช่วยเยียวยารักษาได้ดี

2. พูดคุยปัญหาเรื่องต่างๆ กับเพื่อนและครอบครัว ร่วมแบ่งปันความกังวล จะช่วยให้ระบายและผ่อนคลายความเครียด

3. พักผ่อนและกินอาหารที่มีประโยชน์เพราะมีปัญหาทั้งความเครียดและ ทางกายเพิ่มขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ

4. จัดลำดับสิ่งที่จำเป็นต้องทำตามลำดับและค่อยๆ ทำไป

5. ขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เมื่ออาการซึมเศร้าจนเกินที่จะรับมือได้

6. ดูแลเด็กๆ ให้ดี และโปรดเข้าใจว่าเด็กก็มีความตื่นกลัวไม่แพ้กัน และอย่าตำหนิเด็กทีมีพฤติกรรมแปลกๆ หลังจากน้ำท่วม เช่น ฉี่รดที่นอน ดูดนิ้วโป้งหรือเกาะคุณอยู่ตลอดเวลา จำไว้ว่าเด็กก็เพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่รุนแรงในชีวิต

7. ระวังเรื่องสุขอนามัย เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่เคยโดยน้ำท่วม



ขั้นตอน 2 : การจัดการดูแลบ้านของคุณ



ที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากน้ำท่วม ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกไฟดูดหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากน้ำลด สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าบ้านคือ การตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเข้าบูรณะและอยู่อาศัย โดยมีขั้นตอน ดังนี้



1. ปรับจูนคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ฟังรายงานสถานการณ์

2. ติดต่อบริษัทประกันภัย เพื่อตรวจสอบความเสียหายและซ่อมแซมทรัพย์สินต่างๆ

3. เดินตรวจตรารอบๆ บ้าน และเช็คสายไฟฟ้า สายและถังแก๊ส โดยถ้าหากเกิดแก๊สรั่ว จะสามารถรู้ได้จากกลิ่นแก๊ส ให้ระวังและรีบโทรแจ้งร้านที่เป็นตัวแทนจำหน่าย

4. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างตัวบ้าน ระเบียง หลังคา ให้แน่ใจว่าโครงสร้าง ทุกอย่างปลอดภัย

5. ตัดระบบไฟฟ้าที่จ่ายเข้าบ้าน

6. ปิดวาล์วแก๊สให้สนิท หากได้กลิ่นแก๊สรั่วก็ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณนั้น

7. เข้าไปในบ้านอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟ

8. ถ่ายรูปความเสียหาย เพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจากประกัน(ถ้ามี)

9. เก็บกู้สิ่งของที่มีค่า และห่อหุ้มรูปภาพหรือเอกสารสำคัญ

10. เก็บกวาดทำความสะอาดบ้าน เปิดหน้าต่างและประตูเพื่อระบายอากาศและตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งก่อสร้างต่างๆ

11. ซ่อมแซมโครงสร้างที่เสียหาย

12. เก็บกวาดกิ่งไม้หรือสิ่งปฏิกูลในบ้าน

13. ตรวจหารอยแตกหรือรั่วของท่อน้ำ ถ้าพบให้ปิดวาล์วตรงมิเตอร์น้ำ และไม่ควรดื่มหรือทำอาหารด้วยน้ำจากก๊อก

จนกว่าจะรู้ว่าสะอาดและปลอดภัย

14. ระบายน้ำออกจากห้องใต้ดินอย่างช้าๆเนื่องจากแรงดันน้ำภายนอกอาจจะมากจนทำให้เกิดรอยแตกของผนังหรือ พื้นห้องใต้ดินได้

15. กำจัดตะกอนที่มาจากน้ำ เนื่องจากเชื้อโรคส่วนมากมักจะมาจากตะกอน



ขั้นตอน 3 : ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



ก่อนที่คุณพยายามทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกอย่าง คุณควรประเมินความเสียหายและทำความแผนที่วางไว้ ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ฃ

1. เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เพื่อพิจารณาความเสียหาย

2. ตรวจสอบความเสียหายของโครงสร้างอาคารของบ้านคุณ

3. ทำแผนการบูรณะซ่อมแซม ซึ่งเป็นรายการสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำ เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

4. เปิดหน้าต่างเพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-10-2011 เมื่อ 10:53
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 10-10-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

ขอบคุณข้อมูลจากมติชน...

http://www.matichon.co.th/news_detai...medium=twitter
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 11-10-2011
Udomlert's Avatar
Udomlert Udomlert is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 421
Talking Udomlert

ขอบพระคุณพี่น้อยมากๆครับ ที่นำข้อมูลมาเผยแพร่ครับ
ผมกำลังเตรียมตัว เพราะน้ำเยอะกว่าปี 38 มาก ปี 38 แค่ท่วมถนนซอยเล็กน้อย
ปีนี้...บรื๋อ
__________________
We make a living by what we get,
we make a life by what we give.
(Winston Churchill)

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Udomlert : 11-10-2011 เมื่อ 07:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


เพิ่มเติมจากข้อมูลข้างบน ....



โรคที่มากับน้ำท่วม

โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน

เกิดขึ้นได้ก็เพราะผิวหนังเท้าของเรา โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเ ชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิวๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อโรคที่ปลิวไปปลิว มาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัดเท้าขึ้น

โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้


ไข้หวัด

ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อของจมูก และคอ บางครั้งเรียก upper respiratory tract infection URI เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุดโดย เฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง


โรคเครียดวิตกกังวล

ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อม ที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่ อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เ กิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแ ปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย


โรคตาแดง

โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง


โรคอุจจาจระร่วง

โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคท ี่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โร คดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)


แหล่งให้ความช่วยเหลือน้ำท่วม

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- เว็บไซต์ disaster.go.th
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อยๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6

กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858

สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงานการคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976

- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภ ัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นรายๆไป




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


รพ.เด็ก ห่วงใยเด็กเล็ก แนะวิธีป้องกันภัยที่มาจากน้ำท่วม


ช่วงนี้หลายจังหวัดของประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรง เนื่องจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องกันมาหลายสัปดาห์ ไม่ใช่มีเพียงแต่ปัญหาเรื่องที่พักอาศัย และอาหารในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น แต่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องดูแลตัวเองและเด็กๆให้ห่างไกลภัยอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมด้วย โดยเฉพาะการจมน้ำ การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 1 และสูงกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรถึง 2 เท่า โดยในแต่ละปีมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึงเกือบ 1,500 คน หรือเฉลี่ยวันละ 4 คน ซึ่งช่วงที่พบมากมักเป็นช่วงที่ตรงกับปิดเทอมซึ่งตรงกับช่วงนี้ ร่วมกับการมีน้ำท่วมยิ่งมีความเสี่ยงที่เด็กๆจะเกิดอันตรายทางน้ำ นอกจากนี้ยังมีโรคที่มาจากน้ำท่วมที่เกิดได้กับเด็กด้วย

ปัญหาการจมน้ำเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็กไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ และมีคำขวัญว่า เด็กทั่วไทย ปลอดภัย ไม่จมน้ำ โดยมีนโยบายที่จะเร่งป้องกันปัญหานี้โดยการจัดอบรมครูสอนทักษะการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และวางแผนจะเผยแพร่ไปทุกจังหวัด โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 10 ปี เด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ต้องว่ายน้ำเป็นครบ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ชื่อว่า โครงการให้วัคซีนป้องกันเด็กจมน้ำ รวมทั้งให้ความรู้เรื่องการช่วยเด็กเบื้องต้นเมื่อจมน้ำ

พ.ญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จริงๆ แล้วแค่เพียงระดับน้ำเพียง 1-2 นิ้ว ก็สามารถทำให้เด็กเล็กๆจมน้ำได้แล้ว และเด็กส่วนมากมักจมน้ำบริเวณแหล่งน้ำใกล้บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กๆอย่างใกล้ชิดขณะเด็กเล่นน้ำนะคะ ไม่ควรปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำ จับปลา พายเรือ หรือว่ายน้ำตามลำพัง และควรให้เด็กๆยืนห่างจากขอบแหล่งน้ำเพื่อป้องกันการลื่นตกด้วย รวมถึงไม่ควรให้อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เพราะความเย็นของน้ำจะทำให้เด็กเป็นตะคริวจมน้ำได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ และถ้าต้องเดินทางทางเรือก็ควรสวมเสื้อชูชีพให้เด็กๆตลอดเวลาที่เดินทาง

“...ถ้ามีเหตุจมน้ำเกิดขึ้นควรสอนไม่ให้เด็กลงไปช่วยเหลือกันเองควรบอกให้ผู้ใหญ่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงช่วยเหลือแทน สำหรับวิธีการช่วยเหลือ ถ้าเด็กรู้สึกตัวดีและหายใจเองได้ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เด็กและรีบเช็ดตัวเด็กให้แห้ง เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แต่ถ้าเด็กหายใจเองไม่ได้หรือหัวใจหยุดเต้น ให้รีบทำการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น และรีบเปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากและเชยคางขึ้นเบาๆ ถ้าเด็กยังไม่หายใจแต่ชีพจรยังเต้นอยู่ ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้ง/นาที และให้รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดด หรือวิ่งรอบสนาม เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น” พ.ญ.พิมพ์ภัค กล่าว

ที่สำคัญแม้ว่าเด็กๆจะว่ายน้ำเป็น ผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้เด็กๆอยู่ตามลำพัง เพราะเด็กอาจได้รับอันตรายจากสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ เช่น งู ปลิง เป็นต้น และถ้าเกิดอันตรายในระหว่างการเล่นน้ำ เด็กจะไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที การสอนให้เด็กว่ายน้ำเป็น ได้เรียนรู้ถึงอันตรายจากการเล่นน้ำ และรู้วิธีการช่วยเหลือตนเองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้

อุบัติเหตุอื่นๆที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด อุบัติเหตุจากการเหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบในบริเวณบ้าน การป้องกันง่ายๆ ทำได้โดยไม่ให้เด็กๆเดินเท้าเปล่า ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัตเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้าน ก่อนที่น้ำจะท่วมถึง และเก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณบ้าน ถ้ามีบาดแผลที่เกิดจากของมีคม ควรล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด แล้วไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง และต้องตรวจเช็คว่าเด็กได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักครบแล้วหรือยังด้วย

นอกจากนี้ยังมี โรคต่างๆที่ระบาดมากในช่วงน้ำท่วม ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังด้วย พ.ญ.พิมพ์ภัคกล่าวถึงโรคต่างๆไว้ดังนี้

- โรคแรกคือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร หรือที่เรียกกันทั่วๆไปว่า โรคอุจจาระร่วง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค แบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น โรคไทฟอยด์ อหิวาตกโรค อาหารเป็นพิษ ส่วนหนึ่งโรคเหล่านี้อาจติดต่อจากการสัมผัสอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วยซึ่งแพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค อาการทั่วไป เด็กๆจะมีอาการไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำวันละหลายครั้ง หรือถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งในเด็กจะพบว่ามีอาการรุนแรง และเสี่ยงต่อการมีภาวะขาดน้ำและเกลือแร่กว่าผู้ใหญ่ค่ะ

การป้องกันคือ ดื่มและใช้น้ำที่สะอาด ควรระวังอย่าให้น้ำที่ท่วมขังอยู่เข้าปากและไม่ควรนำมาล้าง ภาชนะ ถ้วยชาม หรือผักผลไม้ ต้องล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ ไม่ถ่ายลงในน้ำ เก็บภาชนะที่ใส่อาหารให้มิดชิด ไม่ให้มีแมลงวันตอม แต่ถ้าเด็กๆเริ่มมีอาการท้องร่วง ก็ควรให้เด็กๆดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส) ทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ควรงดอาหารรสจัดหรืออาหารทอดน้ำมัน เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด ปวดท้องมากขึ้น และถ้ารักษาเบื้องต้นแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 2 คือ โรคตาแดง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อด้วยการสัมผัสจากมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวค่ะ เด็กๆจะมีอาการที่สำคัญคือ คันตา มีน้ำตาไหลมากผิดปกติ มีขี้ตามาก เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง การป้องกันคือ สอนให้เด็กๆล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ เมื่อน้ำสกปรกเข้าตาเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดค่ะ และถ้าเด็กๆมีอาการปวดตา หรือมองแสงไม่ได้ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์

- โรคที่ 3 คือ โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อรา ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรือเท้าอับชื้นอยู่เป็นเวลานานค่ะ จะเริ่มจากมีอาการด้วยตุ่มใสบริเวณง่ามเท้า คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีอาการคันมากจนแตกเป็นแผล การป้องกัน คือ ควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งค่ะ รักษาได้โดยใช้ยาทารักษาเชื้อราค่ะ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเรื้อรัง ทายาไม่ได้ผล อาจต้องไปปรึกษาแพทย์

- โรคสุดท้ายคือ โรคฉี่หนู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเลปโตสไปโรสิส โรคนี้เป็นโรคที่ส่วนมากพบในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดในเด็กได้ด้วย โดยเฉพาะในช่วงน้ำท่วม โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อมาจากสัตว์ เชื้อโรคจะอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ เช่น หนู โค กระบือ ตลอดไปจนถึงสัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างสุนัขหรือแมวเลยทีเดียว โดยคนจะสามารถรับเชื้อเข้าไปทางบาดแผล หรือผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานานๆ รวมถึงเยื่อเมือกอย่างตาและปากอีกด้วย อาการสำคัญ คือ จะมีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และศีรษะมาก เด็กๆบางคนจะมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม และท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ เนื่องจากทำให้มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ การจะป้องกันโรคนี้ ถ้ามีแผลในบริเวณที่สัมผัสกับน้ำได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการเดินหรือเล่นน้ำในบริเวณที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กๆที่มักจะสนุกสนานไปกับการย่ำน้ำหรือเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม และถ้าเป็นไปได้ควรใส่รองเท้าบู๊ตทุกครั้งเมื่อเดินลุยน้ำ

การป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำ และการป้องกันโรคเหล่านี้เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการแก้ไข หรือรักษา เพราะฉะนั้นอย่าลืมใส่ใจความปลอดภัย และสุขภาพอนามัยของเด็กๆในช่วงน้ำท่วมด้วย




จาก .......................... บ้านเมือง วันที่ 10 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


เตือนซ้ำ..ไม่กลัวไม่ได้ ‘ภัยซ้อนภัย’ ‘ตาย’ กันเยอะแล้ว!!



จากสถานการณ์ “น้ำท่วม” ที่เกิดขึ้นราว 30 จังหวัด ส่งผลให้มีคนไทยต้องเสียชีวิตแล้วกว่า 250 ราย บาดเจ็บ ป่วย อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งจากน้ำที่ท่วมโดยตรง และจาก ’ภัยซ้ำซ้อน“ ซึ่งกับภัยซ้ำซ้อนที่เกิดขึ้นนั้น ก็ต้องเตือนกันไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งว่า ’ไม่กลัวไม่ได้“ ทำให้ ’เจ็บ-ตาย“ กันไปไม่น้อยแล้ว!!

สำหรับผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว และประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมแล้ว ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือก็ต้องเร่งดำเนินการ ส่วนกับผู้ที่ยังไม่ประสบภัยน้ำท่วม-ยังไม่ประสบภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม ก็อย่าได้วางใจ ’อย่าประมาท“ ถ้ามีโอกาสได้รับทราบข้อมูล “เตือนภัย-ป้องกันภัย” ก็น่าจะได้จดจำไว้เพื่อใช้ปฏิบัติ เช่น อย่าประมาท “ความแรงของกระแสน้ำ” แม้จะดูเหมือนไม่แรง เพราะ ’จมน้ำตาย“ กันเยอะแล้ว !!

’โรคร้าย“ ที่ทำให้ถึงตายได้-ที่เกิดจากน้ำ...ก็ควรจะรู้เท่าทัน

หรือ ’กระแสไฟฟ้า“ ที่ยิ่งอันตรายเมื่อมีน้ำ...ก็ต้องกลัว!!

ทั้งนี้ กับ “กระแสไฟฟ้า” นั้น ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” เคยนำข้อมูลมาเตือนกันไว้แล้ว ว่าช่วงน้ำท่วมนั้นยิ่งต้องระวัง ยิ่งเป็นกรณี “น้ำท่วมในเขตเมืองยิ่งอันตราย” อย่างที่พระนครศรีอยุธยาก็มีรายงานข่าวว่ามีประชาชนห ลายรายที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากกระแสไฟฟ้า จากการที่เกิดน้ำทะลักเข้าท่วมอย่างรวดเร็ว

เมื่อเกิดน้ำทะลักเข้าท่วมบ้านอย่างไม่ทันได้ตั้งตัว ก่อนจะห่วง-ก่อนจะพะวงกับทรัพย์สินต่างๆ ควรรีบสับคัตเอาต์ตัดกระแสไฟฟ้าเสียก่อน ต้องงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และหากยังจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้า ก็ต้องระมัดระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะให้มากๆ ต้องงดใช้และงดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดขณะที่ตัวแช่อยู่ในน้ำ หรือขณะยืนบนพื้นที่ชื้นแฉะ หรือแค่ตัวเปียกชื้น ก็อย่าใช้!!

เพราะอาจจะทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ง่ายๆ

หรือหากจะว่ากันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก็มีคำแนะนำ-คำเตือนของทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ว่าไว้ว่า... การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในช่วงที่เกิดสถานการณ์น้ำท่วมมีค วามเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตเพราะถูก ’ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต“ ซึ่งเมื่อเกิดน้ำท่วม หากจะให้ปลอดภัยจากภัยกระแสไฟฟ้า ก็จะต้องปฏิบัติดังนี้คือ...

รีบตัดกระแสไฟฟ้าที่แผงสวิตช์ไฟหรือสับสวิตช์ไฟลง พร้อมย้ายสวิตช์ไฟให้พ้นจากระดับน้ำที่ท่วมถึง, ก่อนจะนำอุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆมาใช้งานควรต้องตรวจสอบให้อุปกรณ์-เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และผู้ใช้งานต้องไม่ยืนอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ ต้องเป็นที่แห้ง พร้อมสวมรองเท้าให้เรียบร้อยด้วย

หากเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วพบว่ามีสิ่งผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นทันที ต้องนำไปให้ช่างผู้ชำนาญซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ก่อนจึงจะนำมาใช้งานอีก

ห้ามใช้ ห้ามสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียกชื้นหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเปียกน้ำ ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน รวมถึงห้ามซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองโดยไม่มีความชำนาญอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

นอกจากนี้ กรณีต้องฝ่าน้ำท่วมออกไปนอกบ้าน หากพบเห็นเสาไฟฟ้าทรุดตัวหรือล้ม สายไฟฟ้าขาด ต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้า ห้ามเข้าใกล้และห้ามสัมผัสถูกสายไฟฟ้าหรือวัสดุที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้ามาดำเนินการตรวจสอบโดยด่ว น และกรณีถูกไฟดูดนอกบ้านนี้ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ก็ขอเน้นย้ำไว้อีกครั้งว่า... หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน ก็ต้องใส่ใจสายไฟฟ้าในความรับผิดชอบของตนด้วย เพราะอาจก่ออันตรายต่อผู้สัญจรผ่านไปมาได้

นี่ก็เป็นภัยซ้ำซ้อนจากไฟฟ้าที่นำมาเตือนกันอีกครั้ง

ส่วนกับภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วมจากโรคร้ายๆที่ก็ต้องเตื อนกันอีก ก็เช่น... ถ้า...เป็นไข้เฉียบพลัน ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ปวดที่น่องและโคนขา ปวดกล้ามเนื้อหลังและท้อง ตาแดง คอแข็ง เป็นไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ รู้สึกสับสน ซึม เหล่านี้เป็นอาการของ ’โรคฉี่หนู-โรคเลปโตสไปโรซิส“ ซึ่งมักจะมากับน้ำ ยิ่งเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวัง เพราะเชื้อร้ายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตม ดินที่ชื้นแฉะ หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ด่วน

เพราะเชื้อร้ายนี้ทำให้ผู้ป่วยถึงตายได้ !!

เช่นเดียวกับ... ถ้า...มีไข้สูงเฉียบพลัน หน้าแดง ซึม เบื่ออาหาร มีจุดสีแดงตามตัว แขน ขา ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดหัว อาเจียนเป็นเลือด หรืออุจจาระเป็นสีดำ ถ้ามีอาการน่าสงสัยลักษณะนี้ก็ต้องรีบไปพบแพทย์ด่วน เพราะอาจเป็น ’โรคไข้เลือดออก“ ซึ่งถ้าอาการหนักมาก ตัวจะเย็น ช็อก และถึงตาย

นี่ก็เป็นตัวอย่าง ’ภัยซ้ำซ้อนจากน้ำท่วม“ ที่ไม่กลัวไม่ได้

ก็ต้องนำมาเตือนซ้ำกันอีกเพราะ ’ถึงตาย“ กันต่อเนื่อง

’ตายกันไปเยอะแล้ว“ ขออย่าให้มียอดเพิ่มอีกเลย!!!!!!!.




จาก .......................... เดลินิวส์ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


เทคนิค! ขับรถลุยน้ำ 'ไม่ให้เครื่องดับ'



อ่าน! คำแนะนำว่าต้องทำอย่างไรบ้าง..เมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วม อยู่ในขั้นวิกฤติ ตั้งแต่ขั้นตอนขณะลุยน้ำ และการดูแลรักษารถหลังผ่านน้ำท่วมไปแล้ว

ทำอย่างไรเมื่อต้องขับรถตอนน้ำท่วมอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่เรายังต้องใช้รถเดินทางไปทำงาน ไปทำกิจธุระต่างๆ ผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง มาดูคำแนะนำจากบริษัททางด่วนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) แนะนำไว้ในวารสารทางด่วนศรีรัช


ขณะลุยน้ำ

-ห้ามเปิดแอร์! นี่เป็นสาเหตุใหญ่ของรถดับ เมื่อเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน จะพัดน้ำให้กระจายไปทั่วห้องเครื่อง น้ำนี้แหละทำให้เครื่องดับได้

-ใช้เกียร์ต่ำ เกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ 1-2 ก็พอ เวลาลุยน้ำ สำหรับเกียร์ออโต้ ใช้ L แล้วขับ ช้าๆ ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าหยุด อย่าเร่งเร็ว

-ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูง เพราะทำให้ความร้อนสูง ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน ไม่ต้องห่วงว่าน้ำจะเข้าทางท่อไอเสีย ต่อให้น้ำท่วมท่อไอเสีย แล้วสตาร์ทเครื่องแบบเดินเบา แรงที่ดันออกมา ก็เพียงพอที่จะดันน้ำในท่อออกมาได้อย่างสบายๆ ต่อให้น้ำท่วมมิดท่อไอเสียแล้วสตาร์ท รถยังติดแน่นอน สำหรับเครื่องหัวฉีดทั่วไป

-ลดความเร็วลง เมื่อขับรถสวนอีกคัน ไม่งั้นจะเป็นการทำคลื่นชนคลื่น น้ำที่ประทะกันทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในได้ทั้งสองคัน หลังจากลุยน้ำมาแล้ว ควรย้ำเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ

-หลังจากลุยน้ำมาลึกๆ อาจเบรกไม่อยู่ เพราะเบรกถูกน้ำจะพองตัวขึ้น เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ควรติดเครื่องต่อสักพัก โดยสังเกตว่าไม่มีไอน้ำออกท่อไอเสียแล้ว ให้น้ำที่ค้างในหม้อพัก รถจะได้ไม่ผุต่อไป


การดูแลหลังน้ำท่วม

-ให้ล้างรถให้สะอาด ฉีดน้ำเช้าท้องรถ ล้อรถ กำจัดเศษหินดินทราย เศษหญ้า ใบไม้ อาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้

-เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ เพราะจะมีน้ำซึมเข้าไปในระบบเกียร์ ทำให้พังได้

-เช็คลูกปืนล้อ เมื่อแช่น้ำนานอาจทำให้เกิดเสียงดัง

-ตรวจสอบพื้นพรมในรถ เปิดผ้ายาง รื้อพรม ป้องกันการติดเชื้อราในพรม และการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ

-ตรวจสอบระบบต่างๆให้อยู่ในความเรียบร้อย หรือเข้าศูนย์เช็คสภาพรถ


หมายเหตุ:คำแนะนำนี้เป็นเบื้องต้น หากพบมีสิ่งผิดปกติใดๆ เช่นเสียงดัง เข้าเกียร์ไม่ได้ ฯลฯ ควรปรึกษาช่างทันที




จาก ...................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:57


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger