เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 22 เมษายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วนกับอากาศร้อน ในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 ? 27 เม.ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระในระยะต่อไป สำหรับภาคใต้จะมีฝนเพิ่มมากขึ้น


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 22 ? 26 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 22 เมษายน 2563

ในช่วงวันที่ 22- 26 เมษายน 2563 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นและอากาศร้อน ส่งผลทำให้มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะได้รับผลกระทบก่อน ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ จะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


ในช่วงวันที่ 22 เมษายน 2563

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม อุดรธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี


ในช่วงวันที่ 23-24 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


ในช่วงวันที่ 25-26 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


การสูญเสียป่านำไปสู่การแพร่กระจายโรค


Credit : Laura Bloomfield

ไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน และกลายเป็นติดจากคนสู่คนอย่างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-ไนน์ทีน (COVID-19) ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคมและสาธารณสุขในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ต้องกลับมามองพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการโต้ตอบกับสัตว์ที่ติดเชื้อเพื่อที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงการแพร่กระจายของโรค

เมื่อเร็วๆนี้ ลอร่า บลูมฟีลด์ นักศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์และกำลังทำปริญญาเอกใน The Emmett Interdisciplinary Program in Environment and Resources แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ศึกษาการสูญเสียป่าเขตร้อนในยูกันดา โดยรวบรวมข้อมูลสำรวจการใช้ที่ดินจาก เกษตรกรรายย่อยที่อาศัยอยู่ใกล้ป่า และรวมข้อมูลนี้เข้ากับภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงจากช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อจำลองรูปแบบภูมิประเทศและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเข้าด้วยกัน พบว่าคนมีโอกาสสัมผัสสัตว์ป่ามากขึ้น

นักวิจัยอธิบายว่า การที่มนุษย์มีความเสี่ยงมากขึ้นกับการแพร่กระจายของโรค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ เช่น การตัดไม้ทำลายป่าและความยากจน เมื่อมนุษย์บุกรุกและเปลี่ยนที่อยู่อาศัยของสัตว์ในธรรมชาติให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม มนุษย์ต้องแบ่งปันพื้นที่อาศัยเดียวกันและแย่งอาหารแบบเดียวกันกับสัตว์ป่าโดยเฉพาะสัตว์ในอันดับไพรเมต (primate) เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีโอกาสที่จะรับเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คนนั่นเอง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1825716

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


เชียงใหม่ลุยปลูกป่าฟื้นฟูหลังไฟเผา นักวิชาการเตือนทำผิดวิธีเสี่ยงเสียมากกว่าได้ ................... โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์

จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับกรมป่าไม้เตรียมปลูกป่าฟื้นฟู 20,700 จุด หลังวิกฤตไฟป่าครั้งรุนแรงหลายพื้นที่ของจังหวัด ในช่วงวันต้นไม้แห่งชาติ 21 พฤษภาคม ด้านนักวิชาการป่าไม้ชี้ การปลูกป่าซ่อมแซมพื้นที่ถูกไฟไหม้ ต้องทำอย่างระมัดระวังยิ่ง มิเช่นนั้นอาจส่งผลเสียต่อระบบนิเวศหนักยิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อวันที่ 20 เมษายน รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คมสัน สุวรรณอัมพา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ไฟป่ารุนแรงในพื้นที่ภาคเหนือในช่วงฤดูแล้งปีนี้ ทำให้พื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้างถูกไฟป่าเผาจนได้รับความเสียหาย ดังนั้นทางจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ร่วมกับกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการฟื้นฟูป่าโดยการปลูกป่า ในพื้นที่ทั้งหมดกว่า 20,700 จุด ใน 25 อำเภอ ทั่ว จ.เชียงใหม่ โดยมีกำหนดการในการเตรียมแปลงในช่วง วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันที่ 11 พฤษภาคม นี้ และจะเริ่มลงมือปลูกในวันวันต้นไม้แห่งชาติ 21 พฤษภาคม นี้


ไฟป่าพื้นที่ป่าไม้ที่ได้รับความเสียหายจากไฟป่า //ขอบคุณภาพจาก: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย

"สำหรับกระบวนการปลูกป่า ขอให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า ทางกรมป่าไม้ได้มีการจัดหาพันธุ์ไม้พื้นถิ่น มาใช้ในการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ถูกเผาเสียหาย นอกจากนี้ เรายังได้กล้าไม้ผลจำนวนมากจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้มาใช้ในการปลูกป่าด้วย" คมสัน กล่าว

เขาระบุว่า ในการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายจากไฟป่าครั้งนี้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องจะดึงภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแน่นอน เพื่อเป็นการปลูกฝั่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมรักษาป่า โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน

จากการสำรวจความเสียหายไฟป่าในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยกรมป่าไม้ พบว่า มีพื้นที่ป่าที่เสียหายจำนวน 55,266 ไร่ คิดเป็น 0.18% ของพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (30,148,622 ไร่) ซึ่งพื้นที่ความเสียหายส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17,771 ไร่ และในส่วนของการดำเนินคดีมีเพิ่ม 50 คดี คดีสะสมอยู่ 963 คดี (ตั้งแต่ 30 มี.ค.-17 เม.ย. 63) มีผู้ต้องหาเพิ่ม 5 ราย ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ 4 ราย สะสมรวม 38 ราย

สำหรับข้อมูลพื้นที่ได้รับผลกระทบไฟป่าในเขตป่าอนุรักษ์ โดยสำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เผยว่า จ.เชียงใหม่ มีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ถูกไฟไหม้ทั้งหมด 51,216 ระหว่างช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2562 ? 16 เมษายน พ.ศ.2563 มีการดับไฟป่าทั้งหมด 2,263 ครั้ง

อย่างไรก็ดี ผศ.ดร.สุทธาธร ไชยเรืองศรี ผู้จัดการฝ่ายการศึกษา หน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การฟื้นฟูไฟป่าโดยการปลูกป่าซ่อมแซมจำเป็นต้องมีการศึกษาพื้นที่อย่างละเอียดก่อนการดำเนินการ และการปลูกป่าจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศซ้ำเติมเข้าไปอีก

"สิ่งสำคัญที่สุดในการฟื้นฟูป่าภายหลังไฟป่า คือการสำรวจว่าพื้นที่ป่าที่ได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่ป่าแบบใด และได้รับความเสียหายในระดับใด เนื่องจากไฟป่าในปีนี้มีความรุนแรงมาก จนลามไปถึงป่าดิบเขา ที่มีระบบนิเวศแตกต่างจากป่าเบญจพรรณ ซึ่งระบบนิเวศมีความคุ้นชินกับการเกิดไฟป่ามากกว่า" ผศ.ดร.สุทธาธร กล่าว

"การสำรวจประเมินความเสียหายก่อนการดำเนินการฟื้นฟูป่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อที่จะวางแผนในการฟื้นฟูอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น หากพื้นที่ไฟไหม้เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าดิบเขา อาจจำเป็นต้องมีการปลูกป่าแซมเพื่อฟื้นฟู โดยจะต้องใช้พรรณไม้พื้นถิ่นเป็นหลัก แต่ในบางพื้นที่เช่น ป่าเบญจพรรณ ที่ไม่ถูกไฟไหม้เสียหายมาก อาจเพียงแค่ทำแนวป้องกันไม่ให้มีไฟเข้ามาอีก เพื่อให้ป่าฟื้นฟูตนเองโดยไม่ต้องปลูกป่าเพิ่ม"

เธอชี้ว่า การปลูกป่าแต่ละครั้งจำเป็นต้องใช้งบประมาณ และการดูแลอย่างมาก เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้การลงทุนปลูกป่าเกิดประโยชน์สูงสุด หามิเช่นนั้น การปลูกป่าที่ทำอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อาจนำมาซึ่งผลเสียต่อระบบนิเวศมากยิ่งขึ้น


กล้าไม้กล้าไม้ที่กรมป่าไม้เพาะพันธุ์เพื่อเตรียมการปลูกป่า //ขอบคุณภาพจาก: กรมป่าไม้

"อีกสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงเมื่อเราใช้วิธีปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ถูกไฟไหม้ป่า นั่นก็คือการดูแลหลังปลูกป่า เพราะเมื่อปลูกป่าแล้ว กล้าไม้จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าต้นไม้ทั้งหมดจะอยู่รอดเติบโต เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีเต็ม" ผศ.ดร.สุทธาธร กล่าว

"พื้นที่ป่าที่เพิ่งถูกไฟไหม้ จะเปิดช่องให้วัชพืชเติบโตอย่างรวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อกล้าไม้ ดังนั้นหากไม่มีการดูแลหลังปลูก ปลูกป่าเสร็จแล้วปล่อยปละละเลย กล้าไม้ส่วนใหญ่จะตายไปอย่างน่าเสียดาย"

เธอแนะนำว่า ภาครัฐควรทำงานร่วมกับนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าการฟื้นฟูป่าจะดำเนินการอย่างเหมาะสม


https://greennews.agency/?p=20915
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 22-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


โควิด-19 : ระดับมลพิษในอากาศเกี่ยวข้องกับอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาหรือไม่


Image copyright CLAUDIO REYES

เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกชี้ ระดับมลพิษทางอากาศสูงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการหนัก

ขณะที่งานวิจัยอีกสองชิ้นที่ทำขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็ระบุถึงความเชื่อมโยงระหว่างระดับมลพิษทางอากาศกับอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาไว้เช่นกัน

"ประเทศไหนที่มีระดับมลพิษสูง แผนรับมือกับโรคโควิด-19 ของพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วย เพราะมีความเป็นไปได้ว่ามลพิษทางอากาศจะทำให้อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้นด้วย" ดร.มาเรีย ไนรา ผู้อำนวยการหน่วยงานสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขขององค์การอนามัยโลก บอกกับบีบีซี

เธอบอกว่ากำลังวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นในภูมิภาคลาตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย และนำข้อมูลขององค์การอนามัยโลกมาจัดทำแผนที่เมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุด เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นำข้อมูลไปใช้ประกอบการทำแผนรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามแนวทางนี้


วิทยาลัยสาธารณสุข ที.แอช. ชาน ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบว่า ในที่ที่มีอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 หนาแน่น อัตราการเสียชีวิตของคนจะสูงกว่า Image copyrightEDUARDO MUNOZ ALVAREZ

บุคลากรทางการแพทย์เห็นพ้องกันว่ายังเร็วไปที่จะสรุปว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับมลพิษอากาศที่สูงกับโรคโควิด-19 แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในบางประเทศที่มีมลพิษทางอากาศสูงบอกว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่บางคนที่ป่วยด้วยโรคจากมลพิษอากาศอยู่เดิม กลายเป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก


การตายจากมลพิษทางอากาศ

องค์การอนามัยโลกประเมินว่า แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศราว 7 ล้านคน ธนาคารโลกระบุว่า หลายประเทศที่ได้รับผลกระทบอยู่ในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา ประเทศแถบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา

องค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่าประเทศลาตินอเมริกาอย่าง ชิลี เม็กซิโก และเปรู ก็มีระดับมลพิษอากาศในระดับที่อันตรายด้วย

งานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเรื่องผลกระทบในระยะยาวของมลพิษทางอากาศ ชี้ว่า การเพิ่มระดับของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในช่วงหลายปีก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 อาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของคนในพื้นที่นั้น ๆ ราว 15 เปอร์เซ็นต์

งานวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่เกือบทั้งหมดในสหรัฐฯ ใช้ข้อมูลมลพิษทางอากาศและสำมะโนประชากรทั่วประเทศ นำมาวิเคราะห์ควบคู่กับจำนวนผู้เสียชีวิตที่เก็บข้อมูลโดยมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์

วิทยาลัยสาธารณสุข ที.แอช. ชาน ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบว่า ในที่ที่มีอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 หนาแน่น อัตราการเสียชีวิตของคนจะสูงกว่า


อินเดียเป็นประเทศที่มีมลพิษทางอากาศแย่ที่สุดประเทศหนึ่ง Image copyrightHINDUSTAN TIMES

งานวิจัยดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญ แต่ ศ.แอนเน็ตต์ ปีเตอร์ส ผู้อำนวยการสถาบันระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยลุดวิก แมกซิมิเลียน ในเยอรมนี บอกกับบีบีซีว่าการวิเคราะห์นี้มีความเป็นไปได้และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับรายงานการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตของผู้ป่วยอาการปอดบวม

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเซียนาในอิตาลีและมหาวิทยาลัยออร์ฮุสในเดนมาร์ก ทำการวิจัยโดยเจาะพื้นที่ทางตอนเหนือของอิตาลีโดยเฉพาะ งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในเว็บไซต์ไซแอนส์ ไดเร็ก (Science Direct) ชี้ว่า ควรจัดให้ระดับมลพิษทางอากาศที่สูงทางตอนเหนือของอิตาลีเป็นปัจจัยหนึ่งของการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19

ตัวเลขทางการของอิตาลีชี้ว่า ถึงวันที่ 21 มี.ค. การเสียชีวิตที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 ในแคว้นลอมบาร์ดีและแคว้นเอมิเลีย-โรมานญา มีราว 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับที่อื่น ๆ ในอิตาลีที่ 4.5 เปอร์เซ็นต์


องค์การอนามัยโลกและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่าประเทศลาตินอเมริกาอย่าง ชิลี เม็กซิโก และเปรู ก็มีระดับมลพิษอากาศในระดับที่อันตราย Image copyrightMARIO TAMA


อากาศในประเทศที่กำลังพัฒนา

องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ร้อยละ 90 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในที่ที่ระดับมลพิษแย่เกินกว่าขีดจำกัดที่แนะนำไว้ และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้ก็เป็นคนในประเทศยากจน

ผู้เชี่ยวชาญทั้งในฟิลิปปินส์และอินเดียต่างก็เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่การเสียชีวิตของคนไข้โควิด-19 จะเชื่อมโยงกับระดับมลพิษทางอากาศที่ย่ำแย่

ศ.ศรีนาธ เร็ดดี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขอินเดีย มองว่า หากมลพิษทางอากาศทำลายระบบทางเดินหายใจและเยื่อปอดแล้ว ร่างกายก็จะต่อสู้กับไวรัสโคโรนาได้น้อยลง

อย่างไรก็ดี หน่วยงานสาธารณสุขอินเดียยังบอกว่ามีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะสรุปเรื่องนี้


โรคซาร์สและมลพิษทางอากาศ

เมื่อปี 2002 โรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดอยู่ตอนนี้ ได้แพร่ระบาดจนมีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน และทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเกือบ 800 คน

งานวิจัยจากปี 2003 โดยวิทยาลัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส (ยูซีแอลเอ) ของสหรัฐฯ พบว่า คนที่เป็นโรคซาร์สมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่าธรรมดา 2 เท่าหากอาศัยอยู่ในที่ที่ระดับมลพิษทางอากาศสูง

ระดับมลพิษทางอากาศลดลงในช่วงที่ประเทศต่าง ๆ มีมาตรการล็อกดาวน์ แต่ก็จะเพิ่มขึ้นอีกเมื่อคลายมาตรการต่าง ๆ ในเวลาต่อมา


https://www.bbc.com/thai/international-52358517

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:16


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger