เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 17-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาบางพื้นที่ ในตอนกลางวันมีแสงแดดจัด บริเวณพื้นราบของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่บริเวณยอดดอย ในภาคเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะนี้ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 17 - 22 ม.ค. 63 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 3-12 องศาเซลเซียส และ

ในช่วงวันที่ 20 - 22 ม.ค. 63 บริเวณภาคเหนือตอนบนจะมีจะมีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น สำหรับภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17 - 22 ม.ค. 63 ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ





__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 17-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


มหาสมุทรโลก ทุบสถิติร้อนสุด เท่าระเบิดนิวเคลียร์ 3 พันล้านลูก


เพนกวิน หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีถิ่นอาศัยในขั้วโลกเหนือ ซึ่งกำลังเผชิญวิกฤติจากสภาวะโลกร้อน (ภาพซินหัว)

ปักกิ่ง, 14 ม.ค. (ซินหัว) - บทความการศึกษาของคระนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในสถาบันต่างๆ 11 แห่งทั่วโลก จำนวน 14 คน เปิดเผยว่า "มหาสมุทร" ทั่วโลกในปี 2019 มีอุณหภูมิสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และอุณหภูมิยังคงทวีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วด้วย

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแอดวานเซส อิน แอตโมสเฟียริก ไซแอนซ์ (Advances in Atmospheric Sciences) เมื่อวันอังคาร (14 ม.ค.) ระบุว่าอุณหภูมิของมหาสมุทรทั่วโลกในปี 2019 เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยระหว่างปี 1981-2010 ประมาณ 0.075 องศาเซลเซียส

เฉิงลี่จิ้ง นักวิจัยจากสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ (IAP) แห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) และผู้เขียนนำของบทความฉบับดังกล่าว ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเพียงน้อยนิดนั้น เกิดขึ้นจากการที่มหาสมุทรทั่วโลกดูดซับความร้อนจำนวนมหาศาล เทียบเท่ากับระเบิดปรมาณูฮิโรชิมาจำนวน 3,600 ล้านลูก

"ปรากฏการณ์มหาสมุทรร้อนที่วัดเป็นตัวเลขได้นี้ คือ 'ความจริง' ที่มิอาจโต้แย้งได้ และบทพิสูจน์ 'ภาวะโลกร้อน' อีกครั้งหนึ่งด้วย" เฉิงกล่าว

ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาถูกบันทึกโดยสถาบันฯ ของจีน และองค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) โดยวิธีการใหม่ช่วยให้นักวิจัยสามารถตรวจสอบแนวโน้มการปรับเพิ่มของอุณหภูมิ ที่ย้อนหลังไปถึงทศวรรษ 1950

ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิมหาสมุทรทั่วโลกทุบสถิติใหม่เกือบทุกปี นับตั้งแต่ปี 2017 และช่วง 6 ทศวรรษที่ผ่านมา มหาสมุทรทั่วโลก มีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 450 ส่วนอุณหภูมิช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ถือว่าร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา

"หากคุณอยากทำความเข้าใจภาวะโลกร้อน คุณต้องวัดจากความร้อนของน้ำในมหาสมุทร" จอห์น อับราฮัม ผู้เขียนร่วมและศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์โทมัส ในสหรัฐฯ กล่าว พร้อมย้ำว่า การที่น้ำในมหาสมุทรร้อนขึ้น เป็นตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เนื่องจากมหาสมุทรเป็นแหล่งสะสมความร้อนส่วนใหญ่ในโลก

ผลกระทบของภาวะโลกร้อนปรากฏให้เห็นชัดเจนแล้ว และจะสำแดงออกมาอย่างต่อเนื่องในปี 2020 ด้วยรูปแบบสภาพอากาศแปรปรวนสุดขุ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการสูญเสียสัตว์ทะเลจำนวนมาก


https://mgronline.com/china/detail/9630000004971


*********************************************************************************************************************************************************


ทช.จับมือกับกลุ่มอาสาสมัครนักดำน้ำ ร่วมเก็บขยะใต้ทะเลยังพบขยะพลาสติกจำนวนมาก

"กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครนักดำน้ำ ช่วยกันเก็บขยะใต้ทะเลบริเวณหน้าหาดท้ายเหมือง จ.พังงา เพื่อช่วยลูกเต่ามะเฟืองว่ายไปติดเศษขยะ พบเป็นขยะพลาสติกและเศษอวน น้ำหนักกว่า 15 กิโลกรัม



เมื่อวันที่ 15 ม.ค. เพจ "กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง" ได้โพสต์รูปภาพสุดเศร้าใต้ท้องทะเล เมื่อรูปภาพดังกล่าวเผยให้เห็นกลุ่มอาสาสมัครนักดำน้ำ 4 คนช่วยกันเก็บขยะที่กองอยู่ใต้ท้องทะเล เพื่อเป็นการป้องกันขยะพลาสติกแก่สัตว์น้ำทั้งหลาย ทั้งนี้ทีมนักดำน้ำสามารถเก็บขยะได้มากถึง 15 กิโลกรัม โดยส่วนใหญ่พบเป็นขยะประเภทพลาสติกและเศษอวน

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวเป็นการร่วมมือกันของสำนักงาน ทช.ที่ 6 (พังงา) ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครนักดำน้ำ เพื่อเก็บขยะใต้ทะเล บริเวณหน้าหาดท้ายเหมืองใกล้กับหลุมไข่เต่ามะเฟือง เพื่อป้องกันแม่เต่าที่จะวางไข่ และป้องกันในช่วงลูกเต่ามะเฟืองที่จะฟักว่ายไปติดเศษขยะและเครื่องมือประมงใต้ทะเล

จากโพสต์ดังกล่าวได้มีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นชื่นชมเจ้าหน้าที่และกลุ่มนักดำน้ำกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากที่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลและกำจัดขยะพลาสติกที่เกิดจากฝีมือมนุษย์


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000004886


*********************************************************************************************************************************************************


เผยภาพ จนท.อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดเส้นทางรอลูกเต่ามะเฟืองชุดแรกลงทะเล

เพจ "Phuketandamannews" เผยภาพเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดทางลงสู่ทะเลของหลุมฟักไข่เต่ามะเฟืองที่ครบกำหนดจะออกจากไข่ลืมตาดูโลก คาด 17 มกราคม ได้เจอลูกเต่ามะเฟืองหลุมแรก



เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 62 แม่เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่บริเวณหลุมไข่อยู่ในเขตที่น้ำทะเลท่วมถึง ทางเจ้าหน้าที่าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงทำการย้ายไข่ไปฟักต่อบริเวณชายหาดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง

ต่อมา ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้เปิดเมื่อวันที่ (13 ม.ค.) ว่า ลูกเต่ามะเฟืองจากการวางไข่หลุมแรกใกล้จะออกมาชมโลกแล้ว หลังผ่านไปกว่า 60 วัน ซึ่งโดยปกติไข่จะฟักตัวออกมาไม่เกิน 65 วัน

ล่าสุดวันนี้ (16 ม.ค.) เพจ "Phuketandamannews" ได้ออกมาโพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพที่เผยให้เห็นเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เปิดทางลงสู่ทะเลของหลุมฟักไข่เต่ามะเฟืองที่ครบกำหนดจะออกจากไข่ลืมตาดูโลก โดยวันที่ 17 มกราคมนี้จะครบกำหนดการฟักตัว 65 วัน หากไม่มีอะไรผิดพลาดตามที่นักวิชาการได้ประมาณการเอาไว้ ลูกเต่ามะเฟืองจะออกมาจากไข่อย่างแน่นอน


https://mgronline.com/onlinesection/.../9630000004945

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 17-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


อุตุฯ โลกเผยปี 62 ร้อนสุดอันดับ 2 ของโลก

อุตุนิยมวิทยาโลกเผยปี 62 ร้อนสุดอันดับ 2 ของโลก พร้อมเตือนปี 63 อากาศจะแปรปรวนมากว่าเดิม ขณะผู้นำโลกร่วมถกวิกฤตภูมิศาสตร์การเมือง-ปัญหาโลกร้อน บนเวทีเวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม (ดับเบิลยูอีเอฟ)



องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (ดับเบิลยูเอ็มโอ) แถลงว่า ปีที่แล้วเป็นปีที่ร้อนเป็นอันดับ 2 ของโลกนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติมา และสภาพอากาศที่ร้อนจะทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนมากกว่าเดิมในปีนี้ และปีต่อๆ ไป

ดับเบิลยูเอ็มโอ ซึ่งมีฐานอยู่ในนครเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่ง รวมทั้งจากองค์การนาซา และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของอังกฤษ ซึ่งผลวิเคราะห์ เผยว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 2562 อยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส สูงกว่าระดับที่บันทึกไว้ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และกำลังขยับขึ้ยไปสู่ระดับที่ทั่วโลกตั้งเพดานไว้ ซึ่งหากสูงไปกว่านี้ คาดการณ์ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อชีวิตบนโลก

ด้านคณะนักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อสภาพอากาศสุดขั้วในปี 2562 เช่นคลื่นความร้อนในยุโรป และพายุเฮอริเคนดอร์เรียน ที่คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 50 ราย หลังพัดถล่มบาฮามาสเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว และในอนาคต โลกอาจเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะทำให้สภาพอากาศทั่วโลกร้อนขึ้นไปอีก

การเผยแพร่ข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก มีขึ้นในช่วงที่บรรดาผู้นำโลก ตัวแทนภาครัฐบาลและภาคเอกชนจาก 117 ประเทศ เตรียมเข้าร่วมการประชุมด้านเศรษฐกิจระดับโลก เวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส แห่งสวิตเซอร์แลนด์ในสัปดาห์หน้า โดยคาดกันว่า ความตึงเครียดด้านภูมิศาสตร์การเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศ จะเป็นประเด็นใหญ่ในปีนี้

นายเคลาส์ ชวอบ ผู้ก่อตั้ง เวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม กล่าวในโอกาสครบรอบ 50 ปี การก่อตั้ง เวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม ว่า ทั่วโลกไม่ได้ต้องการให้เกิดความขัดแย้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจโลกอย่างที่เป็นอยู่ รวมทั้งไม่ต้องการให้โลกไปถึงจุดที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อีกแล้ว แต่จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่นี้ บอกได้ว่าโลกกำลังเผชิญกับภาวะฉุกเฉิน และทุกฝ่ายต้องพร้อมที่จะร่วมมือแก้ไขอย่างเร่งด่วนก่อนจะสายเกินไป ซึ่งเวที เวิลด์ อีคอโนมิก ฟอรัม ก็เป็นอีกช่องทางที่ผู้นำโลกจะแสวงหาความร่วมมือจากนานาชาติเพื่อแก้ไขวิกฤตเหล่านี้ได้


https://www.bangkokbiznews.com/news/...mpaign=foreign
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 17-01-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


เขื่อนโขงทำแม่โขงแล้งวิกฤต ประมงทั้งลุ่มน้ำเสี่ยงล่มสลาย ทำลายแหล่งข้าวปลาของภูมิภาค

สถานการณ์ความแปรปรวนของแม่น้ำโขงยังคงวิกฤตต่อเนื่อง หลังระดับน้ำในแม่น้ำโขงหลายจุดลดลงจนมีระดับน้ำต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ กระทบวิถีความเป็นอยู่ของประชาชน และสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศแม่น้ำอย่างร้ายแรง ด้านนักวิชาการเผย ผลกระทบเขื่อนยิ่งซ้ำเติมปัญหาภัยแล้ง เสี่ยงทำลายความมั่นคงทางอาหารของภูมิภาคในอนาคต

เมื่อวันที่ 16 มกราคม นริศ อาจหาญ คณะกรรมการภาคประชาสังคมเครือข่ายลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน จ.บึงกาฬ เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ จ.บึงกาฬ ลดต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน และยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านเกษตรกร และชาวประโมงริมโขง จากสภาวะขาดแคลนน้ำ และความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศแม่น้ำโขง


สภาพแม่น้ำโขงที่ลดระดับจนเห็นแก่งหินใต้น้ำ ที่ ต.ริมโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย //ขอบคุณภาพจาก: Malee Wizel

"นับตั้งแต่เกิดมา ผมยังไม่เคยเห็นแม่น้ำโขงลดต่ำจนถึงขั้นนี้มาก่อน ทั้งๆที่ยังอยู่ในเดือนมกราคม ระดับน้ำลดต่ำมากจนเครื่องสูบน้ำของเกษตรกรริมโขงเกยตื้น ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นไปทำการเกษตรได้ เช่นเดียวกับแพสูบน้ำดิบจากแม่น้ำโขงเพื่อทำน้ำประปาสำหรับในพื้นที่ จ.บึงกาฬ ก็กำลังประสบปัญหาว่าระดับน้ำโขงลดต่ำจนเสี่ยงไม่สามารถสูบน้ำดิบได้ แม้กระทั่งการแข่งเรือยาวประจำปีเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ก็ต้องย้ายสถานที่ เพราะแม่น้ำโขงแห้งจนไม่อาจแข่งเรือได้" นริศ กล่าว

จากรายงานสถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขง โดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ระบุว่า จากการที่เขื่อนจิ่งหง ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลดระดับการปล่อยน้ำจากเดิมที่ 1,200 ? 1,400 ลูกบากศ์เมตร/วินาที เหลือราว 800 ? 1,000 ลูกบากศ์เมตร/วินาที เพื่อทำการทดสอบอุปกรณ์ปั่นไฟของเขื่อน ระหว่างวันที่ 1 ? 3 มกราคม ส่งผลให้นับตั้งแต่วันที่ 6 ? 20 มกราคมนี้ ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในประเทศไทย ตั้งแต่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เรื่อยไปจนถึง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีแนวโน้มลดลงราว 0.67 เมตร

จากปัจจัยดังกล่าว ประกอบกับผลกระทบภัยแล้งในภูมิภาค ทำให้ระดับน้ำหลายพื้นที่เช่น จ.หนองคาย มีระดับน้ำลดต่ำจนทำลายสถิติระดับน้ำต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม ระดับน้ำแม่น้ำโขงที่จ.หนองคาย ลดลงเหลือเพียง 0.682 เมตรเท่านั้น เมื่อเทียบกับระดับน้ำต่ำที่สุดเท่าที่เคยตรวจวัดได้ ณ ช่วงเวลาดังกล่าวที่ 1.35 เมตร ข้อมูลระดับน้ำของ MRC ยังเผยว่าระดับน้ำโขงที่กรุงพนมเปญ และโตนเลสาป ในประเทศกัมพูชา ก็มีระดับลดต่ำจนเป็นประวัติการณ์เช่นกัน


กราฟแสดงระดับน้ำแม่น้ำโขงช่วงฤดูแล้งที่ จ.หนองคาย เทียบรายปี ชี้ให้เห็นว่าระดับน้ำแม่น้ำโขงในขณะนี้เหลือเพียง 0.682 เมตร ลดต่ำลงกว่าระดับน้ำต่ำสุดที่เคยวัดได้ //ขอบคุณข้อมูลจาก: MRC

นอกจากระดับน้ำแม่น้ำโขงที่ลดระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นริศ ยังสังเกตว่า ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงยังแปรปรวนผิดธรรมชาติ จากการที่น้ำในแม่น้ำโขงใสผิดปกติ จนแม่น้ำกลายเป็นสีฟ้าคราม สร้างความกังวลให้กับชาวประมงตลอดฝั่งแม่น้ำโขงว่า วิกฤตการณ์ในแม่น้ำโขงครั้งนี้จะนำไปสู่ความล่มสลายของระบบนิเวศแม่น้ำและทรัพยากรประมงในที่สุด

"ภูมิภาคแม่น้ำโขงประสบกับสภาวะฝนแล้งมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2562 แล้ว สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้แม่น้ำโขงก็มีสภาพแห้งขอดผิดปกติ แม้ในช่วงฤดูน้ำหลาก ส่งผลให้น้ำจากแม่น้ำโขงไม่เอ่อท้นเข้าไปยังลำน้ำสาขาดังเช่นทุกปี ทำให้ปลาแม่น้ำโขงไม่สามารถว่ายน้ำเข้าไปวางไข่ ขยายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำตามลำน้ำสาขาได้" เขากล่าว

"นอกจากนี้ สภาวะความผันผวนของระดับน้ำที่ขึ้นลงอย่างฉับพลัน อันเป็นผลมาจากเขื่อน ยังทำให้ระบบนิเวศในแม่น้ำโขงอันเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำถูกทำลาย จนในที่สุดชาวประมงสองฝั่งโขงจะไม่มีปลาแม่น้ำโขงให้จับอีกต่อไป"

เขาเน้นย้ำว่า แม้ว่าตอนนี้กรมประมงได้เข้ามาบรรเทาผลกระทบจากความเสียหายของทรัพยากรประมงในแม่น้ำโขง โดยการนำพันธุ์ปลามาปล่อยทดแทนลงในแม่น้ำโขงแล้วก็ตาม แต่นั่นยังเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงให้ ยกเลิกแผนการสร้างเขื่อนใหม่บนแม่น้ำโขงทั้งหมด และร่วมกันฟื้นฟูระบบนิเวศของแม่น้ำ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรประมงในแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน

อนึ่ง ประมุข ฤาแก้วมา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดขอนแก่น ให้ข้อมูลว่า สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ กรมประมงมีความกังวลผลกระทบต่อการประมงน้ำจืดในแม่น้ำโขงอย่างยิ่ง เพราะสถานการณ์ภัยแล้งเกิดขึ้นไวและรุนแรงกว่าทุกปี จนทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดจำนวนลง และส่งผลให้ปลากระชังในแม่น้ำตายเป็นจำนวนมาก สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวประมงท้องถิ่นอย่างมาก

"ด้วยเหตุนื้ กรมประมงจึงออกมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงในแม่น้ำโขง โดยการส่งเสริมชุมชนริมแม่น้ำโขงให้รวมตัวกันเป็นเครือข่าย ในการจัดตั้งและดูแลเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ของตน เพื่อเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำ นอกจากนี้กรมประมงยังส่งเสริมให้ชุมชนอนุรักษ์ป่าบุ่งป่าทาม ซึ่งเป็นป่าน้ำท่วมตามลำน้ำสาขา ให้ยังคงสภาพเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นแหล่งวางไข่และอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน" ประมุข กล่าว


สถานการณ์การก่อสร้างเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าในลุ่มแม่น้ำโขง ณ เดือนมกราคม พ.ศ.2563 //ขอบคุณภาพจาก: Pai Deetes

เช่นเดียวกับรายงาน MRC และข้อสังเกตของ นริศ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำ Stimson Center Brian Eyler วิเคราะห์ถึงสาเหตุของวิกฤตแล้งในแม่น้ำโขงครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจากสภาวะฝนแล้งอย่างหนักในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับผลกระทบจากโครงการเขื่อนในแม่น้ำโขง

อย่างไรก็ดี Brian เตือนว่า วิกฤตน้ำโขงแห้ง และการที่น้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนเป็นสีคราม อาจส่งผลกระทบรุนแรงกว่าที่คิด ถึงขั้นทำลายอู่ข้าวอู่น้ำ และความมั่นคงอาหารของภูมิภาค

เขากล่าวว่า ในสภาวะปกติ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงจะมีฝนตกชุกในช่วงฤดูมรสุม ซึ่งนอกจากจะช่วยเติมน้ำให้กับแม่น้ำ น้ำฝนยังชะล้างตะกอนจากผืนดินลงสู่แม่น้ำ และนำตะกอนที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารเหล่านี้ไปเติมความสมบูรณ์ให้กับพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในเขตประเทศเวียดนาม อันเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค

น้ำโขงปริมาณมหาศาลช่วงฤดูมรสุมยังเอ่อท้นเข้าไปยังทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชาทุกๆปี นำพาธาตุอาหาร และปลาจำนวนมาก เข้าไปเติบโตและขยายพันธุ์ จนทำให้ทะเลสาบเขมรเป็นพื้นที่ประมงน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในโลก สามารถจับปลาได้ถึง 500,000 ตัน/ปี เป็นแหล่งผลิตโปรตีนราคาถูกสำหรับชาวกัมพูชาเกือบทั้งประเทศ

อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง และผลกระทบจากการลดการปล่อยน้ำของเขื่อนในจีน ส่งผลให้ในปีนี้ทะเลสาบเขมรแทบไม่มีน้ำจากแม่น้ำโขงไหลพาตะกอนธาตุอาหาร และพันธุ์ปลาเข้าไปเติมในทะเลสาบเลย โดยจากการสังเกตการณ์พบว่า ในปีที่ผ่านมาช่วงระยะเวลาที่น้ำจากแม่น้ำโขงจะไหลเข้าสู่ทะเลสาบสงขลาหดลงอย่างมากจาก 5 เดือน เหลือเพียง 5 สัปดาห์


ชาวประมงกำลังจับปลาในทะเลสาบเขมร

นอกจากนี้ ภาวะฝนแล้ง และการขัดขวางการไหลของตะกอนจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ ยังทำให้แม่น้ำโขงในปีนี้เกิดสภาวะขาดแคลนตะกอนอย่างรุนแรง จนแม่น้ำเปลี่ยนสีจากสีปูนหม่นกลายเป็นสีคราม ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความเสี่ยงตลิ่งพังตลอดลำน้ำแล้ว ภาวะขาดแคลนตะกอนยังอาจส่งผลให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงขาดปุ๋ยธรรมชาติมาเติมความอุดมสมบูรณ์ และถูกคลื่นทะเลกัดเซาะมากขึ้น

เขาเสนอว่า สนธิสัญญาแบ่งปันน้ำในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่าง 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ จีน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม สามารถเป็นวิธีแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงเช่นที่เกิดในขณะนี้ โดยจะต้องมีการกำหนดมาตรการให้เขื่อนในแต่ละประเทศต้องปล่อยน้ำออกมาบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง หากสถานการณ์การขาดแคลนน้ำทวีความรุนแรงถึงขั้นที่กำหนดไว้

"จีนมีเขื่อนที่ดำเนินกิจการแล้ว 11 เขื่อน กั้นแม่น้ำโขงตอนบน กักเก็บน้ำไว้รวมกว่า 47,000 ล้านลูกบากศ์เมตร น้ำเพียงจำนวนหนึ่งจากเขื่อนเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้งในแม่น้ำโขงได้ทันที เช่นเดียวกับลาวที่มีแผนสร้างเขื่อนกว่า 100 แห่ง กระจายในแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาในเขตประเทศลาว เช่นเดียวกับ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซี่งต่างก็มีเขื่อนในเขตลุ่มแม่น้ำโขงเช่นกัน" เขากล่าว

"สัญญาการปั่นไฟขายไฟฟ้าของแต่ละเขื่อนควรที่จะระงับไว้ก่อนชั่วคราว เพื่อแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งเร่งด่วนเฉพาะหน้า เช่นเดียวกัน แม้ว่าสนธิสัญญาเช่นนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนก็จริง หากแต่การปกป้องระบบนิเวศแม่น้ำให้มีความสมบูรณ์ เพื่อที่จะธำรงไว้ซึ่งความยั่งยืนของทรัพยากร และความมั่นคงของนับหมื่นชุมชนตลอดสองฝั่งโขง ก็มีความจำเป็นอย่างมาก"


https://greennews.agency/?p=20087

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:42


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger