เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-07-2013
jub_jang jub_jang is offline
Junior Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2013
ข้อความ: 1
Smile แนวทางช่วยเหลือแนวชายหาดระยองค่ะ

เห็นว่า ถ้าเรารวบรวมเส้นผมและขนสัตว์เอามาทำเป็นไส้กรอกผม ไปวางตามแนวชายหาดมันจะช่วยดูดซับน้ำมันดิบได้ แนวทางนี้ได้ทำมาใช้กับต่างประเทศด้วย

ที่มา: http://www.dek-d.com/content/all/20623/

เลยอยากทราบว่าทางชมรมนี้ อยากร่วมด้วยช่วยกันไหมคะ

1. รวบรวมเส้นผม แล้วส่งไปรษณีย์ไปที่

ที่อยู่ส่งถุงเส้นผมดูดน้ำมันดิบเพื่อให้ทีมอาสาระยอง ช่วยฟื้นหาดระยองกลับคืนมา
บริษัทแอซซ่าเอ็นจิเนียริ่งแอนด์เซอร์วิสจำกัด. 104/6 ม.7 ต.ทับมา อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 21000

2. รวบรวมคนแล้วจัดการเองไปเลย ยินดีเป็นหนึ่งในทีมค่ะ

คือเห็นคนเอาแต่ด่าๆๆๆ แต่ไม่ทำอะไร แล้วก็เห็นทหารมาช่วยแล้ว เราภาคประชาชนเลยอยากช่วยบ้าง แต่เริ่มจากตัวเองคนเดียวก่อน แล้วก็มาชวนทางชมรมนี้

คิดว่ายังไงคะ

ติดต่อได้ที่ jub_jang@hotmail.com นะคะ
fb:https://www.facebook.com/JubjangNT
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-07-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default



สองสายไปออกทะเลที่พัทยามาสามวัน ได้ข่าวคร่าวๆเรื่องน้ำมันดิบรั่วที่ระยอง แต่ไม่มีเวลาได้ศึกษาอย่างจริงๆจังๆ แต่ใจนั้นอดนึกห่วงไม่ได้ ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทะเลไทยของเรา

ดูเหมือนจะเป็นอย่างที่คุณ jub_jang ว่ามา คือทั้งข่าวทีวี และทั้งในเวปไซท์ต่างๆ มีแต่คนกร่นด่าเจ้าของน้ำมันที่ทำสกปรกเลอะเทอะ แต่ยังไม่เห็นการดำเนินการที่จะช่วยทะเลกันอย่างจริงๆจังๆจากผู้รับผิดชอบและภาครัฐ นอกจากฝ่ายทหารที่เริ่มลงมือ และนักวิชาการที่เริ่มประชุมปรึกษาหารือกันว่าจะช่วยกันแก้ไขกันอย่างไร กับเรื่องการเสนอแนะให้ใช้ผมมาทำทุ่นดูดซับน้ำมันดิบจากภาคเอกชน ดังที่คุณ jub_jang ได้มานำเสนอมาข้างต้นนี้


สองสายขอขอบคุณในน้ำใจของคุณ jub_jang ที่ให้กับทะเลมากค่ะ...อย่างไรก็ตาม เราขอศึกษาเรื่องการใช้ผมมาใช้ทำทุ่นดูดซับน้ำมัน ที่คุณได้เสนอมาสักนิดนะคะ เพราะดูเหมือนจะมีข้อขัดแย้งกันในเรื่องนี้ ว่าจะใช้ผมของมนุษย์มาขจัดคราบน้ำมันดิบ ที่กำลังเกิดขึ้นที่ทะเลแถวระยองในขณะนี้ว่า จะได้ผลดีหรือไม่อย่างไร ผลจะออกมาเป็นประการใด เราจะแจ้งให้คุณ jub_jang ทราบต่อไปค่ะ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 30-07-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

วันนี้....อาจารย์ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องการนำเส้นผมมาใช้ในการกำจัดคราบน้ำมันดิบ ไว้ใน Facebook... https://www.facebook.com/thon.thamro...้ค่ะ...

คำถามเรื่องเส้นผมช่วยชาติ เป็นคำถามที่ทุกคนสงสัยและพยายามสอบถามผม ผมจึงลองปริกษากับพี่ ๆ ในห้องประชุมที่มีผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน ได้คำตอบดังนี้ครับ


1. เส้นผมใส่ถุงแล้วนำไปซับคราบน้ำมันได้ไหม ? คำตอบคือได้ครับ ได้เช่นเดียวกับกระดาษซับน้ำมัน ฟองน้ำ หรือแม้กระทั่งกากมะพร้าว


2. เส้นผมมีผลกระทบหรือเปล่า ? หากนำใส่ถุง นำไปซับน้ำมัน นำไปกำจัดอย่างเหมาะสม ไม่ใช่ปล่อยให้ลอยเท้งเต้งเป็นขยะ ถุงเส้นผมก็เหมือนกับกระดาษซับน้ำมันที่ถูกนำไปทิ้งอย่างเหมาะสม เหมือนกับวัสดุอีกนานาชนิดที่นำไปใช้ในการซับน้ำมันได้ แต่ถ้าไม่ทิ้ง ก็กลายเป็นขยะในทะเลแน่นอน เช่นเดียวกับวัสดุอื่น ๆ ถ้าไม่ทิ้งก็เป็นขยะเช่นกัน


3. ที่น่าถามคือเราจะนำเส้นผมดังกล่าวไปใช้ที่ไหน ? หากอยากไปใช้ที่อ่าวพร้าว ก็คงต้องติดต่อกับหน่วยงานในพื้นที่ ว่าจะเป็นอย่างไร ผมตอบไม่ได้ในเรื่องนี้ แต่ตอบได้ว่าก็เหมือนถามเขาว่า จะส่งฟองน้ำไปซับน้ำมันได้ไหม


4. สำหรับการใช้ในบริเวณอื่น คงต้องยอมรับว่าคราบน้ำมันส่วนหนึ่งรวมกันอยู่ที่อ่าวพร้าว อีกส่วนกระจายเป็นฟิลม์บาง ๆ ลอยเลยเกาะเสม็ดไปแล้ว เข้าสู่อ่าวบ้านเพ ไล่ไปตามชายหาดสู่แหลมแม่พิมพ์ การป้องกันฟิล์มน้ำมันเหล่านั้นคงทำยาก เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ น้ำมันกระจายออกเป็นฟิล์ม เราจะไปกั้นที่ไหน ในเมื่อน้ำมันกระจายออกจากช่องเสม็ดไปแล้ว สำหรับอ่าวพร้าว ก็คงต้องพูดคุยกับคนที่นั่นว่าจะช่วยได้ไหม


5. สำหรับอาสาสมัครที่อยากช่วยทะเล ช่วยคนระยอง นักวิทยาศาสตร์ประชุมกันแล้ว สิ่งที่ทุกคนช่วยได้ คือการติดตามก้อนน้ำมันดินที่อาจแพร่กระจายอยู่ตามชายหาดยาวเหยียดจากบ้านเพไปถึงแกลง ชายหาดยาว 20-30 กิโลเมตร ฟิล์มน้ำมันเหล่านั้น จะผสมกับทราย อาจเกิดเป็นก้อนน้ำมันดินเหล่านั้นออกจากหาด


ก้อนน้ำมันดิบมีน้ำมันเหลวดำอยู่ด้านใน กลิ่นอี๋แหยะ เหยียบแล้วเละติดเท้าเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น การไปช่วยกันเก็บ ย่อมเป็นการช่วยโดยตรง [B][I]ถ่ายภาพไว้ ตรวจสอบจุดให้ชัดเจน เก็บไว้เป็นหลักฐาน หากมีเยอะก็ถ่ายภาพโดยรวมไว้ บันทึกวันที่ให้ชัดเจน ส่งหลักฐานไปที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เดี๋ยวคงมีข้อมูลชัดเจนตรงส่วนนี้ แต่อย่าไปจับนะครับ ใช้ไม้จิ้มหรือใช้ถุงมือจับครับ


นั่นคือบางส่วนที่พอบอกได้ตอนนี้ แต่ถ้าอยากบริจาค คนมีใจอยากช่วยทะเล อยากช่วยคนอื่น เป็นเรื่องดีที่ไม่อาจห้ามครับ

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 30-07-2013 เมื่อ 21:07
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 31-07-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default



อ่านข่าวในห้องทะเลและสิ่งแวดล้อมในวันนี้แล้ว (http://www.saveoursea.net/forums/showthread.php?p=37620) และดูข่าวทีวีในเช้าวันนี้ พอจะทำให้รู้ที่ไปที่มาของการรั่วไหลของน้ำมันดิบ และวิธีการแก้ไขของหลายๆฝ่ายได้แจ่มชัดขึ้นค่ะ...


มีรายงานว่ามีอาสาสมัครได้ไปร่วมมือกัน กำจัดคราบน้ำมันที่เกาะเสม็ดอยู่ราว 600 กว่าคนแล้วค่ะ ส่วนจะมีการใช้ผมของมนุษย์ไปช่วยในการกำจัดคราบน้ำมันหรือไม่อย่างไร ยังไม่มีข่าวให้เห็นค่ะ...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 31-07-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

น้องโรจน์...ไพโรจน์ หวังฐาปนียกุล ตากล้องทีวี ช่อง 9 อสมท. แจ้งข่าวมาให้ผู้หวังจะไปช่วยงานกู้ทะเลและชายหาดจากน้ำมันดิบรั่วไหลที่ระยอง ไว้น่าสนใจมากค่ะ...

ใครที่คิดจะไปช่วย ลองพิจารณาอีกครั้งนะคะ...


"การมาเป็นจิตอาสาเพื่อสร้างภาพอัฟเฟส หรือต้องการ chr ภาพลักษณ์กลุ่มหรือองค์กร ที่อ่าวพร้าว เกาะเสม็ดตอนนี้คนเยอะมาก ควบคุมไม่อยู่ อีกทั้งมาสมทบที่เพอีกมากมาย เข้าใจในความหวังดีที่มีจิตใจอาสา แต่การมามากๆแบบนี้ แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบมันทำงานไม่ได้นะคับ แถมการมาตักทรายใส่ถุงไปทิ้งในตอนนี้ คิดว่าไม่เกิดประโยชน์นะครับ เป็นการทำลายมากกว่า"
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 31-07-2013
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,158
Default

บทความจาก "สุขภาพการดำน้ำ โดยหมอเอ๋ เรื่อง " การดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน" (diving in contaminate water)" น่าจะเป็นประโยชน์ทั้งในกรณีการดำน้ำทั่วไป และการไปดำน้ำในบริเวณน้ำท่วม หรือ บริเวณที่มีการรั่วไหลของน้ำมันดิบ ในขณะนี้ค่ะ..

https://www.facebook.com/permalink.p...00002656421065



"การดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน" (diving in contaminate water). ขอ Recycle บทความนี้อีกครั้ง ให้เข้ากับสถานการณ์น้ำมันที่เสม็ด เผื่อนักดำน้ำท่านใด จะไปจิตอาสาดำน้ำสำรวจความเสียหาย. ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งครับ. ของเก่าผมเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อครั้นน้ำท่วมปี 54 ครับ เนื้อความมีดังนี้ครับ


จากเหตุการณ์ น้ำท่วมครั้งใหญ่ในครั้งนี้ มีนิคมอุสาหกรรม หลายแห่งที่ถูกน้ำท่วม อุปกรณ์เครื่องจักรมากมายต้องจมอยู่ใต้น้ำ ผมเองได้รับการสอบถามมาสองสามครั้งเกี่ยวกับการจะให้ช่วยจัดหา นักดำน้ำหรืิอหน่วยงานที่มีความสามรถ ในการ ดำน้ำลงไปกู้เอาอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่สำคัญนั้นขึ้นมา ....... สิ่งหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปก็คือ การดำน้ำในกรณีดังกล่าวนั้น สิ่งที่ต้องระวังและนึกถึงคือ มันเป็นการดำน้ำ ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน ... ปนเปื้อนอะไรบ้างและมีผลอย่างไรบ้าง จะกล่าวแบบสั้นๆ สรุปๆ นะครับ


ในแหล่งน้ำที่มีการท่วมขังนานๆ เช่นในนิคมอุตสาหกรรม สิ่งที่จะปนเปื้อนลงสู่ในน้ำนั้นมีมากมายครับ ... ตั้งแต่ สารเคมีต่างๆ ,โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท ฯ , สารกัดกร่อน ทั้งกรดเข้มข้น เบสเข้มข้น , สารก่อมะเร็งนาๆชนิด และหากมีการเน่าเสียของน้ำ หรือมีการปนเปื้อนน้ำจากบ่อบำบัำดน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล ก็จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อก่อโรคต่างๆอีกมากมายครับ


สิ่งที่ต้องระวังคือ การสัมผัสหรือ รับเอาสิ่งปนเปื้อนเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสผ่านผิวหนัง ดวงตา การสำลักหรือสูดดมผ่านทางปากหรือจมูกลงไปสู่ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การไหลของน้ำเข้าสู่หูชั้นนอก เป็นต้น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นมีทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในระยะสั้นเช่น การระคายเคืองผิวหนัง ดวงตา ทางเดินหายใจ ... อาจมีอาการแพ้ อักเสบ อาการผุพองผิวหนังลอกหรือไหม้ ( ถ้าเป็นสารกัดกร่อน ) หรือ อาจมีการติดเชื้ออวัยวะนั้นๆได้ หากมีการสำลัก ก็อาจมีการติดเชื้อทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจ ... หรือ ระบบประสาท ( เช่นเกิดการติเชื้อ เป็นฝีในสมองอย่างเช่นกรณีคุณ บิ๊ก ดีทูบี ) เป็นต้น ส่วนผลระยะยาวเช่น หากรับสารเคมี หรือโลหะหนักอาจมีอาการเจ็บป่วยจากการสะสมของพิษโลหะหนักหรือสารเคมีตามมา และ อาจเกิดมะเร็งได้หากสารนั้นอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งด้วย


การป้องกัน อาจจะต้องเริ่มจากคำถามที่ว่า ... มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ที่จะทำการดำน้ำในแหล่งน้ำนั้น ในสถานการณ์นั้น ... หากรอได้หรือหลีกเลี่ยงได้ น่าจะเป็นการดีที่สุด .... แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ อุปกรณ์ที่จะลดการสัมผัสกันน้ำที่ปนเปื้อน น่าจะต้องถูกพิจรณษาเป็นอันดับแรก เช่น Dry suit , diving helmet เป็นต้น และจะต้องมีการเตรียมการ บริหารจัดการเป็นอย่างดี, การคำนึงถึงอุปกรณ์จ่ายอากาศสำรอง, การตรวจเช็คอุปกรณ์ ว่ามีรอยรั่วซึมใดๆ ของอุปกรณ์ป้องกัน อุปกรณ์การหายใจบ้างหรือไม่ทั้งก่อนและหลังการดำน้ำ , การวางแผนล้างกำจัดสิ่งปนเปื้อนหลังทำการดำน้ำ เป็นต้น


จะเห็นได้ว่า การดำน้ำในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนนั้น มีอันตรายแอบแฝงอยู่มากมาย จากตัวคุณภาพของน้ำเอง ยังไม่รวมไปถึง การมองเห็น หรือ สิ่งกีดขวางใต้น้ำ ที่ต้องถูกนำมาพิจรณษด้วยเช่นกัน .... ดังนั้น ก่อนจะตัดสินในลงดำน้ำ คงต้องถามตัวเองถึงความพร้อมและความจำเป็น ในการดำ หากประสบการณ์น้อย อุปกรณ์ไม่เหมาะสม และมีสิ่งปนเปื้อนมากๆ ... การติดต่อหน่วยงานที่มีความรู้ ความชำนาญและมีอุปกรณ์ครบครัน น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:48


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger