เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 22-07-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 22 กรกฏาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 22 ? 23 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่กับมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลางโดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 24 ? 27 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 22 ? 24 ก.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย



******************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 22-24 กรกฎาคม 2565)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2565

ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 22 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย รพิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง


วันที่ 23 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัด ระนอง พังงา และภูเก็ต


วันที่ 24 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก และกำแพงเพชร

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง และพังงา


สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ทะเลอันดามันตอนล่าง 1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 22-07-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


อิสราเอลเจอฝูงแมงกะพรุนบุก ลอยยุบยับเต็มชายฝั่ง



พบฝูงแมงกะพรุนจำนวนมากลอยอยู่ในน้ำทะเล บริเวณนอกชายฝั่งของเมืองไฮฟา ของประเทศอิสราเอล สาเหตุจากภาวะโลกร้อน และมลพิษจากฝีมือมนุษย์

สำนักงานอุทยานสัตว์ป่าและธรรมชาติของอิสราเอลนำคลิปวิดีโอ ที่บันทึกภาพทะเลบริเวณนอกชายฝั่งของเมืองไฮฟาทางตอนเหนือของอิสราเอลมาเผยแพร่ โดยจะเห็นฝูงแมงกะพรุนนับพันๆ ตัวลอยอยู่เต็มทะเล ซึ่งถ้ามองจากมุมสูงจะเห็นเป็นจุดขาวๆลอยเต็มไปหมด ซึ่งแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติที่ช่วงเดือนกรกฎาคม อิสราเอลจะเจอกับฝูงแมงกะพรุนอพยพหนีกระแสน้ำอุ่นมาบริเวณนี้เป็นประจำทุกปี แต่ปีนี้พบว่าแมงกะพรุนมีจำนวนมากผิดปกติ

หัวหน้าสำนักงานอุทยานสัตว์ป่าและธรรมชาติ กล่าวว่า สัปดาห์นี้ฝูงแมงกะพรุนอพยพเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจ หลังจากที่ในช่วงหน้าร้อนมีแมงกะพรุนจำนวนมากลอยมาเกยชายฝั่งอิสราเอลไปแล้ว โดยสาเหตุหนึ่งมาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้ระบบนิเวศในทะเลเปลี่ยนแปลง รวมทั้งพฤติกรรมมนุษย์ที่ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีรายงานข่าวในหลายประเทศอย่างที่กรุงเบรุสของเลบานอน ที่พบแมงกะพรุนจำนวนมากบุกชายฝั่งเมื่อสัปดาห์ก่อนเช่นเดียวกัน

คาดว่า แมงกะพรุนเหล่านี้จะมาจากมหาสมุทรอินเดีย และอพยพมายังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านทางคลองสุเอซ ซึ่งหากแมงกะพรุนมีจำนวนมาก อาจจะส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าของอิสราเอล เพราะโรงไฟฟ้าจะมีการดูดน้ำทะเลเข้าไปในกระบวนการหล่อเย็น ทำให้แมงกะพรุนเหล่านี้เข้าไปขวาง หรือติดอยู่ในเครื่องจักรจนได้รับความเสียหายได้.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2450686

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 22-07-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


จากอ่าวไทยถึงรัฐสภา : บันทึกเดินเรือทวงคืนน้ำพริกปลาทู .............. โดย Songwut Jullanan



ปลาทูเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน เพราะราคาถูก รสชาติอร่อย และเต็มไปด้วยสารอาหาร มันจึงช่วยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมานานหลายชั่วอายุคน

แต่ปลาทูไทยวันนี้ไม่ได้มีราคาถูกและหาง่ายเหมือนดังแต่ก่อน ที่วางขายในตลาดหรือห้างร้านนับวันยิ่งตัวเล็กลง และส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ

เมื่อเทียบปี 2557 และ 2562 ผลผลิตปลาทูไทยลดลงเกือบ 6 เท่า[1] และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราปล่อยให้มีการทำประมงเกินขนาดและจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยไร้การควบคุม

หลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านจึงรวมตัวกันรณรงค์ให้หยุดซื้อ-จับ-ขาย สัตว์น้ำวัยอ่อน พวกเขาร่วมกันทำบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สร้างข้อตกลงในชุมชนไม่จับสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สื่อสารวิกฤตครั้งนี้กับสังคม หรือแม้กระทั่งเดินทางมายื่นหนังสือต่อห้างร้านในกรุงเทพฯ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน

"ปัจจุบันมีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ทำให้ประมงพื้นบ้านที่เป็นประมงขนาดเล็ก ที่จับปลาตัวใหญ่ได้ผลกระทบโดยตรง รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องซื้ออาหารทะเลในราคาที่แพงขึ้น การรณรงค์ในเรื่องของการห้ามซื้อห้ามขายสัตว์น้ำวัยอ่อนทั่วกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต" ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้เราฟังขณะรอยื่นหนังสือต่อห้างสรรพสินค้าให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน

ความพยายามเหล่านี้ช่วยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคและชาวประมงในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ปิยะมองว่า มาตรการควบคุมจากภาครัฐเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

แต่ตลอดเวลาที่ชาวประมงร่วมกันรณรงค์ ภาครัฐกลับไม่มีส่วนร่วมในการผลักดันและควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แม้จะมี "กุญแจ" สำคัญอยู่ในมือ

กุญแจสำคัญที่ว่า คือพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตราที่ 57 ซึ่งระบุว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ําหรือนําสัตว์น้ําที่มีขนาดเล็กกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดขึ้นเรือประมง" แต่มันกลับไม่เคยถูกนำมาใช้เปิดทางออกจากวิกฤต กฎหมายข้างต้นไม่เคยถูกนำมาบังคับใช้

ชาวประมงพื้นบ้านจาก 23 จังหวัดจึงรวมตัวกันจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ "ทวงคืนน้ำพริกปลาทู"

ซึ่งแสดงถึงความพยายามปกป้อง "ปลาทู" ตัวแทนความมั่นคงทางอาหาร วัฒนธรรม และทรัพยากรทางธรรมชาติที่กำลังจะสูญหายไป

พวกเขาออกเดินทางจากหาดปัตตานีวันที่ 27 พฤษภาคม มุ่งหน้าสู่สัปปายะสถานรัฐสภา กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องรัฐบาลให้เริ่มบังคับใช้กฎหมายควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และประกาศมาตรการเพื่อแก้ไขวิกฤต โดยระหว่างทางนักกิจกรรมได้หยุดตามชุมชนชายฝั่ง เพื่อพูดคุยถึงปัญหาสัตว์น้ำวัยอ่อน และทำกิจกรรมกับท้องถิ่นเพื่อสื่อสารปัญหาออกสู่สาธารณะ

ระยะทางกว่าพันกิโลเมตรที่นักกิจกรรมขึ้นรถลงเรือ ผ่านแดดฝ่าฝน กระทั่งในวันที่ 8 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันมหาสมุทรโลก ขบวน "ทวงคืนน้ำพริกปลาทู" ได้ล่องมาถึงท่าเรือหลังรัฐสภา และเดินเท้าต่อเพื่อเข้ายื่นหนังสือภายในรัฐสภา

วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย และเป็นหนึ่งในแกนนำกิจกรรมครั้งนี้ อธิบายว่า จัดกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาทูกลายเป็นอาหาร "หรู" ที่คนบางกลุ่มเท่านั้นมีโอกาสได้ทาน

"อาหารทะเลซึ่งควรเป็นอาหารที่คนไทยทุกคนควรเข้าถึงได้ง่าย แต่กลับแพงขึ้น เข้าถึงได้ยากขึ้น กลุ่มคนที่ถึงอาหารทะเลคุณภาพดีมีน้อยลง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ทะเลไทยเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมาเป็นเวลานาน เราตั้งใจเดินทางมาครั้งนี้ ระยะทางกว่าพันกิโลเมตร กินเวลาเป็นสิบ ๆ วัน เพื่อให้สังคมเข้าใจว่าวิกฤตครั้งนี้ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเฉพาะจากภาครัฐซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการออกมาตรการและบังคับใช้กฎหมาย"

ภาพของเรือประมงลำเล็กที่ล่องอยู่บนแม่น้ำเจ้าพระยา โดยมีฉากหลังเป็นรัฐสภา แสดงถึงความกล้าหาญของชาวประมงซึ่งลุกขึ้นพูดความจริงต่ออำนาจเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และบ้านเกิดของตน

แม้กิจกรรมจะสิ้นสุดลง แต่การเดินทางครั้งนี้ได้ช่วยยกระดับความเข้าใจต่อวิกฤตอาหารทะเลไทยในปัจจุบัน และสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมประมงทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งเดือนแล้วหลังจากรัฐบาลรับหนังสือเรียกร้องและตกปากรับคำว่าจะมีมาตรการในการปกป้องสัตว์น้ำวัยอ่อน แต่จวบจนวันนี้ (22 กรกฎาคม 2565) ยังไม่มีมาตรการใดๆออกมา ขณะที่ชาวประมงขีดเส้นตาย 60 วัน ก่อนจะมีการเคลื่อนไหวอีกครั้ง


https://www.greenpeace.org/thailand/...hai-mackerels/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:28


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger