เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

 
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
Prev คำตอบที่แล้วมา   คำตอบถัดไป Next
  #1  
เก่า 16-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default หอยหลอด


หอยหลอด


หอยหลอดเป็นสัตว์น้ำทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Rozor clam และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Solen Strictus Gould 1861

เป็นหอยสองฝาที่มีตัวอาศัยอยู่ในฝาที่ประกบทั้งสองข้าง หรือหอยทะเลกาบคู่

รูปร่างคล้ายหลอดกาแฟ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาวขุ่น ส่วนหัวนิ่ม ส่วนปลายเหนียว หอยที่โตเต็มที่จะกลมยาว 7-8 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.

ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำ

ช่วงน้ำแห้งจะเป็นโอกาสที่ชาวประมงจับหอยหลอดได้ โดยหอยจะเปิดฝาอยู่เรี่ยพื้น และยึดตัวยื่นออกมาจับแพลงตอนเป็นอาหาร หรือเคลื่อนตัวออกไปหาพื้นที่อยู่ใหม่

การจับหอยหลอดต้องใช้มือกดลงบนพื้นทราย เมื่อปรากฏฟองอากาศและเห็นรู จะใช้ไม้จิ้มปูนขาวแหย่ลงไปในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับ

แล้วต้องรีบเก็บใส่ภาชนะไว้ มิฉะนั้นหอยจะมุดดินหนีลึกลงไปกว่าเดิม

ช่วงที่เหมาะสำหรับการจับมากที่สุด คือเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพราะตอนกลางวันน้ำจะลดลงมาก ทำให้สันดอนโผล่พ้นน้ำ

เนื้อหอยหลอดนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท แต่ที่นิยมคือทอดกรอบ ต้มยำ และผัดฉ่า

พบมากในเขตพื้นที่ทะเลโคลนก้นอ่าวไทย ไล่ตั้งแต่สมุทรปราการไปถึงเพชรบุรี

แต่พบมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเฉพาะที่ดอนหอยหลอด

ดอนหอยหลอดเป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ในตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

เกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ เป็นสันดอนยื่นออกไปในทะเลราว 8 กิโลเมตร เวลาน้ำลงจะปรากฏพื้นโคลนเลนกว้างราว 4 กิโลเมตร พื้นเป็นตะกอนนุ่มและอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ

หลายปีที่ผ่านมาจำนวนหอยหลอดเริ่มลดน้อยลง สาเหตุมาจากการจับที่ไม่ถูกวิธีของชาวบ้านและน้ำเสียที่เพิ่มขึ้น

ชาวบ้านในพื้นที่เริ่มตื่นตัวมีการจัดเวทีประชาคม เพื่อหาทางแก้ปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์หอยหลอด

ปี 2541 มีการกำหนดจุดอนุรักษ์พื้นที่ประมาณ 1,250 ไร่ ตั้งแต่ปากคลองตาเถื่อนถึงปากคลองฉู่ฉี่ แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

เมษายน พ.ศ.2552 จังหวัดร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่มีมติร่วมกันให้มีการปิดหอยหลอด จำนวน 4 ดอน ครั้งละ 1 ดอนสลับกันไป

นอกจากนี้ยังบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น โดยนำพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มาตรา 19 ที่ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดห้ามเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้วัตถุมีพิษลงไปในที่จับสัตว์น้ำ หรือกระทำการใดๆ อันทำให้สัตว์น้ำมึนเมา หรือเท ทิ้ง ระบาย หรือทำให้สิ่งใดลงไปในที่จับสัตว์น้ำในลักษณะที่เป็นอันตรายแก่สัตว์น้ำ หรือทำให้ที่จับสัตว์น้ำเกิดมลพิษ

และมาตรา 52 ที่ให้คณะกรรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศห้ามมิให้บุคคลเข้าไปในที่จับสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว

ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่าเมื่อเทียบกับปี 2547 ปัจจุบันจำนวนหอยหลอดลดลงมากกว่า 90%

โดยเมื่อปี 2549 พบปริมาณหอยหลอดเฉลี่ยตารางเมตรละ 4.4 ตัว แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเฉลี่ยตารางเมตรละ 0.4 ตัวเท่านั้น

และเมื่อ 10 ปีก่อนชาวประมงสามารถจับหอยหลอดได้มากกว่า 10 กิโลกรัมต่อวัน แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 3 กิโลกรัมต่อวัน

เป็นวิกฤตร้ายแรงของพื้นที่ดอนหอยหลอด



จาก : ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่13 วันที่ 16 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
 


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:04


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger