เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 23-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงในภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลาง และมีลูกเห็บตกบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 23 ? 28 มี.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 22 - 23 มี.ค. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร







__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 23-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


อีกระลอก! ก้อนน้ำมันทะลักเข้าหาดหัวไทรอื้อ ชาวบ้านโอดไร้ทางแก้ตลอด 1 เดือน

นครศรีธรรมราช - หาดหัวไทรเจออีกระลอกก้อนน้ำมันทะลักเกยหาด และจมหน้าหาดอื้อ ชาวบ้านโอดตลอด 1 เดือนมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไร้คำตอบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



วันนี้ (22 มี.ค.) ปัญหาก้อนน้ำมัน หรือที่เรียกว่า "ทาร์บอล" ยังคงส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช อย่างต่อเนื่องตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา สภาพของก้อนน้ำมันขนาดต่างๆ ที่ถูกซัดเข้ามาเกยหาดได้ถูกเก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์จากหลายหน่วยงาน แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบใดๆ ในการแจ้งชาวประมงพื้นบ้าน หรือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ถึงแหล่งที่มาของก้อนน้ำมัน รวมทั้งไม่มีมาตรการหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อนิเวศชายหาดทและนิเวศพื้นทะเลชายฝั่ง แม้ว่าในย่านนี้จะมีชาวประมงพื้นบ้านอาศัยทำประมงเลี้ยงชีพอยู่เป็นจำนวนมาก

โดยสถานการณ์ล่าสุดตลอด 2 วันที่ผ่านมา ชายทะเลตลอดแนวของอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา ปรากฏว่าก้อนน้ำมันจำนวนมากยังคงถูกซัดเข้าหาฝั่งอย่างต่อเนื่อง โดยมีลักษณะขนาดเล็กลงกว่าช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา



ส่วนบริเวณหน้าหาดที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 50 ซม.จะเห็นก้อนน้ำมันเหล่านี้จมตัวอยู่พื้นทรายใต้น้ำอย่างเห็นได้ชัด โดยในส่วนนี้ส่งผลกระทบอย่างมาก สัตว์น้ำชายฝั่งหายไปจนส่งผลต่อชาวประมงรายย่อยที่ใช้วิธีการวางอวนหาปลาขนาดเล็กหน้าหาด รวมทั้งการตกปลาที่ไม่สามารถหาสัตว์น้ำสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว

นายไอยุบ อาซิส ชาวประมงพื้นบ้านหมู่ 7 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร เปิดเผยว่า นอกจากก้อนน้ำมันจะสร้างความรำคาญเลอะเปื้อนไปทั้งแนวหาดแล้ว ชาวบ้านไม่พอใจเลยในเรื่องนี้เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบมาให้คำตอบกับชาวบ้านได้ แต่ชาวบ้านทำได้แค่วิพากษ์วิจารณ์เพราะไม่สามารถทำอะไรได้ น้ำมันเข้ามาทุกครั้งมาจากทะเลแน่นอน แต่เราไม่เคยรู้กันเลยว่ามันมาจากไหนแหล่งใด เมื่อมาแล้วจะถูกคลื่นซัดเข้าเกยตลิ่งชาวบ้านเดือดร้อนกันทุกครั้ง


https://mgronline.com/south/detail/9630000028825

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 23-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


สถานการณ์นำ้ในวิกฤตโลกร้อน ............... โดย ธารา บัวคำศรี

วันน้ำโลกในปี พ.ศ.2563 นี้ยกประเด็น น้ำในวิกฤตโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญ สหประชาชาติระบุว่า การรับมือกับวิกฤตน้ำจากผลกระทบที่เป็นหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกู้วิกฤตโลกร้อน


วิกฤตนำ้ทั่วโลก

- แหล่งน้ำจืดของโลกร้อยละ 70 ใช้ในการเพาะปลูกพืชในระบบชลประทาน และการผลิตอาหารเลี้ยงประชากร ร้อยละ 22 ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและพลังงาน(น้ำหล่อเย็นในโรงไฟฟ้าและเขื่อนผลิตไฟฟ้า) ขณะที่ร้อยละ 8 ใช้เพื่อบริโภค การสุขาภิบาล และนันทนาการในภาคครัวเรือนและธุรกิจ

- ความต้องการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี นับตั้งแต่คริสตทศวรรษ 1980s(พ.ศ.2523-2532) และภายในปี พ.ศ.2593 จะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20-30 ของระดับการใช้น้ำในปัจจุบัน

- โดยเฉลี่ย ในจำนวนประชากร 10 คน จะมี 3 คน ที่เข้าไปถึงน้ำดื่มที่สะอาด

- มี 17 ประเทศซึ่งมีประชากรรวมกัน 1 ใน 4 ของประชากรโลก กำลังเผชิญกับวิกฤตน้ำที่รุนแรงอย่างยิ่งยวด

- ร้อยละ 25 ของประชากรโลกประสบกับวิกฤตน้ำแล้ว และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ภายในปี พ.ศ. 2568

- มากกว่า 2 พันล้านคน อาศัยอยู่ในประเทศที่ประสบกับวิกฤตน้ำในระดับสูง

- ประชากรราว 4 พันล้านคนทั่วโลกเผชิญกับการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงอย่างน้อยที่สุด 1 เดือนต่อปี คาดว่าจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.8 ถึง 5.7 พันล้านคนภายในปี พ.ศ. 2593 ก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรระหว่างผู้ใช้น้ำ โดยที่น้ำจืดร้อยละ 60 มาจากลุ่มน้ำที่มีแม่น้ำไหลผ่านหลายประเทศ

- ภายในปี พ.ศ.2583 เด็กอายุต่ำกว่า 18 ราว 600 ล้านคน จะมี 1 ใน 4 อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีวิกฤตน้ำรุนแรงอย่างยิ่ง

- สตรีและเด็กหญิงในทุกๆ 8 ครัวเรือนจาก 10 ครัวเรือนต้องแบกภาระในการออกไปหาน้ำจากพื้นที่ไกลออกไป

- มากกว่า 68 ล้านคน ทั่วโลก(ในปี พ.ศ.2560) ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานจากการที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำในการอุปโภคและบริโภคได้

- คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงรายงานว่า ภายในปี พ.ศ.2583 ร้อยละ 97 ของการไหลของตะกอนไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอาจถูกดักไว้ หากโครงการสร้างเขื่อนทั้งหมดที่วางแผนไว้ถูกสร้างขึ้น


ถ่านหินใช้น้ำและก่อมลพิษต่อแหล่งน้ำของเราอย่างไร

น้ำสะอาด ราคาที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดแคลนที่สุดในโลกของเรายังถูกคุกคามโดยอุตสาหกรรมถ่านหิน น้ำจืดปริมาณมหาศาลถูกนํามาใช้และปนเปื้อนมลพิษจากการทําเหมืองถ่านหิน รวมถึงการขนส่งและการผลิตไฟฟ้า


ที่มา : https://www.greenpeace.org/thailand/...tiable-thirst/

โรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 1,000 เมกะวัตต์หนึ่งแห่งในอินเดียใช้น้ำพอๆ กับความต้องการพื้นฐานของคนเกือบ 700,000 คน โดยทั่วไป โรงไฟฟ้าถ่านหินใช้น้ำประมาณร้อยละ 8 จากความต้องการน้ำทั้งหมด แต่ความต้องการน้ำอันไร้ขีดจํากัดของอุตสาหกรรมถ่านหินซ้ำเติมวิกฤตน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดีย จีน ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้

มลพิษเกิดขึ้นในทุกกระบวนการในวัฐจักรถ่านหิน ทำให้น้ำปนเปื้อนด้วยโลหะหนักและสารพิษในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ป่าอย่างมีนัยสำคัญ การได้รับพิษนี้จะเพิ่มโอกาสความพิการแต่กำเนิด ความเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การปนเปื้อนมลพิษจากถ่านหินคือภัยคุกคามที่มองไม่เห็นต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม


ที่มา : https://www.greenpeace.org/thailand/...tiable-thirst/

การทำเหมืองถ่านหิน การชะล้างและการเผาไหม้ได้ปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษและโลหะหนักออกสู่สิ่งแวดล้อม สำหรับการขุดถ่านหินทุก ๆ 1 ตัน น้ำใต้ดินราว 1 ถึง 2.5 ลูกบาศก์เมตร จะไม่สามารถนำไปใช้อุปโภคและบริโภคได้ กลุ่มเหมืองถ่านหินขนาดยักษ์ในออสเตรเลีย (Galilee Basin) จะต้องสูบน้ําทิ้งมากถึง 1.3 พันล้านลิตร ซึ่งเป็นปริมาณท่ีมากกว่าน้ําในอ่าวซิดนีย์ถึง 2.5 เท่า การสูบน้ำออกนี้จะทําให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงอย่างมาก ผลคือบ่อน้ําชุมชนโดยรอบใช้การไม่ได้และยังส่งผลกระทบต่อแม่น้ําในบริเวณใกล้เคียง


วิกฤตน้ำ 2020 ในประเทศไทย

ประเทศไทยกำลังเจอกับความแห้งแล้งครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ ราวครึ่งหนึ่งของบรรดาอ่างเก็บน้ำในประเทศมีน้ำต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของศักยภาพที่กักเก็บน้ำไว้ได้ น้ำในแม่น้ำต่ำในระดับที่ทำให้น้ำเค็มจากทะเลรุกเข้ามาถึงพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำและส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำบริโภค


แผนที่ด้านบนแสดงความผิดปกติของความชื้นในดิน(soil moisture anomalies) ซึ่งเป็นดัชนีที่ระบุว่าน้ำในผิวดินมีค่าสูงหรือต่ำกว่าปกติในพื้นที่แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2563 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากปฏิบัติการ Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งเป็นดาวเทียมขององค์การนาซาดวงแรกที่ใช้วัดปริมาณน้ำในผิวดิน เครื่องมือวัด Radiometer บนดาวเทียมทำการตรวจจับปริมาณน้ำลึก 2 นิ้วจากผิวดิน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวนี้ในแบบจำลองอุทกศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญสำหรับภาคเกษตรกรรมเพื่อประเมินว่ามีปริมาณน้ำในชั้นดินที่ลึกลงไปอยู่มากน้อยเท่าไร (ที่มา:ที่มา : NASA Earth Observatory image by Lauren Dauphin using soil moisture data from NASA-USDA and the SMAP Science Team)

การที่ประเทศไทยมีปริมาณน้ำจืดต่อหัวน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากต้องเผชิญกับการขาดแคลนน้ำมากขึ้นแล้ว ทรัพยากรน้ำของประเทศไทยกำลังถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมจากการกำหนดนโยบายของรัฐซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งเหนือทรัพยากรน้ำระหว่างภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและเมืองที่ตึงเครียดขึ้นทุกขณะ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ว่าเรามีน้ำเพียงพอหรือไม่ แต่รากเหง้าคือวิธีการจัดการทรัพยากรน้ำและการกระจายน้ำอย่างเท่าเทียมกัน

ในยุคที่สภาพภูมิอากาศมีความสมดุล เป็นช่วงเวลาที่เราสามารถวางแผนล่วงหน้า สร้างบ้านแปงเมือง และทำการเพาะปลูกตามสภาพดินฟ้าอากาศและน้ำ แต่การแทรกแซงธรรมชาติทำให้ช่วงเวลาเหล่านั้นกำลังหมดลง จากนี้ไปสภาพภูมิอากาศจะโหดร้ายทารุณ วิกฤตน้ำจะรุนแรงขึ้นภายใต้สภาพภูมิอากาศที่โหดร้ายขึ้น

น้ำกำหนดชะตากรรมของเรา และเรากำหนดชะตากรรมของน้ำ


https://www.greenpeace.org/thailand/...ater-day-2020/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 23-03-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


บทบรรณาธิการ: ปัญหาน้ำในวันที่โลกเผชิญวิกฤต COVID-19


ในเวลาที่ทั้งไทยและโลกกำลังจับตาไปยังสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่กำลังลุกลาม คุกคามชีวิตและสุขภาพของประชากรทั่วโลก ปัญหาหนึ่งที่นับเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งไทยและโลก ที่มีความร้ายแรงและสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของคนทั้งโลกไม่แพ้กัน นั่นก็คือปัญหาเรื่องน้ำ

แน่นอนเมื่อเรากำลังเผชิญภัยที่เราไม่คาดคิดมาก่อนอย่าง COVID-19 ก็ไม่แปลกนักที่สังคมจะให้ความสำคัญกับปัญหานี้มากกว่า อย่างไรก็ดี เนื่องในวันน้ำโลก 22 มีนาคม นี้ เป็นโอกาสอันดีที่ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม จะขอมาให้ข้อมูลถึงปัญหาเรื่องน้ำ และความเร่งด่วนที่เราจะต้องหันมาสนใจปัญหานี้เช่นกัน เพราะคนเราจะมีสุขภาพดี มีชีวิตยืนยาวไม่ได้เลย หากปราศจากการเข้าถึงน้ำสะอาด

ปีนี้นับเป็นปีที่คนไทยเรากำลังเผชิญวิกฤตแล้งหนักสุดในรอบหลายสิบปี จากข้อมูลของกรมชลประทาน รายงานว่า ขณะนี้ 22 มีนาคม ได้มีการจัดสรรน้ำฤดูแล้งในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (4,000 ล้าน ลบ.ม.) ไปแล้ว 3,589 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 80 ของแผน ซึ่งน้ำที่เหลือจะต้องเก็บไว้ใช้จนถึงสิ้นเดือนเมษายน หรืออีก 40 วันข้างหน้า

เมื่อคำนึงถึงปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก็พบว่าเรามีปริมาณน้ำเหลือน้อยเหลือเกิน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่

- เขื่อนภูมิพล ปีนี้เหลือน้ำอยู่ 4,872 ล้าน ลบ.ม. (36% ของความจุอ่างฯ) เมื่อเทียบกับปีก่อน มีน้ำอยู่ 7,270 ล้าน ลบ.ม. (54% ของความจุอ่างฯ)

- เขื่อนสิริกิติ์ ปีนี้เหลือน้ำอยู่ 4,089 ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ) เมื่อเทียบกับปีก่อน มีน้ำอยู่ 5,548 ล้าน ลบ.ม. (58% ของความจุอ่างฯ)

- เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ปีนี้เหลือน้ำอยู่ 341 ล้าน ลบ.ม. (36% ของความจุอ่างฯ) เมื่อเทียบกับปีก่อน มีน้ำอยู่ 405 ล้าน ลบ.ม. (43% ของความจุอ่างฯ)

- เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปีนี้เหลือน้ำอยู่ 169 ล้าน ลบ.ม. (18% ของความจุอ่างฯ) เมื่อเทียบกับปีก่อน มีน้ำอยู่ 285 ล้าน ลบ.ม. (30% ของความจุอ่างฯ)

จะเห็นได้ว่าสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาค่อนข้างที่จะน่ากังวล แต่ก็ไม่เท่ากับหลายๆพื้นที่ในประเทศไทย ที่ประสบกับสถานการณ์ภัยแล้งสาหัสกว่าหลายเท่า เช่นที่ เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ที่มีปริมาณน้ำในเขื่อนถึงระดับติดลบ โดยในขณะนี้ปริมาณน้ำใช้การได้ของเขื่อนอยู่ที่ -195 ล้านลบ.ม. (-8% ของความจุอ่างฯ) ซึ่งหมายถึงคนขอนแก่นกำลังต้องใช้น้ำจากก้นอ่าง (dead storage) มาใช้ในการอุปโภคบริโภคกันแล้ว

จนถึงวันนี้ ปัญหาน้ำแล้งได้แผ่ขยายส่งผลกระทบต่อพื้นที่รวมทั้งสิ้น 23 จังหวัด (เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี) 139 อำเภอ 714 ตำบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน จากข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เกษตรกรไม่มีน้ำในการทำเกษตร ผู้คนในบางพื้นที่ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้

นี่ยังไม่ใช่ปัญหาทั้งหมดที่เราพบจากสถานการณ์ภัยแล้ง เพราะในบางพื้นที่ที่มีน้ำก็ยังประสบปัญหาเรื่องน้ำเช่นกัน พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นพื้นที่ที่เห็นผลกระทบจากสภาวะภัยแล้งชัดเจน แม้ว่าเราจะยังคงเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเต็มฝั่ง แต่ถ้าเราลองตักน้ำขึ้นมาชิมจะพบว่าน้ำที่เราเห็นมันเป็นน้ำกร่อยเค็ม ไม่สามารถนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ ค่าความเค็มของน้ำในน้ำประปาระยะนี้ยังทำให้ผู้บริโภคเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการได้รับโซเดียมเข้าร่างกายมากกว่าปกติ

อย่างไรก็ดี คงไม่มีใครกล้าตักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯ ขึ้นมาชิมกันจริงๆ เพราะนอกจากน้ำเจ้าพระยาจะเค็มเพราะไม่มีน้ำจืดมากพอไปดันน้ำทะเลแล้ว แม่น้ำเจ้าพระยา ? แม่น้ำท่าจีนตอนล่างยังเป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพน้ำย่ำแย่ที่สุดจากการรายงานของกรมควบคุมมลพิษ เพราะน้ำเสียและขยะที่เราปล่อยลงแม่น้ำจากทั้งภาคครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม สร้างความเสื่อมโทรมให้กับระบบนิเวศแม่น้ำ ซึ่งอาจจะย้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพของเราผ่านปลาที่เรากิน อาหารทะเลที่เราชื่นชอบ

ปัญหาเรื่องน้ำจึงเป็นปัญหาเกี่ยวโยงอย่างแยกไม่ออกจากเรื่องสุขภาพของเรา

เนื่องในโอกาสวันน้ำโลกประจำปี พ.ศ.2563 นี้ ซึ่งตรงกับวาระที่ไวรัส COVID-19 ระบาดทั่วโลก และสังคมกำลังให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงสุขภาพจากการติดโรคระบาด สำนักข่าวสิ่งแวดล้อมเห็นด้วย และอยากจะให้กำลังใจทุกๆฝ่ายในการผนึกกำลังกันต่อต้านการระบาดของไวรัส COVID-19

อย่างไรก็ดีเราก็อยากย้ำเตือนทุกคนในสังคมว่า COVID-19 ไม่ใช่ปัญหาเดียวที่เรากำลังเผชิญ เรายังไม่ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้ง ที่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตแอละสุขภาพของประชาชนส่วนมากเช่นกัน ดังนั้นหน่วยงานรัฐในส่วนที่เกี่ยวข้องจึงยังควรทำหน้าที่ของตนอย่างรอบคอบในการจัดสรรน้ำให้เพียงพอต่อประชาชน โดยคำนึงถึงความต้องการ และสิทธิของประชาฃนที่ได้รับผลกระทบเป็นหลัก และทุกๆคนยังคงต้องตระหนักถึงปัญหาเรื่องน้ำ ใช้น้ำทุกหยดอย่างมีค่า ประหนึ่งที่เรากำลังใช้หน้ากากอนามัย

เราเชื่อว่าด้วยการดำเนินนโยบายในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงผลกระทบในทุกๆด้าน และการประสานความร่วมมือกันระหว่างทุกภาคส่วน เราจะสามารถผ่านทั้งวิกฤต COVID-19 และปัญหาภัยแล้งได้อย่างราบรื่น และประเทศไทยจะชนะอย่างแท้จริง


https://greennews.agency/?p=20472

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:47


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger