|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
|
#1
|
|||
|
|||
รายงานผลการปฏิบัติงาน "โครงการเก็บขยะ / ตัดอวน กองหิน Unseen ระยอง เดือนตุลาคม 2563
รายงานผลการปฏิบัติงานโครงการเก็บขยะ / ตัดอวน กองปะการังอันซีน ณ ทะเลจังหวัดระยอง วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563 ดำเนินการโดย สมาชิก WWW.SAVEOURSEA.NET ตามที่ได้ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ และรับแจ้งจาก Kissanapong Mukkhan ได้สำรวจพบว่าแหล่งปะการังใหม่ชื่อ กองปะการังอันซีน (unseen) มีเศษอวนจากเรือประมงปกคลุมเป็นบริเวณกว้าง จึงได้แจ้งขอความร่วมมือมายัง www.SaveOurSea.net (SOS) ทางกลุ่ม SOS ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรม เก็บขยะและตัดเก็บเศษอวน ในบริเวณกองปะการังอันซีน (Unseen) ทันที โดยได้กำหนดวันทำการเป็นวันที่ 28 มีนาคม 2563 แต่เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์ CoVID-19 และสภาพภูมิอากาศของพื้นที่ ทางกลุ่ม SOS ยังคงมีความตั้งใจที่จะดำเนินกิจกรรม และได้ปรับกำหนดการใหม่เป็น วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563 แทน แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 03-01-2022 เมื่อ 07:24 |
#2
|
|||
|
|||
ตามกำหนดการใหม่สมาชิกทั้งหมด ได้นัดพบกันที่ท่าเทียบเรือเทศบาลตำบลบ้านเพ อ.เมือง จ.ระยอง ตอนเช้า เพื่อใช้บริการเรือของ Ban Pae Diving จนเมื่อสมาชิกครบทั้ง 25 ครบ จึงออกเดินทางไปยังกองหินอันซีน เพื่อประกอบกิจกรรมตามวัตถุประสงค์
|
#3
|
|||
|
|||
เราออกเรือจากท่าเรือ ประมาณ 8.30 น.สภาพอากาศมีฝนตกและมีคลื่นบ้างแต่ไม่สูงนัก ระหว่างเดินทางมีการกล่าวต้อนรับเพื่อนสมาชิก แจ้งเป้าหมายภารกิจในครั้งนี้ รวมถึงการบรีฟเรื่องความปลอดภัยในการดำน้ำ วิธีการทำงาน และการทำงานตามข้อตกลงร่วมกันของชาว s.o.s.
คุณกุ๋ย จาก Ban Pae Diving เป็นผู้อธิบายตัวเรือและที่มาที่ไปของกองหิน Unseen ที่ชาว SOS จะไปทำงานในวันนี้ พี่น้อย อธิบาย ข้อตกลงร่วมกันในการทำงานของ SOS เพื่อการทำงานอย่างปลอดภัยและความสมัครสมานสามัคคีในหมู่สมาชิก |
#4
|
|||
|
|||
เราใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ก็เดินทางมาถึงจุดดำน้ำกองหิน Unseen พวกเราชาว SOS ก็พร้อมจะทำกิจกรรมแล้วครับ
พี่คิง ผู้ดำสำรวจกองหิน Unseen อธิบายสภาพแนวปะการังของจุดดำน้ำ วิธีการดำ และจุดที่มีอวนปกคลุมปะการังอยู่ โดยวันนี้ตามแผนงานเราจะดำน้ำทำงานที่จุดนี้ทั้งหมด 3 ไดว์ด้วยกันครับ |
#5
|
|||
|
|||
ทาง SOS ทำงานระบบทีม โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม โดยมีระบบ Dive Leader และ Safety ในแต่ละกลุ่มเหมือนทุกครั้ง
|
#6
|
|||
|
|||
สภาพน้ำในไดว์แรกค่อนข้างดี แม้ไม่มีแสงแดด น้ำค่อนข้างใส และไม่มีกระแส แต่พอลงไปยังไม่ทันจะได้ชื่นชมปะการังหรือสำรวจแนวปะการังเลย แต่ละกลุ่มก็แยกย้ายกันทำงานในแต่ละจุดที่พบเจออวนคุมปะการังทันที
|
#7
|
|||
|
|||
ซากอวนประมงมีหลายจุดมีลักษณะเกาะติดเกี่ยวพันกับปะการัง ซึ่งต้องอาศัยความระมัดระวังมากในการเอาอวนออกจากปะการัง
|
#8
|
|||
|
|||
บางจุดเราเจออวนพร้อมเชือกปากอวนทั้งผืนติดอยู่กับปะการังบริเวณเกือบกลางกอง ต้องใช้เวลามากในการตัดเชือกปากอวนผืนนี้เพื่อเอาอวนออกจากแนวปะการัง
|
#9
|
|||
|
|||
ปริมาณอวนที่กองหิน Unseen ถือว่าไม่ธรรมดามีจำนวนค่อนข้างมากและเกี่ยวพันกับปะการัง แต่ชาวสมาชิก SOS ทุกคนก็ก้มหน้าก้มตากันทำงานไม่พูดจากันเลย
|
#10
|
|||
|
|||
เมื่อเราเอาอวนออกจากปะการังได้แล้ว แต่ละทีมก็จัดการกับเจ้าอวนเหล่านี้กัน โดยอาศัย Lift Bag ช่วยผยุงเผื่อให้ได้ปริมาณอวนให้มากที่สุด และเมื่อได้ปริมาณมากพอก็เติมอากาศให้ขึ้นสู่ผิวน้ำโดยมีเรือเล็กคอยวนเก็บอีกต่อหนึ่ง
บางคนก็หอบไปก่อน บางคนก็กอดไปก็มี |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|