เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default โลกร้อน (3)


'ดินเยือกแข็ง' ละลาย


การละลายตัวของดินเยือกแข็งจะค่อยๆ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งนับรวมกันอาจมีปริมาณหลายพันล้านตันเลยทีเดียว

นักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันเกี่ยวกับผลกระทบของสารอินทรีย์ ซึ่งที่ผ่านมาได้ถูกกักเก็บไว้ในดินเยือกแข็งแถบมลรัฐอะแลสกา, แคนาดา, ยุโรปเหนือ และแคว้นไซบีเรีย

เพราะมีความวิตกกังวลกันว่า เมื่อดินเยือกแข็งหรือเพอร์มาฟรอสต์เหล่านี้ละลาย สารอินทรีย์เหล่านี้ก็จะถูกจุลินทรีย์เปลี่ยนให้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ยิ่งเพิ่มปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์นี้จะทำให้โลกร้อนขึ้น แล้วยิ่งทำให้ดินเยือกแข็งละลายมากขึ้น ผลคือ อุณหภูมิสูงขึ้น น้ำแข็งละลายมากขึ้น เป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ

แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่า วงจรแบบนี้จะเริ่มขึ้นเมื่อไรและอย่างไร

อย่างไรก็ดี บางคนบอกว่า เรื่องนี้ไม่น่ากลัว เพราะเมื่อโลกร้อนขึ้นก็จะมีต้นไม้เกิดใหม่เพิ่มขึ้น แล้วต้นไม้ก็จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงเอง

ทีมวิจัยของเท็ด ชูร์ นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฟลอริดา ได้ศึกษาทุ่งทุนดราในบริเวณทะเลสาบเอทไมล์ในตอนกลางของอะแลสกา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดตามเก็บข้อมูลการละลายของดินเยือกแข็งมาตั้งแต่ปี 2533

คณะของเขาได้นำถังที่ออกแบบเป็นพิเศษไปติดตั้งใน 3 จุด ซึ่งมีการละลายน้อย ปานกลาง และมาก ตั้งแต่ปี 2547-2549 ถังเหล่านี้ได้ตรวจวัดว่ามีคาร์บอนลอยขึ้นจากดินมากน้อยแค่ไหน และถูกพืชดูดซับไว้แค่ไหน

สุดท้ายได้ข้อสรุปว่า แม้พืชสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่ก็ดูดซับไม่หมด ดินเยือกแข็งสามารถปล่อยคาร์บอนออกมาปีละ 1,000 ล้านตัน

นักวิจัยบอกว่า การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 8,500 ล้านตัน แต่โดยทฤษฎีแล้วเป็นสิ่งที่มนุษย์ยังสามารถควบคุมได้

แต่การละลายของดินเยือกแข็งนั้น ยิ่งโลกร้อนขึ้นก็ยิ่งละลายเร็วขึ้น และไม่สามารถหยุดยั้งได้ด้วย การจะชะลอการละลายของดินเยือกแข็งซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนนั้นทำได้ 2 วิธี คือ หนึ่ง ลดการตัดไม้ทำลายป่า และสอง ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล



จาก : X-cite ไทยโพสต์ คอลัมน์โลกน่ารู้ วันที่ 3 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-06-2009
janny janny is offline
Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 58
Default

เคยดูในสารคดีเหมือนกันค่ะ เป็นดินที่แข็งมาหลายล้านปี ถ้าละลายจะเกิดสภาวะต่อโลกอย่างร้ายแรงเลยทีเดียว พวกเราต้องช่วยกันรณรงค์รักษ์โลกร้อนเพิ่มขึ้นนะคะเนี้ยะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-06-2009
ตุ๊กแกผา's Avatar
ตุ๊กแกผา ตุ๊กแกผา is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 1,452
Default

ทำตามทฤษฎีทีไร ปัญหาตามมาทุกทีเลยเนอะ?

รู้แต่เพียงว่า....การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด(ที่ทุกคนรู้ดี..แต่ไม่ทำ บางตนนอกจากไม่ทำแล้ว ยังตรงข้ามด้วย)คือทำให้ต้นไม้เพิ่มขึ้นๆๆๆๆๆๆ

ก็ไม่ทำกันสักที........เฮ้อ!!!!!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 24-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ภาวะโลกร้อนกับภัยน้ำท่วม

ทุกวันนี้ใครๆ ก็รู้ว่า แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และบรรยากาศเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าจะถามว่าใครคือบุคคลแรกที่ได้ศึกษาเรื่องนี้ ประวัติวิทยาศาสตร์ก็ได้บันทึกว่า ในปี 2370 (รัชสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) Jean Baptiste Joseph Fourier คือนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้ทดลองพบว่าแสงเดินทางผ่านอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูง อีก 35 ปีต่อมา John Tyndall ได้แสดงให้เห็นว่า ทั้งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำต่างก็ดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดี


Svante Arrhenius (คนที่นั่งบนโต๊ะ) ภาพนี้ถ่ายในปี 2439

และเมื่อถึงปี 2440 Svante Arrhenius ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นหนึ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้เป็นครั้งแรกว่า อุณหภูมิของบรรยากาศโลกขึ้นกับปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่บรรยากาศมี ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ผลิตแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (เช่น การเผาป่า การเผาถ่านหิน การขับเคลื่อนยานยนต์ ฯลฯ) แล้วปล่อยออกสู่บรรยากาศ สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ เรือนกระจกที่โลกทุกวันนี้รู้จักในนาม ภาวะโลกร้อน หรือภาวะบรรยากาศเปลี่ยนแปลงได้

แต่ Arrhenius คำนวณผิด เขาจึงอ้างว่า ถ้าอัตราการเผาผลาญถ่านหินดำเนินไปในอัตราขณะนั้น โลกจะมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น 50% ในอีก 3,000 ปี และแก๊สที่เพิ่มนี้ จะทำให้โลกร้อนขึ้น 3.4 องศาเซลเซียส เพราะข้อสรุปของ Arrhenius ไม่น่ากลัว และถ้าเหตุการณ์โลกร้อนจะเกิดขึ้นจริง ก็อีกนาน 3,000 ปี ดังนั้น วงการวิชาการจึงไม่มีใครสนใจผลงานของ Arrhenius ชิ้นนี้ จนอีก 60 ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักว่า ภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดได้ในช่วงชีวิตของคนคนหนึ่ง และในที่สุดเหตุการณ์นี้ก็จะเป็นมหันตภัยต่อมนุษยชาติ

การศึกษาประวัติของปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน แสดงว่า บรรยากาศโลกขณะนั้นมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 0.028% แต่ปัจจุบันปริมาณได้เพิ่มมากถึง 0.035% และนอกจากจะดูดกลืนความร้อนได้ดีแล้ว บรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ ยังกักเก็บความร้อนได้ดีมากด้วย

แต่ในความเป็นจริง CO2 มิได้เป็นปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เพราะนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า ปัจจุบันอื่นๆ เช่น ความแปรปรวนของปริมาณแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับ ปริมาณฝุ่นธุลีที่ภูเขาไฟระเบิดพ่นออกมา ลักษณะการไหลของกระแสน้ำในมหาสมุทร ทั่วโลก และปริมาณไอน้ำกับเมฆในท้องฟ้าก็มีบทบาทในการทำให้โลกร้อนขึ้นหรือเย็นลงได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะเน้นปัจจัยหลัก แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คือตัวการสำคัญที่สุด


น้ำแข็งที่ Greenland และ Antarctica

ทุกวันนี้การสำรวจและศึกษาสภาพในภูมิประเทศต่างๆ ทั่วโลก แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า โลกกำลังก้าวเข้าสู่ภาวะโลกร้อน เช่น ในแอฟริกา นักสำรวจได้พบว่า ธารน้ำแข็งบนยอดเขา Kilimanjaro ได้ลดขนาดลงทุกปี จนในอีก 20 ปี ธารน้ำแข็งนี้จะหายไปอย่างสมบูรณ์ ส่วนในยุโรป ธารน้ำแข็งบนยอดเขา Alps ก็ได้ลดขนาดลงตลอดเวลาและสำหรับสัตว์นั้น นักชีววิทยาก็ได้พบว่า สัตว์ในเขตร้อนหลายชนิดได้อพยพแหล่งอาศัยขึ้นไปทางเหนือที่มีอากาศหนาวกว่า ซึ่งตามปกติแล้ว สัตว์เหล่านั้นไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ เช่น ยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรคหลายชนิด การอพยพของมันเข้ายุโรปจึงมีสิทธิ์ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสเป็นโรค มาลาเรีย และโรคไข้เลือดออกได้มากขึ้น เป็นต้น

สำหรับน้ำในมหาสมุทรนั้น ก็ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนเช่นกัน เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น นั่นก็หมายความว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มด้วย การคำนวณโดยนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม แสดงให้เห็นว่า ในอีก 90 ปี ระดับน้ำทะเลจะเพิ่ม 50 +25 เซนติเมตร และอีก 500 ปี ความเข้มข้นของ CO2 ในบรรยากาศโลกจะมากขึ้น 4 เท่า

ตัวเลขนี้ได้จากการพิจารณาการขยายตัวของน้ำเพียงอย่างเดียว หาได้คำนึงถึงการละลายของน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกทั้งสองไม่ ซึ่งถ้าพิจารณาด้วย ระดับน้ำที่จะเพิ่ม ก็จะมีค่ามากขึ้นไปอีก เพราะพื้นที่ 2% ของทวีปต่างๆ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล น้อยกว่า 10 เมตร และพื้นที่ริมทะเลเป็นที่อยู่อาศัยของคน 630 ล้านคน (ในอีก 500 ปี จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ริมทะเลจะสูงขึ้นไปอีก) ดังนั้นการเพิ่มระดับน้ำทะเลจะทำให้ New York, Mumbai, London, Shanghai และกรุงเทพฯ จมน้ำหมด ส่วนเกาะต่างๆ เช่น Maldives, Hawaii และ Caribbean พื้นที่ส่วนใหญ่ก็จะจมน้ำเช่นกัน



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 24-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ภาวะโลกร้อนกับภัยน้ำท่วม (จบ)


นอกจากนี้การเพิ่มของระดับน้ำทะเลจะทำให้เกิดการหนุนของน้ำทะเลเข้าไปตามแม่น้ำ และแหล่งน้ำจืดต่างๆ ในทวีป ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนทุกชุมชนที่อาศัยอยู่ติดน้ำด้วย

ตามปกติ คนทั่วไปเวลาได้ยินเสียงหวอ เสียงไซเรน ทุกคนจะตระหนกตกใจ และถ้าเสียงนั้นดังจากที่ไกล คนส่วนใหญ่ก็จะกลับไปทำกิจกรรมที่กำลังกระทำต่อ แต่ในกรณีน้ำท่วมที่เกิดจากภาวะโลกร้อน เมื่อ 56 ปีก่อน ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 ลมพายุในทะเลเหนือได้พัดพาคลื่นเข้าฝั่ง กระแสน้ำได้ไหลท่วมเข้าไปในแผ่นดินใหญ่เป็นระยะทาง 64 กิโลเมตร จนพื้นที่ 500,000 ไร่ ถูกน้ำท่วม และคนนับแสนไร้ที่อยู่อาศัย เหตุการณ์นี้ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เนเธอร์แลนด์ เสนอรัฐบาลให้สร้างเขื่อนป้องกันเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศซ้ำอีก และหลังจากนั้นเหตุการณ์น้ำทะเลไหลนองแผ่นดิน เนเธอร์แลนด์ก็ได้หายไป


ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มตลอดเวลา ตามรายงานครั้งแรกในปี 2503 โดย Charles Keeling

การศึกษาภัยน้ำท่วมโดยคณะนักวิทยาศาสตร์แห่ง Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ในปี 2530 ได้คำพยากรณ์ว่า ในอนาคตอีก 100 ปี เมื่อโลกร้อนขึ้น และน้ำทะเลขยายตัว ระดับน้ำทะเลจะเพิ่ม 18-50 เซนติเมตร แต่ IPCC ก็ได้เน้นว่า ตัวเลขนี้ไม่ได้พิจารณาการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก ทั้งนี้เพราะนักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัดเกี่ยวกับธรรมชาติของน้ำแข็งขั้วโลก จึงไม่สามารถนำประเด็นน้ำแข็งละลายมาทำนายการเพิ่มของระดับน้ำทะเล จะอย่างไรก็ตาม ข้อมูลหยาบๆ เกี่ยวกับน้ำแข็งที่ Greenland และ Antaretica ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าน้ำแข็งในบริเวณทั้งสองนี้ละลายหมด ระดับน้ำทะเลก็จะเพิ่ม 6 เมตร

การวัดระดับน้ำทะเลทุกปีตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา ระบุว่าระดับน้ำทะเลได้เพิ่ม โดยเฉลี่ยปีละ 3 มิลลิเมตร (ซึ่งสูงกว่าที่ IPCC ได้เคยพยากรณ์ไว้) และถ้าตัวเลขนี้เป็นจริง นั่นก็หมายความว่า ในอีกหนึ่งศตวรรษ เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ริมทะเล (กรุงเทพฯ, ลอนดอน, นิวยอร์ก ฯลฯ) จะถูกน้ำท่วมตลอดปี ส่วนสภาพเศรษฐกิจของประชาชนในแถบลุ่มน้ำ Yangtze และแม่น้ำเหลืองในจีน แม่น้ำแดงในเวียดนาม แม่น้ำคงคาและพรหมบุตรในบังกลาเทศ ที่มีประชากรอาศัยประมาณ 300 ล้านคน ก็จะได้รับความเดือดร้อน เช่น บ้านถูกน้ำท่วม และนาที่ถูกน้ำท่วมก็จะปลูกข้าวไม่ได้ การแพร่ระบาดของโรคที่เกิดจากยุง รวมทั้ง อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ บิด ก็จะเกิดในพื้นที่ที่ยังไม่เคยได้รับผลกระทบมาก่อน นอกจากนี้เหตุการณ์น้ำท่วมยังทำให้แหล่งน้ำอุปโภค ได้รับการปนเปื้อนด้วย เพราะดินก็สกปรกที่ถูกน้ำพัดพามา อาจนำเชื้อ anthrax เชื้อรา และโลหะชนิดที่มีพิษ เช่น ปรอท เข้าสู่ร่างกายคนได้ และถ้าน้ำทะเลสูงขึ้น ไม่มาก เพียง 1 เมตร พื้นที่ของประเทศอียิปต์ประมาณ 15% จะถูกน้ำท่วม หมู่เกาะ Carteret ใน New Guinea ก็จะจมน้ำจนประชาชนชาวเกาะต้องอพยพหนีน้ำ ชาวบังกลาเทศร่วม 90 ล้านคน ก็จะถูกบีบบังคับให้ย้ายบ้านขึ้นที่สูง และการแทรกซึมของน้ำเค็มเข้าในแผ่นดินใหญ่ จะทำให้น้ำจืดปนเปื้อน ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิตของคน สัตว์ และพืชในบริเวณนั้นมาก


ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง 5 เมตร Ho Chi Minh City และกรุงเทพฯ จะจมน้ำทันที

เมื่อปีกลายนี้ ในวารสาร Online และ Nature Geoscience, DOI : 10.1038/ngeo 285 A. Carlson แห่งมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison และคณะได้ศึกษา isotope ของธาตุ beryllium ในหินชั้นที่อยู่ในทะเล และพบว่าน้ำแข็งจากขั้วโลกที่ละลายได้ทำให้ระดับน้ำเพิ่ม 0.7-1.3 เมตร/ศตวรรษ

การศึกษาโดยดาวเทียม GRACE ของ NASA ที่ใช้วิเคราะห์แรงโน้มถ่วงในบริเวณต่างๆ ของโลก เมื่อต้นปีนี้ แสดงให้เห็นว่า แผ่นน้ำแข็งใน Greenland และ Antarctica ได้สูญเสียน้ำแข็งในปริมาณ 150 ลูกบาศก์กิโลเมตร/ปี และนั่นหมายความว่า ระดับน้ำทะเลกำลังเพิ่มเพราะอิทธิพลของน้ำแข็งที่ละลาย ประมาณ 10 เซนติเมตรในหนึ่งศตวรรษ การศึกษาการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งใน Greenland ก็ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกัน

ดังนั้น หนทางหนึ่งที่จะชะลอการเพิ่มระดับน้ำทะเล คือควบคุมอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลก ไม่ให้เพิ่มเกิน 1 องศาเซลเซียส ควบคุมปริมาณ CO2 ในอากาศให้ต่ำกว่า 450 ppm และถ้าทำได้โลกในอนาคตอีก 100 ปีก็จะปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม ในขณะเดียวกันนักวิทยาศาสตร์ก็ต้องศึกษาปรากฏการณ์นี้อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้สามารถบอกได้ว่า สถานการณ์เรื่องนี้กำลังเลวร้ายอย่างไร และเพียงใด แต่ประชาชนทั่วไปก็ต้องตระหนักว่า มีหลายสิ่งหลายอย่างในโลก และบนโลกที่เราทุกคนไม่รู้จัก และเข้าใจดีนัก ดังนั้นการพยากรณ์ใดๆ ที่จะให้ถูก 100% เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้



จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 24 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 02-07-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงอันดับ 8โลก เร่งศึกษาผลกระทบ"ปลูกข้าวแบบน้ำขัง"

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยถึงผลการประชุม United Nations Climate Change Talks เป็นการประชุมตามกระบวนการของการเจรจาตามบาหลี โรดแมป (Bali Roadmap) เพื่อบรรลุข้อตกลงภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) และพิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol) โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเจรจาเกี่ยวกับอนาคตของความร่วมมือระยะยาวภายใต้อนุสัญญา และพันธกรณีเพิ่มเติมของประเทศที่มีรายชื่อใน Annex-I ภายหลังการสิ้นสุดพันธกรณีแรกของพิธีสารเกียวโต ซึ่งมีความคืบหน้าดังนี้

1.กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว มีท่าทีสนับสนุนการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศไม่ให้สูงกว่า 450 ppm และรักษาอุณหภูมิไม่เกินกว่า 2 องศาเซลเซียส ในขณะที่ประเทศหมู่เกาะเรียกร้องให้มีเป้าหมายของการควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คือที่ระดับไม่ให้สูงเกินกว่า 350 ppm และรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ดี ชาติกำลังพัฒนายืนยันว่าจะไม่ยอมรับการมีพันธกรณีใดๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นไปตามหลักการ Common But Differentiated Responsibility ของอนุสัญญา แต่จะมีมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศโดยสมัครใจ และเรียกร้องให้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีตามพันธกรณีของประเทศพัฒนาแล้ว

2.นอกจากนี้ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศต้องการให้มีการตั้งศูนย์ลงทะเบียนภายใต้อนุสัญญา เพื่อรับลงทะเบียนการดำเนินงานและผลสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากโครงการ/มาตรการ และการจับคู่ความร่วมมือกับประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งต้องอยู่บนหลักการดำเนินงานที่สามารถประเมิน รายงาน และตรวจสอบได้เท่านั้น ที่ประชุมยังได้เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วให้สนับสนุนทางเทคโนโลยีและการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนา ตามพันธกรณีของอนุสัญญา UNFCCC

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่า จากข้อมูลสถิติระบุว่าไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ ก๊าซมีเทนจากนาข้าว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอื่นๆ จากภาคอุตสาหกรรมในปริมาณสูง ซึ่ง Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC ประมาณการว่าไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มจาก 345 ล้านตันในปี 2546 เป็น 559 ล้านตันในปี 2563 ซึ่งทำให้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยปรับสูงเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องศึกษาถึงผลได้และผลเสียระหว่างการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าวแบบนาข้าวน้ำขัง และการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรม




จาก : มติชน วันที่ 2 กรกฎาคม 2552


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 02-07-2009
nudie nudie is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 131
Default

"อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่า จากข้อมูลสถิติระบุว่าไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ ก๊าซมีเทนจากนาข้าว และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอื่นๆ จากภาคอุตสาหกรรมในปริมาณสูง ซึ่ง Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC ประมาณการว่าไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มจาก 345 ล้านตันในปี 2546 เป็น 559 ล้านตันในปี 2563 ซึ่งทำให้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยปรับสูงเ ป็นอันดับที่ 8 ของโลก ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องศึกษาถึงผลได้และผลเสียระหว่างการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกข้าวแบบนาข้าวน้ำขัง และการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรม"

ผมว่านี่ออกจะฟั่นเฟือนพอๆกับการที่พริก เป็นสารอันตรายควบคุม เลย
เอาทาสอเมริกันมาคิดมังครับท่าน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 02-07-2009
ไอ_นุ! ไอ_นุ! is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Jun 2009
ข้อความ: 184
Default

ชมรมนักนิยมธรรมชาติ มีจัดเสวนา เรื่อง "ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกต่อทรัพยากรธรรมชาติ"

จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฏาคม 2552 เวลา 13.30 - 16.30 น.
ที่ ห้องบรรยาย PR201 ตึก PR คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถ.พระรามหก ข้างโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ

โดย ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ นักวิจัยสาขาสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม ม.มหิดล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ครับ...
http://www.naturethai.org/forum/foru...?TID=2119&PN=1
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 30-07-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


อุณหภูมิของโลกสูงเพราะวงจรอุบาทว์ เมฆหุบร่มบังแดด


นักวิทยาศาสตร์ พบเหตุทำโลกร้อน ชี้ โลกอุ่นขึ้นเนื่องจากปริมาณก๊าซที่ทำให้โลกร้อนเพิ่มมากขึ้น เมฆหมอกที่เคยบังแดดเริ่มกระจาย ทำให้มหาสมุทรโดนแดดมากขึ้น...

นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานที่แข็งแรงของเหตุอันเป็นชนวนทำให้อุณหภูมิโลกสูงว่า เมื่อน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น จะปรากฏว่าเมฆหมอกพากันแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมากขึ้น เปิดให้โลกโดนแดดส่องทั่วถึงยิ่งขึ้น จนนักวิทยาศาสตร์ถึงกับเรียกขานว่าเป็น "วงจรอุบาทว์"

คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยไมอามีของสหรัฐฯได้หันมาสนใจศึกษาแบบแผนของกลุ่มเมฆหมอกระยะต่ำ เพราะมันได้แสดงว่ามีผลกับความร่มเย็นของโลกโดยตรง เนื่องจากเมฆหมอกช่วยสะท้อนแสงแดดออกไป

พวกเขาได้พบว่า ขณะเมื่อโลกอุ่นขึ้นเนื่องจากปริมาณก๊าซที่ทำให้โลกร้อนเพิ่มมากขึ้น เมฆหมอกที่ปกคลุมอยู่ในระดับต่ำ ช่วยบังแดดจะเริ่มแตกกระจัดกระจายขึ้นไปอยู่ในชั้นบรรยากาศที่อุ่นกว่า ซึ่งยิ่งเปิดให้มหาสมุทรโดนแดดมากขึ้น ขณะเดียวกัน มันก็กลับยิ่งทำให้เมฆหมอกชั้นต่างๆยิ่งแตกกระจายออกไปมากขึ้น เป็นอยู่เช่นนี้ จน ดร.อามี คลีเมนต์ หัวหน้าคณะวิทยาศาสตร์ ได้เรียกมันว่าเป็น "วงจรอุบาทว์".



จาก : ไทยรัฐ วันที่ 30 กรกฎาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 11-08-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เทคโนโลยี"เรือเมฆา" 1ทางออกสู้วิกฤตโลกร้อน?



กล้องจากสถานีอวกาศนานาชาติ "ไอเอสเอส" ถ่ายภาพเหตุภูเขาไฟ "ซารีเชฟ" ระเบิดเหนือหมู่เกาะคูริล พ่นควันและเถ้าถ่านปกคลุมชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิโลกลดลง และเชื่อว่าโครงการเรือสร้างเมฆสู่ชั้นบรรยากาศจะประสบความสำเร็จด้วยวิธีเดียวกัน

นักวิทยาศาสตร์อเมริกันและอังกฤษ จับมือกันคิดค้นรูปแบบ "วิศวกรรมดาวเคราะห์" (Geoengineering) ใหม่ล่าสุดเพื่อแก้วิกฤตการณ์โลกร้อน

โครงการนี้มีชื่อเรียกชั่วคราว ว่า "คลาวด์ ชิป"

ถ้าจะแปลให้สละสลวยหน่อยอาจเรียกว่า "เรือเมฆา"

เป็นแนวคิดสุดขั้วที่เสนอให้มีการลงทุนสร้าง "เรือพลังงานลม" ประมาณ 2,000 ลำ ออกทดลองแล่นเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิก

เพื่อดูดเอา "น้ำทะเล" ใต้ลำเรือมาแปรสภาพกลายเป็นไอน้ำและเมฆ ปล่อยให้ล่องลอยไปปกคลุมชั้นบรรยากาศ



ศาสตราจารย์เอริก บิกเคล และศาสตราจารย์ลี เลน ผู้นำเสนอทฤษฎีเรือเมฆา อธิบายว่า

พลันที่หมู่เมฆจากปากปล่อยเรือลอยไปปิดกั้นผืนฟ้า ก็จะช่วย "สะท้อน" แสงอาทิตย์กลับไปสู่ห้วงอวกาศ

ผลลัพธ์ที่ตามมา ก็คือ อุณหภูมิบนพื้นโลกจะเย็นลง!

ทฤษฎีนี้จำลอง-ลอกเลียนแบบมาจากเมื่อครั้งโลกเกิดภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่

ส่งผลให้กลุ่มควันมหาศาลฟุ้งกระจายปกคลุมบรรยากาศ ปิดกั้นแสงอาทิตย์ไม่ให้ทะลุลงมายังพื้นโลกนั่นเอง

"ศูนย์ฉันทามติโคเปนเฮเกน" องค์กรสนับสนุนการวิจัยของบิกเคลและเลน ชี้ว่า



ความเป็นไปได้ของโครงการเรือเมฆามีสูงกว่าแผนวิศวกรรมดาวเคราะห์ และแผนลดก๊าซปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อื่นๆ

เพราะเรือเมฆาใช้เงินลงทุนแค่ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 315,000 ล้านบาท

ขณะ เดียวกัน กลุ่ม "ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ" ทั่วโลกต่างต้องหมดเปลืองงบประมาณไปกับโครงการลดคาร์บอน ไดออกไซด์ ถึง 2.5 แสนล้านเหรียญ หรือ 8.75 ล้านล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่คัดค้านไม่เห็นด้วยชี้ว่า เทคโนโลยีเรือเมฆา "ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นตอ" นั่นก็คือการที่มนุษย์โลกยังไม่พยายามหาทางหยุดยั้งพฤติกรรมระดมปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซต์ ซึ่งเป็นตัวการก่อวิกฤตโลกร้อนตัวจริงเสียงจริง

ทั้ง ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ รับประกันได้ว่า ในระยะยาว การอุตริไปปรับเปลี่ยนโครงสร้างชั้นบรรยากาศจะส่งผลร้ายอะไรตามมาบ้าง

แนวทางบรรเทาภัยโลกร้อนจึงต้องอาศัยองค์ประกอบ -ปัจจัย-เทคโนโลยีหลายอย่างทำงานไปพร้อมๆกัน รวมถึงการร่วมมือร่วมใจของคนทั้งโลก



จาก : ข่าวสด วันที่ 11 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:51


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger