#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 6 - 7 ก.ค. 67 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 8 ? 11 ก.ค. 67 ร่องมรสุมเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 10 ? 11 ก.ค. 67 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 6 - 9 ก.ค. 67 ทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทย มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 11 ก.ค. 67 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 6 ? 7 ก.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. ฟื้นฟูสัตว์น้ำ ย้ำไม่กระทบชายฝั่ง-ประมงเรือเล็ก นายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี แจงปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. พื้นที่อ่าวไทยและฝั่งตะวันตกบางส่วน ฟื้นฟูสัตว์น้ำ-เพิ่มจำนวนปลาทู ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.-15 ส.ค. 67 ย้ำไม่กระทบประมงชายฝั่งและประมงเรือเล็กแน่นอน วันที่ 4 กรกฎาคม 2567 นายสถิตชาติ ทิมกระจ่าง นายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า จากที่กรมประมง ประกาศปิดอ่าวไทยรูปตัว ก. ประจำปี 2567 จำนวน 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน-15 สิงหาคม 2567 ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอน ในฝั่งตะวันตกบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2567 ในที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เพื่อปกป้องและรักษาสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน โดยเฉพาะปลาทู ซึ่งแต่ละปีที่มีมาตรการดังกล่าว ทำให้มีจำนวนปลาทูเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะสามารถเติบโต และแพร่พันธุ์ได้ครบวงรอบชีวิต ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบกับอาชีพประมงชายฝั่งและประมงเรือเล็ก อย่างแน่นอน เพราะในพื้นที่ที่ปิดห้ามทำประมงนั้น จะห้ามเฉพาะเรือที่มีขนาดมากกว่า 20 ตันกลอส ส่วนเรือประมงขนาดที่ไม่ถึงยังสามารถทำการประมงได้ตามปกติ ซึ่งจะมีการกำหนดชนิดของเครื่องมือจับปลาไว้อยู่แล้ว โดยในส่วนของเรือประมงที่มีขนาดเกิน 20 ตันกลอส ถ้าฝ่าฝืนเข้าไปทำประมงในพื้นที่ปิดต้องระวางโทษ ปรับ 5,000-30,000,000 บาท ปรับจำนวน 5 เท่า ของและมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากกระทำประมง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1600417
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ต้องรู้ก่อนทัวร์ "ซีวอล์กเกอร์" กิจกรรมดำน้ำนอกการควบคุม กรณี 2 นักท่องเที่ยวชาวอินเดียวูบหมดสติ หลังสวม "ซีวอล์กเกอร์" ท่องโลกใต้น้ำเกาะสาก จ.ชลบุรี ยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ตำรวจและหน่วยงานท่องเที่ยวเร่งตรวจสาเหตุ พบเรือพาเที่ยวมีใบอนุญาต แต่ 6 แรงงานกัมพูชาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซีวอล์กเกอร์ (Sea Walker) เป็นการท่องเที่ยวใต้ท้องทะเลรูปแบบหนึ่ง โดยจะนำอุปกรณ์หัวครอบที่มีลักษณะใส มาให้นักท่องเที่ยวสวมระหว่างที่ลงไปใต้ท้องทะเล พร้อมมีระบบหายใจใต้น้ำที่มีสายออกซิเจน ต่อมาจากบนเรือ โดยจะอยู่ความลึกระดับ 7?10 เมตร การใช้บริการจะใช้เวลา 15-20 นาทีต่อรอบราคา 800-900 บาท โดยเจ้าหน้าที่จะประคองให้นักท่องเที่ยวลงสู่พื้นทะเลก่อน หลังจากนั้นจะปล่อยให้นักท่องเที่ยวได้ชมฝูงปลา และความงดงาม โดยที่ยังคงหายใจได้ตามปกติ ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก ในไทยพบมากในพื้นที่พัทยา จ.ชลบุรี มีผู้ประกอบการ 17 ราย ต้องรู้ก่อนดำดิ่งใต้ทะเล "ซีวอล์กเกอร์" นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า กิจกรรมซีวอล์กเกอร์ ในพื้นที่พัทยามีหลายหน่วยงานดูแล ในส่วนของ ทช.ดูแลเฉพาะทรัพยากรทางทะเลและปะการัง เช่นการเหยียบย่่ำปะการัง และการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ประกอบกิจกรรม 19 พื้นที่ของเกาะสาก เกาะล้าน โดยจะแบ่งให้เข้าท่องเที่ยวใน 2 ฤดูกาลสลับกัน ในส่วนกรมเจ้าท่า จะดูแลการท่องเที่ยวทางเรือ มาตรฐานเรือ ขณะที่กรมการท่องเที่ยวจะดูแลเรื่องความปลอดภัย แต่ทั้ง 3 ส่วนจะอยู่ภายใต้ประกาศของ เมืองพัทยา วุฒิพงษ์ บอกว่า สำหรับซีวอล์กเกอร์ เดิมเคยให้ไปดูแนวปะการัง แต่เกิดปัญหานักท่องเที่ยวเหยียบย่ำ จึงปรับรูปแบบใหม่ให้ใช้จะเป็นพื้นที่ทะเลโล่ง ๆ มีการปูพื้นและกั้นราวรั้วไม่ให้ออกนอกแนวเขตจุดไม่เกิน 30X30 ตร.ม.แต่ไม่ได้ปรับสภาพใต้ท้องทะเล ส่วนใหญ่กำหนดความลึก 5-7 เมตรและนักท่องเที่ยวที่ลงไปจะอยู่ได้ 10 นาที "ซีวอล์กเกอร์ เป็นอาชีพใหม่ที่กฎหมายการท่องเที่ยวยังไม่ครอบคลุม เพราะกิจกรรมดำน้ำมี 3 รูปแบบคือ ดำน้ำตื้น ดำน้ำลึกแบบ Scuba และการดำน้ำลึกแบบ Snuba ส่วนซีวอล์กเกอร์ยังไม่มีคำอนุญาต แต่ไม่ได้หมายความว่าห้าม" ขณะที่การดูแลเชิงพื้นที่ไม่ให้กระทบกับทรัพยากรทางทะเล ทางทช.เคยมีการจัดทำร่างประกาศกำหนดมาตรการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประกอบ กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำแบบเดินใต้ทะเล (Sea Walker) ไว้แล้ว เมื่อถามมีความเสี่ยงจากข้อบกพร่องของตัวอุปกรณ์ หรือคนควบคุมมากแค่ไหน วุฒิพงษ์ บอกว่า จากที่เคยทดลองท่องเที่ยวรูปแบบซีวอล์กเกอร์มาแล้ว ระบบหัวสวมมีน้ำหนักประมาณ 10 กก.เพื่อกดไม่ให้หัวลอย แต่เมื่ออยู่ในน้ำจะไม่หนัก ส่วนด้านหลังจะมีหัวจุกที่เครื่องปั้มอากาศด้านบนเรือที่ต่อสายจากเรือ เมื่อนักท่องเที่ยวลงไปใต้ทะเลแล้ว จะสวมหัว เพื่อดันอากาศเข้าไปที่ตัวซีวอล์กเกอร์ และคนที่ดำน้ำจะมีอากาศทำให้ลอยตัวในน้ำได้ ส่วนอากาศที่เข้ามาในหัว มีปัญหาหรือไม่นั้น เท่าที่เคยมีประสบการณ์พบว่าบนเรือจะมีเครื่องอัดปั้มอากาศสำหรับดำน้ำอัดเก็บในถัง เมื่อความดันได้จะส่งต่อลงไปที่หัวสวม "ผมมองว่ากีฬาทางน้ำทุกชนิดมีอันตรายทั้งหมด ถ้ามีความประมาท และไม่ทำตามคำแนะนำ ซึ่งส่วนใหญ่จะบรีฟข้อมูล ข้อควรระวัง อีกทั้งนักท่องเที่ยวอาจจะไม่ประเมินสุขภาพของตัวเอง เช่น นอนดึก ดื่ม หรือมีโรคประจำตัว" ทั้งนี้แม้จะยังไม่มีการกำหนดออกมาเป็นระเบียบ เหมือนกรณีการดำน้ำลึกที่ต้องมีใบรับรองอายุเป็นลำดับขั้น เช่น Junior Open Water มีข้อจำกัด นักดำน้ำอายุ 10-11 ปี ต้องดำน้ำกับ PADI Professional พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ผ่านการรับรองเป็นนักดำน้ำมาแล้ว และการดำน้ำต้องไม่เกิน 12 เมตร/40 ฟุต เพื่อความปลอดภัย นักดำน้ำอายุ 12-14 ปี ต้องดำน้ำกับผู้ใหญ่ ที่ผ่านการรับรองเป็นนักดำน้ำมาแล้ว และดำน้ำได้ไม่เกิน 18 เมตร 60 ฟุต ซึ่งในมุมของตัวเองก็ยังมองว่ายังเด็ก และนักดำน้ำเองก็เสียชีวิตได้เช่นกัน ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2560 เคยเกิดกรณีนักท่องเที่ยวชาวจีน อายุ 52 ปี สำลักน้ำเสียชีวิต หลังจากการเล่นกิจกรรมทางน้ำประเภทซีวอล์กเกอร์ ที่บริเวณหาดหัวโขด เกาะล้าน-เมืองพัทยา มาแล้ว โดยบริษัทประกันได้จ่ายเงินสินไหมทดแทนให้กับทายาทจำนวน 1.2 ล้านบาท https://www.thaipbs.or.th/news/content/341694
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ฟิลิปปินส์ ออกแคมเปญรักษ์โลก "เก็บขยะบนชายหาดมาแลกข้าว" SHORT CUT - เมืองมาบินีในฟิลิปปินส์จัดแคมเปญแลกขยะพลาสติกกับข้าว เพื่อกระตุ้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาขยะในชายหาดที่เพิ่มขึ้นทุกปี - ตั้งแต่เริ่มโครงการในตุลาคม 2022 สามารถเก็บขยะได้กว่า 4,300 กิโลกรัม แลกเป็นข้าว 2,600 กิโลกรัม - ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุด คิดเป็น 36% ของขยะพลาสติกในทะเลทั่วโลก อาสาสมัครในเมืองมาบินี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆในประเทศฟิลิปปินส์ มาพร้อมกับไอเดียใหม่ๆเพื่อพยายามกระตุ้นให้ประชาชนท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม จึงออกแคมเปญเก็บขยะพลาสติก "แลกข้าว" ขึ้นมา จิอูลิโอ เอ็นดายา และอาสาสมัครคนอื่นๆ ริเริ่มโครงการดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนในเมืองมาบินี ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใกล้กับกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ ไปช่วยกันเก็บขยะจากชายหาด แลกกับข้าวหนึ่งกิโลกรัม โดยโครงการดังกล่าวได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของบริษัทเล็กๆและเอกชน ซึ่งส่งเสริมเรื่องการอนุรักษ์ทะเล เมืองมาบินีเป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำยอดนิยมแห่งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ในแนวของ Coral Triangle หรือสามเหลี่ยมปะการัง ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ความหลากหลายทางทะเล กินพื้นที่ถึง 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิกินี หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์-เลสเต แต่ชายหาดเมืองมาบินีกลับมีปริมาณขยะที่คลื่นทะเลซัดกลับเข้ามามากขึ้นทุกๆปี เอ็นดายาเปิดเผยว่า เขาพบเห็นเต่าทะเลติดอยู่ในตาข่าย หรือพลาสติกประเภทอื่น และเมื่อเร็วๆนี้ ยังไปพบไมโครพลาสติกในปลาที่เรารับประทานมากขึ้น ซึ่งมันก็ส่งผลร้ายต่อมนุษย์อีกทอดหนึ่ง "นับตั้งแต่โครงการนี้เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมปี 2022 ขยะมากกว่า 4,300 กิโลกรัมถูกเก็บรวบรวม และนำมาแลกเปลี่ยนเป็นข้าว 2,600 กิโลกรัม" นี่ยังเป็นโครงการที่ช่วยเหลือชาวบ้านได้เป็นอย่างดี เจเน็ธ อาเซเวโด ซึ่งร่วมเก็บขยะชายหาดมาแลกข้าว บอกว่า ทุกวันนี้เธอประหยัดเงินซื้อข้าวได้มากเพราะโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ รายงานของโครงการ Our World in Data ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายนปี 2022 เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์เป็นประเทศผู้ก่อมลพิษของโลก เพราะมีการทิ้งขยะพลาสติกจำนวนมากลงสู่ทะเล โดยคิดเป็น 36 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกที่ทิ้งลงสู่ทะเลทั่วโลก ที่มา : Reuters https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/851312
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|