#11
|
||||
|
||||
น้ำแข็งอาร์กติกละลายแล้วกว่าหมื่น ตร.กม. ผลสำรวจชี้ น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกที่ติดกับแคนาดาละลายไปกว่าหมื่นตารางกิโลเมตร จากสภาวะโลกร้อน น้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกที่ติดกับแคนาดา ได้ละลายไปหลายหมื่นตารางกิโลเมตร เมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ต้องสังเกตการณ์ผ่านดาวเดียวถึงความเปลี่ยนแปลง และคาดว่าน้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือ อาจเหลือน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้นายเอ็ดดี้ กรูเบน วัย 89 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านสังเกตการณ์ สังเกตเห็นการถอยร่นของน้ำแข็งช่วงฤดูร้อนมากขึ้นในแต่ละทศวรรษเนื่องจากโลกร้อนขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนก็เนื่องมาจากน้ำมือของมนุษย์นั้นเอง จาก : สำนักข่าว inn วันที่ 11 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#12
|
||||
|
||||
โลกร้อน : วินิจ รังผึ้ง การระบาดของโรค ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ได้สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยและการท่องเที่ยวของ โลกอย่างหนัก ด้วยเพราะเชื้อไวรัส เอ เอช1 เอ็น1 มีการแพร่ระบาดออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และอาจจะมากกว่านั้นกว้างขวางกว่านั้น เพราะบางประเทศที่ไม่มีมาตรฐานด้านการสาธารณสุขก็จะไม่มีการรายงาน ไม่มีการจดบันทึก หรือตัวเลขรายงานการระบาดจากทุกประเทศทั่วโลกในขณะนี้ก็อาจจะต่ำกว่าความ เป็นจริงไปมาก ด้วยนักวิชาการสาธารณสุขก็ยังคาดว่าจะเป็นเพียงครึ่งของการระบาดจริง เท่านั้น เพราะคนที่เป็นหรือได้รับเชื้อแล้วรักษาเองโดยไม่ไปตรวจรักษาตามสถานพยาบาล ก็มีอยู่อีกมากมาย เจ้าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นี้จึงสามารถสร้างความตื่นตระหนกและหวาดวิตกกันไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนไม่อยากจะเดินทางท่องเที่ยวไปไหนไกลบ้าน เพราะกลัวจะติดหวัดหรือหวั่นเกรงในความไม่สะดวกต่างๆในการเดินทางไกล จึงทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมีปริมาณลดลงไปด้วย ความจริงในแวดวงนักวิชาการสาธารณสุขและนักระบาดวิทยาของไทยนั้น ก็ได้มีการคาดการณ์ล่วงหน้ามาตั้งแต่ปีที่แล้วว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และ ไวรัสสายพันธุ์อื่นๆจะมีการกรายพันธุ์และพัฒนาตัวเองรวมทั้งมีการแพร่ระบาด จนยากที่จะควบคุม เพราะสาเหตุใหญ่ที่มาจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อมที่ เป็นตัวเอื้ออำนวยให้ไวรัสและเชื้อโรคชนิดอื่นๆแพร่กระจายขยายตัวได้มากมาย ยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะทำให้โรคเขตร้อนต่างๆมีการแพร่ระบาดรุนแรงยิ่งขึ้นและยังมีการขยาย ตัวออกไปในวงกว้างโดยเฉพาะการแพร่ระบาดเข้าไปยังเขตหนาวที่ปัจจุบันก็มี อุณหภูมิแปรปรวนและสูงขึ้น ทำให้โรคบางชนิดที่ไม่เคยมีก็เกิดมีขึ้นได้ ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ มีการขยายตัวขึ้นเป็นทวีคูณจากการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อม ก็คือ ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยของเรามีปริมาณฝนตกลงมามากกว่าปรกติ คือตกมาตลอดตั้งแต่ฤดูร้อนต่อเนื่องเข้ามาสู่ฤดูฝน และช่วงวันที่ฝนไม่ตกอากาศก็มักจะร้อนจัด ทำให้อากาศมีสภาพร้อนชื้นอย่างมาก จนส่งผลให้พืชพันธุ์เจริญเติบโต พืชผลทางการเกษตรติดดอกออกผลกันดกดื่นเต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นมะม่วง ลิ้นจี่ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลำไย ออกผลเต็มต้นกันจนราคาตกต่ำติดดินจนต้องมีการปิดถนนประท้วงกันไปมากมาย ซึ่งนั่นเป็นผลิตผลและการขยายตัวแพร่พันธุ์ของพืชขนาดใหญ่ๆ เชื้อไวรัสและเชื้อโรคต่างๆ ก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่ออุณหภูมิของโลกและสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวเผยแพร่เผ่า พันธุ์ มันก็เลยออกลูกออกหลานแพร่ระบาดกันจนเต็มบ้านเต็มเมือง และเมื่อโลกมนุษย์ทุกวันนี้เป็นเสมือนยุคที่โลกไร้พรมแดน การเดินทางไปมาหาสู่กันทำได้รวดเร็วสะดวกสบายในทุกมุมโลก เชื้อโรคก็ถือโอกาสทำตัวเป็นผู้โดยสารติดตามผู้คนไปทุกหนทุกแห่ง การควบคุมโรคระบาดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ดูเหมือนภาวะโลกร้อนจะเป็นสาเหตุให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติและเกิด โรคระบาดที่ร้ายแรงขึ้นทุกที หากถ้าเราไม่ช่วยกันหยุดยั้งหรือชะลอภาวะโลกร้อนกันตั้งแต่วันนี้ ห้วงเวลาที่เหลือก็จะเป็นห้วงเวลาที่มนุษย์จะอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างลำบาก ยากแค้นแสนสาหัส ความจริงแล้วสาเหตุใหญ่ของภาวะโลกร้อนนั้นก็เกิดขึ้นจากมนุษย์ปล่อยก๊าซ เรือนกระจกขึ้นไปสู่บรรยากาศเป็นจำนวนมากจนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากฟอสซิลทั้งหลายเช่นน้ำมัน ถ่านหิน และเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดพลังงาน เกิดความร้อน และเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเราท่านทุกคนต่างก็มีส่วนด้วยกันทั้งนั้นไม่ว่าจะทางตรงหรือทาง อ้อม ทางตรงก็เช่นการขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแล้วปล่อยไอเสียออกมา ทางอ้อมก็เช่นการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่นอกจากจะก่อให้เกิดความร้อนแล้ว การผลิตไฟฟ้าก็ต้องใช้น้ำมัน ใช้ถ่านหิน ใช้พื้นที่ป่ามาสร้างเขื่อนเป็นต้น นอกจากนี้การใช้สินค้าทุกชนิดในชีวิตประจำวัน ซึ่งสินค้าเหล่านั้นต้องใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงาน ผ่านกระบวนการขนส่ง ซึ่งล้วนมีส่วนก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกด้วยกันทั้งสิ้น ความจริงเจ้าปรากฏการณ์เรือนกระจกนั้นมิใช่จะเป็นสิ่งเลวร้ายด้าน เดียว แต่กลับมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างสูงยิ่งหากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น ในภาวะที่สมดุล เพราะปรากฏการณ์เรือนกระจกนั้นมีส่วนช่วยให้พื้นผิวโลกมีอุณหภูมิที่อบอุ่น เพราะก๊าซเรือนกระจกเช่นก๊าซคาบอนไดออกไซด์ และไอน้ำที่อยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น ทำหน้าที่เป็นเสมือนแผ่นกระจกในเรือนกระจกที่ชาวเมืองหนาวใช้เป็นโรงเรือน สำหรับปลูกพืช ซึ่งแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลกส่วนใหญ่จะสะท้อนกลับไป แต่จะมีความร้อนและรังสีบางส่วนที่เมื่อสะท้อนจากพื้นโลกกลับขึ้นไปก็จะ สะท้อนก๊าซเรือนกระจกกลับลงมายังผิวโลกอีก นั่นจึงทำให้โลกใบนี้มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งหากไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจกเช่นนี้ โลกก็จะมีอุณหภูมิหนาวเย็นถึงติดลบ 20 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นโลกจะมีสภาพเหมือนยุคน้ำแข็ง มนุษย์ สัตว์ และพืชก็จะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้เช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้าม หากเราไม่รักษาสมดุลให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกอยู่ในภาวะแห่งความพอดี โดยเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปในบรรยากาศอย่างมากมายอยู่ทุกเมื่อเชื่อ วัน ปริมาณความร้อนและรังสีที่ถูกกักขังไว้ในเรือนกระจกที่หนาแน่นขึ้นก็จะเพาะ บ่มให้โลกร้อนขึ้นๆ จนเป็นผลให้เกิดความแปรปรวนของฤดูกาลและสภาพดินฟ้าอากาศ จนก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น น้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว แผ่นดินไหว ไฟป่า คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง พายุเฮอริเคน พายุใต้ฝุ่นที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน ฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ ดินถล่ม ระดับน้ำทะเลท่วมสูงขึ้น ชายฝั่งถูกกัดเซาะ รวมทั้งโรคระบาดในเขตร้อนจะแพร่ระบาดทวีความรุนแรงขึ้นและขยายพื้นที่การ ระบาดไปทั่วโลก ธรรมชาติสร้างสมดุลไว้บนผืนโลกจนเกิดพืช สัตว์และมนุษย์ขึ้นมาอาศัยอยู่บนผืนโลกอย่างมีความสุข หากเราทำลายความสมดุลให้สูญสิ้นไปแล้วเราจะอยู่อย่างไรบนโลกใบนี้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือเพื่อดูแลรักษาโลกของเราวันนี้คงยังไม่สาย ด้วยการร่วมใจกันประหยัดพลังงาน ใช้ทรัพยากรของโลกอย่างประหยัดและคุ้มค่า เพียงเท่านี้เราก็จะมีส่วนดูแลรักษาโลกใบนี้ร่วมกัน จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 สิงหาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#13
|
||||
|
||||
โลกร้อนส่งผล 100 ปี ระดับน้ำทะเลพุ่ง 1 ม. องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชื่อดังของโลก ประเมินว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงกว่า 1 เมตร ในราว 100 ปีข้างหน้า กองทุนสัตว์ป่าโลก หรือ "ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ" (WWF) ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2643 หรือเกือบ 100 ปีข้างหน้า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นถึง 1.2 เมตร ซึ่งมากกว่าตัวเลขที่สหประชาชาติคาดการณ์เอาไว้ที่ 59 เซนติเมตรถึง 1 เท่าตัว "ภาวะโลกร้อนจะส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลก ทั้งขั้วโลกเหนือและใต้ละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและเกิดน้ำท่วม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชา กรถึง 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก ดังนั้นเราจึงตัดสินใจแจ้งเตือนเรื่องดังกล่าวก่อนที่จะมีการประชุมแก้ปัญหา โลกร้อนที่ประเทศเดนมาร์ก ในเดือนธันวาคม 2552" รายงานกองทุนสัตว์ป่าโลก ระบุ จาก : ข่าวสด วันที่ 7 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#14
|
||||
|
||||
อุณหภูมิโลกเพิ่ม 1 องศาฝนกระหน่ำแรงขึ้น 6% งานวิจัยเอ็มไอที-คาลเทคชี้พายุฝนรุนแรงจะเพ่มขึ้น 6% หากอุณภูมิโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส (ภาพประกอบไซน์เดลี) แบบจำลองนักวิจัยเอ็มไอที-คาลเทคชี้อนาคต พายุฝนพัดกระหน่ำรุนแรงขึ้นเพราะโลกร้อน ระบุทุกๆ 1 องศาเซลเซียสที่เพิ่มขึ้น ฝนรุนแรงขึ้น 6% เพราะความร้อนที่เพิ่มขึ้นทำไอน้ำในชั้นบรรยากาศก็สูงขึ้นด้วย งานวิจัยอื่นๆ ก่อนหน้านี้ชี้ว่า ปริมาณเฉลี่ยของฝนและหิมะประจำฤดูกาลจะเพิ่มขึ้นทั้งในบริเวณเส้นศูนย์สูตร และบริเวณขั้วโลก แต่ปริมาณฝนจะลดลงในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร อย่างไรก็ดีไซน์เดลีระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทราบความถี่และความรุนแรง ของพายุฝนที่จะกระหน่ำลงมา ซึ่งพายุใหญ่จะนำไปสู่ปัญหาน้ำท่วมและการกัดเซาะดินที่เพิ่มมากขึ้น ล่าสุดงานวิจัยของพอล โอ'กอร์แมน (Paul O'Gorman) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากภาควิชาโลก บรรยากาศและดวงดาว แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์หรือเอ็มไอที (MIT) และทาพิโอ ชไนเดอร์ (Tapio Schneider) ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมและวิศวกรรมแห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย หรือคาลเทค (Caltech) สหรัฐฯ ได้ร่วมกับศึกษาเพื่อตอบโจทย์ข้างต้น โดยแบบจำลองที่ทั้งสองใช้ศึกษาชี้ว่า พายุฝนรุนแรงจะเพิ่มขึ้นประมาณ 6% เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุก 1 องศาเซลเซียส พร้อมกันนี้ การศึกษาต่างหากของทีมนักวิจัยเอ็มไอทีเมื่อต้นปีนี้ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และนโยบายการเปลี่ยนระดับโลก ชี้ให้เห็นว่า หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่รวดเร็วและใช้ในวงกว้างแล้ว พบว่าอุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 5.2 องศาเซลเซียสก่อนสิ้นศตวรรษนี้ ซึ่งอุณภูมิดังกล่าวเป็นค่ากลางของช่วงอุณภูมิที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตซึ่ง อยู่ระหว่าง 3.5-7.4 องศาเซลเซียส โดยมีเปอร์เซนต์ความน่าจะเป็นสูงถึง 90% ด้าน ริชาร์ด อัลลัน (Richard Allan) นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์วิทยาศาสตร์ระบบสิ่งแวดล้อม (Environmental Systems Science Centre) มหาวิทยาลัยเรดดิง (Reading University) ในอังกฤษกล่าวว่า งานวิจัยของโอ'กอร์แมนเป็นก้าวสำคัญที่จะเข้าใจพื้นฐานทางกายภาพของพายุฝน รุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ แต่ยังต้องมีงานวิจัยที่มากกว่านี้ เพื่อให้เกิดการยอมรับในแบบจำลองที่ใช้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของพายุฝนรุนแรง " พื้นฐานของเหตุผลที่ศึกษาการเพิ่มขึ้นของฝนซึ่งรุนแรงขึ้น คืออากกาศที่ร้อนขึ้น ทำให้มีไอน้ำมากขึ้นด้วย ดังนั้นภูมิอากาศที่ร้อนขึ้น ก็จะมีไอน้ำในชั้นบรรยากาศมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่ปริมาณพายุฝนรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นด้วย" โอ'กอร์แมนกล่าว อย่างไรก็ดี นักวิจัยกล่าวด้วยว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงข้ามกับที่เราคาดคิดกัน นั่นคือพายุฝนที่รุนแรง จะไม่เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับความจุของความชื้นในชั้นบรรยากาศ. จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#15
|
||||
|
||||
ภาวะ"โลกร้อน"ส่งผล "เอลนิญโญ"เกิดถี่-เอเชียแล้ง อาจารย์ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เตือนว่า ภาวะโลกร้อนจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ "เอลนิญโญ" บ่อยครั้งขึ้น และยังส่งผลให้พื้นที่บางจุดในทวีปเอเชียประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง วารสาร วิทยาศาสตร์ "เนเจอร์" ตีพิมพ์ผลการศึกษาของ เบน เคิร์ตแมน อาจารย์มหาวิทยาลัยไมอามีและคณะ ชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ หรือภาวะโลกร้อน จะทำให้ปรากฏการณ์เอลนิญโญเกิดถี่ขึ้น เพราะนอกจากเกิดเอลนิญโญฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกทุก 4-5 ปีแล้ว ยังจะเกิดเอลนิญโญทางตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกถี่ขึ้น แต่จะไม่เกิดพร้อมกัน ส่งผลให้เอเชียแห้งแล้งยิ่งขึ้น ขณะที่เฮอริเคนถล่มฝั่งตะวันออกของสหรัฐและประเทศในทะเลแคริบเบียนจะรุนแรง ขึ้น รายงานแจ้งว่า เอลนิญโญเป็นปรากฏการณ์กระแสน้ำอุ่นในทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันออก ไหลไปแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทำให้อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย และภาคตะวันออกของบราซิลแห้งแล้ง แต่ในประเทศสหรัฐ อเมริกาบริเวณฝั่งอ่าวเม็กซิโก และหลายพื้นที่ของภูมิภาคอเมริกาใต้ จะพบภัยธรรมชาติฝนตกหนัก ทำให้ผิวน้ำทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติกมีอุณหภูมิลดลง ช่วยบรรเทาการก่อตัวและความรุนแรงของเฮอริเคน จาก : ข่าวสด วันที่ 30 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#16
|
||||
|
||||
น้ำท่วมใหญ่ในฟิลิปปินส์ สัญญาณเตือนต้องแก้โลกร้อนอย่างจริงจัง คุณตา-คุณยายได้รับความช่วยระหว่างเกดอุทกภัยในฟิลิปปินส์ ผู้เชี่ยวชาญชี้น้ำท่วมครั้งใหญ่ใน ฟิลิปปินส์เป็นสัญญาณบ่งชี้ต้องแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง เตือนหลายล้านชีวิตกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง ด้านองค์กรการกุศลอังกฤษระบุอีก 6 ปีข้างหน้าประชากรโลก 54% จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ชาวฟิลิปปินส์จะคุ้นเคยกับพายุไต้ฝุ่น ซึ่งกระหน่ำลงมาทุกปีราวๆ ลูกอยู่แล้ว แต่เหตุการณ์ “มหาอุทกภัย” จากพายุ “กิสนา” (Ketsana) ซึ่งมียอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการราว 240 คนนั้น กลับเป็นภัยธรรมชาติที่รุนแรงผิดปกติสำหรับผู้คนในท้องที่นั้น ซึ่งเอเอฟพีระบุว่า ปริมาณฝนที่ตกลงมาต่อเนื่อง 9 ชั่วโมงในกรุงมนิลานั้น มากกว่าปริมาณฝนจากเฮอร์ริเคนแคทรินา (Hurricane Katrina) ที่ถล่มนิวออร์ลีนส์ของสหรัฐฯ เสียอีก แอนโธนี กอเลซ (Anthony Golez) หัวหน้าหน่วยป้องกันภัยพลเรือนของฟิลิปปินส์ และพริสโก นิโล (Prisco Nilo) หัวหน้าหน่วยพยากรณ์สภาพอากาศของฟิลิปปินส์ ต่างพิศวงต่อการเปลี่ยนแปลงที่แปลกประหลาดของไต้ฝุ่นซึ่งถล่มประเทศในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กอเลซระบุว่า ในเดือน เม.ย.ซึ่งควรจะเป็นฤดูร้อนสำหรับฟิลิปปินส์ แต่กลับมีพายุไต้ฝุ่นถึง 3 ลูกพัดถล่มประเทศ โดยหนึ่งในนั้นกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินถล่มซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 250 คนทางตอนใต้ของเมืองหลวง และพายุไต้ฝุ่นในช่วงเดือน มิ.ย.ยังมีเส้นทางที่เบี่ยงเบนไปจากเส้นทางปกติ โดยเคลื่อนตัวผ่านทางตอนเหนือและส่วนกลางของเกาะลูซอน (Luzon) เป็นครั้งแรก และสำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในฟิลิปปินส์ครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อชีวิต ผู้คนกว่า 12 ล้านคน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดน้ำท่วมมาก่อน ชาวฟิลิปปินส์จำนวนมากต่อแถวรับความช่วยเหลือ “เมื่อ คุณลองสังเกตข้อมูลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ คุณจะเห็นว่าปีนี้และปีที่ผ่านมาเป็นปีที่แปลกประหลาดมาก และเราก็ทำได้เพียงสันนิษฐานว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศเท่านั้น” กอเลซกล่าว “เรา ไม่อาจกล่าวโทษเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็นเพราะฝน เราทราบว่านี่เป็นอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี เรารู้ว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกำลังเกิดขึ้นจริง ไม่ต้องโต้เถียงกันเรื่องนี้อีก นี่เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เราจำเป็นต้องเตรียมตัว นี่เป็นเพียงประสบการณ์แรกของสิ่งที่จะเกิดขึ้น เราจำเป็นต้องเตรียมตัวมากกว่านี้ และเราต้องแก้ต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” มาร์ก เดีย (Mark Dia) นักรณรงค์ของกรีนพีซให้ความเห็นผ่านสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่น ทางด้าน อีโว เดอ โบร์ (Yvo De Boer) ประธาน สำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาว่าด้วยโลกร้อน ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ องค์การสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ กล่าวว่า น้ำท่วมในฟิลิปปินส์นั้นเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่โลกต้องตกลงสัญญาในการ จัดการปัญหาโลกร้อนก่อนเส้นตายในเดือน ธ.ค.นี้ ภายในการเจรจาที่โคเปนเฮเกน เดนมาร์ก โบร์กล่าวว่าข้อตกลงร่วมกันระดับโลกนี้จะรับประกันว่า ความถี่และความรุนแรงของสภาพอากาศสุดขั้วอย่างที่เกิดขึ้นนี้จะลดลง ตามผลของนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการปฏิบัติอย่าง จริงจัง ทั้งนี้ผู้ร่วมเจรจาในเวทีของสหประชาชาติพยายามนำร่างหนังสือในสองประเด็น หลักๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้คือ เรื่องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเรื่องความร่วมมือทางด้านการเงินขึ้น มาพิจารณา เพื่อหาข้อสรุปสำหรับการประชุมที่โคเปนเฮเกน ขณะที่ จอส เบอร์เซลส์ (Jose Bersales,) นักมนุษยธรรมและผู้อำนวยการกิจการฉุกเฉินขององค์กรการกุศล “เวิร์ลวิชัน” (World Vision) เตือนว่าพายุที่ฟิลิปปินส์เหมือนกับหายนะของผู้ที่ยากจนที่สุดในโลก ซึ่งมักไม่ได้เตรียมการเพื่อรับมือกับพายุ และยังเป็นเสียงปลุกให้โลกเตรียมตัวในการเจรจาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศที่โคเปนเฮเกนในปลายปีนี้ ผู้ประสบอุทกภัยในฟิลิปปินส์กำลังเก็บกวาดบ้านเรือน หลังน้ำลด (ภาพทั้งหมดจากเอเอฟพี) ทางเวิร์ลวิชันยังกล่าวถึงคำพยากรณ์ของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศหรือไอพีซีซี (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ที่ระบุว่า พายุโซนร้อนจะมีความรุนแรงขึ้น มีกระแสลมรุนแรงขึ้นและมีพายุฝนหนักขึ้นด้วย ซึ่งภัยพิบัติในฟิลิปปินส์ครั้งนี้เป็นเหมือนหายนะทำลายล้างสำหรับประชากร ของประเทศ 43% หรือ 36 ล้านคน ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยรายได้ต่ำกว่าวันละ 2 ดอลลาร์ และมีหมอ 1 คนที่ต้องดูแลผู้ป่วย 1,700 คน ซึ่งคนจำนวนนี้ต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อรับมือกับพายุอันเลวร้าย นอกจากนี้งานวิจัยขององค์กรการกุศลออกซ์แฟม (Oxfam) ของอังกฤษยังระบุด้วยว่า ในอีก 6 ปีข้างหน้าจะมีประชากรโลก 54% หรือ 375 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 30 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#17
|
||||
|
||||
ภาวะโลกร้อน...หนุนพายุเขตร้อนแรงและถี่ ส่งผลคนจนเอเชียขาดแคลนอาหาร อิทธิพลของไต้ฝุ่น “กิสนา” ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ฟิลิป ปินส์กลายเป็นเมืองบาดาลโดยฉับพลันมีผู้เสียชีวิตเกือบ 300 คน ก่อนที่จะเคลื่อนตัวมาที่เวียดนามซึ่งคร่าชีวิตผู้คนนับ 100 และลาวนับเป็นเรื่องโชคดีว่าก่อนจะเข้าประเทศไทย กิสนาแปรสภาพเป็นพายุดีเปรสชันไปแล้ว คนไทยได้รับผลกระทบน้อยลงไป ยังไม่ถึงขั้นต้องเสียชีวิต เพียงแต่ทำให้บ้านเรือนและระบบสาธารณูปโภคเสียหาย แต่ยังไม่ทันที่จะแก้ไขความเสียหายและเยียวยาจิตใจของผู้คน ล่าสุดทางการฟิลิปปินส์ออกประกาศเตือนในวันศุกร์ที่ผ่านมาให้เตรียมรับมือ กับพายุไต้ฝุ่นลูกใหม่ “ป้าหม่า” คาดว่าก่อให้เกิดปริมาณฝนตกน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับพายุไต้ฝุ่น “กิสนา” นอกจากนี้ในบ้านเรามีคำเตือนให้ระวังพายุฝนจากมหาสมุทรอิน เดียอ่าวเบงกอล จะเป็นพายุไซ โคลน ซึ่งจะพัดเข้าทางภาคใต้ของไทย บริเวณสตูล ภูเก็ต พังงา ระนอง ในระยะ 2-3 วันนี้ จะว่าไปปรากฏการณ์ของพายุต่าง ๆ เป็นไปตามธรรมชาติของฤดูฝนในประเทศที่อยู่แนวเส้นศูนย์สูตร เรียกว่าพายุหมุนเขตร้อน เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่แถวฟิลิป ปินส์ ที่มีระดับอ่อนสุดคือดีเปรสชันไปจนถึงไต้ฝุ่น กล่าวคือ ความแรงลมความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางจะก่อให้เกิดดีเปรสชันมีค่าไม่เกิน 33 นอตต่อชั่วโมง พายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าระหว่าง 34-63 นอตต่อชั่วโมง และกลายมาเป็นพายุไต้ฝุ่นอยู่ที่ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมีค่าตั้งแต่ 64 นอตขึ้นไป อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดว่าพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีความแรงของลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางพายุมากกว่า 33 นอต จะเริ่มเรียกชื่อพายุ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาโลก ได้จัดรายชื่อเรียกพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกไว้เป็นสากล ตามลำดับเพื่อง่ายในการเก็บบันทึก ดร.จิรพล สินธุนาวา อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเกิดขึ้นของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิก ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติปกติ เป็นพายุตามฤดูกาลของช่วงปลายฤดูฝน แต่นับจากนี้ไปพายุดังกล่าวจะมีความรุนแรงและเกิดถี่ขึ้น อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ถึงเวลาที่ประเทศในแถบภูมิภาคนี้ต้องเตรียมรับมือและป้องกัน ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยง แต่ที่ผ่านมาแนวทางการเตรียมรับมือในบ้านเราทำกันเป็นฤดูกาลเหมือนกับปัญหา หมอกควันที่จะออกมาแก้ปัญหาในช่วงเกิดเหตุ 1-2 เดือนแล้วหายไป “ภาวะโลกร้อนทำให้อากาศแปรปรวนเกิดพายุดีเปรสชันไต้ฝุ่นในหลายประเทศเตรียม รับมือแล้ว ในบังกลาเทศมีการฝึกเด็กเป็นแสนคนให้ว่ายน้ำ หากเกิดน้ำท่วมประชากรในประเทศจะได้รอดตาย” อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยา กรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวอีกว่าในกลุ่มประเทศที่เป็นหมู่เกาะอย่างมัลดีฟส์ และฟิจิมีแผนที่จะรับมือกับการเกิดน้ำท่วมแผ่นดินหายด้วยการระดมนักวิชาการ จากทั่วโลกไปร่วมวางแผน รวมทั้งได้เชิญตนในฐานะคนไทยไปร่วมวางแผนป้องกันน้ำท่วมแผ่นดินหายอันเกิด จากภาวะโลกร้อนแล้ว ระหว่างเกิดพายุกิสนาในฟิลิปินส์ ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี ซึ่งมีสำนักงานในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เปิดเผยผลการศึกษา เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นรากฐานของภัยคุกคามต่อความมั่นคงทาง ด้านอาหารและพลังงานของเอเชีย” จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในเอเซีย จะมีผลกระทบต่อประเทศที่ยากจนในภูมิภาค โดยเฉพาะสตรีที่อยู่ในชนบทของประเทศกำลังพัฒนา จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจากต้องพึ่งพาพืชผลเพื่อการยังชีพ การเข้าถึงทรัพยากรมีอย่างจำกัด และการขาดซึ่งอำนาจในการตัดสินใจ และมีแนวโน้มว่ากลุ่มประชากรเหล่านี้จะอพยพโยกย้าย เพื่อหาความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน นางเออซูลา พรูส รองประธานเอดีบี กล่าวว่า ความั่นคงทางอาหารและพลังงานของทุกประเทศในเอเชียถูกคุกคามโดยการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ มากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมดในเอเชียมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นความ ยากจนที่ 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และประชากรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่อาศัยฝนในการทำเกษตร และอาศัยในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อภูมิอากาศที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ประชากรในเอเชีย 2.2 พันล้านคน พึ่งพาเกษตรกรรมในการหาเลี้ยงชีพ ปัจจุบันมีผลผลิตตกต่ำลง อันมีสาเหตุมาจากน้ำท่วม ความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดูกาล นอกจากนี้จากการวิจัยด้านพลังงาน พบว่าการเข้าถึงพลังงานที่สามารถซื้อได้อยู่ในภาวะเสี่ยงมากขึ้น การผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างกว้างขวางในภูมิภาคจะช่วยลด ความเสี่ยงลงได้ หากมีนโยบายทางการเงินต่าง ๆ ที่จะมาเร่งให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น พลังงานและแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก สำหรับคนยากจน ความรุนแรงของพายุตามฤดูกาลที่ถี่และแรงขึ้น นำมาซึ่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในเอเชียในระยะยาว จนยากจะแก้ไขแน่นอนในอนาคต. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 4 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#18
|
||||
|
||||
ชี้โลกร้อนคุกคามคนลุ่มน้ำโขง กองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) เผยแพร่รายงานขนานการประชุมองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศโลก 2009 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันจันทร์ ระบุการเปลี่ยนรูปแบบของสภาพอากาศและระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงแล้ว ขณะปัญหาโลกร้อนยังคุกคามชีวิตคนอีกหลายล้านในภูมิภาคนี้ รายงานขององค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งนี้ชี้ว่า อุทกภัยรุนแรงและภัยแล้ง, การกัดเซาะชายฝั่ง, ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และคลื่นความร้อน ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษข้างหน้านี้ ส่งผลกระทบถึงผลผลิตข้าว, ผลไม้และกาแฟ และการทำประมง ซึ่งเป็นปัจจัยเลี้ยงชีวิตของผู้คนจำนวนมากในกลุ่มประชากรลุ่มแม่น้ำโขง 65 ล้านคน "ทั่วทั้งภูมิภาคนี้อุณหภูมิกำลังเพิ่มขึ้น และได้เพิ่มขึ้นแล้ว 0.5-1.5 องศาเซลเซียสในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา" ข่าวรอยเตอร์อ้างข้อความในรายงาน ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ กล่าวว่า ในขณะที่หลายพื้นที่ของภูมิภาคนี้จะมีฤดูฝนที่สั้นลง แต่คาดว่าปริมาณน้ำฝนโดยรวมกลับจะเพิ่มขึ้น หมายความว่าฝนที่ตกก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะคุกคามต่อผลผลิตทางการเกษตร และทำใหิเกิดน้ำท่วมและดินถล่มตามมา พื้นที่ลุ่มน้ำโขงที่รายงานนี้กล่าวถึงนั้น นับรวมตั้งแต่ที่ราบสูงทิเบตในจีนลงมายังพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม จากนั้นได้ไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เป็นแหล่งปลูกข้าวราวครึ่งหนึ่งของเวียดนาม และเป็นแหล่งผลิตกุ้งประมาณ 60% แต่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและน้ำเค็มหนุน ได้กระทบต่อปริมาณผลผลิตและอาจทำให้เกษตรกรไร้ที่ทำกิน ประชากรจำนวนมากอาศัยในที่ลุ่มต่ำ ตามแนวชายฝั่งและในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง เช่นในนครโฮจิมินห์ซิตี, ฮานอย และกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้ภูมิภาคเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่ออุทกภัย, การรุกล้ำปนเปื้อนของน้ำเค็ม และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รายงานกล่าวด้วยว่า ภัยแล้งและอุทกภัยที่เกิดถี่ขึ้นจะสร้างความเสียหาย ขนานใหญ่ต่อชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ ในช่วงฤดูแล้งจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำหนักหน่วงขึ้นด้วย "อุณหภูมิสูงขึ้นได้ทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดขนาดลง ขณะที่พายุ, น้ำท่วม และภัยแล้ง กำลังทำลายผลผลิตทั่วทั้งลุ่มน้ำโขง การขาดแคลนน้ำจะจำกัดการผลิตภาคเกษตร และคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วย" รายงานนี้เสริม บรรดาผู้แทนจากประมาณ 180 ประเทศ กำลังประชุมกันที่สำนักงานยูเอ็นในกรุงเทพฯ เพื่อพยายามหาความตกลงร่วมกัน ในการขยับขยายความร่วมมือต่อสู้กับปัญหาภาวะโลกร้อน โดยพวกเจ้าหน้าที่กำลังพยายามนิยามเนื้อหาที่จะใช้เป็นพื้นฐานของการทำสนธิ สัญญาว่าด้วยโลกร้อนฉบับใหม่ ที่ยูเอ็นหวังว่าจะสามารถหาความเห็นพ้องต้องกันได้ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ประเด็นหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของข้อตกลงฉบับใหม่นี้ คือการให้ความช่วยเหลือประเทศที่ยากจน ในการปรับตัวเข้ากับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก ที่ด้านนอกศูนย์การประชุมของยูเอ็น มีชาวนาไทย, เกษตรกร, ชาวประมง และชนพื้นเมืองจากหลายประเทศ อาทิ ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และเนปาล รวมประมาณ 2,000 คน มาชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยทุ่มเทมากขึ้นในการจำกัดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก "เรามาที่นี่เพื่อถ่ายทอดเสียงของชาวนาต่อยูเอ็น" ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรจากอินโดนีเซียตะโกนอยู่ด้านนอกศูนย์ประชุม ประเทศกำลังพัฒนากล่าวโทษชาติร่ำรวยว่า ไม่ยอมริเริ่มด้วยการทำข้อตกลงลดระดับการปล่อยก๊าซให้หนักหน่วงกว่านี้ และต้องการให้ประเทศร่ำรวยรับปากทุ่มเงินนับพันล้านดอลลาร์ช่วยชาติยากจน ให้ปรับตัวรับผลกระทบและสร้างเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. จาก : ไทยโพสต์ วันที่ 6 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#19
|
||||
|
||||
อาเซียนกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ “ โลกของเราขณะนี้ร้อนขึ้นกว่าเมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษที่ร้อนที่สุดในรอบพันปี ทศวรรษที่ 1990 เป็นห้วงเวลาที่ร้อนที่สุดของโลก ปีที่ร้อนที่สุดทั้ง 7 ปี ล้วนเกิดขึ้นในทศวรรษนี้ หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงช่วงสิ้นทศวรรษที่ 21 อุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าช่วงใดๆ ในรอบ 2 ล้านปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนส่งแรงสะเทือนไปทั่วทุกทวีป ตั้งแต่หลังคาโลกยันใต้ถุนโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น การละลายของธารน้ำแข็ง อุทกภัยครั้งใหญ่ ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดต่ำลง และการเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงจนมิอาจควบคุมได้ หากเราไม่หยุดยั้งภาวะโลกร้อนตั้งแต่ตอนนี้.... ” หลายฝ่ายออกมาเคลี่อนไหวเพื่อให้เกิดการป้องกันและแก้ไขญหาโลกร้อน โดยตระหนักถึงความเฉียบพลันของผลกระทบที่อาจเกิดอย่างรุนแรงไม่วันใดวัน หนึ่งในไม่ช้า ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกัน เช่นในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ที่ผ่านมาที่ชะอำ-หัวหิน กลุ่มกรีนพีชที่ได้เคลื่อนไหวรณรงค์ โดยกลิ้งลูกโลกยักษ์ 2 ลูก พร้อมกับชูป้ายข้อความ “Asean : U turn the Earth หรือ อาเซียนสามารถยูเทิร์นโลกได้” จากบริเวณหน้าโรงแรมเชอราตัน ซึ่งเป็นศูนย์ข่าวอาเซียน ตรงไปยังโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ส่งสัญญาณให้ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียน เอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยนายธารา บัวคำศรี ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็น ว่า อาเซียนได้รับบทเรียนอย่างแสนสาหัสมาแล้ว จากเหตุการณ์พายุกิสนาที่ถล่มประเทศฟิลิปปินส์ แต่อาเซียนกลับเพิกเฉยต่อสัญญาณภัยครั้งนี้ จึงขอเรียกร้องให้ผู้นำ 10 ประเทศอาเซียนรวมตัวกันเพื่อปกป้องและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งยุติการทำลายป่าไม้และลดการผลิตสารคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศ “เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ผู้นำอาเซียนจะผนึก กำลังร่วมกัน เพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเข้ม แข็งในการประชุมสุดยอดที่โคเปนเฮเกนในเดือนธันวาคมนี้ การผนึกกำลังนี้ เป็นสัญญาณของการมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่จำเป็น การประกาศยุติการทำลายป่าไม้โดยสิ้นเชิงและให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อทางเลือก จะนำพาสังคมของเราออกไปจากกับดักของระบบเศรษฐกิจที่มีฐานอยู่บนเชื้อเพลิง ฟอสซิลและการปล่อยคาร์บอนอย่างมหาศาล” แต่เมื่อถามถึงจุดยืนของอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น นายธาราเห็นว่า เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ยังเป็นเรื่องทั่วๆ ไป และขาดแผนปฎิบัติการที่ชัดเจน ดังนั้น ในการประชุมสุดยอดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเดือนธันวาคมนี้ จะเป็นโอกาสครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกในการเดินให้พ้นจากขอบเหวของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย ทั้งนี้ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่าง น้ำมัน ถ่านหินและก๊าซ ล้วนเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ การทำลายป่าเขตร้อน ยังก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาถึงร้อยละ 20 ซึ่งสูงกว่าการปล่อยก๊าซจากรถไฟ เครื่องบินและรถยนต์ของโลกรวมกันทั้งหมด สำหรับข้อเรียกร้องของกลุ่มกรีนพีซ มี 3 เรื่อง คือ 1)ขอให้ผู้นำอาเซียนผนึกกำลังกดดันให้ผู้นำของประเทศอุตสาหกรรมทั่วโลก ยอมรับข้อตกลงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล 2) ผู้นำอาเซียนสนับสนุนให้เกิดข้อตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เข้ม แข็ง ในการประชุมสุดยอด ที่กรุงโฮเปนเฮเกน ในเดือนธันวาคมนี้ 3)ร่างคำแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 15 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 5 ต้องนำไปสู่แผนปฏิบัติได้จริง และยกให้แผนการรับมือสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นวาระเร่งด่วนของอา เซียน และเมื่อประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 สิ้นสุดลง ผลลัพธ์ของการประชุมครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาโลกร้อน/การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ เกาหลีใต้ (ประเทศคู่เจรจา)จะให้การสนับสนุนทางการเงิน จำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ข้อริเริ่มว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนของเอเชียตะวันออกเพื่อแก้ไขปัญหา โลกร้อน (East Asia Climate Partnership Initiative) ขณะที่การจัดการกับปัญหาภัยพิบัตินั้น ญี่ปุ่น(ประเทศคู่เจรจา) ก็ประกาศให้เงินสมทบเพิ่มเติมจำนวน 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กองทุนอาเซียน-ญี่ปุ่นว่าด้วยการบูรณาการ (Japan-ASEAN Integration Fund) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมา สิ่งที่กรีนพีซ คาดหวังก็คือ ความสนใจที่มีร่วมกันของอาเซียนในการปกป้องป่าไม้และการเปลี่ยนเปลงสภาพภูมิ อากาศในภูมิภาค จะทำให้อาเซียนสนับสนุนข้อเรียกร้องของกรีนพีซในการที่จะจัดสรรงบประมาณ ประจำปี อย่างน้อย 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2563 เพื่อยุติการทำลายป่าในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งถือเป็นการลงมือปฎิบัติอย่างเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จาก : สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 30 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#20
|
||||
|
||||
หวั่นแผ่นน้ำแข็งทุนดราละลายหมด ปลดปล่อยมีเทนมหาศาลทำโลกเปลี่ยนฉับพลัน "ดร.อานนท์" เผยสถานการณ์ที่ต้องจับตาในเขตทุ่งหญ้าทุนดรา หวั่นน้ำแข็งใต้ผืนดินละลายหมด ปลดปล่อยมีเทนมหาศาลสู่บรรยากาศ ทำภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงอย่างฉับพลัน อุณหภูมิสูงขึ้นได้ 10-20% ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไม่ถึง 1 องศาเซลเซียส ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์จัดการความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ความเห็นกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยนั้น ยังไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมยกตัวอย่างการใส่สูทในห้องประชุม แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศ พร้อมทั้งเผยถึงการทำงานกับชุมชนเพื่อการปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยได้ไปให้ความรู้แก่ชุมชนเล็กๆ ในจังหวัดร้อยเอ็ด กระบี่ แม่ฮ่องสอน "อย่าง จ.กระบี่ ก็มีความต้องการที่อยากจะปลูกข้าว แต่คงวิถีชีวิตมุสลิม และการใช้ชีวิตชายฝั่ง เราก็ไปดูว่าจะทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง แนะวิธีปลูกข้าวอินทรีย์ หรือการทำให้เขาได้มีน้ำจืดใช้ เป็นการลงไปจัดการในภาพเล็ก แต่ในบางอย่างเราต้องเอาภาพใหญ่ลงไปภาพเล็กให้ได้ เช่น ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนั้นจะมีปริมาณน้ำฝนเท่าไหร่ มีภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง จริงๆ ชุมชนในอดีตก็มีวิถีชีวิตที่พัฒนาให้สอดคล้องกับภูมิอากาศ แต่ช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมามีกระแสจากภายนอกที่เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยน และการเปลี่ยนกลับมาให้เหมือนเดิมนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย" ผศ.ดร.อานนท์กล่าว พร้อมกันนี้ ผศ.ดร.อานนท์ยังได้ให้ข้อมูลระหว่างเสวนา "วิกฤติโลก เมื่อขั้วโลกเหนือไม่เหลือน้ำแข็ง" เมื่อวันที่ 29 ต.ค.52 ณ อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (โยธี) ว่า มีสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตาและเป็นกังวล นั่นคือแผ่นน้ำแข็งถาวร (permafrost) ในเขตทุ่งหญ้าทุนดราของแถบอาร์กติก ซึ่งเป็นน้ำแข็งอยู่ใต้ดิน ที่ช่วยกักเก็บก๊าซมีเทนจากการเน่าเปื่อยของซากสิ่งมีชีวิตในอดีตนั้น จะละลายและปลดปล่อยก๊าซมีเทนออก โดยก๊าซมีเทนมีความสามารถในการกักเก็บความร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ถึง 21 เท่า ปัจจุบันมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า แผ่นน้ำแข็งดังกล่าวเริ่มละลายแล้ว และมีก๊าซมีเทนอยู่ใต้ดินจริง หากก๊าซมีเทนทั้งหมดหลุดออกมา จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยอุณหภูมิโลกอาจเพิ่มได้ถึง 10-20% อันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าฉับพลัน ขณะที่ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1% จึงเป็นสิ่งที่ต้องจับตา แต่การเข้าไปก็บข้อมูลในเขตทุ่งหญ้าทุนดรานั้นทำได้ยาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่มีคนอาศัย และเข้าไปศึกษาได้ในช่วงฤดูร้อนเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น "เดิมที่ทุ่งหญ้าทุนดรามีชั้นน้ำแข็งถาวรเป็นพื้นที่ 12 ล้านตารางเมตร แต่ตั้งแต่ปี 1900 มา พื้นที่น้ำแข็งหายไปแล้วเกือบ 20% เหลือเพียง 10 ล้านตารางเมตร และอีก 100 ปีข้างหน้า ถ้ามองโลกในแง่ร้าย มนุษยชาติไม่สามารถตกลงที่จะร่วมมือแก้ไขปัญหากันได้ น้ำแข็งถาวรจะแทบไม่เหลือเลย แต่มองโลกในแง่ดีหน่อย น้ำแข็งถาวรก็ยังคงอยู่ แต่เหลือเพียง 5 ล้านตารางเมตร" ผศ.ดร.อานนท์กล่าว ส่วนความกังวลว่า น้ำแข็งขั้วโลกจะละลายหมดไปนั้น ผศ.ดร.อานนท์กล่าวว่าแนวโน้มของน้ำแข็งขั้วโลกจะลดลงจนหายไปในช่วงฤดูร้อน ของซีกโลกประมาณเดือน ก.ย. แต่เมื่อถึงฤดูหนาวน้ำแข็งก็จะกลับมาใหม่อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใน แถบอาร์กติกอย่างแน่นอน อีกทั้งน้ำแข็งถาวรหรือน้ำแข็งที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปของขั้วโลกเหนือก็มีปริมาณลดลงอย่างชัดเจนด้วย จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
คำสั่งเพิ่มเติม | |
เรียบเรียงคำตอบ | |
|
|