เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 18-11-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ในขณะที่ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ยังคงมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 18 ? 20 พ.ย. 65 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค

ส่วนในช่วงวันที่ 21 ? 23 พ.ย. 65 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนผ่านบริเวณปลายแหลมญวน อ่าวไทยตอนบน เข้าสู่แนวร่องมรสุมที่เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนเกษตรกรควรระมัดระวังและป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ส่วนประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วยตลอดช่วง



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนบน ฉบับที่ 1 (318/2565) วันที่ข้อมูล 18 พฤศจิกายน 2565


หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งเกาะบอร์เนียวมีแนวโน้มคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง และจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนในช่วงวันที่ 20 - 21 พ.ย. 65 และเข้าสู่อ่าวไทย ในช่วงวันที่ 22 - 24 พ.ย. 65 ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลางเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณปลายแหลมญวน ส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงเวลาดังกล่าวในภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำ ให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 21 ? 24 พ.ย. 65 โดยอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นไปมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นไปและอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าว






__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 18-11-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"ทะเล" ก็อ่อนแอได้ อ.ธรณ์ เผยสัญญาณเตือนธรรมชาติ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน

อ.ธรณ์ เผยสัญญาณเตือนผลกระทบของภาวะโลกร้อนจากท้องทะเล ปรากฏการณ์ ปะการังเปลี่ยนสี-ดาวหนามเยอะผิดปกติ แนะคนไทยต้องช่วยดูแลทะเลให้แข็งแรง พร้อมรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ



วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า วันนี้จะเล่าเรื่อง ทะเลห้ามอ่อนแอ เพื่อนธรณ์คงสงสัยว่าทะเลอ่อนแอเป็นไปได้หรือ คำตอบคือได้ ทะเลก็ป่วยได้เหมือนคนเรา หากสิ่งแวดล้อมรอบตัวย่ำแย่เกินทน

นักวิทยาศาสตร์จึงต้องคอยตรวจสุขภาพระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะแนวปะการัง เราต้องเช็กเป็นประจำ โดยมีโปรแกรมตรวจเป็นข้อๆ เหมือนเราไปตรวจร่างกาย เช่น ปริมาณปะการัง ปริมาณตัวอ่อน ชนิด/ปริมาณปลาที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ ฯลฯ ที่นับได้หลายสิบข้อ นำมารวมกันเพื่อประเมิน Resilience หรือความสามารถในการฟื้นตัวของระบบนิเวศ ซึ่งสำคัญมากในยุคโลกร้อน ภัยพิบัติเพียบ เปรียบเสมือนคนร่างกายแข็งแรง แม้จะเจ็บป่วยกะทันหัน พอหายป่วยก็ฟื้นตัวได้เร็ว

นอกจากเช็กภูมิแล้ว เรายังต้องติดตาม "อาการไม่สู้ดี" ของระบบนิเวศ สองภาพที่นำมาให้เพื่อนธรณ์ดู เป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดกับแนวปะการังไทย หนึ่งคือโรคแถบสีเหลืองที่ตอนนี้เกิดแถวสัตหีบ/แสมสาร นักวิทยาศาสตร์พบว่าเนื้อเยื่อของปะการังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หลังจากนั้นเนื้อเยื่อจะตาย และเริ่มมีสาหร่ายมาปกคลุมส่วนที่ตาย การลุกลามประมาณ 1 เซนติเมตร/เดือน ในปะการังโขด และประมาณ 1-6 เซนติเมตร/สัปดาห์ ในปะการังเขากวาง

หากส่วนไหนของปะการังเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปะการังส่วนนั้นจะตาย ตอนนี้กรมทะเลร่วมกับหลายหน่วยงาน รวมทั้งอาสาสมัคร กำลังตัดแซะปะการังส่วนที่มีชีวิตเพื่อไปปลูกใหม่ เราพอทราบว่าโรคนี้อาจเกิดจากแบคทีเรีย ยังไม่มีทางรักษา ก็เลยต้องใช้วิธีนั้น

อีกเรื่องรายงานเพื่อนธรณ์ คือ ดาวหนาม ดาวทะเลที่กินปะการัง เป็นเรื่องปรกติของธรรมชาติที่จะมีดาวทะเลชนิดนี้อยู่บ้าง แต่บางครั้ง บางที่เกิดความผิดปรกติ ดาวหนามเพิ่มจำนวนอย่างเร็ว ปีนี้มีรายงานจากเกาะบอน อุทยานสิมิลัน ทีมอุทยานลงไปตรวจสอบแล้ว เน้นย้ำตรงนี้ว่า ดาวหนามเป็นส่วนหนึ่งของแนวปะการัง เพื่อนนักดำน้ำเห็นแล้วอย่าเพิ่งเก็บทำลาย หากมีเยอะจนผิดสังเกต ขอให้รายงานมา

ปรากฏการณ์ COT Outbreak มีตัวบ่งชี้จากปริมาณที่ต้องเยอะมากเป็นพิเศษ เช่น ดำไปร้อยเมตรเจอหลายสิบตัว (COT - Crown Of Thorns) โลกร้อนยังรุนแรง และคงรุนแรงขึ้นเรื่อย สิ่งแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจมีภัยพิบัติเงียบที่เรามองไม่เห็น เช่น น้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด ฯลฯ

นักวิทยาศาสตร์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถติดตามดูแลได้ทั้งหมด จึงต้องพึ่งพาพวกเรา ทั้งผู้ประกอบการ นักดำน้ำ นักท่องเที่ยว ฯลฯ ช่วยกันรายงานเหตุการณ์ผิดปรกติเข้ามา ซึ่งก็ต้องบอกว่า ยอดเยี่ยมมาก คนไทยรักทะเลและช่วยกันดูแลจริงจัง รายงานกันเข้ามาตลอด สองกรณีนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นชัด ทุกคนยังมีส่วนสำคัญในการช่วย นั่นคือการดูแลทะเลให้แข็งแรง พร้อมรับมือกับภาวะโลกร้อน ลดมลพิษ ลดน้ำเสีย ดูแลขยะ ไปเที่ยวก็อย่าทำร้ายทะเล อย่าเหยียบอย่าจับปะการัง

รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินปลาที่ช่วยดูแลระบบนิเวศ เช่น ปลานกแก้ว ฉลาม ฯลฯ เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ สำคัญสุดคือ "ทะเลห้ามอ่อนแอ" และมีแต่พวกเราที่จะช่วยกันเสริมภูมิต้านทาน สร้างทะเลไทยที่แข็งแรงได้ ยิ่งตอนช่วงเด้งกลับของการท่องเที่ยวไทย ทะเลสวยสดใส แนวปะการังดีงาม เป็นเรื่องสำคัญมาก จึงเขียนเรื่องยาวมาฝากเพื่อนธรณ์ เพื่อช่วยกันดูแลทะเลให้แข็งแรงนะ


https://www.thairath.co.th/news/local/2555200


*********************************************************************************************************************************************************


อ.ธรณ์ เผยข่าวดี "เต่ามะเฟือง" อาจกลับมาวางไข่ในทะเลไทยอีกครั้ง

ผู้ใหญ่เบียร์ หน.ทีมค้นหาน้องมาวิน เฮงถูกรางวัลที่ 1 พ่วงเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว
อ.ธรณ์ เผยข่าวดี พบร่องรอยแม่เต่ามะเฟือง สัตว์ป่าสงวน ขึ้นมาวางไข่ที่หาดบางขวัญ จ.พังงา หลังจากห่างหายไปเมื่อ 2 ปีก่อน ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งตรวจสอบ



วันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า หลังจากหายหน้าไปตลอดปี 64 แม่เต่ามะเฟืองอาจกลับมาวางไข่ในไทยอีกแล้ว รายงานล่าสุดจากพังงาเมื่อเช้านี้ มีร่องรอยแม่เต่าใหญ่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดบางขวัญ ตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบ แต่คิดว่าน่าจะใช่ เพราะรอยใหญ่มาก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เดิม ซึ่งแม่เต่ามะเฟืองเคยมาวางไข่หลายรังในปี 63

เต่ามะเฟืองจะวางไข่หลายครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 วัน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม ไข่อยู่ในทราย 60 วัน ก่อนน้องเต่าจะพากันออกมาวิ่งลงทะเล

หากรังนี้เป็นรังแรก เราหวังได้ว่าน่าจะมีรัง 2-3 ตามมา หรือถ้าโชคดีอาจมีรัง 4-5 แม่เต่าไม่ได้วางไข่ทุกปี ปีที่แล้วหายไปหมดเลย แสดงว่าแม่เต่ามะเฟืองที่ว่ายน้ำกลับมาวางไข่ในไทยมีอยู่ไม่กี่ตัว สมแล้วที่เป็นสัตว์สงวน

ที่ผ่านมาเราดูแลหาดดีมาก ทำให้แม่เต่ายังขึ้นวางไข่ ผู้คนยังช่วยกันลดขยะทะเล พี่ๆ ชาวประมงช่วยกันปล่อยแม่เต่าหากบังเอิญติด เอาเป็นว่าร่วมลุ้นต่อไป ขอบคุณชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อุทยาน กรมทะเล ที่ช่วยกันดูแลอย่างดียิ่ง เป็นข่าวดีจริงๆ.


https://www.thairath.co.th/news/local/2555570
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 18-11-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ข่าวดี! พบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่รังแรกของฤดู?กาล 118 ฟอง ที่หาดบางขวัญ

เฮ! พบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่รังแรกของฤดู?กาล 118 ฟอง ที่หาดบางขวัญ จ.พังงา ที่เดิมน้ำทะเลขึ้นถึง เจ้าหน้าที่สร้างรังใหม่บริเวณใกล้เคียงย้ายไข่ดีไปฟักต่อ โดยทำคอกกั้น พร้อมติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ และเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง คาดใช้เวลา 55-60 วัน ลูกเต่าฟักตัว



เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ได้รับแจ้งจาก นายธงชัย สุกแสง ชาวบ้านหมู่ที่ 14 บ้านเขาปิหลาย ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ว่า ได้พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลบริเวณชายหาดบางขวัญ ขณะกำลังออกวางอวนหาปลาบริเวณดังกล่าว ทาง ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วย นายประถม รัสมี ผอ.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ พบเป็นร่องรอยของเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ รอยที่พบมีความกว้างของอก 110 ซม. ความกว้างพายหน้า 220 ซม.

ล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน ร่วมกันค้นหาไข่เต่า จนพบว่า อยู่ที่ความลึก 78 ซม. ไข่เต่ามีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.6 ซม. ทั้งหมด 118 ฟอง เป็นไข่ดี 106 ฟอง ไข่ลม 12 ฟอง จากการตรวจสอบตำแหน่งการวางไข่ จะได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลขึ้นถึง จึงได้ทำการสร้างรังใหม่บริเวณใกล้เคียงและย้ายไข่ดีไปฟักต่อ โดยทำคอกกั้น พร้อมติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง จนกว่าลูกเต่าจะเพาะฟัก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 55-60 วัน

ขณะที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า หลังจากหายหน้าไปตลอดปี 64 แม่เต่ามะเฟืองอาจกลับมาวางไข่ในไทยอีกแล้วครับ รายงานล่าสุดจากพังงาเมื่อเช้านี้ มีร่องรอยแม่เต่าใหญ่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดบางขวัญ ตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังตรวจสอบ แต่ผมคิดว่าน่าจะใช่ เพราะรอยใหญ่มาก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่เดิมซึ่งแม่เต่ามะเฟืองเคยมาวางไข่หลายรังในปี 63 เต่ามะเฟืองจะวางไข่หลายครั้ง ห่างกันครั้งละ 10 วัน ในช่วงเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม/มกราคม ไข่อยู่ในทราย 60 วัน ก่อนน้องเต่าจะพากันออกมาวิ่งลงทะเล หากรังนี้เป็นรังแรก เราหวังได้ว่าน่าจะมีรัง 2-3 ตามมา หรือถ้าโชคดีอาจมีรัง 4-5 แม่เต่าไม่ได้วางไข่ทุกปี ปีที่แล้วหายไปหมดเลย แสดงว่าแม่เต่ามะเฟืองที่ว่ายน้ำกลับมาวางไข่ในไทยมีอยู่ไม่กี่ตัว สมแล้วที่เป็นสัตว์สงวน ที่ผ่านมาเราดูแลหาดดีมาก ทำให้แม่เต่ายังขึ้นวางไข่ ผู้คนยังช่วยกันลดขยะทะเล พี่ๆ ชาวประมงช่วยกันปล่อยแม่เต่าหากบังเอิญติด เอาเป็นว่าร่วมลุ้นต่อไป ขอบคุณชาวบ้าน/ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อุทยาน/กรมทะเล ที่ช่วยกันดูแลอย่างดียิ่งเป็นข่าวดีจริงๆ ครับ


https://www.dailynews.co.th/news/1694739/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:56


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger