เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 24-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ
อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 24 ? 26 ส.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 27 ? 28 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ส่งผลทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง หลังจากนั้น ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับในช่วง 27 ? 29 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 24 ? 26 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ในช่วงวันที่ 27 ? 29 ส.ค. 66 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 24-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ


ครม.ไฟเขียว กฎเหล็กดำน้ำ ป้องปะการัง บังคับใช้ 5 ปี

ครม.ไฟเขียวร่างประกาศกระทรวงทรัพย์ คุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ ป้องกันแนวปะการัง-เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมกำกับดูแลให้ทั่วถึง บังคับใช้ 5 ปี



วันที่ 23 สิงหาคม 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องมาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ พ.ศ. ? ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันความเสียหายที่เกิดกับแนวปะการังอันเกิดจากการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำเป็นการเฉพาะ และเพื่อควบคุมกำกับดูแลอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัจจุบันนักท่องเที่ยวมีมากขึ้น ในขณะที่คนนำเที่ยวมีจำกัด และแนวปะการังของประเทศไทยร้อยละ 50 อยู่ในสภาพเสียหายและเสื่อมโทรมและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น


น.ส.ทิพานันกล่าวว่า สาระสำคัญของมาตรการคุ้มครองทรัพยากรปะการังจากกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ สรุปได้ดังนี้

1.ข้อห้ามทั่วไป เช่น ห้ามสัมผัสปะการัง สัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตใด ๆ ห้ามดำเนินกิจกรรม Sea Walker และห้ามดำน้ำโดยวิธีอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการเดินหรือเคลื่อนที่บนพื้นทะเล ห้ามกระทำด้วยประการใด ๆ อันก่อให้เกิดตะกอนตกทับหรือปกคลุมปะการัง หรือทำให้ปะการังได้รับความเสียหาย ห้ามให้อาหารปลาหรือสัตว์น้ำ ห้ามทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง และบนพื้นทะเลในระยะรัศมี 3 เมตร จากแนวปะการัง ห้ามผูกเชือกกับปะการังเพื่อทำแนวทุ่น


2.การจัดให้มีผู้ควบคุมในกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ และให้ผู้ควบคุมและผู้ช่วยควบคุมแจ้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่ดีในการดำน้ำโดยไม่กระทบต่อปะการังต่อนักท่องเที่ยวก่อนที่จะเริ่มต้นกิจกรรมการท่องเที่ยวดำน้ำ ตลอดจนสอดส่อง และป้องกันมิให้มีการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว โดยจำนวนผู้ควบคุม ได้แก่

- กรณีท่องเที่ยวดำน้ำตื้น ให้มีผู้ควบคุม 1 คน ต่อนักท่องเที่ยวไม่เกิน 20 คน และกรณีนักท่องเที่ยวเกิน 20 คน ให้มีผู้ช่วยผู้ควบคุมเพิ่มในอัตราส่วน 1 คนต่อนักท่องเที่ยวไม่เกิน 20 คน

- กรณีท่องเที่ยวดำน้ำลึก นักท่องเที่ยวต้องผ่านการเรียนดำน้ำลึก และให้มีผู้ควบคุม 1 คน ต่อนักดำน้ำลึกไม่เกิน 4 คน

- กรณีการเรียนและสอบดำน้ำลึก ให้มีผู้ควบคุม 1 คน ต่อผู้เรียนไม่เกิน 4 คน


3.ห้ามมิให้นักท่องเที่ยวดำน้ำตื้นโดยไม่สวมเสื้อชูชีพในบริเวณแนวปะการัง เว้นแต่เป็นการดำน้ำตื้นโดยบุคคลที่ได้สอบผ่านหลักสูตรดำน้ำลึกหรือหลักสูตรดำน้ำอิสระ รวมทั้งห้ามดำน้ำตื้นในแนวปะการังในช่วงเวลาน้ำลง


4.ในการท่องเที่ยวดำน้ำลึกและการเรียนหรือสอบดำน้ำลึก ห้ามนำกล้องลงไปถ่ายภาพใต้น้ำ เว้นแต่เป็นการถ่ายภาพใต้น้ำโดยบุคคลที่ผ่านหลักสูตรดำน้ำลึกแล้ว


"ระยะเวลาการบังคับใช้มีกำหนด 5 ปี และไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมที่มิใช่กิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เช่น การดำน้ำเพื่อการศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การดำน้ำเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ภายใต้การกำกับของหน่วยงานพื้นที่ที่รับผิดชอบ เป็นต้น" น.ส.ทิพานันกล่าว


https://www.prachachat.net/general/news-1377040


******************************************************************************************************


ญี่ปุ่นเริ่มปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ลงมหาสมุทร 24 ส.ค.นี้ ไม่สนคำทัดทานเพื่อนบ้าน


โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ (ภาพโดย Kyodo via REUTERS)

ญี่ปุ่นจะเริ่มปล่อยน้ำจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรในวันที่ 24 สิงหาคมที่จะถึงนี้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้

วันที่ 22 สิงหาคม 2023 สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (South China Morning Post) รายงานว่า ทางการญี่ปุ่นเปิดเผยว่าจะเริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ ที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรในวันที่ 24 สิงหาคม 2023 นี้

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนานาชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและเกาหลีใต้ ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบจากน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสี รวมถึงกลุ่มผู้ทำประมงในญี่ปุ่นเองก็กล่าวว่า พวกเขากลัวว่าการปล่อยน้ำจะสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของพื้นที่และเกิดภัยคุกคามต่อการดำรงชีวิตของพวกเขา แต่ความกังวลจากหลายภาคส่วนก็ไม่เปลี่ยนมติที่รัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติเมื่อสองปีที่แล้ว

ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่าการปล่อยน้ำตามแผนนี้มีความปลอดภัย โดยน้ำจะถูกกรองเพื่อกำจัดธาตุกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ ยกเว้นทริเทียม ซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจนที่แยกออกจากน้ำได้ยาก น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกเจือจางให้ต่ำกว่าระดับไอโซโทปที่ได้รับการอนุมัติในระดับสากลก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

ด้านสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ซึ่งเป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติ (UN) ก็ได้อนุมัติแผนการปล่อยน้ำของญี่ปุ่นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า แผนการปล่อยน้ำดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากล และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อมนั้น ?น้อยมาก?

ถึงกระนั้น ประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่นบางประเทศก็ยังแสดงความกังขาต่อความปลอดภัยของแผนการปล่อยน้ำดังกล่าว โดยรัฐบาลจีนเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์รายใหญ่ที่สุด หวัง เหวินปิน (Wang Wenbin) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมว่า ญี่ปุ่นแสดงความเห็นแก่ตัวและความเย่อหยิ่ง และไม่ได้ปรึกษาหารือกับประชาคมระหว่างประเทศอย่างเต็มที่เกี่ยวกับการปล่อยน้ำ

ทางการจีนได้สั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจาก 10 จังหวัดในญี่ปุ่น รวมถึงฟูกูชิมะและกรุงโตเกียว โดยอนุญาตให้นำเข้าอาหารทะเลจากจังหวัดอื่น ๆ นอกเหนือจาก 10 จังหวัดนี้ได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสอบกัมมันตรังสี และมีหลักฐานว่าผลิตนอก 10 จังหวัดที่ถูกสั่งห้าม

ด้านรัฐบาลฮ่องกงกล่าวก่อนหน้านี้ว่า จะห้ามนำเข้าอาหารจากจังหวัดโตเกียว ฟูกูชิมะ ชิบะ กุนมะ โทชิกิ อิบารากิ มิยางิ นีงาตะ นากาโนะ และไซตามะของญี่ปุ่นทันที หากญี่ปุ่นปล่อยน้ำเสียจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผ่านการบำบัดแล้วลงมหาสมุทร

เจ๋อ ชินวาน (Tse Chin-wan) รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาของฮ่องกงคาดการณ์ว่า หากไม่มีการห้ามนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่น รัฐบาลฮ่องกงอาจจะต้องใช้เงินในการทดสอบสารปนเปื้อนในการนำเข้าอาหารญี่ปุ่นประมาณ 10 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 44 ล้านบาท) ต่อปี

ขณะที่นักเคลื่อนไหวชาวเกาหลีใต้ก็ได้ประท้วงต่อต้านแผนดังกล่าว แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีใต้จะได้ข้อสรุปจากการศึกษาของตนเองแล้วว่า การปล่อยน้ำดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามการประเมินของ IAEA


https://www.prachachat.net/world-news/news-1376259

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 24-08-2023
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,241
Default

ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS


โปรดทราบ! ไทยเข้าสู่ "ยุคโลกเดือด" เสี่ยงกระทบสุขภาพ

กรมอนามัย เผยไทยเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling) พบเดือนก.ค.ร้อนที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยทะลุ 1.5 องศาฯ ห่วงกระทบสุขภาพประชาชน หลัง WHO ประเมินผู้สูงอายุไทยเสี่ยงเสียชีวิตจากความร้อน 58 ต่อแสนประชากรในอีก 57 ปีข้างหน้า



วันนี้ (23 ส.ค.2566) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้แจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยชี้ว่ายุคโลกร้อน (Global Warming) สิ้นสุดลงแล้ว และยุคโลกเดือด (Global Boiling) ได้เริ่มขึ้นแล้ว

จากการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง พบว่าตั้งแต่ปี 2558?2565 มีอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ สำหรับภูมิภาคเอเชียพบอุณหภูมิเฉลี่ยในปี 2565 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปีย้อนหลัง

"อุณหภูมิในมหาสมุทรฝั่งเอเชีย มีอัตราร้อนขึ้นเกิน 0.5 องศาเซลเซียสต่อ 10 ปี เร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกประมาณ 3 เท่า"

จากสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่น ไฟไหม้ป่า ภัยแล้ง น้ำท่วมฉับพลันเพิ่มขึ้น และรุนแรงมากขึ้นทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยจากมลพิษทางอากาศและภัยแล้ง การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากน้ำท่วม รวมถึงการเสียชีวิตจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

"นอกจากนี้องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ยังให้ข้อมูลว่าเดือน ก.ค.เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดและทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติมากที่สุดในโลก"

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย พบว่าในปี 2566 มีแนวโน้มอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.5 องศาเซลเซียส โดยเมื่อวันที่ 16 เม.ย.2566 ที่จ.ตาก มีอุณหภูมิสูงสุด 44.6 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับอันตรายมาก (อุณหภูมิสูงสุดมากกว่า 43 องศาเซลเซียส)

เมื่อเทียบกับค่าเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน และคาดว่าจะมีแนวโน้มรุนแรงอย่างต่อเนื่องถึงเดือนเม.ย.2567 เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ


WHO ชี้ผู้สูงอายุเสี่ยงเสียชีวิตจากความร้อน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังได้คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเสียชีวิตจากความร้อนในอัตรา 58 ต่อแสนประชากร หรือ 14,000 คน ภายในปี 2623 หรือในอีก 57 ปีข้างหน้า

ดังนั้นขอให้ประชาชนเตรียมรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการร่วมมือ ป้องกันไม่ให้สถานการณ์ภาวะโลกเดือดมากกว่าเดิม โดยช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ลดการใช้พลาสติก ลดการเผาที่ปล่อยมลพิษทางอากาศ ลดการใช้พลังงาน ลดขยะในครัวเรือน และเลือกใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน

รวมทั้งเตรียมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น หมั่นติดตามสภาพอากาศ หากพบว่ามีสภาพอากาศร้อนขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ สวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี

แต่หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมภายนอกอาคาร ควรสวมเสื้อแขนยาว หมวกปีกกว้าง แว่นตา และทาครีมกันแดด รวมถึงควรงดดื่มสุรา น้ำหวาน น้ำอัดลม สำหรับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสูง ควรมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด และเตรียมเบอร์โทรศัพท์ 1669


https://www.thaipbs.or.th/news/content/330934

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:55


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger