เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 03-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม. ย. 63 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง สำหรับภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 เม. ย. 63 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น สำหรับภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 3 - 5 เม.ย. 63 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงลูกเห็บตก โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 5 เมษายน 2563)" ฉบับที่ 11 ลงวันที่ 03 เมษายน 2563

บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


วันที่ 3 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


ในช่วงวันที่ 4-5 เมษายน 2563

ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาว เวียดนาม และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 03-04-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ทำนายการเริ่มต้นของรอยร้าวแบบ 3 มิติ


Credit : Akira Hojo

การหาตำแหน่งของแนวรอยแตกบนพื้นผิว หรือหาตำแหน่งที่มีแนวโน้มจะมีรอยร้าวได้อย่างแม่นยำ นับเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญต่อการวิเคราะห์ และออกแบบโครงสร้างการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้น เหล่านั้น โดยเฉพาะการคำนวณวิเคราะห์อัตราการปลดปล่อยพลังงานที่สัมพันธ์กับการกระจายของรอยร้าว

เมื่อเร็วๆนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนาแชมเปญจน์ ในสหรัฐอเมริกา เผยว่าพัฒนาวิธีการใหม่ คือการใช้อนุพันธ์ของทอพอโลยี (Topology) ที่อธิบายคุณสมบัติทางรูปร่างที่ไม่แปรเปลี่ยนภายใต้การดึง ยืด หด บีบเพื่อประเมินการปล่อยพลังงานหากรอยแตกปรากฏขึ้นในพื้นที่ใดๆ และวางเป็นแนวตามพื้นผิวของโครงสร้าง 3 มิติ ซึ่งสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางของการแตกที่สำคัญด้วยการวิเคราะห์เพียงครั้งเดียว

วิธีการใหม่นี้ช่วยให้นักวิจัยวิเคราะห์ ได้ง่ายขึ้นมาก เพราะแทนที่จะต้องวิเคราะห์ทุกจุดทุกตำแหน่งที่มีศักยภาพเกิดรอยร้าวตามโครงสร้างพื้นผิว การวิเคราะห์ด้วยวิธีที่พัฒนาใหม่จะมีราคาถูกลง และการแก้ปัญหา ก็รวดเร็วขึ้น ซึ่งการใช้เทคนิคนี้นักวิจัยสามารถระบุตำแหน่งและทิศทางที่สอดคล้องกับอัตราการปลดปล่อยพลังงานสูงสุดได้ทันที.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810193


*********************************************************************************************************************************************************


หยุดการเปลี่ยนแปลงของลมในซีกโลกใต้


Credit : NASA

หลุมโอโซนที่ค้นพบในปี พ.ศ.2528 ได้ก่อตัวขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิในชั้นบรรยากาศที่สูงเหนือทวีปแอนตาร์กติกา นักวิจัยอธิบายไว้ว่าการลดลงของโอโซนทำให้อากาศเย็นลง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระแสน้ำวนขั้วโลกและส่งผลกระทบต่อลมลงไปสู่ชั้นล่างสุดของชั้นบรรยากาศโลก

มีงานวิจัยเผยว่า สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนของโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนของอากาศในซีกโลกใต้ ล่าสุด สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (CIRES) พบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้หยุดชั่วคราวและอาจย้อนกลับ เนื่องจากพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ที่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการใช้สารเคมีทำลายชั้นโอโซน อย่างสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons-CFCs)



สิ่งเหล่านี้เริ่มเมื่อราวๆปี 2543 นักวิจัยพบว่าความเข้มข้นของสารเคมีในชั้นสตราโตสเฟียร์เริ่มลดลงและหลุมโอโซนก็เริ่มฟื้นตัว การลดลงของโอโซนได้เปลี่ยนกระแสลมกรดละติจูดกลาง รวมถึงพื้นที่แห้งแล้งชายขอบของเขตร้อนทางขั้วโลกใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของนักวิจัยว่าการกู้คืนโอโซนได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/1810178
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:08


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger