#1
|
||||
|
||||
แผ่นดินที่หายไป (3)
น้ำเซาะทราย......อันตราย...โลกตะลึง!! โดย จำนง ถีราวุฒิ
เชื่อหรือไม่ครับ แผนที่โลกใหม่กรุงเทพหายไป ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หมู่เกาะดูรินและเกาะแซคาลินของรัสเซียจมอยู่ใต้ทะเล เมืองซานวาดอร์ เซาเปาโล ริโอดอร์จาเนโร และบางส่วนของอุรุกวัยจะจมหายไปในทะเลเหมือนกับหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ และอีกหลายๆ พื้นที่ของโลก ปรากฎการณ์เช่นนี้ถ้าถามผมว่าเชื่อหรือไม่ ตอนแรกก็ไม่ค่อยเชื่อ แต่พอดูข่าวหลายๆ ครั้งที่เกิดขึ้นจริงในขณะนี้ เช่นที่ประเทศอินเดีย เกาะโลฮาซาราจมหายไปในทะเล ส่วนเกาะโกรามาราซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันจมหายไปแล้วครึ่งหนึ่ง แล้วอีกไม่นานประเทศตูวาลู ประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกและเกาะมาดากัสการ์จะจมหายไปเช่นกัน ไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 1 เมตร การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลจะทวีความรุนแรงขึ้น เอ๊ะ!!!! มันเริ่มเป็นจริงแล้วนี่น่า......ถ้าจะให้ผมหลับหูหลับตาแล้วตอบอย่างเสียงแข็งว่าไม่เชี่อ ถึงอย่างไรก็ไม่เชื่อ เออ.....ถ้าตอบอย่างนี้ก็คิดหนักเหมือนกันนะครับ (ถ้าเกิดขึ้นจริงก็คงอีกหลายปี นี่เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ) การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนต่างประเทศถือว่าหนักแล้วบ้านเราล่ะหนักมั๊ย??? ไม่ถึงกับประเทศต้องจมหายไปในทะเลครับแต่ก็เกิดขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะชายฝั่งด้านอ่าวไทย เสียหายหนักกว่าฝั่งอันดามันตั้งแต่ภาคตะวันออกลงมาถึงจังหวัดทางภาคใต้บางพื้นที่อาการค่อนข้างหนักเหมือนกัน ผมมีภาพและตัวอย่างของพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ จากการกัดเซาะของน้ำทะเลมาให้ดู เกิดขึ้นใกล้ๆ กับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งนี่เองที่บ้านบ่ออิฐ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง และที่บ้านปึก ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ภาพที่ 1 แสดงต้นหูกวางอายุนับ 100 ปี ถูกโค่นล้ม ภาพที่ 2 แสดงถนนพังเสียหาย ภาพที่ 3 แสดงน้ำกัดเซาะชายฝั่งที่บ้านปึก ภาพที่1 เกิดขึ้นที่บ้านบ่ออิฐ ต้นไม้ที่เห็นเป็นต้นหูกวางอายุร่วม 100 ปี คุณลุงในภาพท่านยืนยันได้ท่านอายุ 80 ตอนเด็กๆ ก็เห็นต้นหูกวางต้นนี้อยู่แล้ว แต่เอ๊ะ คุณลุงในภาพหน้าตาคุ้นๆ อ๋อ คุณลุง ถาวร ถีราวุฒิ คุณพ่อผมเอง ไม่ได้เล่นเส้นนะครับ พอดีเห็นว่าท่านผูกพันและชอบไปนั่งพักผ่อนใต้ต้นหูกวางต้นนี้อยู่เป็นประจำใช้เป็นที่หลบร้อน เวลาออกไปทอดแห ก็เลยนำท่านมาเป็นนายแบบเสียเลย ภาพที่ 2 แต่ก่อนไปไหนมาไหนระวังแค่อุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วไป แต่เดี๋ยวนี้ไม่น่าเชื่อขี่รถต้องระวังตกทะเล ภาพนี้เกิดขึ้นที่บ้านบ่ออิฐเช่นกัน ส่วนภาพที่ 3 เกิดขึ้นที่บ้านปึกสภาพเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับรุนแรงไม่แพ้บ้านบ่ออิฐเช่นกัน ผลที่ได้รับมันรุนแรงเหลือเกินแล้วสาเหตุจริงๆ มันคืออะไรกันแน่หลายท่านคงสงสัย สาเหตุที่สำคัญมีอยู่ 2 ประการ 1. เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลง คลื่นลมแรง ปริมาณตะกอนจากทะเลที่พัดพาเข้าฝั่งลดลง และปริมาณฝนตกที่มากกว่าปกติ 2. เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์นอกจากจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนแล้วการปลูกสิ่งก่อสร้างก็มีส่วนสำคัญเช่นกันการสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การสร้างท่าเทียบเรือ การถมสร้างชายหาดเทียมเป็นต้น สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ขัดขวางการพัดพาของตะกอนก่อให้เกิดการพังทลายของชายหาด
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
แนวทางการแก้ไข แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ 1) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบไม่ใช้โครงสร้างเหมาะสำหรับชายฝั่งที่มีชุมชนไม่แน่นหนาการกัดเซาะไม่รุนแรง เช่น การปลูกต้นไม้ 2) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเหมาะสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีปัญหาถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง เช่น เติมทรายชายฝั่ง ก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่น ก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นใต้น้ำ ก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่นสลับกับก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นใต้น้ำ ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเป็นต้น ตอนนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่บ้านบ่ออิฐ และบ้านปึกใช้แนวทางแก้ไขแบบใช้โครงสร้างทาง วิศวกรรมโดยการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่นของกรมขนส่งทางน้ำพาณิชยนาวีกระทรวงคมนาคม (ดูรูปที่ 4 ประกอบ ) และจะสร้างต่อไปจนถึงชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 3-7 ตำบลเขารูปช้าง ภาพที่ 4 แสดงเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่น จากวิกฤตที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง บ้านปึก บ้านบ่ออิฐ บ้านเนินชายทะเล บ้านทุ่งใหญ่ อำเภอ เมือง จังหวัดสงขลา กรมประมงโดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เป็นเสือปืนไวอีกเช่นเคยครับ เล็งเห็นถึงการสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ( ไม่ใช่การสร้างโอกาสให้เป็นวิกฤตเหมือนที่สังคมไทยกำลังกระทำอยู่ขณะนี้นะครับ) พื้นที่ว่างระหว่างแนวหินกั้นคลื่นกับชายฝั่ง นอกจากจะใช้เป็นแนวกั้นคลื่นลมแล้วที่ตรงนั้นแหละครับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลามองว่าน่าจะใช้เป็นที่เลี้ยงปลาในกระชัง สร้างแหล่งทำกินที่ใหม่ให้กับชาวบ้านส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาในกระชัง ด้วยการรวมกลุ่มกันเลี้ยง กลุ่มละประมาณ 20 คน ช่วยกันดูแล ช่วยกันเลี้ยง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานครับถ้าหากว่ามีความคืบหน้าประการใดผมนำมาเสนอให้ทราบอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน สภาวะโลกร้อน ธารน้ำแข็งละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมแปรปรวนการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงมีผลทำให้แผนที่โลกเปลี่ยน ฟังดูแล้วน่าใจหายเหมือนกันน่ะครับถึงแม้ว่าบ้านเราไม่รุนแรงถึงขนาดประเทศต้องจมอยู่ใต้ท้องทะเล.......จริงสินะประเทศของเราอาจจะไม่จมเพราะน้ำท่วมหรือน้ำกัดเซาะชายฝั่งหรอก เพราะบ้านเมืองของเรากำลังจะจมด้วยคนในประเทศทะเลาะกันเองมากกว่าแต่ถึงอย่างไรก็อย่าให้เกิดกับบ้านเมืองของเราเลย ถึงแม้ว่ามันเป็นคำขอที่ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน จะช่วยได้ พวกเรางัยครับ พวกเรานี่แหละคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงที่จะช่วยโลกและประเทศไทยของเราได้ การแก้ไขปัญหาที่กระทำอยู่ในขณะนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะครับหยุด!!!!! พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโลกร้อนนี่ต่างหากที่เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว......สัญญาสิครับ จาก : สถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง วันที่ 12 พฤษภาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
|||
|
|||
อืมม์ พวกบ้านแถวสมุทรปราการอย่าง Birdie เนี่ย ก็เสียว ๆ น้ำท่วม น้ำเซาะชายฝั่งจนไม่เหลือแผ่นดินให้อยู่เหมือนกันค่ะ บรึ๋ยส์
อยากแวะไปแอบดูบ้านปึกที่สงขลาเหมือนกันนะคะเนี่ย |
#4
|
|||
|
|||
เห็นว่าหมู่เกาะมัลดิฟก็จะเป็นอย่างนี้ในอนาคตใช่ไหมคะ
บางคนบอกว่าให้ไปก่อนที่น้ำทะเลจะท่วมเกาะภายใน ปีสองปีนี้ค่ะ ไม่รู้ว่าจะเป็นความจริงหรือเปล่า |
#5
|
||||
|
||||
เพื่อผมที่เป็นคนมัลดิฟก็เรียนจบ ซื้อบ้านที่นี่ แต่งเมีย(คนไทย) เรียบร้อยแล้วครับ
เห็นว่าจะย้ายครอบครัวมาอยู่เมืองไทยด้วย(ได้ด้วยเหรอ....??) มันว่างั้นอ่ะครับ
__________________
Defend our territory Defend our Sea..!! |
#6
|
||||
|
||||
ลั่น 4 เดือนผุด เขื่อนไม้ไผ่กู้แผ่นดิน บางขุนเทียนจี้กทม.ทำจริง/ชี้สัญญาณเตือนชายฝั่งไทยย่อยยับ กทม.ย้ำแค่รอ คุณชาย อนุมัติปุ๊บเปิดประมูลหาผู้รับเหมาปั๊บ นักวิชาการระบุไม่รีบทำวันนี้ 40 ปี แผ่นดินหายอีก 3 กม. ชี้ถ้ากทม.แก้ไม่ได้ อย่าหมายชายฝั่งทั่วไทยจะเหลือ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.52 เวลา 13.00 น. ที่ลานชายทะเลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพ จาก 6 ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียนได้จัดเวทีเสวนาเนื่องในโอกาส 149 วัน การเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เกี่ยวกับการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะซึ่งเรื้อรังมากว่า 40 ปี สูญเสียแผ่นดินกว่า 3,000 ไร่ ขณะที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากกทม.ตามที่ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์รับปากไว้ขณะหาเสียง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีตัวแทนจากกทม.คือ นายชัยนาท นิยมธูร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สำนักผังเมือง กทม. ร่วมชี้แจง รวมทั้งมีผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IPCN) และ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมด้วย ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านได้สอบถามความคืบหน้าโครงการสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นของกทม.ว่าอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งนายชัยนาทกล่าวว่า จากการประชุมกับชาวบ้านเมื่อวันที่ 17 มี.ค.52 ได้ข้อสรุป 2 แนวทางคือ ทำแนวไม้ไผ่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า, เสนอของบประมาณทำเขื่อนกันคลื่นถาวรรูปตัวที หรือทีกรอยน์ จะใช้งบประมาณปี 53 ได้นำเสนอผู้บริหารกทม.แล้ว สำหรับการทำเขื่อนไม้ไผ่ สำนักงบประมาณอนุมัติหลักการแล้ว ขณะนี้รอการอนุมัติจากผู้บริหารกทม. คาดไม่กี่วันจะทราบผล และจะเปิดประมูลด้วยระบบอี-อ็อกชันหาผู้รับเหมาต่อไป คาดไม่เกิน 4 เดือน จะดำเนินการได้ ด้านดร.อานนท์กล่าวว่า ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมีสาเหตุ 2 ประการ ทั้งการทรุดตัวของแผ่นดินและความแรงของคลื่น ที่ผ่านมาอัตรากัดเซาะชายฝั่งเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 20 เมตร/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากไม่เร่งแก้ไขภายใน 40 ปี แผ่นดินชายฝั่งอาจจะร่นเข้ามา 3 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย สำหรับเขื่อนไม้ไผ่นั้นป้องกันได้เฉพาะความรุนแรงของคลื่น แต่ไม่อาจกันปัญหาแผ่นดินทรุดได้ การเพิ่มแผ่นดินให้งอกกลับมาดังเดิมนั้น มนุษย์จะต้องรบกวนให้น้อยที่สุด โดยจะต้องอาศัยความเข้าใจและความเสียสละของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย สำหรับแนวทางแก้ปัญหาใดจะดีที่สุดนั้น ดร.อานนท์ว่า ไม่ฟันธง เพราะปัญหาลุกลามจนเลยจุดที่จะพิจารณาว่าสูตรใดเป็นสูตรสำเร็จ และการทดลองใดๆ อาจเสี่ยงเกินไปด้วย และจากที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐเถียงกันเรื่องแก้ปัญหา จึงเสนอให้หาคนกลางให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ทั้ง กทม. , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมเจ้าท่า, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพที่สุด หรือไม่ดำเนินการแต่วันนี้ปัญหาจะยิ่งลุกลาม โดยเฉพาะกทม.เป็นพื้นที่ปัญหาแรกและพื้นที่ตัวอย่าง หากแก้ไขไม่ได้ พื้นที่ชายฝั่งทั้งประเทศก็มีสิทธิย่อยยับ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อการประชุมเสร็จสิ้น กลุ่มชาวบ้านต่างยิ้มแย้มแจ่มใส หลังจากทราบว่าภายใน 4 เดือนนี้ กทม.จะมีแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีความหวังขึ้นอีกครั้งและต่างขอให้กทม.ทำจริงอย่างที่พูดโดยเร็วที่สุด จาก : สยามรัฐ วันที่ 11 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
149วัน คุณชาย 40 ปีที่รอคอย สัญญาใจ 4 เดือน เขื่อนไม้ไผ่ ในที่สุดก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เล็ดลอดเข้ามาสร้างความหวังให้ชาวบ้านชาวประมงชุมชนชายทะเลเขตบางขุนเทียน กทม.เสียที หลังการตั้งวงเสวนาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา มี สัญญาณ ที่ดีส่งมาจากผู้แทนกทม.เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อและเรื้อรังมานานนับสิบๆ ปี โดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข สยามรัฐ ในฐานะที่ติดตามทำข่าวปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธิน จนถึงสมัยของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน ยังอดรู้สึกดีใจ ไปกับชาวบ้านไม่ได้เหมือนกันที่จะได้เห็น อะไร เป็นชิ้นเป็นอันเสียที หลังเข้าๆ ออกๆ พื้นที่มาหลายปีดีดักเพื่อทำข่าวเสนอสาธารณชน จน ได้รู้ได้เห็นอะไรมามากมายและมีข้อมูลเต็มจนล้นลิ้นชัก แต่กลับไร้ความคืบหน้า ************************************** เรื่องที่ว่านี้คือข้อมูลจากปากของนายชัยนาท นิยมธูร ผอ.กองพัฒนาระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. ที่ระบุว่า ขณะนี้สนน.กำลังอยู่ระหว่างรอผู้บริหารกทม.อนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนไม้ไผ่สลายกำลังคลื่น เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างรอโครงการก่อสร้างเขื่อนถาวร ที-กรอยน์ ที่เสนอของบประมาณ (ปีพ.ศ.2553) ไปแล้วเช่นกัน ...ไม่เกิน 4 เดือน กทม.รับปากชาวบ้านว่าจะได้เห็นเขื่อนไม้ไผ่เป็นรูปเป็นร่างแน่นอน พร้อมกับรับพิจารณาการจ้างแรงงานเป็นชาวบ้านในพื้นที่ด้วย เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทั้งยังได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนไปในตัว 149 วันของผู้ว่าฯ คุณชาย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร บวกกับอีก 4 เดือนนับจากนี้เพื่อที่จะได้เขื่อนไม้ไผ่มาปกป้องการสูญเสียแผ่นดินไทยเป็นการชั่วคราว จะว่าช้าก็ช้า จะว่าเร็วก็เร็ว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาและผืนแผ่นดินที่เสียไปตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ผ่านผู้ว่าฯ กทม.มาแล้วหลายยุคหลายสมัย ต้องไม่ลืมว่าจนถึงวันนี้ เรา (กทม.-ประเทศไทย) สูญเสียแผ่นดินไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ จากป่าชายเลนแนวกันชนเดิม 2,735 ไร่ ที่เคยอยู่เลยหลักเขตกทม.ออกไป บัดนี้สูญสิ้นไม่เหลือซาก และที่ดินทำกินของชาวบ้านที่บริจาคให้รัฐใช้เป็นกันชนอีก 405 ไร่ ก็แทบไม่เหลือ ปัจจุบันหลักเขตกทม.ลอยคออยู่กลางทะเลห่างจากฝั่ง 1 กิโลเมตร! **************************************** จากข้อมูลที่ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฝ้าสังเกตและศึกษานั้นระบุว่า ปัจจุบันชายฝั่งของไทยถูกน้ำทะเลกัดเซาะเป็นแนวถอยร่นเฉลี่ย 20 เมตรต่อปี จากสาเหตุ 2 ประการคือแผ่นดินทรุดและความรุนแรงของคลื่นลม ที่น่ากลัวก็คือ จากการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งมีความเป็นไปได้ว่าจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ จากการทำนายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์นั้น อีก 40 ปีข้างหน้าแนวถอยร่นจะขยับเข้ามาจากเดิมอีก 3 กิโลเมตรเป็นอย่างต่ำ และไม่สามารถที่จะหยุดเองได้ด้วย! ต้องรีบทำอย่างรอบคอบที่สุด คือใจความสำคัญที่ดร.อานนท์ฝากถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนทำด้วยเม็ดเงินมหาศาล นอกจากจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์แล้ว ยังจะต้องระวังด้วยว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้พื้นที่ใกล้เคียงแทนหรือไม่ เพราะสภาพปัญหาในปัจจุบันนั้นรุนแรงจนเลยจุดที่จะใช้สูตรสำเร็จสูตรใดสูตรหนึ่งไปแล้ว ดังนั้น รูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาจึงยังไม่สามารถฟันธงได้ ############################################# ประเด็นที่น่าจับตามองหลังจากนี้คือ เรื่องของโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นถาวรของกทม.ที่กว่าจะสรุปได้ต้องเสียเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาหมดงบประมาณไปนับสิบล้านบาท กับระยะเวลาศึกษาอีกนานนับปี เพียงเพื่อที่จะสรุปรูปแบบโครงการให้ชาวบ้านคัดค้านจนต้องยกเลิกไป กว่าจะปรับเปลี่ยนรูปแบบเสร็จก็ล่วงไปเป็นปีๆ จึงจะสามารถเสนอเรื่องขออนุมัติให้ผู้บริหารกทม.พิจารณาได้ เมื่อช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมานี้เอง ที่ต้องจับตาคือโครงการดังกล่าวจะไปสะดุดหรือติดขัดอะไรอีกหรือไม่ เพราะเป็นโครงการใหญ่ที่มีหลายหน่วยงานจับตาอยู่ด้วยเช่นกัน อีกยังต้องดูด้วยว่าเพื่อนบ้านในจังหวัดติดกันและใกล้เคียงในอ่าวไทยจะว่าอย่างไร เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เข้าทำนอง บ้านใคร ใครก็รัก ขณะที่กทม.ในฐานะพี่ใหญ่เองจะไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างซึ่งจะเป็นต้นแบบให้ที่อื่นๆ นำไปปรับใช้ สุดท้าย สยามรัฐ ขอย้อนกลับไปที่เรื่องค้างคาใจที่ ได้รู้ได้เห็น ซึ่งกล่าวไปแล้วในตอนต้น นั่นก็คือเรื่อง ความโปร่งใส ของทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานแก้ปัญหากู้วิกฤติแผ่นดินที่ว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือภาคประชาชนชาวชุมชนก็ตาม ขอให้จริงใจกับการแก้ไขปัญหามากกว่าตั้งแง่ หรือมองแต่เรื่องของผลประโยชน์ และต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ลด ละ เลิก วิชามาร-การวางยา สารพัดที่เคยใช้กัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อแผ่นดินไทย หาใช่ของใครสักคน... จาก : สยามรัฐ วันที่ 15 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#8
|
||||
|
||||
ทำเขื่อนซีออสแก้นํ้าเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ว่า คณะผู้บริหารเห็นชอบในวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งด้วยการสร้างเขื่อนตาห่าง โดยเป็นการนำขี้เถ้าผสมกับพลาสติกอัดให้เป็นแท่งสามเหลี่ยม (ซีออส) ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวทางสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำการวิจัยศึกษา ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าแท่งซีออส ดังกล่าวสามารถลดแรงปะทะของคลื่นทะเลได้ รวมไปถึงช่วยดักตะกอนดินให้เพิ่มมากขึ้น และมีอายุการใช้งานนานประมาณ 10-15 ปี ทั้งนี้ไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำด้วย ซึ่งขณะนี้ทางสำนักการระบายน้ำ (สนน.) เตรียมเสนอของบปี 2553 จำนวน 300 ล้านบาทเพื่อดำเนินการแล้ว เริ่มด้วยการใช้เสาซีออสปักลงน้ำ ความยาวตามแนวเขตของ กทม. มี 3 ระยะ โดยระยะแรกจะปักห่างจากฝั่งประมาณ 50 เมตร ส่วนระยะที่ 2 และ 3 ก็จะปักเป็นระยะห่างเท่าๆกัน ทั้งนี้วิธีดังกล่าวจะสามารถเพิ่มเนื้อที่ดินได้ภายใน 1 ปี จากนั้นแล้วกทม.จะเข้าไปปลูกต้นโกงกางเพื่อยึดหน้าดินต่อไป ทั้งนี้ ได้ยกเลิก ทีกรอยน์ เนื่องจากใช้งบประมาณถึง 700 ล้านบาท ทั้งนี้ก่อนที่กทม.จะดำเนินการสร้างซีออส ล่าสุด สนน. ได้ของบกลางปี 2552 จำนวน 10 ล้านบาทเพื่อนำมาสร้างเขื่อนไม้ไผ่แก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะในช่วงนี้ไปก่อน จาก : เดลินิวส์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#9
|
||||
|
||||
เที่ยวทะเลกรุงเทพฯ ชมป่าชายเลน สำรวจแผ่นดินที่หายไป บรรยากาศชุมชนริมคลองพิทยาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของเอเชีย คราคร่ำไปด้วยตึกรามบ้านช่องและถนนที่กว้างใหญ่ หากแต่ในความวุ่นวายของเมืองหลวงแห่งนี้ ยังมีพื้นที่เล็กๆ อีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่อันเงียบสงบและยังคงความเป็นธรรมชาติอันสวย งามอยู่เป็นอย่างมาก เรากำลังพูดถึงทะเลกรุงเทพฯ หรือที่รู้จักกันว่าชายทะเลบางขุนเทียน ซึ่งอยู่ในพื้นที่แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครนี่เอง จากการลองสอบถามคนทั่วไปพบว่าชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่ทราบด้วยซ้ำว่ากรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดกับทะเล ประกอบกับที่ผ่านมาสภาพถนนไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางจึงทำให้ทะเลกรุงเทพฯ ไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับวันหยุดพักผ่อน ผู้ที่ไปเยี่ยมชมทะเลกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานราชการที่เดินทางไปในลักษณะหมู่คณะเพื่อการทัศนศึกษา สำหรับกิจกรรมหลักของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้คือการนั่งเรือออกไปที่ปากอ่าว เพื่อชมทะเล แวะดูหลักเขตกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำห่างจากแนวชายฝั่งไปประมาณ 500 เมตร และพักรับประทานอาหารที่ร้านริมทะเล แต่บริเวณที่เราจะไปสำรวจในวันนี้คือพื้นที่ป่าชายเลนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชายทะเลบางขุนเทียน และนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมทะเลกรุงเทพฯ น้อยคนนักที่จะได้มีโอกาสไปสำรวจสถานที่แห่งนี้ เนื่องจากไม่มีเส้นทางคมนาคมให้เข้าถึงได้ด้วยรถยนต์หรือเรือ การเข้าไปเยี่ยมชมจึงต้องอาศัยการเดินล้วนๆ เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสำรวจป่าชายเลนเส้นนี้จึงร้างผู้คนและเงียบเหงาเป็น พิเศษ จะเรียกว่าเป็นสถานที่ unseen อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยก็คงไม่ผิดนัก หลักเขตกรุงเทพมหานครที่ไปอยู่กลางทะเลอันนี้ พึ่งได้รับการกู้ขึ้นมาจากใต้น้ำเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สำหรับการเดินทางไปชมป่าชายเลนบางขุนเทียนนั้นเริ่มจากที่ถนนพระราม 2 เลี้ยวเข้าถนนบางขุนเทียน-ชายทะเลซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงลาดยาง เสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งเส้นแล้ว ขับรถตรงเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตรจนสุดทาง จะพบ 3 แยกให้เลี้ยวขวา (ทางไปสมุทรสาคร) และตรงไปอีกเพียง 200 เมตรจะพบกับโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สามารถนำรถเข้าไปฝากจอดในโรงเรียนได้ ตรงข้ามโรงเรียนจะพบทางเข้าชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ จากจุดนี้สามารถเลือกที่จะเดิน เช่ารถจักรยานจากทางโรงเรียน หรือจ้างรถจักรยานยนต์ให้เข้าไปส่งก็ได้ โดยต้องเดินทางเข้าไปด้านในระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะเส้นทางเป็นถนนคอนกรีตขนาดเล็กสำหรับให้คนและรถจักรยานยนต์สัญจร เมื่อมาสุดทางจะพบกับชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสร้างเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไปในป่าชายเลนมีปลายทางที่ริมทะเล มีระยะทางโดยรวม 1.7 กิโลเมตร สำหรับสะพานไม้นี้จัดสร้างโดยเขตบางขุนเทียนบนพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสมาชมและศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน โดยผู้ที่นำรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เข้ามาจะต้องจอดรถไว้ที่บริเวณทางเข้า ไม่อนุญาตให้ขับขึ้นไปบนสะพานทางเดิน บรรยากาศบริเวณบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของชาวบ้าน บรรยากาศตลอดเส้นทางชมป่าชายเลนมีความร่มรื่นจากการที่สองข้างทางมี ต้นโกงกางและแสมขนาดใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนอยู่เป็นระยะ สิ่งหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมป่าชายเลนจะได้ยินเสมอคือเสียงดัง ป๊อก-แป๊กอยู่เป็นช่วงๆ ซึ่งเกิดจากกุ้งชนิดหนึ่งที่มีก้ามขวาขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่ากุ้งดีดขัน และยังมีสัตว์อื่นๆ ที่พบได้ในพื้นที่นี้ เช่น ปลาตีน ปูก้ามดาบ หอยชนิดต่างๆ ส่วนบริเวณริมทะเลสามารถพบนกได้หลายชนิด เช่นนกยางและนกนางนวล ซึ่งถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่าง มาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันป่าชายเลนผืนนี้กำลังถูกทำลายไปจนแทบจะหมด สิ้นแล้ว จากข้อมูลที่สำรวจโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในอดีตกรุงเทพมหานครเคยมีป่าชายเลนประมาณ 2,750 ไร่ แต่ต่อมาได้มีการนำพื้นที่บริเวณนี้ไปจัดสรรและพัฒนาเป็นที่ดินทำกิน เช่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำนาเกลือ รวมไปถึงการขยายตัวของชุมชน นอกจากนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงและต่อเนื่องอันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงของสภาพอากาศโดยรวมก็เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าชาย เลนกรุงเทพฯ ลดลงไปอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันกรุงเทพมหานครเหลือพื้นที่ป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ โดยป่าเหล่านี้มีลักษณะเป็นหย่อมเล็กๆ ส่วนพื้นที่ป่าเดิมจมอยู่ในน้ำทะเลหมดแล้ว บรรยากาศอันรมรื่นของทางเดิน ปกคลุมไปด้วยต้นแสมและโกงกาง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#10
|
||||
|
||||
เมื่อเราเดินมาใกล้ถึงปลายทางซึ่งเป็นจุดชมวิวทะเล จะได้ยินเสียงเครื่องเรือของชาวบ้านแว่วมาในระยะไม่ไกล แสงสว่างจากท้องทะเลส่องผ่านปากทางร่มไม้สองข้างที่โอบตัวเป็นเหมือนอุโมงค์ เมื่อพ้นบริเวณร่มไม้มาแล้วจะพบศาลานั่งเล่นขนาบอยู่ทั้งสองข้างของทางเดิน และปรากฏผืนน้ำทะเลอยู่เบื้องหน้า ซึ่งแม้น้ำทะเลจะไม่ได้มีสีสันสวยงามเหมือนแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่ง อื่น แต่ที่แห่งนี้ก็ได้ชื่อว่าเป็นทะเลแห่งเดียวของเมืองหลวงอันทันสมัยนี้ โดยสะพานไม้จะทอดยาวออกไปในทะเลและที่สุดทางทำเป็นจุดยืนชมวิว โดยเมื่อมองออกไปในระยะไม่ไกลจะพบฝูงนกยางและนกนางนวลกำลังพักผ่อนและหา อาหารอยู่บริเวณแนวชายฝั่งเป็นจำนวนมาก แนวไม้ไผ่ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการรับมือปัญหากัดเซาะชายฝั่ง และที่ตรงนี้เองที่เราได้เห็นถึงปรากฏการณ์กัดเซาะชายฝั่งที่ได้ยิน ตามสื่อต่างๆ อยู่เป็นประจำ สิ่งที่สังเกตเห็นคือแนวต้นแสมที่ล้มระเนระนาดและประตูระบายน้ำเข้านากุ้ง ที่จมอยู่กลางทะเลซึ่งเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของการสูญเสียแผ่นดินชายฝั่งซึ่ง เป็นปัญหาใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ทุกคน แต่สิ่งที่ทำให้เราพอชื้นใจขึ้นมาบ้างคือได้เห็นมีการเริ่มสร้างแนวไม้ไผ่ เพื่อลดแรงปะทะของคลื่นในบริเวณนี้แล้ว จากคำบอกเล่าของอาจารย์เกรียงศักดิ์ ฤกษ์งาม หรือครูแดง อาจารย์ประจำโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์และผู้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อมในพื้นที่ชายทะเลบางขุนเทียน การกัดเซาะชายฝั่งกรุงเทพฯ ได้เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว แต่ในอดีตปัญหานี้ไม่ได้รับการใส่ใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากนัก แต่เมื่อชาวบ้านในท้องที่เริ่มได้รับผลกระทบมากขึ้น จึงได้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จนผลักดันให้เกิดเป็นโครงการความร่วมมือแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมใน ปัจจุบัน สภาพแนวต้นแสมที่ล้มลงก่อนหน้าที่จะมีการสร้างแนวไม้ไผ่เพื่อลดความแรงคลื่น สำหรับการแก้ปัญหาการกัดเซาะนั้น เดิมทางกรุงเทพมหานครได้เคยจัดสร้างแนวหินทิ้งบริเวณชายฝั่งเพื่อลดแรงปะทะ ของคลื่น ต่อมาได้เสนอการสร้างรอดักทรายรูปตัวทีหรือ “ที-กรอยน์” (T-Groin) โดยการวาง “ใส้กรอกทราย” แต่ชาวบ้านในพื้นที่ได้คัดค้านแนวทางนี้ โดยอธิบายว่าเมื่อใส้กรอกทรายแตกออกจะทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชาย เลนจากการกระจายตัวของทรายซึ่งไม่ใช่ส่วนประกอบตามธรรมชาติของหาดเลน นอกจากนี้ครูแดงยังเล่าต่อไปว่าการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยการสร้างแนว ไม้ไผ่นั้น ชาวบางขุนเทียนได้ต้นแบบมาจากตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งประสบปัญหาเดียวกัน ปรากฏว่าแนวไม้ไผ่นั้นนอกจากจะช่วยลดแรงปะทะของคลื่นได้ดีแล้ว ยังช่วยในการกักเก็บตะกอนที่อยู่ในน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของตะกอนที่จะงอกกลับมาเป็นพื้นดินอีกครั้งด้วย อีกทั้งไม้ไผ่ยังเป็นวัสดุธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ และได้ช่วยสร้างงานให้กับชาวบ้านในจังหวัดอื่นที่ปลูกต้นไผ่เพื่อขาย และชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ปักแนวไม่ไผ่อีกด้วย โดยที่ผ่านมาโครงการสร้างแนวไม้ไผ่นำร่องในเขตทะเลบางขุนเทียนความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธิชุมชนไทย ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่นโดยใช้ภูมิปัญญาชาว บ้านและแรงงานในพื้นที่ ภายในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียน นอกจากการเดินศึกษาเส้นทางป่าชายเลนแล้ว สถานที่อีกแห่งหนึ่งที่พลาดไม่ได้ในการมาเที่ยวชมทะเลกรุงเทพฯ ครั้งนี้คือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตบางขุนเทียนซึ่ง ตั้งอยู่ในโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์นั่นเอง ซึ่งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งนี้ มีการจัดแสดงประวัติความเป็นมา รวมไปถึงข้อมูลสถานที่ต่างๆ ของเขตบางขุนเทียนเอาไว้อย่างละเอียด โดยมีการแยกหมวดหมู่การจัดแสดงไว้ดังนี้: ภาพรวมกรุงเทพฯ, บางขุนเทียนบนเส้นทางประวัติศาสตร์, สวนบางขุนเทียน, ชาวพื้นเมืองในบางขุนเทียน, บุคคลสำคัญของบางขุนเทียน, สถานที่สำคัญของบางขุนเทียน, ทะเลกรุงเทพฯ, และบางขุนเทียนวันนี้ นอกจากนี้ภายในพื้นที่ด้านหลังของโรงเรียนยังได้มีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ ระบบนิเวศป่าชายเลนบางขุนเทียน โดยมีการปลูกพืชชายเลนชนิดต่างๆ และจำลองวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่เขตบางขุนเทียนมาจัดแสดงให้ชมอย่างครบ วงจร เรียกได้ว่าเป็นการย่อส่วนป่าชายเลนและชุมชนท้องถิ่นมาไว้ให้ชมได้ภายใน พื้นที่จำลองแห่งนี้นั่นเอง นอกจากนี้ผู้เยี่ยมชมยังสามารถทดลองปลูกป่าชายเลนภายในแปลงสาธิตในบริเวณ เดียวกันนี้ได้อีกด้วย ก่อนเดินทางกลับเรายังได้แวะไปเที่ยวชมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของชาว บ้านและสัมผัสวิถีชีวิตการทำกินของคนในพื้นที่ ซึ่งในบริเวณนี้มีการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ หอยแครง และปูม้าอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อวัตถุดิบอาหารทะเลเหล่านี้ติดมือกลับบ้านได้ในราคา ย่อมเยา หรือหากต้องการสัมผัสวิถีชีวิตลูกน้ำเค็มชาวบางขุนเทียนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น สามารถติดต่อขอค้างคืนแบบโฮมสเตย์ได้ที่บ้านในชุมชนแสนตอได้อีกด้วย ซึ่งการมาเยี่ยมชมป่าชายเลนและทะเลกรุงเทพฯ นอกจากจะได้มาเที่ยวทะเลโดยไม่ต้องขับรถไปไกลแล้ว ยังได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสชิมอาหารทะเลที่อร่อยในราคาไม่แพงไปพร้อมกัน เห็นอย่างนี้แล้ววันว่างโอกาสต่อไป หากยังนึกจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวไม่ออกหรือไม่อยากเดินทางไปไกล อย่าลืมนึกถึงชายทะเลบางขุนเทียนที่แสนสงบแห่งนี้ที่ซึ่งรอคอยการมาเยี่ยมชม ของท่านเสมอ จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 6 กันยายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|