เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 27-05-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default แผ่นดินที่หายไป (3)

น้ำเซาะทราย......อันตราย...โลกตะลึง!! โดย จำนง ถีราวุฒิ



เชื่อหรือไม่ครับ แผนที่โลกใหม่กรุงเทพหายไป ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย หมู่เกาะดูรินและเกาะแซคาลินของรัสเซียจมอยู่ใต้ทะเล เมืองซานวาดอร์ เซาเปาโล ริโอดอร์จาเนโร และบางส่วนของอุรุกวัยจะจมหายไปในทะเลเหมือนกับหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ และอีกหลายๆ พื้นที่ของโลก ปรากฎการณ์เช่นนี้ถ้าถามผมว่าเชื่อหรือไม่ ตอนแรกก็ไม่ค่อยเชื่อ แต่พอดูข่าวหลายๆ ครั้งที่เกิดขึ้นจริงในขณะนี้ เช่นที่ประเทศอินเดีย เกาะโลฮาซาราจมหายไปในทะเล ส่วนเกาะโกรามาราซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันจมหายไปแล้วครึ่งหนึ่ง แล้วอีกไม่นานประเทศตูวาลู ประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกและเกาะมาดากัสการ์จะจมหายไปเช่นกัน ไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 1 เมตร การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลจะทวีความรุนแรงขึ้น เอ๊ะ!!!! มันเริ่มเป็นจริงแล้วนี่น่า......ถ้าจะให้ผมหลับหูหลับตาแล้วตอบอย่างเสียงแข็งว่าไม่เชี่อ ถึงอย่างไรก็ไม่เชื่อ เออ.....ถ้าตอบอย่างนี้ก็คิดหนักเหมือนกันนะครับ (ถ้าเกิดขึ้นจริงก็คงอีกหลายปี นี่เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณ)

การกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเลเนื่องมาจากภาวะโลกร้อนต่างประเทศถือว่าหนักแล้วบ้านเราล่ะหนักมั๊ย??? ไม่ถึงกับประเทศต้องจมหายไปในทะเลครับแต่ก็เกิดขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะชายฝั่งด้านอ่าวไทย เสียหายหนักกว่าฝั่งอันดามันตั้งแต่ภาคตะวันออกลงมาถึงจังหวัดทางภาคใต้บางพื้นที่อาการค่อนข้างหนักเหมือนกัน ผมมีภาพและตัวอย่างของพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ จากการกัดเซาะของน้ำทะเลมาให้ดู เกิดขึ้นใกล้ๆ กับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งนี่เองที่บ้านบ่ออิฐ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง และที่บ้านปึก ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา


ภาพที่ 1 แสดงต้นหูกวางอายุนับ 100 ปี ถูกโค่นล้ม



ภาพที่ 2 แสดงถนนพังเสียหาย



ภาพที่ 3 แสดงน้ำกัดเซาะชายฝั่งที่บ้านปึก

ภาพที่1 เกิดขึ้นที่บ้านบ่ออิฐ ต้นไม้ที่เห็นเป็นต้นหูกวางอายุร่วม 100 ปี คุณลุงในภาพท่านยืนยันได้ท่านอายุ 80 ตอนเด็กๆ ก็เห็นต้นหูกวางต้นนี้อยู่แล้ว แต่เอ๊ะ คุณลุงในภาพหน้าตาคุ้นๆ อ๋อ คุณลุง ถาวร ถีราวุฒิ คุณพ่อผมเอง ไม่ได้เล่นเส้นนะครับ พอดีเห็นว่าท่านผูกพันและชอบไปนั่งพักผ่อนใต้ต้นหูกวางต้นนี้อยู่เป็นประจำใช้เป็นที่หลบร้อน เวลาออกไปทอดแห ก็เลยนำท่านมาเป็นนายแบบเสียเลย ภาพที่ 2 แต่ก่อนไปไหนมาไหนระวังแค่อุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วไป แต่เดี๋ยวนี้ไม่น่าเชื่อขี่รถต้องระวังตกทะเล ภาพนี้เกิดขึ้นที่บ้านบ่ออิฐเช่นกัน ส่วนภาพที่ 3 เกิดขึ้นที่บ้านปึกสภาพเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละครับรุนแรงไม่แพ้บ้านบ่ออิฐเช่นกัน
ผลที่ได้รับมันรุนแรงเหลือเกินแล้วสาเหตุจริงๆ มันคืออะไรกันแน่หลายท่านคงสงสัย

สาเหตุที่สำคัญมีอยู่ 2 ประการ

1. เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล กระแสน้ำมีการเปลี่ยนแปลง คลื่นลมแรง ปริมาณตะกอนจากทะเลที่พัดพาเข้าฝั่งลดลง และปริมาณฝนตกที่มากกว่าปกติ

2. เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์นอกจากจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อนแล้วการปลูกสิ่งก่อสร้างก็มีส่วนสำคัญเช่นกันการสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การสร้างท่าเทียบเรือ การถมสร้างชายหาดเทียมเป็นต้น สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ขัดขวางการพัดพาของตะกอนก่อให้เกิดการพังทลายของชายหาด

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 27-05-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default


แนวทางการแก้ไข

แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบไม่ใช้โครงสร้างเหมาะสำหรับชายฝั่งที่มีชุมชนไม่แน่นหนาการกัดเซาะไม่รุนแรง เช่น การปลูกต้นไม้

2) การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเหมาะสำหรับบริเวณชายฝั่งที่มีปัญหาถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง เช่น เติมทรายชายฝั่ง ก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่น ก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นใต้น้ำ ก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่นสลับกับก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นใต้น้ำ ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเป็นต้น

ตอนนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่บ้านบ่ออิฐ และบ้านปึกใช้แนวทางแก้ไขแบบใช้โครงสร้างทาง วิศวกรรมโดยการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่นของกรมขนส่งทางน้ำพาณิชยนาวีกระทรวงคมนาคม (ดูรูปที่ 4 ประกอบ ) และจะสร้างต่อไปจนถึงชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ 3-7 ตำบลเขารูปช้าง


ภาพที่ 4 แสดงเขื่อนหินทิ้งกั้นคลื่น

จากวิกฤตที่เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง บ้านปึก บ้านบ่ออิฐ บ้านเนินชายทะเล บ้านทุ่งใหญ่ อำเภอ เมือง จังหวัดสงขลา กรมประมงโดยสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา เป็นเสือปืนไวอีกเช่นเคยครับ เล็งเห็นถึงการสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส ( ไม่ใช่การสร้างโอกาสให้เป็นวิกฤตเหมือนที่สังคมไทยกำลังกระทำอยู่ขณะนี้นะครับ) พื้นที่ว่างระหว่างแนวหินกั้นคลื่นกับชายฝั่ง นอกจากจะใช้เป็นแนวกั้นคลื่นลมแล้วที่ตรงนั้นแหละครับสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลามองว่าน่าจะใช้เป็นที่เลี้ยงปลาในกระชัง สร้างแหล่งทำกินที่ใหม่ให้กับชาวบ้านส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงปลาในกระชัง ด้วยการรวมกลุ่มกันเลี้ยง กลุ่มละประมาณ 20 คน ช่วยกันดูแล ช่วยกันเลี้ยง ตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานครับถ้าหากว่ามีความคืบหน้าประการใดผมนำมาเสนอให้ทราบอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอน

สภาวะโลกร้อน ธารน้ำแข็งละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมแปรปรวนการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงมีผลทำให้แผนที่โลกเปลี่ยน ฟังดูแล้วน่าใจหายเหมือนกันน่ะครับถึงแม้ว่าบ้านเราไม่รุนแรงถึงขนาดประเทศต้องจมอยู่ใต้ท้องทะเล.......จริงสินะประเทศของเราอาจจะไม่จมเพราะน้ำท่วมหรือน้ำกัดเซาะชายฝั่งหรอก เพราะบ้านเมืองของเรากำลังจะจมด้วยคนในประเทศทะเลาะกันเองมากกว่าแต่ถึงอย่างไรก็อย่าให้เกิดกับบ้านเมืองของเราเลย ถึงแม้ว่ามันเป็นคำขอที่ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน จะช่วยได้ พวกเรางัยครับ พวกเรานี่แหละคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงที่จะช่วยโลกและประเทศไทยของเราได้ การแก้ไขปัญหาที่กระทำอยู่ในขณะนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ช่วยกันคนละไม้คนละมือนะครับหยุด!!!!! พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโลกร้อนนี่ต่างหากที่เป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว......สัญญาสิครับ




จาก : สถาบันวิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง วันที่ 12 พฤษภาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 27-05-2009
Birdie Birdie is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: ณ ที่แห่งหนึ่ง กับพ่อและแม่
ข้อความ: 496
Default

อืมม์ พวกบ้านแถวสมุทรปราการอย่าง Birdie เนี่ย ก็เสียว ๆ น้ำท่วม น้ำเซาะชายฝั่งจนไม่เหลือแผ่นดินให้อยู่เหมือนกันค่ะ บรึ๋ยส์

อยากแวะไปแอบดูบ้านปึกที่สงขลาเหมือนกันนะคะเนี่ย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 30-05-2009
janny janny is offline
Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 58
Default

เห็นว่าหมู่เกาะมัลดิฟก็จะเป็นอย่างนี้ในอนาคตใช่ไหมคะ
บางคนบอกว่าให้ไปก่อนที่น้ำทะเลจะท่วมเกาะภายใน ปีสองปีนี้ค่ะ
ไม่รู้ว่าจะเป็นความจริงหรือเปล่า
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 08-06-2009
zmax's Avatar
zmax zmax is offline
Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 98
ส่งข้อความผ่าน ICQ ถึง zmax ส่งข้อความผ่าน MSN ถึง zmax
Default

เพื่อผมที่เป็นคนมัลดิฟก็เรียนจบ ซื้อบ้านที่นี่ แต่งเมีย(คนไทย) เรียบร้อยแล้วครับ
เห็นว่าจะย้ายครอบครัวมาอยู่เมืองไทยด้วย(ได้ด้วยเหรอ....??) มันว่างั้นอ่ะครับ
__________________
Defend our territory
Defend our Sea..!!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 12-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default


ลั่น 4 เดือนผุด “เขื่อนไม้ไผ่”กู้แผ่นดิน



“บางขุนเทียน”จี้กทม.ทำจริง/ชี้สัญญาณเตือนชายฝั่งไทยย่อยยับ

กทม.ย้ำแค่รอ “คุณชาย” อนุมัติปุ๊บเปิดประมูลหาผู้รับเหมาปั๊บ นักวิชาการระบุไม่รีบทำวันนี้ 40 ปี แผ่นดินหายอีก 3 กม. ชี้ถ้ากทม.แก้ไม่ได้ อย่าหมายชายฝั่งทั่วไทยจะเหลือ

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.52 เวลา 13.00 น. ที่ลานชายทะเลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพ จาก 6 ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียนได้จัดเวทีเสวนาเนื่องในโอกาส 149 วัน การเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เกี่ยวกับการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะซึ่งเรื้อรังมากว่า 40 ปี สูญเสียแผ่นดินกว่า 3,000 ไร่ ขณะที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากกทม.ตามที่ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์รับปากไว้ขณะหาเสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีตัวแทนจากกทม.คือ นายชัยนาท นิยมธูร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สำนักผังเมือง กทม. ร่วมชี้แจง รวมทั้งมีผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IPCN) และ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมด้วย



ทั้งนี้ กลุ่มชาวบ้านได้สอบถามความคืบหน้าโครงการสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นของกทม.ว่าอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งนายชัยนาทกล่าวว่า จากการประชุมกับชาวบ้านเมื่อวันที่ 17 มี.ค.52 ได้ข้อสรุป 2 แนวทางคือ ทำแนวไม้ไผ่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า, เสนอของบประมาณทำเขื่อนกันคลื่นถาวรรูปตัวที หรือทีกรอยน์ จะใช้งบประมาณปี 53 ได้นำเสนอผู้บริหารกทม.แล้ว สำหรับการทำเขื่อนไม้ไผ่ สำนักงบประมาณอนุมัติหลักการแล้ว ขณะนี้รอการอนุมัติจากผู้บริหารกทม. คาดไม่กี่วันจะทราบผล และจะเปิดประมูลด้วยระบบอี-อ็อกชันหาผู้รับเหมาต่อไป คาดไม่เกิน 4 เดือน จะดำเนินการได้

ด้านดร.อานนท์กล่าวว่า ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมีสาเหตุ 2 ประการ ทั้งการทรุดตัวของแผ่นดินและความแรงของคลื่น ที่ผ่านมาอัตรากัดเซาะชายฝั่งเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 20 เมตร/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากไม่เร่งแก้ไขภายใน 40 ปี แผ่นดินชายฝั่งอาจจะร่นเข้ามา 3 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย สำหรับเขื่อนไม้ไผ่นั้นป้องกันได้เฉพาะความรุนแรงของคลื่น แต่ไม่อาจกันปัญหาแผ่นดินทรุดได้ การเพิ่มแผ่นดินให้งอกกลับมาดังเดิมนั้น มนุษย์จะต้องรบกวนให้น้อยที่สุด โดยจะต้องอาศัยความเข้าใจและความเสียสละของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย



สำหรับแนวทางแก้ปัญหาใดจะดีที่สุดนั้น ดร.อานนท์ว่า ไม่ฟันธง เพราะปัญหาลุกลามจนเลยจุดที่จะพิจารณาว่าสูตรใดเป็นสูตรสำเร็จ และการทดลองใดๆ อาจเสี่ยงเกินไปด้วย และจากที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐเถียงกันเรื่องแก้ปัญหา จึงเสนอให้หาคนกลางให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ทั้ง กทม. , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมเจ้าท่า, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพที่สุด หรือไม่ดำเนินการแต่วันนี้ปัญหาจะยิ่งลุกลาม โดยเฉพาะกทม.เป็นพื้นที่ปัญหาแรกและพื้นที่ตัวอย่าง หากแก้ไขไม่ได้ พื้นที่ชายฝั่งทั้งประเทศก็มีสิทธิย่อยยับ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อการประชุมเสร็จสิ้น กลุ่มชาวบ้านต่างยิ้มแย้มแจ่มใส หลังจากทราบว่าภายใน 4 เดือนนี้ กทม.จะมีแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีความหวังขึ้นอีกครั้งและต่างขอให้กทม.ทำจริงอย่างที่พูดโดยเร็วที่สุด



จาก : สยามรัฐ วันที่ 11 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 15-06-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default


149วัน “คุณชาย” 40 ปีที่รอคอย สัญญาใจ 4 เดือน “เขื่อนไม้ไผ่”



ในที่สุดก็มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์เล็ดลอดเข้ามาสร้างความหวังให้ชาวบ้านชาวประมงชุมชนชายทะเลเขตบางขุนเทียน กทม.เสียที

หลังการตั้งวงเสวนาครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา มี “สัญญาณ” ที่ดีส่งมาจากผู้แทนกทม.เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อและเรื้อรังมานานนับสิบๆ ปี โดยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

“สยามรัฐ” ในฐานะที่ติดตามทำข่าวปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยผู้ว่าฯ อภิรักษ์ โกษะโยธิน จนถึงสมัยของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.คนปัจจุบัน ยังอดรู้สึกดีใจ ไปกับชาวบ้านไม่ได้เหมือนกันที่จะได้เห็น “อะไร” เป็นชิ้นเป็นอันเสียที

หลังเข้าๆ ออกๆ พื้นที่มาหลายปีดีดักเพื่อทำข่าวเสนอสาธารณชน จน “ได้รู้ได้เห็น”อะไรมามากมายและมีข้อมูลเต็มจนล้นลิ้นชัก แต่กลับไร้ความคืบหน้า

**************************************


เรื่องที่ว่านี้คือข้อมูลจากปากของนายชัยนาท นิยมธูร ผอ.กองพัฒนาระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. ที่ระบุว่า ขณะนี้สนน.กำลังอยู่ระหว่างรอผู้บริหารกทม.อนุมัติโครงการก่อสร้างเขื่อนไม้ไผ่สลายกำลังคลื่น เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างรอโครงการก่อสร้างเขื่อนถาวร “ที-กรอยน์” ที่เสนอของบประมาณ (ปีพ.ศ.2553) ไปแล้วเช่นกัน

“...ไม่เกิน 4 เดือน”

กทม.รับปากชาวบ้านว่าจะได้เห็นเขื่อนไม้ไผ่เป็นรูปเป็นร่างแน่นอน พร้อมกับรับพิจารณาการจ้างแรงงานเป็นชาวบ้านในพื้นที่ด้วย เพื่อเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทั้งยังได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนไปในตัว

149 วันของผู้ว่าฯ “คุณชาย” ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร บวกกับอีก 4 เดือนนับจากนี้เพื่อที่จะได้เขื่อนไม้ไผ่มาปกป้องการสูญเสียแผ่นดินไทยเป็นการชั่วคราว

จะว่าช้าก็ช้า จะว่าเร็วก็เร็ว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาและผืนแผ่นดินที่เสียไปตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ผ่านผู้ว่าฯ กทม.มาแล้วหลายยุคหลายสมัย

ต้องไม่ลืมว่าจนถึงวันนี้ เรา (กทม.-ประเทศไทย) สูญเสียแผ่นดินไปแล้วกว่า 3,000 ไร่ จากป่าชายเลนแนวกันชนเดิม 2,735 ไร่ ที่เคยอยู่เลยหลักเขตกทม.ออกไป บัดนี้สูญสิ้นไม่เหลือซาก และที่ดินทำกินของชาวบ้านที่บริจาคให้รัฐใช้เป็นกันชนอีก 405 ไร่ ก็แทบไม่เหลือ

ปัจจุบันหลักเขตกทม.ลอยคออยู่กลางทะเลห่างจากฝั่ง 1 กิโลเมตร!



****************************************


จากข้อมูลที่ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฝ้าสังเกตและศึกษานั้นระบุว่า ปัจจุบันชายฝั่งของไทยถูกน้ำทะเลกัดเซาะเป็นแนวถอยร่นเฉลี่ย 20 เมตรต่อปี จากสาเหตุ 2 ประการคือแผ่นดินทรุดและความรุนแรงของคลื่นลม

ที่น่ากลัวก็คือ จากการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งมีความเป็นไปได้ว่าจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ

จากการทำนายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์นั้น อีก 40 ปีข้างหน้าแนวถอยร่นจะขยับเข้ามาจากเดิมอีก 3 กิโลเมตรเป็นอย่างต่ำ และไม่สามารถที่จะหยุดเองได้ด้วย!

“ต้องรีบทำอย่างรอบคอบที่สุด” คือใจความสำคัญที่ดร.อานนท์ฝากถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องลงทุนทำด้วยเม็ดเงินมหาศาล

นอกจากจะต้องคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์แล้ว ยังจะต้องระวังด้วยว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้พื้นที่ใกล้เคียงแทนหรือไม่ เพราะสภาพปัญหาในปัจจุบันนั้นรุนแรงจนเลยจุดที่จะใช้สูตรสำเร็จสูตรใดสูตรหนึ่งไปแล้ว ดังนั้น รูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาจึงยังไม่สามารถฟันธงได้



#############################################



ประเด็นที่น่าจับตามองหลังจากนี้คือ เรื่องของโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นถาวรของกทม.ที่กว่าจะสรุปได้ต้องเสียเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาหมดงบประมาณไปนับสิบล้านบาท กับระยะเวลาศึกษาอีกนานนับปี เพียงเพื่อที่จะสรุปรูปแบบโครงการให้ชาวบ้านคัดค้านจนต้องยกเลิกไป

กว่าจะปรับเปลี่ยนรูปแบบเสร็จก็ล่วงไปเป็นปีๆ จึงจะสามารถเสนอเรื่องขออนุมัติให้ผู้บริหารกทม.พิจารณาได้ เมื่อช่วงเดือนพ.ค.ที่ผ่านมานี้เอง

ที่ต้องจับตาคือโครงการดังกล่าวจะไปสะดุดหรือติดขัดอะไรอีกหรือไม่ เพราะเป็นโครงการใหญ่ที่มีหลายหน่วยงานจับตาอยู่ด้วยเช่นกัน อีกยังต้องดูด้วยว่าเพื่อนบ้านในจังหวัดติดกันและใกล้เคียงในอ่าวไทยจะว่าอย่างไร เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

เข้าทำนอง บ้านใคร ใครก็รัก ขณะที่กทม.ในฐานะพี่ใหญ่เองจะไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะถือเป็นพื้นที่ตัวอย่างซึ่งจะเป็นต้นแบบให้ที่อื่นๆ นำไปปรับใช้

สุดท้าย “สยามรัฐ” ขอย้อนกลับไปที่เรื่องค้างคาใจที่ “ได้รู้ได้เห็น” ซึ่งกล่าวไปแล้วในตอนต้น นั่นก็คือเรื่อง “ความโปร่งใส” ของทุกฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับงานแก้ปัญหากู้วิกฤติแผ่นดินที่ว่านี้

ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดทั้งหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือภาคประชาชนชาวชุมชนก็ตาม ขอให้จริงใจกับการแก้ไขปัญหามากกว่าตั้งแง่ หรือมองแต่เรื่องของผลประโยชน์ และต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

ลด ละ เลิก “วิชามาร-การวางยา” สารพัดที่เคยใช้กัน

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อแผ่นดินไทย หาใช่ของใครสักคน...



จาก : สยามรัฐ วันที่ 15 มิถุนายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 23-07-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default


ทำเขื่อนซีออสแก้นํ้าเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน


นายประกอบ จิรกิติ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในโครงการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน ว่า คณะผู้บริหารเห็นชอบในวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะชายฝั่งด้วยการสร้างเขื่อนตาห่าง โดยเป็นการนำขี้เถ้าผสมกับพลาสติกอัดให้เป็นแท่งสามเหลี่ยม (ซีออส) ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวทางสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำการวิจัยศึกษา ซึ่งผลที่ออกมาพบว่าแท่งซีออส ดังกล่าวสามารถลดแรงปะทะของคลื่นทะเลได้ รวมไปถึงช่วยดักตะกอนดินให้เพิ่มมากขึ้น และมีอายุการใช้งานนานประมาณ 10-15 ปี ทั้งนี้ไม่ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำด้วย

ซึ่งขณะนี้ทางสำนักการระบายน้ำ (สนน.) เตรียมเสนอของบปี 2553 จำนวน 300 ล้านบาทเพื่อดำเนินการแล้ว เริ่มด้วยการใช้เสาซีออสปักลงน้ำ ความยาวตามแนวเขตของ กทม. มี 3 ระยะ โดยระยะแรกจะปักห่างจากฝั่งประมาณ 50 เมตร ส่วนระยะที่ 2 และ 3 ก็จะปักเป็นระยะห่างเท่าๆกัน ทั้งนี้วิธีดังกล่าวจะสามารถเพิ่มเนื้อที่ดินได้ภายใน 1 ปี จากนั้นแล้วกทม.จะเข้าไปปลูกต้นโกงกางเพื่อยึดหน้าดินต่อไป

ทั้งนี้ ได้ยกเลิก ทีกรอยน์ เนื่องจากใช้งบประมาณถึง 700 ล้านบาท ทั้งนี้ก่อนที่กทม.จะดำเนินการสร้างซีออส ล่าสุด สนน. ได้ของบกลางปี 2552 จำนวน 10 ล้านบาทเพื่อนำมาสร้างเขื่อนไม้ไผ่แก้ไขปัญหาน้ำกัดเซาะในช่วงนี้ไปก่อน



จาก : เดลินิวส์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 07-09-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,074
Default


เที่ยวทะเลกรุงเทพฯ ชมป่าชายเลน สำรวจแผ่นดินที่หายไป


บรรยากาศชุมชนริมคลองพิทยาลงกรณ์

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงที่ทันสมัยแห่งหนึ่งของเอเชีย คราคร่ำไปด้วยตึกรามบ้านช่องและถนนที่กว้างใหญ่ หากแต่ในความวุ่นวายของเมืองหลวงแห่งนี้ ยังมีพื้นที่เล็กๆ อีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นสถานที่อันเงียบสงบและยังคงความเป็นธรรมชาติอันสวย งามอยู่เป็นอย่างมาก เรากำลังพูดถึงทะเลกรุงเทพฯ หรือที่รู้จักกันว่าชายทะเลบางขุนเทียน ซึ่งอยู่ในพื้นที่แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานครนี่เอง

จากการลองสอบถามคนทั่วไปพบว่าชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ไม่ทราบด้วยซ้ำว่ากรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดกับทะเล ประกอบกับที่ผ่านมาสภาพถนนไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางจึงทำให้ทะเลกรุงเทพฯ ไม่เป็นที่นิยมนักสำหรับวันหยุดพักผ่อน ผู้ที่ไปเยี่ยมชมทะเลกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน นักศึกษา และหน่วยงานราชการที่เดินทางไปในลักษณะหมู่คณะเพื่อการทัศนศึกษา สำหรับกิจกรรมหลักของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้คือการนั่งเรือออกไปที่ปากอ่าว เพื่อชมทะเล แวะดูหลักเขตกรุงเทพมหานครซึ่งตั้งอยู่กลางน้ำห่างจากแนวชายฝั่งไปประมาณ 500 เมตร และพักรับประทานอาหารที่ร้านริมทะเล แต่บริเวณที่เราจะไปสำรวจในวันนี้คือพื้นที่ป่าชายเลนกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชายทะเลบางขุนเทียน และนักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชมทะเลกรุงเทพฯ น้อยคนนักที่จะได้มีโอกาสไปสำรวจสถานที่แห่งนี้ เนื่องจากไม่มีเส้นทางคมนาคมให้เข้าถึงได้ด้วยรถยนต์หรือเรือ การเข้าไปเยี่ยมชมจึงต้องอาศัยการเดินล้วนๆ เส้นทางศึกษาธรรมชาติและสำรวจป่าชายเลนเส้นนี้จึงร้างผู้คนและเงียบเหงาเป็น พิเศษ จะเรียกว่าเป็นสถานที่ unseen อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทยก็คงไม่ผิดนัก


หลักเขตกรุงเทพมหานครที่ไปอยู่กลางทะเลอันนี้ พึ่งได้รับการกู้ขึ้นมาจากใต้น้ำเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

สำหรับการเดินทางไปชมป่าชายเลนบางขุนเทียนนั้นเริ่มจากที่ถนนพระราม 2 เลี้ยวเข้าถนนบางขุนเทียน-ชายทะเลซึ่งในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงลาดยาง เสร็จสมบูรณ์ตลอดทั้งเส้นแล้ว ขับรถตรงเข้าไปประมาณ 15 กิโลเมตรจนสุดทาง จะพบ 3 แยกให้เลี้ยวขวา (ทางไปสมุทรสาคร) และตรงไปอีกเพียง 200 เมตรจะพบกับโรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ สามารถนำรถเข้าไปฝากจอดในโรงเรียนได้ ตรงข้ามโรงเรียนจะพบทางเข้าชุมชนคลองพิทยาลงกรณ์ จากจุดนี้สามารถเลือกที่จะเดิน เช่ารถจักรยานจากทางโรงเรียน หรือจ้างรถจักรยานยนต์ให้เข้าไปส่งก็ได้ โดยต้องเดินทางเข้าไปด้านในระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะเส้นทางเป็นถนนคอนกรีตขนาดเล็กสำหรับให้คนและรถจักรยานยนต์สัญจร เมื่อมาสุดทางจะพบกับชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งสร้างเป็นสะพานไม้ทอดผ่านเข้าไปในป่าชายเลนมีปลายทางที่ริมทะเล มีระยะทางโดยรวม 1.7 กิโลเมตร สำหรับสะพานไม้นี้จัดสร้างโดยเขตบางขุนเทียนบนพื้นที่สาธารณะเพื่อให้ ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสมาชมและศึกษาธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลน โดยผู้ที่นำรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เข้ามาจะต้องจอดรถไว้ที่บริเวณทางเข้า ไม่อนุญาตให้ขับขึ้นไปบนสะพานทางเดิน


บรรยากาศบริเวณบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของชาวบ้าน

บรรยากาศตลอดเส้นทางชมป่าชายเลนมีความร่มรื่นจากการที่สองข้างทางมี ต้นโกงกางและแสมขนาดใหญ่ปกคลุมอย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังมีศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนอยู่เป็นระยะ สิ่งหนึ่งที่ผู้เยี่ยมชมป่าชายเลนจะได้ยินเสมอคือเสียงดัง ป๊อก-แป๊กอยู่เป็นช่วงๆ ซึ่งเกิดจากกุ้งชนิดหนึ่งที่มีก้ามขวาขนาดใหญ่มีชื่อเรียกว่ากุ้งดีดขัน และยังมีสัตว์อื่นๆ ที่พบได้ในพื้นที่นี้ เช่น ปลาตีน ปูก้ามดาบ หอยชนิดต่างๆ ส่วนบริเวณริมทะเลสามารถพบนกได้หลายชนิด เช่นนกยางและนกนางนวล ซึ่งถือได้ว่าป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่าง มาก แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันป่าชายเลนผืนนี้กำลังถูกทำลายไปจนแทบจะหมด สิ้นแล้ว จากข้อมูลที่สำรวจโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในอดีตกรุงเทพมหานครเคยมีป่าชายเลนประมาณ 2,750 ไร่ แต่ต่อมาได้มีการนำพื้นที่บริเวณนี้ไปจัดสรรและพัฒนาเป็นที่ดินทำกิน เช่นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำนาเกลือ รวมไปถึงการขยายตัวของชุมชน นอกจากนี้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่รุนแรงและต่อเนื่องอันเกิดจากการเปลี่ยน แปลงของสภาพอากาศโดยรวมก็เป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้พื้นที่ป่าชาย เลนกรุงเทพฯ ลดลงไปอย่างมาก โดยพบว่าปัจจุบันกรุงเทพมหานครเหลือพื้นที่ป่าชายเลนไม่ถึง 1,000 ไร่ โดยป่าเหล่านี้มีลักษณะเป็นหย่อมเล็กๆ ส่วนพื้นที่ป่าเดิมจมอยู่ในน้ำทะเลหมดแล้ว


บรรยากาศอันรมรื่นของทางเดิน ปกคลุมไปด้วยต้นแสมและโกงกาง


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 19-11-2009
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

แค่คิดว่า ต่อไปทะเลไทยจะไม่มีชายหาด .. แค่นี้ก็อึ้งแล้ว
กว่าที่่เราจะรู้คุณค่าของสิ่งๆนึง ก็ต่อเมื่อเวลาที่เราสูญเสียมันไป

แต่เพิ่งเข้าใจครับว่า ขณะที่เราพยายามจะแก้ กลับกลายเป็นว่า เรากำลังทำลายอยู่ จากข้อความนี้เอง
"ที่ผ่านมาแก้ไม่ถูกทาง ทุกฝ่ายต่างมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากคลื่นซัด ถล่ม คลื่นลมแรง ซัดเข้าทำลายชายฝั่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คลื่นลมนั้นยังคงพัดเข้าชายฝั่งในระดับปกติ แต่ที่กัดเซาะชายฝั่งเป็นเพราะโครงสร้างของชายฝั่งถู กเปลี่ยนแปลงด้วยการก่อ สร้างรุกล้ำลำน้ำกันมากยิ่งขึ้น ยิ่งอยากจะแก้ปัญหาก็ยิ่งก่อสร้างลงไปทั้งในทะเลและช ายฝั่ง ยิ่งทำให้การกัดเซาะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ทางแก้จึงต้องหยุดก่อสร้างเสียก่อน แล้วย้อนกลับมามองปัญหาคืออะไร สภาพชายฝั่งเปลี่ยนไปจากเมื่อหลายสิบปีอย่างไร ต้องยอมรับว่าสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำชายหาดคือปัญหาเสีย ก่อน จึงจะตั้งต้นหาวิธีแก้ได้"
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 12:27


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger