เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-05-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้เคลื่อนลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (1 พ.ค. 65) ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภัยดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้ เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีลมตะวันตกพัดปกคลุม ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 65 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรง ประกอบกับ บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 1 ? 4 พ.ค. 65 ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 5 ? 6 พ.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงหนือ และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อน อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง จะเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนามตอนใต้และกัมพูชา มีแนวโน้มจะอ่อนกำลังลง และจะเคลื่อนผ่านอ่าวไทยตอนบน ลงทะเลอันดามัน ในช่วงวันที่ 2- 3 พ.ค. 2565 ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 1 ? 2 พ.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2565)" ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 01 พฤษภาคม 2565

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว คาดว่าจะแผ่เข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันนี้ (1 พ.ค. 65) ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1?2 พ.ค. 65 โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากภัยดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ใกล้สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งอาจเกิดอันตรายจากลมกระโชกแรงและฟ้าผ่าได้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้


ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด


วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-05-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ระบบคาดการณ์คลื่นความร้อนจากทะเลทั่วโลก



ปรากฏการณ์ความร้อนจากทะเลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและเด่นชัดในระบบนิเวศของมหาสมุทรทั่วโลก ซึ่งผลกระทบของคลื่นความร้อนในทะเลถูกบันทึกไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เช่น การลดลงของปลาและสัตว์น้ำจำพวกมีเปลือก ทำให้การประมงทั่วโลกสูญเสียหลายร้อยล้านดอลลาร์ หรือการกระจายพันธุ์ของสัตว์ทะเลที่เพิ่มความขัดแย้งและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในการจับปลา รวมถึงน้ำทะเลที่ร้อนจัดจนทำให้เกิดการฟอกขาวและการตายจำนวนมากของปะการัง ฯลฯ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นท้าทายให้นักวิจัยจำนวนมากพยายามหาวิธีแก้ไขและรับมือ ซึ่งมองว่าหากสามารถคาดการณ์คลื่นความร้อนจากทะเลทั่วโลกได้ น่าจะเป็นอีกหนทางช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ ล่าสุด ทีมวิจัยจากศูนย์วิทยาศาสตร์ประมงเซาท์เวสต์ ขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาระบบที่เรียกว่า "มารีน ฮีตเวฟ แทรคเกอร์" (Marine Heatwave Tracker) ให้ตรวจสอบมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือเพื่อหาสัญญาณของคลื่นความร้อนจากทะเล ซึ่งคาดการณ์ว่าคลื่นความร้อนจากทะเลจะเกิดขึ้นที่ใดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พร้อมคาดว่าจะมีอีกนานแค่ไหน

นักวิจัยระบุว่า คลื่นความร้อนจากทะเลอาจมีผลกระทบที่ไม่คาดคิด ซึ่งการรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นจะช่วยให้มีแนวทางป้องกันไว้ก่อนมากขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อการประมงและสัตว์คุ้มครอง อีกทั้งการทำความเข้าใจมหาสมุทรเป็นขั้นตอนแรกในการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยา.

Credit : NOAA


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2378641

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:16


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger