เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 21-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อย 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 21 ? 26 มิ.ย. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 21 ? 26 มิ.ย. 64 ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 21-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ก้อนน้ำมันสีดำปริศนาถูกคลื่นซัดเกลื่อนชายหาดในยาง จ.ภูเก็ต

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - เกลื่อนหาดในยาง จ.ภูเก็ต ก้อนน้ำมันสีดำปริศนาถูกคลื่นซัดเข้ามาติดชายหาดความยาวไม่น้อยกว่า 200 เมตร เจ้าหน้าที่ จิตอาสา ประชาชนร่วมกันเก็บ เชื่อยังลอยอยู่ในทะเลอีกเพียบ จัดกำลังเฝ้าเกาะติด


ขอบคุณภาพจาก "ขยะมรสุม Monsoon Garbage Thailand"

ขณะนี้เพจชื่อดัง "ขยะมรสุม Monsoon Garbage Thailand" ได้โพสต์ภาพ พร้อมข้อความระบุว่า "ก้อนน้ำมันเกลื่อนหาดในยาง จ.ภูเก็ต พบก้อนน้ำมันจำนวนมากเกลื่อนชายหาด ไร้การจัดเก็บใดๆ ขณะนี้เวลา 15.26 แอดมินเก็บอยู่หาดในยาง บริเวณหน้าศูนย์อุทยานเลยครับ ขอความช่วยเหลือหน่อยครับ เยอะมากๆ #มาช่วยด่วนๆ

อย่างไรก็ตาม หลังมีการโพสต์ข้อความดังกล่าวมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งจากการสอบถามไปยังแอดมินเพจ ทราบว่าก้อนน้ำมันจำนวนมากลอยมาถึงหาดในยางตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (20 มิ.ย.) แต่ก่อนหน้านี้ มีการพบประปรายแต่ไม่มากเหมือนวันนี้ และมีการพบที่บริเวณชายหาดในพื้นที่จังหวัดพังงาด้วย

เกี่ยวกับเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังนายปราโมทย์ แก้วนาม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต ทราบว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ เจ้าหน้าที่จากกรมทรัพยากรฯ รวมทั้งจิตอาสา และชาวบ้านในพื้นที่ได้ช่วยกันเก็บก้อนน้ำมันสีดำออกจากหาดโดยเริ่มมาตั้งแต่เวลา 15.00 น. วันนี้ (20 มิ.ย.) แต่ก้อนน้ำมันยังคงถูกคลื่นซัดเข้ามาเรื่อยๆ และคาดว่าจะยังคงมีก้อนน้ำมันลอยอยู่ในทะเลอีกจำนวนหนึ่ง


ขอบคุณภาพจาก "ขยะมรสุม Monsoon Garbage Thailand"

อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่าก้อนน้ำมันถูกคลื่นซัดเข้ามาติดอยู่บริเวณชายหาด ตามความยาวของหาดในยางบริเวณหน้าสถานีตำรวจ และหน้าที่ทำการอุทยานประมาณ 200 เมตร ส่วนสาเหตุของการเกิดคราบน้ำมันจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นคราบน้ำมันที่เกิดจากสาเหตุอะไร แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นคราบน้ำมันจุดเดียวกับที่ถูกคลื่นซัดเข้ามาที่หาดท้ายเหมืองก่อนหน้านี้

นายปราโมทย์ ยังกล่าวต่อไปว่า สำหรับการกำจัดคราบน้ำมันนั้น จะจัดเจ้าหน้าที่คอยเก็บกวาดตลอดเวลา เพราะเชื่อว่าจะยังมีคราบน้ำมันปริศนาถูกคลื่นซัดเข้ามาอีกในระยะนี้ ส่วนปริมาณที่เก็บได้ในวันนี้ยังไม่สามารถระบุจำนวนได้ ต้องรอนำไปชั่งในวันพรุ่งนี้


https://mgronline.com/south/detail/9640000059574

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 21-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


แก้ปัญหาขยะทะเล 'ไทย' ต้องผนึก'อาเซียน'


ฟองน้ำครกที่เกาะโลซินถูกอวนผืนใหญ่ครอบ ขยะจากประมงอีกภัยคุกคามทะเล ภาพ- Man Pichit J-chaichana

สัปดาห์ที่ผ่านมามีการเผยแพร่ภาพล่าสุดที่ไม่ควรเกิดในทะเลไทยบนโลกโซเชียล เป็นภาพอวนผืนใหญ่ครอบฟองน้ำครกขนาดยักษ์ไว้ทั้งก้อนที่เกาะโลซิน ที่เป็นแหล่งดำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ของฝั่งอ่าวไทย จุดเดียวกันนี้ ยังพบอวนคลุมปะการังและปะการังเขากวางไว้ทั้งแนว มีการประเมินผลกระทบนี้ว่า น่าจะทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ผืนอวน ตายลงอย่างช้าๆ

ตอนนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองทัพเรือและนักดำน้ำอาสาสมัครกำลังปฏิบัติการเร่งเก็บกู้อวนผืนใหญ่ เพื่อช่วยรักษาชีวิตปะการัง สัตว์น้อยใหญ่ ซึ่งอวนจัดเป็นขยะทะเลอีกประเภทหนึ่ง จากการประมง ที่ทำลายทรัพยากรไม่น้อยกว่าขยะพลาสติก มีเสียงเรียกร้องในการติดตามผู้กระทำผิด และหาแนวทางจัดการขยะทะเล

เมื่อพูดถึงผลกระทบจากขยะทะเลในบ้านเรา มีโศกนาฎกรรมที่เกิดกับบรรดาสัตว์น้ำหลายครั้ง ทั้งพะยูนมาเรียม ที่ตายเพราะกินขยะพลาสติกเข้าไปจำนวนมาก เพราะหลงคิดว่าเป็นหญ้าทะเล เมื่อผ่าพิสูจน์ท้องของมาเรียม พบเศษพลาสติกจำนวนมากในลำไส้ ไม่รวมสัตว์ทะเลอื่นๆ แม้กระทั่ง นกที่กลายเป็นเหยื่อเศษขยะที่ถูกทิ้งลงในทะเล

ปัญหาขยะทะเล โดยเฉพาะขยะพลาสติก กำลังเป็นภัยคุกคามระบบนิเวศน์ทางทะเลของโลก ทุกๆ ปีจะมีขยะพลาสติก 12 ล้านตันถูกทิ้งลงสู่ทะเลและมหาสมุทร มีเพียง 5% ที่พบเห็นเป็นชิ้นส่วนลอยอยู่ในทะเล ส่วนที่เหลือจมอยู่ใต้น้ำหรือถูกกระแสน้ำพัดไปอยู่ใต้ท้องมหาสมุทรทั่วโลก โดยในปี 2562 มีหลักฐานการพบเศษขยะทะเลพลาสติกอยู่ที่ก้นร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่า (Mariana Trench) ซึ่งเป็นร่องสมุทรที่ลึกที่สุดโลก ที่ระดับ 11 กิโลเมตรต่ำกว่าระดับทะเล (รายงานTHAIHEALTH WATCH 2021 )

ประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะไทยกำลังผลักดัน ให้มีการแก้ไขปัญหาขยะทะเลในน่านน้ำของภูมิภาคอาเซียน โดยไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษด้านขยะทะเลเมื่อปี 2562 จนเกิดปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน

ล่าสุด กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับธนาคารโลก และสำนักเลขาธิการอาเซียน เปิดตัวแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล ที่ได้รับการรับรองจากรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อกลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ถือเป็นกรอบแนวทางนำชาติอาเซียนไปสู่การจัดการขยะทะเลอย่างครอบคลุมและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะทะเลของภูมิภาค แผนดังกล่าวมีกรอบระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2564?2568)


ขยะทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจน เป็นมลพิษข้ามพรมแดน

ส่วนสถานการณ์ขยะทะเลในอาเซียน สุรีย์ สตภูมินทร์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ให้ข้อมูลว่า ภูมิภาคเอเชียเป็นหนึ่งในแหล่งขยะพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากงานวิจัยเมื่อปี 2558 (Jambeck และคณะ 2015) รายงานการจัดลำดับประเทศที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเล จำนวน 192 ประเทศ ใน 10 อันดับแรกมีประเทศในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย และมาเลเซีย ซึ่งการประเมินนี้วัด จากปริมาณขยะต่อหัว ระดับรายได้ของประเทศ ร้อยละของขยะพลาสติก ร้อยละของขยะที่ไม่ได้รับการจัดการ และจำนวนประชากรชายฝั่งทะเล

สปป.ลาว แม้ไม่ติดโผอันดับต้นๆ แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ได้ปล่อยขยะลงทะเล สภาพภูมิประเทศสปป.ลาว ส่วนใหญ่ขนานไปกับแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก พบว่ามีปริมาณขยะถูกทิ้งลงน้ำโขง ขยะพวกนี้ในที่สุดก็ไหลลงสู่ทะเล ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการสร้างขยะทะเล

"งานวิจัยนี้จุดประกายให้บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนตื่นตัว และกําลังทุ่มเทความพยายามเพื่อต่อกรกับมลพิษพลาสติก หลายประเทศดําเนินการทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ด้วยการควบคุมบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือวางแผนกำจัดผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง"

สำหรับมาตรการจัดการขยะทะเลของชาติต่างๆ ในอาเซียน ผู้เชี่ยวชาญฯ รายนี้ ให้ภาพชัดว่า อินโดนีเซียเป็นชาติแรก ที่จัดทำแผนปฏิบัติการขยะทะเล หรือ Indonesia?s Plan of Action on Marine Plastic Debris 2560-2568 ส่วนมาเลเซียมีโรดแมป การกําจัดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2573 เริ่มด้วยการคิดเงินค่าถุงพลาสติกและห้ามใช้หลอด ทั้งยังมีแผนอันท้าทายอื่นๆ

ขณะที่ประเทศอื่นๆ ได้ริเริ่มโครงการที่เข้มงวดน้อยกว่า โดยสมัคร ใจ เช่น บรูไนตั้งเป้าหยุดใช้พลาสติกในห้างสรรพสินค้าภายในปี 2562 โดยจะเชิญชวนให้ผู้ซื้อใช้ถุงใช้ซ้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคอินโดนีเซียและเมียนมาร์นําการห้าม และกฎหมายเรียกเก็บ ภาษีการใช้ถุงพลาสติกมาใช้ในปี 2561 เมืองและเทศบาลเมืองหลายแห่งในฟิลิปปินส์ ได้บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับถุงพลาสติกและพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (เก็บเงินหรือห้ามใช้) และ สภากําลังพิจารณากฎหมายที่จะบังคับใช้ทั่วประเทศ

สิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดของโลกในอุตสาหกรรม อาหารฟาสฟู้ดส์ ปัจจุบันได้ห้ามใช้พลาสติก เช่น ฝาและหลอด พลาสติก สําหรับลูกค้าที่นั่งกินในร้าน

เวียดนาม ภาคธุรกิจและการค้าขนาดใหญ่แนะนําการใช้ถุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ลูกค้า โดยรัฐบาลจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม จากถุงพลาสติก 40,000 ดอง ต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 1.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ กก.

กัมพูชา ห้างสรรพสินค้าหลักเริ่มคิดเงินค่าถุงพลาสติกใบละ 400 เรียล ประเทศลาวกระตุ้นให้ประชาชนใช้ถุงพลาสติกรีไซเคิลได้ที่วางขายในตลาดและร้านอาหารในเขตเมือง


ขยะจากบนบกจำนวนมากหลุดรอดสู่ทะเลไทย

สำหรับสถานการณ์ขยะทะเลในประเทศไทย สุรีย์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการจัดการขยะได้ดีขึ้นเรามีคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และกรมควบคุมมลพิษเป็นฝ่ายเลขากลไกสำคัญ คือการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชนชน หรือ PPP plastic ซึ่งประเทศเรานับว่าเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือลักษณะนี้

ขณะเดียวกันไทยมี Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พร้อมแผนปฏิบัติการบริหารจัดการขยะพลาสติก 2561 -2565 ปี 2562 เลิกใช้พลาสติก 3 ประเภท ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ (Oxo) และไมโครบีดจากพลาสติก และเป้าหมาย ปี 2565 จะเลิกใช้พลาสติกอีก 4 ประเภท โดยเฉพาะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก และหลอดพลาสติก

โดยปี 2570 มีเป้าหมายนําขยะผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้ง 100% ล่าสุด ร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ทในประเทศไทยที่มีสาขา 11,000 แห่ง ได้ประกาศใช้แคมเปญ "ไม่รับถุง" เพื่อสนับสนุนนโยบายที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสากล

"ขยะทะเลเป็นประเด็นโลก เป็นปัญหามลพิษข้ามถิ่น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมชัดเจน ทั้งสัตว์หายาก แนวปะการังถูกขยะปกคลุม เต่าทะเลโดนอวนรัดบาดเจ็บถึงขั้นพิการ พะยูนหรือวาฬนำร่องกินขยะพลาสติกตาย ผ่าซากพบถุงพลาสติกถึง 85 ชิ้น รวมถึงแพขยะชุมพรที่กู้กลับมาไม่ได้ทั้งหมด ขยะถูกกระแสน้ำพัดและจมลงตกค้างในสิ่งแวดล้อม ในระดับมหาสมุทรมีภาพหย่อมขยะขนาดใหญ่ยาวเป็นกิโลเมตร จนคล้ายเกาะลอยน้ำ ปรากฎมากขึ้น" สุรีย์ให้ภาพ

ผลของการตื่นตัวของประเทศอาเซียน ที่ยับยั้งปริมาณขยะทะเล ทำให้สถานการณ์ขยะทะเลในน่านน้่ำประเทศกลุ่มนี้ดีขึ้นกว่าเดิม สุรีย์ เผยว่า แผนปฏิบัติการนี้ ประกอบด้วย 14 กิจกรรม ซึ่งครอบคลุมใน 2 มิติ มิติแรกเป็นการดำเนินงานให้ครอบคลุม 4 ด้าน ตามกรอบปฏิบัติการอาเซียนด้านขยะทะเล

ได้แก่
1.การสนับสนุนด้านนโยบายและการวางแผน
2.การวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาบุคลากร
3.การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคธุรกิจ
4.การตระหนักรู้ของชุมชนและการให้การศึกษา ข้อนี้สำคัญ หากนโยบายทำกับเอกชน โดยที่ประชาชนไม่ทราบ จะไม่สำเร็จ จะต้องใช้รับความร่วมมือจากผู้ใช้พลาสติก เพื่อลด ละ เลิก

อีกมิติของแผนจัดการขยะทะเลอาเซียน นักวิชาการจากทช.ระบุว่า เป็นการจัดการตลอดวงจรชีวิตของพลาสติก ตั้งแต่ลดการนำพลาสติกเข้าสู่ระบบ - ลดใช้ เลือกใช้วัสดุทดแทน ,ปรับปรุงกระบวนการเก็บ คัดแยก และลดการหลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม ,เพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม อย่ามองพลาสติกเป็นขยะ แต่มองว่าเป็นพลาสติกที่ใช้แล้ว แต่สามารถนำมาใช้ได้

สุรีย์บอกว่า ขณะนี้แผนอยู่ในระยะเตรียมการ ปี 65-67 เป็นระยะดำเนินการ ก่อนเข้าสู่การรายงานและประเมินผล ปี 68 มีเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนฯ ระดับประเทศ ซึ่งไทยเริ่มทำแล้ว ส่วนการสร้างความร่วมมือนั้น ประเด็นสำคัญคือ ประเทศไทย ในฐานะประธานคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง และประเทศที่สร้างความเชื่อมั่น การริเริ่มทำให้เห็นประจักษ์ ดำเนินการโดยมีเป้าหมายร่วมกัน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแผนปฎิบัติการขยะทะเลไทยจะเริ่มใช้ปี 2566 ตนมองว่า ถ้าอยากไปให้ไกล อาเซียนต้องมีตัวช่วย ในที่นี้ คือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว องค์กร และแหล่งทุนต่าง ๆ

" อุปสรรคการแก้ไขปัญหาขยะทะเลของภูมิภาคนี้ คือ ปัญหาเฉพาะตัวของแต่ละประเทศ ทั้งการจัดการ การออกมาตรการในภาพรวม สภาพภูมิประเทศ พฤติกรรมประชากร เช่น ลาว ไม่มีทางออกสู่ทะเล มาตรการที่ใช้อาจเน้นไปที่การลดจากต้นทางและกลางทาง ส่วนประเทศที่มีลักษณะเป็นเกาะจำนวนมาก ยังประสบปัญหาจัดการขยะแบบครบวงจร โดยเฉพาะเกาะขนาดเล็ก แล้วยังมีข้อจำกัดของจำนวน ขนาด และที่ตั้งของโรงเก็บขยะ โรงคัดแยก ขั้นตอนการทำความสะอาด ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลด้วย สำหรับไทยการจัดการขยะจากประมง การเดินเรือพาณิชย์และการท่องเที่ยวยังน้อย ต้องมีมาตรการสร้างแรงจูงใจ เช่น รับซื้ออวนสะอาด " ผู้เชี่ยวชาญฯ เผย


(มีต่อ)

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 21-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


แก้ปัญหาขยะทะเล 'ไทย' ต้องผนึก'อาเซียน' ..... ต่อ


เศษอวนทำลายปะการัง ปัญหาขยะจากภาคประมง ภาพ ? SUMMER

นอกจากนี้ ยังขาดหน่วยงานกลางของอาเซียนในการจัดการปัญหาโดยตรง เช่น ศูนย์อาเซียนเพื่อการบริหารจัดการขยะทะเล เธอบอกถึงประเด็นนี้ว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายวราวุธ ศิลปะอาชา รมว.ทส. ได้มอบนโยบายในการทำงานในกรอบอาเซียนว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพศูนย์อาเซียนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขึ้นกับการประเมินของธนาคารโลก ซึ่งอินโดนีเซียก็พร้อมไม่แพ้บ้านเรา

ปัญหาขยะมาพร้อมกับความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ผู้เชี่ยวชาญ ทช. ฝากในท้ายว่า ขยะเกิดจากพฤติกรรม ทางออกสำคัญทุกคนสำรวจตนเองว่า ทำให้เกิดขยะและขยะพลาสติกที่ไม่จำเป็นอะไรบ้าง ตั้งเป้าหมายลด ใช้ซ้ำ รีไซเคิลตามหลัก 3 R (Reduce, Reuse, Recycle) ทิ้งขยะให้ลงถังและถูกถัง ขอให้เริ่มจากตัวเอง คิดก่อนใช้ ลดใช้พลาสติกที่เกินความจำเป็น พยายามใช้ซ้ำให้มากครั้งโดยไม่ส่งผลต่อสุขอนามัย แยกขยะโดยไม่ต้องรอให้มีถังแยก ไม่ต้องรอให้มีกฎหมายบังคับ ถ้าหลายคนร่วมกันทำจะเกิดผลดีต่อประเทศ ต่อโลก ต่อสิ่งแวดล้อม


https://www.thaipost.net/main/detail/106946

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 21-06-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai[/SIZE]


ปลาดึกดำบรรพ์ซีลาแคนท์ "ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต" อาจมีอายุยืนยาวได้ถึงหนึ่งศตวรรษ


เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเคนยา นำซากปลาซีลาแคนท์ที่จับได้เมื่อปี 2001 มาจัดแสดง

ปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น "ฟอสซิลที่ยังมีชีวิต" เพราะเป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงเผ่าพันธุ์สืบต่อกันมาได้นานถึง 420 ล้านปี อาจเป็นปลาที่มีอายุยืนยาวกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคิดเอาไว้

เดิมเชื่อกันว่าปลาซีลาแคนท์มีอายุขัยเฉลี่ยราว 20 ปี แต่ผลการศึกษาล่าสุดของทีมนักวิจัยฝรั่งเศส ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารCurrent Biology พบว่าพวกมันอาจอยู่ดูโลกได้นานเป็นร้อยปี เหมือนกับฉลามบางชนิดและปลารัฟฟี (Roughy)

มีการใช้แสงโพลาไรซ์ตรวจสอบเส้นลายที่อยู่บนเกล็ดปลาซีลาแคนท์ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงอายุของปลาได้เหมือนกับวงปีบอกอายุของต้นไม้ การใช้แสงชนิดพิเศษนี้ทำให้ทีมผู้วิจัยค้นพบเส้นลายขนาดเล็กบนเกล็ดปลาเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อนำมาคำนวณดูแล้วสามารถชี้ได้ว่า ปลาซีลาแคนท์อาจมีอายุยืนยาวได้ถึงหนึ่งศตวรรษเลยทีเดียว

ผลการตรวจสอบตัวอ่อนของปลาซีลาแคนท์ 2 ตัว ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ยังชี้ว่า ตัวอ่อนทั้งสองมีอายุราว 5 ปี แสดงว่าปลาซีลาแคนท์ตัวเมียมีการตั้งท้องที่กินเวลายาวนานอย่างเหลือเชื่อ


ปลาซีลาแคนท์นั้นพบได้ตามแนวชายฝั่งของอินโดนีเซียและทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา

ข้อมูลใหม่เหล่านี้บ่งชี้ว่า นอกจากมันจะเป็นปลาที่เคลื่อนไหวอย่างเชื่องช้าแล้ว ปลาซีลาแคนท์ยังมีการเจริญเติบโตในอัตราที่ช้ามากอีกด้วย โดยปลาตัวเมียจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อย่างเต็มที่เมื่อถึงวัยเกือบ 60 ปี และปลาตัวผู้จะเข้าสู่ช่วงวัยเดียวกันเมื่อมีอายุได้ 40 - 69 ปี

การที่ปลาซีลาแคนท์โตช้าและมีลูกหลานได้น้อย ทำให้เสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ได้อย่างมาก ทำให้นักอนุรักษ์จำเป็นจะต้องทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอายุขัยและลักษณะทางประชากรของมันอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปวางแผนและดำเนินงานอนุรักษ์ปลาสายพันธุ์หายากนี้ต่อไป

เมื่อช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์คิดว่าปลาซีลาแคนท์ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว แต่กลับมีผู้พบเห็นมันอีกครั้งเมื่อปี 1938 หลังปลาชนิดนี้ติดเข้ามาในอวนของชาวประมงที่นอกชายฝั่งประเทศแอฟริกาใต้ โดยปลาซีลาแคนท์ที่โตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง 1.8 เมตร และหนักกว่า 90 กิโลกรัม

ปัจจุบันมีแหล่งที่อยู่ของปลาซีลาแคนท์เพียงสองแห่งในโลก คือที่บริเวณชายฝั่งเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซีย และตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประชากรปลาซีลาแคนท์กลุ่มหลังนี้อาจเหลืออยู่เพียงไม่กี่ร้อยตัว


https://www.bbc.com/thai/features-57543759

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:09


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger