เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 01-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับ มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมามีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 31 ก.ค.- 1 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน

ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 2 ? 6 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม สำหรับชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะสัปดาห์นี้ไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 01-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


หวั่น 'เต่ามะเฟือง' สูญพันธุ์! ดร.ธรณ์ แนะแตะเบรกเสริมทราย 'เขาหลัก'



ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ทะเลกังวลผลกระทบจากการเสริมทรายชายหาด "เขาหลัก" ระยะทาง 12 กิโลเมตร อาจเลวร้ายถึงขั้น "เต่ามะเฟือง" ไร้ที่วางไข่และสูญพันธุ์
หลังจากกรมเจ้าท่าและทีมศึกษาได้มีแผนการเสนอใช้วิธีการเติมทราย (เสริมทราย) ในพื้นที่ต่างๆ ตั้งแต่บริเวณโรงแรมเขาหลักซันเซ็ท ไปจนถึงหาดปะการัง เป็นความยาวทั้งสิ้น 12 กิโลเมตร จนเกิดกระแสคัดค้านจากหลายฝ่าย เพราะหวั่นผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว ล่าสุด ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ประธานคณะทำงานสัตว์ทะเลหายาก เตือนว่าการ เสริมทราย อาจรบกวนการวางไข่ของ เต่ามะเฟือง

"เต่ามะเฟืองเป็นเต่าหายากระดับโลก เป็นเต่าทะเลใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเต่าที่ได้รับการคุกคามจากสถานะใกล้สูญพันธุ์มาก ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย และเต่ามะเหืองเข้ามาวางไข่เฉพาะที่ชายหาดที่เปิดรับลมและค่อนข้างชัน บริเวณที่มีเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เยอะคือตั้งแต่หาดท้ายเหมืองจนถึงบริเวณเขาหลัก บางเนียง ไล่ไปตามพื้นที่จนถึงแหลมปะการัง มีแวะแถวภูเก็ตบ้าง แต่หลักๆ จะเป็นบริเวณดังกล่าว"

อาจารย์ธรณ์อธิบายว่าเหตุผลที่เต่าขึ้นมาที่ "เขาหลัก" เพราะธรรมชาติของ "เต่ามะเฟือง" คือไม่วางไข่ที่ชายฝั่งแนวปะการังเหมือนเต่าชนิดอื่น เพราะขนาดตัวใหญ่มากจึงเข้าที่ตื้นไม่ได้ และพื้นที่ดังกล่าวมีชายฝั่งที่ค่อนข้างลึก แต่เมื่อ 5-6 ปีก่อนมีปัจจัยทำให้เต่ามะเฟืองหายไป ไม่มาวางไข่ กระทั่งมีการรณรงค์ผลักดันให้เต่ามะเฟืองเป็นสัตว์สงวนสำเร็จเมื่อปี 2562 และเต่ามะเฟืองกลับมาวางไข่อีกครั้งบริเวณชายหาดคึกคักซึ่งอยู่ในบริเวณ 12 กิโลเมตรตามแผนการ "เสริมทราย"


ชายหาดทะเลเขาหลัก / ภาพจากชมรมกีฬากระดานโต้คลื่นจังหวัดพังงา

ก่อนหน้านี้มีการ "เสริมทราย" อยู่ในบางพื้นที่ เช่น เสริมทรายหน้าหาดพัทยา และล่าสุดคือที่หน้าหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี แต่พื้นที่ดังกล่าวไม่น่ากังวลนักเพราะไม่มีสัตว์ทะเลหายาก ทว่าพื้นที่การเสริมทรายชายหาด "เขาหลัก" น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะการเสริมทรายจะทำให้ลักษณะชายหาดมีการเปลี่ยนแปลง คือ เกิดการตื้นเขิน ส่งผลกระทบต่อ "เต่ามะเฟือง" โดยตรง

"ถ้าเต่ามะเฟืองไม่มาวางไข่ เท่ากับสูญพันธุ์จากเมืองไทย เพราะเต่ามะเฟืองเป็นสัตว์ที่วางไข่ยากมาก ไม่ได้เป็นเต่าที่เพาะเลี้ยงกันได้ มีแต่เขาปกป้องกันสุด พื้นที่ไหนในโลกที่มีเต่ามะเฟืองมาวางไข่ ไม่ต้องห่วงหรอก เพราะฉะนั้นเราพยายามคุยกับชาวบ้าน ร่วมกันดูแลเต่า แต่ถ้าเปลี่ยนสภาพชายหาด การที่ขาดเต่ามะเฟืองไปเพียง 1 รัง จะส่งผลกระทบต่อประชากรเต่ามะเฟืองที่มาวางไข่ในประเทศไทยอย่างมหาศาล"

ระหว่างที่โครงการ "เสริมทราย" ในพื้นที่ชายฝั่งหาด "เขาหลัก" ความยาว 12 กิโลเมตร ยังอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบ อาจารย์ธรณ์แนะนำว่ายังไม่สายที่จะพูดคุยกับคนในพื้นที่ หาจุดที่มีปัญหาจริงๆ ที่เกิดการกัดเซาะ ซึ่งจากการสำรวจของเขายังไม่พบการกัดเซาะที่เป็นปัญหาใหญ่ แต่ถ้ากรณีมีปัญหาจริงๆ ต้องแก้ไขเฉพาะจุด ไม่ "เสริมทราย" แบบลากยาว

"ต้องกำหนดจุดที่ชัดเจนว่ามีจุดใดเป็นปัญหาการกัดเซาะจริงๆ แล้วค่อยมาดูว่าจะทำอย่างไร ถ้าเสริมทรายทั้งหมดผมเสนอมาตรา17 "ระงับการกระทำหรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง" แน่นอน แล้วถ้ากรมทะเลไม่อนุมัติ ผมจะลาออกทุกตำแหน่งเลย การทำให้เต่ามะเฟืองได้เป็นสัตว์สงวน ผมใช้เวลาไป 5-6 ปี แต่ผมก็คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาหรอกครับ น่าจะคุยกันได้ คุยกับกรมเจ้าท่า เพียงแต่ว่าต้องดูให้ชัดเจนว่าตรงไหนมีปัญหา กำหนดกรอบของปัญหาให้ชัดๆ ว่าปัญหามันสาหัสถึงระดับที่ต้องทำอะไรไหม เพราะว่าถ้าเกิดทำ ต้องเข้าใจว่ามีเต่ามะเฟืองอยู่แล้วมันจะขึ้นตรงไหน ถ้ากำหนดกรอบพื้นที่เล็กๆ ได้ ก็มาดูว่าทำอย่างไรกับพื้นที่เล็กๆ นั้น แต่ถ้าจะเสริมทรายทั้งพื้นที่ ให้ตายผมก็ไม่เห็นด้วย" อาจารย์ธรณ์ กล่าว


https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/952149

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 01-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


ทฤษฎีใหม่ชี้ ไอซ์แลนด์อาจเป็นยอดเขาของทวีปที่สาบสูญ จมทะเลไปเมื่อหลายล้านปีก่อน


สภาพภูมิประเทศที่งดงามแปลกตาของไอซ์แลนด์

ประเทศไอซ์แลนด์อาจเป็นยอดบนสุดของทวีป "ไอซ์แลนเดีย" (Icelandia) ที่ยังคงโผล่พ้นน้ำ หลังผืนแผ่นดินที่กว้างใหญ่ 600,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเกาะกรีนแลนด์และภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ได้จมลงใต้มหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือไปเมื่อ 10 ล้านปีก่อน

ทีมนักธรณีฟิสิกส์นานาชาติ นำโดยศาสตราจารย์กิตติคุณ จิลเลียน โฟลเจอร์ จากมหาวิทยาลัยเดอแรมของสหราชอาณาจักร เผยแพร่ทฤษฎีใหม่ดังกล่าวในบทหนึ่งของหนังสือ "ตามรอยวอร์เรน บี. แฮมิลตัน: แนวคิดใหม่ทางวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ" (In the Footsteps of Warren B. Hamilton: New Ideas in Earth Science)

ทีมวิจัยที่นำโดย ศ. โฟลเจอร์ เสนอว่ามหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือที่เคยเป็นผืนแผ่นดินแห้งสนิท และเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปแพนเจีย (Pangaea)ไม่ได้แตกตัวแยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์ในทันทีเมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทำให้น้ำทะเลไม่เข้าท่วมผืนแผ่นดินที่เชื่อมเกาะกรีนแลนด์และภูมิภาคสแกนดิเนเวียในแนวตะวันตก-ตะวันออก เป็นเวลานานหลายล้านปี ทำให้เกิดทวีปไอซ์แลนเดียขึ้น

"อย่างไรก็ตามเมื่อ 10 ล้านปีก่อน พื้นที่ทางตะวันตกและตะวันออกของทวีปไอซ์แลนเดียเริ่มจมลงใต้ทะเล แต่ก็ยังมีพื้นที่สูงตรงกลางทวีปโผล่พ้นน้ำให้เราได้เห็นกัน ซึ่งก็คือเกาะไอซ์แลนด์ในทุกวันนี้" ศ. โฟลเจอร์กล่าว "หากทำให้ระดับน้ำทะเลลดลงได้อีกสัก 600 เมตร เราก็จะเห็นสภาพภูมิประเทศของทวีปที่หายสาบสูญไปแล้วชัดเจนขึ้น"

ศ. โฟลเจอร์ยังชี้ว่า แม้แนวคิดนี้จะขัดแย้งกับทฤษฎีดั้งเดิมที่เชื่อว่าไอซ์แลนด์ถือกำเนิดจากภูเขาไฟใต้น้ำเมื่อ 60 ล้านปีก่อน แต่ทฤษฎีใหม่ก็สามารถจะอธิบายไขปริศนาบางอย่างได้ เช่นเรื่องแผ่นเปลือกโลกใต้เกาะ ซึ่งมีความหนาผิดปกติถึง 40 กิโลเมตร แทนที่จะเป็นเพียง 8 กิโลเมตร ตามแบบฉบับของเกาะภูเขาไฟทั่วไป

"นั่นเป็นเพราะว่า เกาะไอซ์แลนด์รวมทั้งแผ่นดินไอซ์แลนเดียเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปเก่าแก่ ไม่ใช่เกาะภูเขาไฟที่เกิดขึ้นใหม่แต่อย่างใด" ศ. โฟลเจอร์อธิบาย


แผนที่แสดงขอบเขตของทวีปไอซ์แลนเดีย (สีชมพูเข้ม) รวมทั้งส่วนขยายหรือ "เกรเทอร์ ไอซ์แลนเดีย" (สีชมพูอ่อน)

ทีมผู้วิจัยประมาณการว่า ทวีปไอซ์แลนเดียมีพื้นที่กว้างขวางถึง 600,000 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่เกือบเท่ากับรัฐเทกซัสของสหรัฐฯ ทั้งยังเชื่อมต่อกับผืนทวีปที่จมน้ำอีกแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของหมู่เกาะอังกฤษ ซึ่งทีมผู้วิจัยเรียกแผ่นดินส่วนขยายของทวีปไอซ์แลนเดียนี้ว่า "เกรเทอร์ ไอซ์แลนเดีย" (Greater Icelandia)

ศ. ฟิลิป สไตน์เบิร์ก ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการวิจัยแนวพรมแดนแห่งมหาวิทยาลัยเดอแรม ชี้ว่าการศึกษาเรื่องทวีปไอซ์แลนเดียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เนื่องจากการพิสูจน์ได้ว่าผืนแผ่นดินใต้น้ำเป็นไหล่ทวีปที่ยื่นขยายออกมาจากเขตแดนของชาติใด ทรัพยากรใต้สมุทรในบริเวณดังกล่าวก็จะตกเป็นของประเทศนั้น

ด้านนักธรณีฟิสิกส์หลายรายแสดงความไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีใหม่นี้ โดยระบุว่ายังมีหลักฐานหลายชิ้นที่คัดค้านการมีอยู่ของทวีปไอซ์แลนเดีย เช่นบริเวณก้นมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือนั้น มีวัสดุที่จะก่อตัวเป็นแผ่นเปลือกโลกที่รองรับผืนทวีปอยู่ไม่มากพอ รวมทั้งร่องรอยการสลับขั้วแม่เหล็กโลกที่พื้นมหาสมุทรก็ยังชี้ว่า เกาะไอซ์แลนด์ถือกำเนิดจากภูเขาไฟใต้ทะเลอย่างแน่นอน


https://www.bbc.com/thai/international-58039421

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 13:04


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger