เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default

ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม





จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม



ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วม

จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น จนส่งผลทำให้ประชาชนหลายรายต้องถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วม


1. ปลดเมนสวิตช์ (สะพานไฟ) ภายในบ้าน




2. กรณีเป็นบ้าน 2 ชั้น และมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำท่วมเฉพาะชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระสแไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง




3. กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน แต่กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้กระแสไฟฟ้า เพราะอาจจะเป็นอันตราย




__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #12  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


4. งดใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าในกรณีที่ตัวผู้ใช้ต้องสัมผัสอยู่กับน้ำ หากมีความจำเป็นให้ย้ายไปใช้บนที่สูงพ้นน้ำหรือชั้นบน




5. ปลั๊กไฟฟ้าที่น้ำท่วม ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาด




6. หากพบสายไฟฟ้าขาดหรือเสาล้ม อย่าจับต้อง ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข




7. ในขณะฝนตกและตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตช์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร



__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #13  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


8. พบสายไฟฟ้าขาดแช่อยู่ในน้ำ อย่าเข้าใกล้ ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ เพื่อทำการแก้ไข




9. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดในบ้านเรือน อย่าจับต้อง ให้ใช้ไม้แห้งเขี่ยสายไฟฟ้าออกก่อนหรือหรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้นปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล






สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับไฟฟ้า ปรึกษาได้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 ตลอด 24 ชั่วโมง




ขอบคุณข้อมูลจาก... News Center / facebook.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA/ pea.co.th(Ima
http://life.voicetv.co.th/bigvoice/20280.html

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #14  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


คู่มือ...รับภัยน้ำท่วม ฉบับกระเป๋า



ข้อแนะนำรับมือน้ำท่วม ทั้งการเตรียมพร้อมที่อยู่อาศัย ตุนของจำเป็น การเตรียมสุขากระดาษ วิธีช่วยคนจมน้ำ-ไฟช็อต และวิธีขับรถลุยน้ำเบื้องต้น

หากที่อยู่อาศัยของคุณเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ข้อแนะนำเพื่อเตรียมรับมือกรณีน้ำท่วมที่อยู่อาศัยคือ ก่อกระสอบทรายเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ้าน อุดทางที่น้ำอาจเข้าได้ เช่น ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ ท่อบริเวณซิงค์ล้างจาน บริเวณประตู บริเวณที่มีรอยร้าวหรือพื้นบ้าน (วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านโดยไม่ต้องใช้ถุงทราย อยู่ด้านล่างของของบทความ)

สำหรับสิ่งของที่ควรเตรียมไว้คือ อุปกรณ์ทำอาหารแบบฉุกเฉิน อาหารแห้งที่ปรุงง่าย อาหารกระป๋องที่ฝาเป็นแบบห่วงดึงเปิดสะดวก น้ำดื่ม-น้ำใช้ ผ้าขนหนู เสื้อผ้าสะอาด เชือก วิทยุแบบใช้ถ่านไฟฉาย-ถ่านสำรอง โทรศัพท์มือถือ-ที่ชาร์ต ชอล์กขีดมดและแมลง ยาประจำตัว ยากันยุงแบบทา ของใช้เพื่อชำระล้างร่างกาย ชุดปฐมพยาบาลและยาสามัญประจำบ้าน ถุงดำ ธงหรือผ้าผืนใหญ่ๆ เผื่อต้องใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ถังดับเพลิงประจำบ้าน เตรียมด่างทับทิมและขี้ผึ้งเบอร์ 28 ไว้ใช้กรณีน้ำกัดเท้า โดยแช่เท้าในน้ำสะอาดผสมด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นเช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกนิ้ว และทาด้วยขี้ผึ้งเบอร์ 28 จะทำให้แผลหายเร็ว

ขนทรัพย์สินไว้ชั้นบนของบ้าน หรือใช้ถุงดำใส่ของและมัดปากให้แน่น เพื่อป้องกันความเสียหาย พกเงินสดติดตัวไว้บ้าง จัดเก็บเอกสารสำคัญทางราชการ เช่น บัตรประชาชน สูติบัตร ทะเบียนบ้าน สมุดบัญชี เก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ในที่ปลอดภัยโดยอาจฝากธนาคาร จอดรถไว้ในที่สูง ถ้าน้ำเข้าบ้านต้องรีบตัดไฟในบ้านชั้นที่น้ำท่วมเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และปิดแก๊สด้วย

ที่สำคัญต้องติดตามสถานการณ์น้ำอยู่เสมอ รวมถึงศึกษาทางหนีทีไล่และต้องซักซ้อมวิธีหนีน้ำกับสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะคนแก่และเด็ก โดยให้กำหนดจุดนัดพบที่มั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วม หากพลัดหลงจะได้หากันเจอ และจดหมายเลขโทรศัพท์เพื่อขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินไว้ด้วย

หากคุณคาดว่าจะติดน้ำท่วมอยู่ในบ้าน และไม่สามารถใช้สุขาได้ตามปกติ มูลนิธิเอสซีจีแจก“สุขากระดาษ” สำหรับถ่ายหนักและเบา มีลักษณะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกน้ำหนักเบา แต่รับน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม ประกอบเสร็จได้ภายใน 10 วินาที (มีคลิป)ใช้ร่วมกับถุงดำ หรือขอ”สุขาลอยน้ำ” สำหรับบ้านเรือนจำนวนมากที่อยู่ใกล้กัน โดยสามารถแจ้งความจำนงผ่านมูลนิธิฯ โดยระบุจำนวน ชื่อผู้ติดต่อ สถานที่ ส่งแฟกซ์มาที่ 02-586-3910 หรือโทร 02-586-5506 เพื่อทางมูลนิธิฯจะประสานงานต่อไป

แต่ถ้าเป็นบ้านชั้นเดียว หรือน้ำขึ้นสูงเรื่อยๆ ต้องรีบอพยพโดยด่วนเพื่อรักษาชีวิต ล็อกบ้านให้แน่นหนาเพื่อป้องกันมิจฉาชีพ และต้องอพยพอย่างระมัดระวัง โดยไม่เดินผ่านทางน้ำ เพราะอาจถูกน้ำพัดหรือจมน้ำได้


วิธีช่วยคนจมน้ำ

หากพบคนกำลังจะจมน้ำ และคุณว่ายน้ำไม่เป็น ให้หาไม้ เชือก หรือผ้า เพื่อยื่นให้ผู้ประสบเหตุจับแล้วดึงขึ้นมา หรือโยนทุ่น ห่วงยาง หรืออุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ให้ผู้ประสบเหตุยึดเหนี่ยว แต่หากไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถช่วยได้ หรือประเมินแล้วว่าผู้ประสบเหตุตัวใหญ่เกินกว่าที่คุณจะสามารถพาเข้าฝั่งได้อย่างปลอดภัย ให้รีบตั้งสติ และตะโกนให้ผู้อื่นได้สติ ผู้ที่สามารถช่วยได้จะได้ลงไปช่วย สิ่งสำคัญคือต้องรีบช่วยโดยเร็ว เพราะหากช้าแค่ 1 นาที ผู้ประสบเหตุอาจจมน้ำได้

สำหรับการช่วยผู้ประสบเหตุ ต้องว่ายเข้าไปช่วยจากด้านหลัง เพราะตามธรรมชาติ คนใกล้จมน้ำจะตื่นตระหนกทำให้เกาะสิ่งที่ยึดได้ไว้แน่น ซึ่งอาจทำให้ผู้เข้าไปช่วยจมน้ำไปด้วย

วิธีที่ปลอดภัยต้องใช้มือทั้งสองสอดไปใต้วงแขนของผู้ประสบเหตุและงอมือขึ้นให้ร่างของผู้ประสบเหตุชิดตัว และพูดปลอบผู้ประสบเหตุให้คลายความตระหนก จากนั้นว่ายน้ำช้าๆเข้าฝั่ง ยกเว้นผู้ประสบเหตุต้องการการพยาบาลอย่างเร่งด่วน แต่หากผู้ประสบเหตุยึดเกาะคุณและจะทำให้คุณจมไปด้วย ให้ดำน้ำ ผู้ประสบเหตุจะปล่อยมือ

หากผู้ประสบเหตุจมน้ำไปแล้ว ให้ดึงตัวขึ้นมา และยกศีรษะผู้ประสบเหตุให้พ้นน้ำโดยเร็ว จากนั้นรีบผายปอดและนวดหัวใจ(การทำซีพีอาร์) ผู้ประสบเหตุบางรายที่อาการดูเหมือนไม่เป็นอะไรก็ต้องเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ด้วยเพราะหากน้ำเข้าไปในปอดอาจเสียชีวิตได้

นอกจากอันตรายจากการจมน้ำ สัตว์มีพิษและโรคที่มากับน้ำแล้ว สิ่งที่ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องระมัดระวังคือ “การถูกไฟช็อต” เพราะน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้าชั้นดี หากถูกไฟช็อตอย่างหนัก ผู้ประสบเหตุอาจหมดสติ ผิวหนังไหม้บริเวณที่กระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน กล้ามเนื้อกระตุก บางรายที่ใช้มือแตะสายไฟ มืออาจกำสายไฟไว้แน่นเพราะแรงช็อต


วิธีช่วยผู้ประสบเหตุไฟช็อต

ดึงตัวผู้ประสบเหตุออกห่างจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าทันที แต่ผู้ช่วยเหลือก็ต้องระวังไม่ให้ตัวเองได้รับอันตราย อย่าแตะต้องตัวผู้ประสบเหตุ เพราะไฟฟ้าอาจไหลผ่านมาสู่ตัวได้ โดยหากทำได้ให้ตัดไฟเร็วที่สุดโดยการสับสวิตช์ไฟหรือถอดปลั๊ก หากเป็นสายไฟหรือลวด ให้ใช้ขวานที่ด้ามเป็นไม้สับสายไฟ โดยต้องป้องกันดวงตาจากประกายไฟด้วย แต่ถ้าเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดไฟ (การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129)

หรือใช้วัตถุที่ไม่ใช่สื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้ง เชือก เข็มขัด ผ้าห่ม หรือใช้ผ้าแห้งพันมือ เพื่อดึงหรือผลักผู้ประสบเหตุออกไป แต่หากจะให้เร็วอาจใช้เท้าที่สวมรองเท้าถีบให้ผู้ประสบเหตุออกจากจุดไฟช็อต ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุกำสายไฟไว้ในมือ ให้ใช้ไม้หรือผ้าทำให้มือผู้ประสบเหตุหลุดจากสายไฟ ส่วนกรณีที่ผู้ประสบเหตุถูกไฟช็อตในน้ำ ให้เขี่ยสายไฟออกไปให้พ้นก่อนจึงเข้าไปช่วย

จากนั้นรีบปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุโดยเร็วที่สุด หากผู้ประสบเหตุไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้นต้องรีบทำซีพีอาร์ โดยต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึง และต้องทำให้ร่างกายผู้ประสบเหตุอบอุ่น หากผู้ประสบเหตุยังไม่หมดสติ ให้พูดกับผู้ประสบเหตุเบาๆ เรื่อยๆ เพื่อรักษาสติผู้ประสบเหตุเอาไว้และทำให้ผู้ประสบเหตุสงบ

หลังจากผู้ประสบเหตุได้รับการช่วยชีวิตแล้ว สิ่งที่เร่งด่วนในอันดับต่อมาคือการพาผู้ประสบเหตุไปโรงพยาบาล แต่น้ำที่ท่วมถนนก็ทำให้การเดินทางยากลำบาก และอาจง่ายขึ้นหากมีความรู้เรื่องการขับรถลุยน้ำเบื้องต้น


วิธีขับรถลุยน้ำท่วมเบื้องต้น

ระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้




จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #15  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


'น้ำท่วมบ้าน' ทำเป็น-ทำทัน- 'กัน' ได้



หลายพื้นที่ที่เป็นเขตเมือง รวมถึงในกรุงเทพฯ จากที่เคยมีการระบุประมาณว่า...เชื่อว่าจะรับมือได้-เชื่อว่าน้ำจะไม่ท่วม แต่เอาเข้าจริงเขตเมืองในหลายจังหวัดก็ถูกน้ำท่วมหนัก และสำหรับในกรุงเทพฯ แค่เกิดฝนตกหนักก็มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม ซึ่งสำหรับผู้ที่มีบ้านพักอาศัยเป็นของตนเองอยู่ในเขตเมือง จากที่คิดว่าบ้านคงไม่ถูกน้ำท่วม ก็กลายเป็นกังวลว่าบ้านอาจถูกน้ำท่วม ซึ่งถ้าพอจะมีกำลังทรัพย์ ก็คงพยายามจะก่อ-สร้าง-วาง-กั้น...กันน้ำท่วม

’ป้องกันน้ำท่วมบ้าน“ ก็มีวิธีการที่พอจะทำได้อยู่

ก็ต้องทำถูกวิธี-เหมาะกับสถานการณ์จึงจะรอด...

ทั้งนี้ กับ “การป้องกันน้ำท่วมบ้าน” ซึ่งหมายถึงกรณีที่ปริมาณน้ำ-ระดับน้ำมิได้มหาศาล-สูงแทบถึงหลังคา จากข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็น่าพิจารณา ซึ่งโดยสังเขปก็เช่น... ต้องพิจารณาจุดอ่อนของอาคารบ้านเรือน ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะอาคารชนิดต่างๆ ความต้านทานแรงดันน้ำ (แรงดันจากน้ำนิ่ง แรงยกของน้ำ แรงดันจากการไหลของน้ำ) การเปลี่ยนแปลงของวัสดุเมื่อจมน้ำ (คุณภาพของปูน พฤติกรรมของทรายและดินเหนียวใต้ฐานราก)

บ้านในพื้นที่เขตเมืองส่วนใหญ่มีพื้นคอนกรีต ซึ่งคำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีป้องกันบ้านและสิ่งก่อสร้างที่มีพื้นคอนกรีต คือ...

ป้องกันน้ำท่วมได้โดยฉาบด้วยปูนหรือกำแพงอิฐที่ทาด้วยสีชนิดพิเศษ ซึ่งน้ำจำนวนมากที่อยู่ระหว่างฐานรากกับนอกกำแพงสามารถซึมผ่านพื้นเข้าภายในกำแพงได้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ

1. อัดรอยรั่วภายนอกบ้านทั้งหมด โดยใช้วัตถุกันน้ำทั่วไป
2. ทำความสะอาดกำแพงและรอยรั่ว รูรั่วอาจจะเกิดมาจากการก่อสร้าง แล้วสิ่งสกปรกอาจจะกลับเข้าไปติดบังในรูรั่ว
3. วิธีป้องกันกำแพงบ้านแบบชั่วคราวทำได้โดยหาแผ่นพลาสติกกันน้ำ หรือวัตถุที่คล้ายๆกันมาวางไว้ข้างกำแพง และปกคลุมขอบล่างด้วยดินให้แน่นหนา

กรณีเป็นการป้องกันบ้านและอาคารที่มีพื้นเป็นไม้โครงสร้าง ทั้งนี้ น้ำสามารถไหลซึมและขังนองในช่องว่างหรือใต้ถุนผ่านรอยแตกของฐานราก รูรั่วของท่อช่องระบายอากาศและหน้าต่าง น้ำสามารถซึมผ่านระหว่างผนังบ้านและฐานราก เมื่อไหร่ก็ตามที่ช่องว่างหรือห้องใต้ถุนเต็มไปด้วยน้ำ น้ำจะเพิ่มระดับและไหลเข้าสู่สิ่งปลูกสร้างผ่านพื้นและรอยต่อของผนังจนกระทั่งล้นและมีระดับเดียวกับน้ำภายนอก ซึ่งการป้องกันคือ
1.อุดช่องระบายอากาศและหน้าต่างด้วย “แผงกั้นน้ำ” (ทำให้ถอดย้ายได้หลังน้ำท่วมผ่านพ้นไป) แต่ช่องระบายอากาศนั้นต้องสร้างได้ตามมาตรฐานงานก่อสร้างเพื่อป้องกันโรคราน้ำค้างและการผุเปื่อย
2. อุดรอยแตกร้าวของฐานรากและผนังด้วยคอนกรีตหรือวัตถุอื่นๆที่สามารถใช้อุดรอยแตกได้
3. อุดรอยรั่วเล็กๆรอบๆท่อ ด้วยคอนกรีตหรือสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่วในเรือ กาวซิลิโคน
4. อุดรอยต่อระหว่างผนังกับฐานรากด้วยสารประกอบที่ใช้อุดรูรั่ว

นี่ก็เป็นหลักคร่าวๆในการป้องกันน้ำท่วมบ้าน

ส่วนวิธีทำแผงกั้นน้ำเพื่อใช้อุดฐานราก ช่องระบาย และหน้าต่าง ก็คือ
1. ใช้ไม้อัดตามขนาดสำหรับทำแผงกั้นน้ำ คัดไม้อัดให้เหลื่อมกับกรอบ
2. ติดแถบสักหลาด หรือยาง ด้วยกาวกันน้ำ ให้เหลื่อมกับผิวของแผงกั้นน้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่คล้ายประเด็นอุดรูรั่ว
3. ยึดแผงกั้นน้ำให้เข้าที่อย่างแน่นหนาด้วยตะปู ตะปูควง หรือสลักเกลียว 4. ยึดแผงกั้นน้ำเข้ากับกรอบไม้ด้วยตะปู

นอกจากนี้ ข้อมูลของหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ยังมีในส่วนของวิธีติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันน้ำเข้าทางประตู โดย

- วิธีที่ 1 ใช้ดินน้ำมัน ดินปั้น ดินเหนียว หรือวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถอุดรอยแตกและรอยต่อรอบๆประตู ธรณีประตู และกรอบประตู
-วิธีที่ 2 ใช้แผ่นพลาสติกหรือกระดาษกันน้ำที่ใช้ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 นี้มีข้อควรระวังคือ ต้องทำการล็อกประตูจากด้านในเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเปิดประตู และช่วยป้องกันการแตกของสารกันน้ำที่ใช้อุด และแม้ว่าวัสดุที่ใช้จะอุดรอยแตกรอบประตูและกรอบประตูได้ แต่ก็มีอายุการใช้งานเพียงระยะเวลาสั้น ๆ

ถ้าจะใช้แผงกั้นน้ำ วิธีใช้แผงกั้นน้ำป้องกันน้ำเข้าทางประตู การติดตั้งเข้ากับประตูทางเข้า-ออกจะคล้ายคลึงกับการติดตั้งหน้าต่างหรือช่องระบายอากาศ แต่ในกรณีพิเศษก็จะต้องใช้วัสดุทำเป็นประเด็นรอบๆขอบด้านล่างของแผ่นกระดานเพื่อให้กันน้ำได้ดียิ่งขึ้น โดยที่
1. ใช้แผ่นกระดานหรือไม้อัดทำแผงกั้นน้ำ
2. ตัดแถบยางหรือสักหลาดให้เหลื่อมกับผิวของไม้กระดานให้กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร เพื่อทำเป็นประเก็น แล้วยึดติดกับด้านล่างของไม้กระดานด้วยกาวกันน้ำ
3. ใช้อุดด้านล่างของธรณีประตู รอยแตก และรอยต่อกรอบประตู

ทั้งนี้ ที่ว่ามาก็เป็นหลัก-วิธีการเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมบ้าน แต่ที่ดีที่สุดคือมีการเตรียมการไว้แต่แรก มีการก่อสร้างโดยยกระดับพื้นให้สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด ซึ่งทำได้โดยก่อสร้างบนพื้นที่สูงหรือถมดินให้สูง หรือสร้างโดยยกพื้นให้สูง ซึ่งถ้าเตรียมการไว้ดี เพียง “กั้นน้ำด้วยกระสอบทราย” ก็อาจช่วยป้องกันตัวบ้านได้

ก็นำมาบอกต่อกันไว้...กับ ’การป้องกันน้ำท่วมบ้าน“

ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกิน...เพียง ’ต้องถูกวิธี-ทันการ“

หาไม่แล้ว...ก็ต้องพึ่ง ’พิธีไล่น้ำ“ ชิ้วๆๆ ?!?!?!?!?.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #16  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ


เว็บไซต์ :

1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
http://maintenance.doh.go.th/test.html

2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
http://flood.gistda.or.th/

3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

4. รายงานสภาพการจราจร
http://traffic.longdo.com/

5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

7.กรมทรัพยากรน้ำ
http://www.dwr.go.th/report

8.กรมทางหลวงชนบท
http://fms2.drr.go.th/


เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ :

สำนักนายกรัฐมนตรี 1111

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

สายด่วน กฟภ. 1129

ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083

ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443

ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683

ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609

ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

แอร์เอเชีย 02 515 9999

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง



สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้ :

@thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ

@BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย@

@floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย

@thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ

@help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม

@Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม

@PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

@ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

@Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)

@bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.

@BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก

@SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร

@GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน

@aunonline - Owner of Red Dane Milk @Samyarn Chula, Citizen Journalist


นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางเฟซบุ๊คได้ดังนี้:

"เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย

"อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"

"The Thai Red Cross Society"

"ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

"น้ำขึ้น ให้รีบบอก"


จุดรับบริจาค

-จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html

-จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สนง.ใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit

-จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ http://ow.ly/6Bzaj

-จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้า ร.ร.ดุสิต สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด

-จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร อยู่ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ

-จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110

-จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)

-จุดบริจาค หอศิลปกรุงเทพ (แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.

-จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7

-จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม

-จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภค ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56



จาก .................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #17  
เก่า 11-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ทำถุงยังชีพเป็นเสิ้อชูชีพ

แนะนำโดย คุณตัน ภาสกรนที

ผมขอแนะนำวิธีทำถุงยังชีพ ให้เป็นเสื้อชูชีพ สำหรับใช้ใส่ป้องกันท่วม ได้อย่างรวดเร็ว น้ำท่วมปีนี้คนไทยต้องไม่จมน้ำครับ



__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #18  
เก่า 12-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ท่วมขังระวัง 'ปลิง'! เกาะต้องแกะถูกวิธี



เรื่องหนึ่งที่ควรระวังในช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญภาวะน้ำท่วม คือ 'ปลิง' สัตว์ที่อยู่ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ ทั้งหนองน้ำ ลำธาร รวมถึงบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ในประเทศไทยมักพบปลิง 2 ชนิด คือ ปลิงเข็ม ตัวยาวขนาดใกล้เคียงกับก้านไม้ขีดไฟ อีกชนิดเป็นปลิงควาย ตัวยาว 3 นิ้ว ลำตัวกว้าง 1 นิ้ว

กรณีมีความจำเป็นต้องลงไปในน้ำที่ท่วมขังและนิ่ง เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องสังเกตตามเนื้อตัวของตนเองอย่างละเอียด เพราะหากถูกปลิงเกาะ ตัวของปลิงนั้นเบาจึงไม่ทำให้รู้สึกว่า มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ เช่นเดียวกับการดูดเลือดของปลิงก็เป็นไปอย่างแผ่วเบา

ระหว่างที่ปลิงเริ่มกัดและดูดเลือดจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์คล้ายยาชาออกมา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งยังมีสารช่วยขยายหลอดเลือดและสารต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้ต่อเนื่อง หากปลิงยังดูดเลือดไม่อิ่มก็ยังจะเกาะอยู่อย่างนั้น โดยจะหลุดออกเมื่ออิ่ม ทว่าถูกรุมเกาะหลายตัวและถูกดูดเลือดมาก ก็จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด

วิธีแกะปลิงให้หลุดออก ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นดึงหรือกระชากตัวปลิงออกจากผิวหนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลฉีกขาด เลือดหยุดยาก แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นมีทั้งใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น หรือน้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งราดใส่ตรงที่ปลิงเกาะ นอกจากนี้ยังอาจเลือกใช้บุหรี่ที่ติดไฟหรือธูปติดไฟ จี้ลงไปที่ตัวปลิง ก็ทำให้ปลิงหลุดออกเอง

เมื่อปลิงหลุดออก ให้หยดยาฆ่าเชื้อที่คอตตอนบัดและเช็ดเป็นวงรูปก้นหอย เริ่มจากส่วนในของแผลวนออกรอบนอกแผล เช็ดวนรอบเดียวเพื่อไม่ให้แผลสกปรก แล้วเปลี่ยนอตตอนบัดอันใหม่ สัก 2-3 อัน

หากไม่สามารถเลี่ยงการลงไปในน้ำที่ท่วมขัง ควรป้องกันตนเองจากปลิงและสัตว์มีพิษอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรัดกุมและมัดปลายขากางเกง โชลมเสื้อผ้าส่วนที่ต้องโดนน้ำด้วยน้ำมันก๊าดจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษได้.



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 12 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #19  
เก่า 12-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


เมื่อต้องขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วม ....................... โดย วินิจ รังผึ้ง



สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลางยามนี้ช่างหนักหนาสาหัสเป็นยิ่งนัก ด้วยปริมาณน้ำจำนวนมากมายมหาศาลที่หลากไหลลงมารวมกันจนพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางไม่อาจจะระบายน้ำได้ทัน จนเกิดการท่วมท้นเป็นบริเวณกว้าง และมากมายถึงขนาดท่วมจนมิดหลังคาบ้านกันเลยก็มี มหาอุทกภัยครั้งนี้มีพื้นที่ประสบภัยทั้งพื้นที่ทำการเกษตร นิคมอุตสาหกรรม รวมไปถึงย่านใจกลางเศรษฐกิจของเมืองใหญ่ สร้างความเสียหายทั้งชีวิตทรัพย์สินเป็นมูลค่ามากมายมหาศาล มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้นมากมายเกินกว่าความเสียหายครั้งเกิดมหัตภัยคลื่นยักษ์สึนามิในช่วงปลายปี 2547 เสียอีก ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน กองทัพ ภาคเอกชนและประชาชนคนไทยในทั่วทุกภาคต่างระดมความช่วยเหลือลงไปในพื้นที่ประสบอุทกภัย เพื่อช่วยกันกู้วิกฤตอย่างเต็มที่

หลายหน่วยงานที่พยายามนำขบวนรถส่งน้ำ อาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ลงไปในพื้นที่นั้นในหลายพื้นที่หลายเส้นทางก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องผ่านเข้าไปในเส้นทางที่มีน้ำท่วมบางพื้นที่มีกระแสน้ำเชี่ยวแรง ซึ่งการจะเดินทางเข้าไปก็คงต้องมีการเช็คเส้นทางกันให้แน่นอนเสียก่อนว่าในช่วงนั้นสภาพเส้นทางเป็นอย่างไร และระดับน้ำมีแนวโน้มเป็นเช่นไร ทางที่ดีก็ควรที่จะประสานงานหรือนำไปส่งให้กับหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งมีความชำนาญสภาพท้องที่เพื่อให้ช่วยกระจายสิ่งของและความช่วยเหลือเข้าไปให้ถึงมือชาวบ้านในพื้นที่ต่อไปน่าจะดีกว่า อย่างไรก็ขอส่งกำลังใจไปถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยรวมทั้งกำลังพลจากหน่วยงานที่กำลังปฏิบัติงานหนักในการกู้วิกฤตและให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนให้มีกำลังใจในการฟันฝ่าวิกฤตครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วด้วยเทอญ



ในขณะที่พี่น้องประชาชนคนไทยเราร่วมแสดงความรักความห่วงใยด้วยการส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ และส่งกำลังใจลงไปถึงพี่น้องในพื้นที่ประสบภัย แต่พื้นที่อื่นๆในยามนี้โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งแม้นจะยังไม่ถึงกับมีน้ำท่วมท้น แต่ก็กลายเป็นพื้นที่ๆน่าเป็นห่วงเป็นใยอยู่ไม่น้อย เพราะปริมาณน้ำฝนก็ยังพร่างพรมลงมาอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน ในขณะที่สถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงก็อาจจะทำให้การระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่ปากอ่าวเป็นไปได้ยากลำบาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯขึ้นได้ หลายคนเริ่มเป็นห่วงสถานการณ์ เริ่มเก็บข้าวของขึ้นสู่ที่สูง เริ่มเตรียมสะสมอาหารแห้ง น้ำดื่มและสิ่งของที่จำเป็นตุนไว้ในบ้าน และปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่คนกรุงเทพฯต่างวิตกก็คือ สภาพที่ต้องผจญกับน้ำท่วมบนท้องถนน เพราะเมื่อฝนตกหนักน้ำในท้องถนนระบายไม่ทันก็จะเกิดปัญหารถติดกันยาวเหยียดใช้เวลาเดินทางนานหลายชั่วโมง ในขณะที่หลายคนอาจจะวิตกยิ่งขึ้นไปอีกว่าหากน้ำท่วมสูงขึ้นมากๆ แล้วจะต้องขับรถผ่านท้องถนนที่มีน้ำท่วมนั้นจะมีสภาพอย่างไร โอกาสนี้ผมจึงขอนำข้อปฏิบัติในการขับรถผ่านพื้นที่น้ำท่วมมาบอกเล่าสู่กันเพื่อจะได้นำไปลองปฏิบัติเมื่อจำเป็น ซึ่งความจริงแล้วหากสามารถจะเช็คข้อมูลได้ก็ควรจะเช็คให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจขับรถออกจากที่จอดรถในอาคารที่ทำงาน เพราะหากมีรายงานว่าเส้นทางที่จะผ่านไปมีน้ำท่วมสูงก็ไม่ควรที่จะเสี่ยงขับรถผ่านเข้าไป ควรหาเส้นทางที่พอจะหลีกเลี่ยงได้ หรือตัดสินใจจอดรถไว้ในลานจอดบนอาคารแล้วใช้รถสาธารณะจะดีกว่า

ถ้าหากไม่สามารถหลีเลี่ยงได้ การขับรถผ่านถนนที่มีน้ำท่วมขังก็ควรจะเลิอกขับเลนขวาด้านกลางสุดของถนน เพราะจะเป็นพื้นที่สูงที่สุด เมื่อต้องขับรถลุยน้ำที่ท่วมขังมากๆ ควรปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถ เพราะการเปิดเครื่องปรับอากาศจะทำให้ใบพัดของพัดลมเครื่องปรับอากาศซึ่งอยู่ในระดับต่ำพัดตีให้น้ำกระจายเข้าไปในส่วนต่างๆของห้องเครื่องยนต์ อาจจะพัดตีเอาเศษขยะ ถุงพลาสติก เศษไม้ไปติดในส่วนต่างๆของเครื่องยนต์ทำให้เครื่องยนต์ดับได้ และการปิดเครื่องปรับอากาศ ก็จะช่วยให้ไม่ไปรบกวนกำลังของเครื่องยนต์ด้วย เมื่อปิดเครื่องปรับอากาศแล้วการขับรถลุยน้ำนั้น ไม่ควรเร่งเครื่องกระชาก กระตุกเป็นช่วงๆ ควรขับโดยใช้เกียร์ต่ำถ้าเป็นเกียร์ธรรมดาควรใช้เกียร์ 1 เกียร์ 2 ในขณะที่รถยนต์เกียร์อัตโนมัติควรใช้เกียร์ที่ต่ำลงมากว่าเกียร์ D และควรเลี้ยงรอบเครื่องยนต์ให้สม่ำเสมอ ใช้ความเร็วต่ำ แล่นไปข้างหน้าเรื่อยๆ โดยเว้นระยะให้ห่างจากคันหน้าพอประมาณ เพราะการขับรถลุยน้ำนั้นระบบเบรกจะทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีน้ำเข้าไปในจานเบรก ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องเบรกกะทันหัน เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเบรกลื่น เบรกไม่อยู่ การเบรกควรจะต้องย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อไล่น้ำออกจากระบบเบรกจนกว่าเบรกจะทำงานเป็นปรกติ หรืออาจจะใช้วิธีแตะเบรกเบาๆ เป็นระยะๆ ก็ได้ ระหว่างการขับเคลื่อนไปก็ได้

การขับรถผ่านไปในพื้นที่น้ำท่วมนั้นไม่ควรใช้ความเร็ว เพราะนอกจากจะควบคุมรถลำบากแล้วจะทำให้คลื่นน้ำกระเพื่อมแรงเข้าไปในตัวเครื่องยนต์ของเรา กระเพื่อมไปรบกวนผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน หรือเกิดคลื่นแรงไปสร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารบ้านเรือนของผู้อยู่อาศัยริมถนนสายนั้น และเมื่อขับถึงบ้านหรือจุดหมายปลายทางแล้ว ก่อนจอดควรย้ำเบรกหลายๆครั้งเพื่อช่วยไล่น้ำออกจากระบบเบรก เมื่อจอดรถแล้วอย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์ในทันที ควรติดเครื่องทิ้งไว้สักครู่เพื่อช่วยไล่น้ำออกจากท่อไอเสีย และเมื่อจอดรถไว้ในที่ปลอดภัยภายในบ้านแล้ว ควรเปิดประตู เปิดกระจก เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นอับ หรืออาจใช้พัดลมเป่าเพื่อช่วยไล่ความอับชื้นก็ได้ และเมื่อจะสตาร์รถใช้งานอีกครั้งในวันรุ่งขึ้นก็ควรจะเปิดฝากระโปรงสำรวจในห้องเครื่อง หรือบริเวณพัดลมระบายอากาศ พัดลมเครื่องปรับอากาศ เช็คดูให้ทั่วว่ามีเศษขยะ เศษไม้ที่อาจจะสร้างความเสียหายอยู่หรือไม่ และควรตรวจเช็คสภาพความเรียบร้อยให้รอบคัน เพราะการขับรถลุยน้ำนานๆนั้นแผ่นป้ายทะเบียนมักจะต้านน้ำไม่ไหวหลุดหายกันบ่อยๆ ซึ่งผมเองก็มีประสบการณ์เคยขับรถลุยน้ำจนกลับถึงบ้าน มาตรวจดูอีกทีป้ายทะเบียนด้านหน้าก็หลุดหายไปเสียแล้ว ยุ่งยากต้องไปทำเรื่องยื่นขอป้ายทะเบียนแผ่นใหม่จากกรมการขนส่งทางบกเสียเวลาเสียอารมณ์ไปอีก อย่างไรก็ขอภาวนาให้ทุกท่านไม่ต้องขับรถลุยน้ำกันน่าจะดีกว่า และขอส่งกำลังใจไปถึงท่านที่ประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัยขอให้สามารถจะฝ่าฟันผ่านพ้นวิกฤติครั้งใหญ่นี้ไปให้ได้โดยเร็วด้วยเทอญ




จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #20  
เก่า 12-10-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,106
Default


ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้


น้ำท่วมปีนี้หนักหนากว่าที่ใครๆคิด ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือจากธรรมชาติที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์มากเกินความต้องการ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรายังจำเป็นต้องดำรงชีวิตให้รอดท่ามกลางสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ต่อไป เราจึงมีวิธีการดูแลรถให้แก่ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถเพื่อการประกอบอาชีพการงาน ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

โดยระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่นน้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้


_____________





ขับรถขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร?

1.ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ

2.ใช้เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา เราควรใช้ประมาณเกียร์ 2 แต่หากว่าเป็นเกียร์ออโต้ สามารถใช้เกียร์ L ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุด หรืออย่าเร่งความเร็วขึ้น

3.ไม่ควรเร่งเครื่องให้รอบสูงเกินไป ผู้ขับรถหลายคนมักเร่งเครื่องแรงๆเพราะกลัวเครื่องดับ เนื่องจากน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเร่งเครื่องขึ้น ยิ่งจะทำให้รถมีความร้อนสูงยิ่งขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น การสตาร์ตรถอยู่โดยที่รอบเดินเบา แม้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำ (แต่ระดับน้ำต้องไม่สูงมากขนาดระดับกะโปรงรถ) แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาได้

4.การลดความเร็วลง โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อกำลังจะขับรถสวนกับรถอีกคันหนึ่ง เพราะยิ่งขับเร็วมากเท่าไหร่ แรงคลื่นที่เกิดจากการปะทะก็จะแรงมากเท่านั้น และกระเด็นเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น

5.หลังจากลุยน้ำที่มีระดับลึกมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรกๆจะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก




ขั้นตอนที่ควรทำทันที เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วม

1. ล้างรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้างหรือติดอยู่ออกให้หมด ซึ่งอาจมีเศษขยะหรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับกรณีของรถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจากอุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย

2. พึงจำเอาไว้ว่าอย่าทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด จากนั้นเดินไปเปิดฝากระโปรงรถและปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่งหรือจะปลดทั้ง ขั้วบวกขั้วลบก็ได้ (จริงๆถ้าคุณคาดว่าน้ำจะท่วมสูงถึงห้องเครื่องให้เตรียมปลดขั้วแบตเตอรี่ เอาไว้ล่วงหน้าก่อนจะเป็นการดีที่สุด) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆของรถ รวมถึงเครื่องยนต์

3. เปิดประตูออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้นถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาซักทันที เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับจะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

4. เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้เอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้า ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

5. สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่นแสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งประเด็นนี้ใครทำเองได้ก็ทำเลย เพราะยิ่งจัดการเร็วโอกาสที่สนิมจะมาเยือนก็น้อยตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ไหวก็ต้องเข้าศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายที่ถูกต้องและละเอียดมาก

6. เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัด จารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่แล้วใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

7. ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

8. โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง พรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตากแดดแห้งแล้วยังไม่ต้องรีบใส่ แม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆจะแห้งดีแล้ว ให้เอารถออกตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด

9. เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้วค่อยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกจากในห้องเครื่องเข้าที่ให้หมด ยกเว้นหัวเทียนในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนซินหรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล ให้ยกแบตเตอรี่เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่ เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก(จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่างๆก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหนยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่ามีควันหรือความร้อนอะไรเกิดขึ้นจากการใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์

10. ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้งว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดีให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็คที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมาทางรูหัวเทียน ให้สตาร์ทต่อไปจนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมาจนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้องและไม่มีอุปกรณ์อื่นที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ


วิธีการยกรถหนีน้ำ ด้วยการนำแม่แรงที่อยู่ภายในรถงัดรถให้สูงขึ้น จากนั้นให้นำก้อนอิฐไปค้ำล้อรถทั้ง 4 ล้อให้สูงเหนือระดับน้ำ ส่วนกรณีที่รถอาจต้องจมน้ำ ข้อแนะนำคือควรปิดกระจกให้แน่น หลังจากนั้นให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบออก เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในรถช็อต

ภายหลังน้ำท่วมรถ ให้แกะลูกยางที่อยู่ใต้ท้องรถออก เพื่อเป็นการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ภายในรถ

(มีต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 12-10-2011 เมื่อ 08:49
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:37


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger