เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,416
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุดีเปรสชันที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2?3 ก.ค. 65


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ในช่วงวันที่ 3 ? 5 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบนและประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และคาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ก.ค. 65 โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


ข้อควรระวัง

ส่วนในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 5 ก.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย โดยเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 3 ? 5 ก.ค. 65



*********************************************************************************************************************************************************



ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ? 2 กรกฎาคม 2565)" ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2565

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (30 มิ.ย. 65) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนมีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 114.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนตอนใต้ในช่วงวันที่ 2?3 ก.ค. 65 โดยไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 30 มิ.ย. ? 2 ก.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่อาจเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย


จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้


วันที่ 30 มิถุนายน 2565


ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต


วันที่ 1 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลกและเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


วันที่ 2 กรกฎาคม 2565

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่


ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง










__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-06-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,416
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


หายนะโลกร้อน! เพนกวินสีน้ำเงิน ตายเกลื่อนชายหาดนิวซีแลนด์



พบซากเพนกวินสีน้ำเงิน หรือเพนกวินโคโรรา ( Korora) เกลื่อนชายหาดเกาะเหนือนิวซีแลนด์ราวๆ 500 ตัว ในช่วงหกสัปดาห์ที่ผ่านมา และมากกว่าครึ่งหนึ่งถูกพบในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญในนิวซีแลนด์ ยืนยันถึงสาเหตุการตายว่าเป็นผลจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จนทำให้หาแหล่งอาหารยาก

เพนกวินสีน้ำเงินตัวเล็กๆ ซึ่งเป็นสายพันธุ์นกเพนกวินที่เล็กที่สุดในโลก กำลังเกิดดังกล่าวบ่อยขึ้นท่ามกลางรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป พวกมันเป็นนกที่บินไม่ได้ มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์และเป็นนกเพนกวินสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดในโลก

ปกติภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดของพวกมันคือสุนัข สัตว์กินเนื้อ และยานพาหนะบนท้องถนน ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะโจมตีนกขณะที่พวกมันขึ้นฝั่งระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พวกมันเดินเตาะแตะจากทะเลได้ไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เพื่อสร้างรัง

แกรม เทย์เลอร์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของกรมอนุรักษ์นิวซีแลนด์ กล่าวว่า ซากนกหลายร้อยตัวถูกพบในภาคเหนือของนิวซีแลนด์ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ถึงแม้ว่าจำนวนที่แน่นอนจะระบุได้ยากและตามรายงานยังคงพบอยู่อย่างต่อเนื่อง

"แทบไม่มีร่องรอยการถูกโจมตีเลย เมื่อทำการพิสูจน์ซาก ทดสอบโรคและสารพิษทางชีวภาพ แต่ดูเหมือนว่านกเหล่านี้กำลังอดตายจากความอดหยากอันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น"

"นกทุกตัวมีน้ำหนักลดลงร่วมครึ่งหนึ่งของน้ำหนักปกติ พวกมันไม่มีไขมันเลย และเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อของพวกมันก็สูญเสีย"

"ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่นกทะเลจะเสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย แต่การเสียชีวิตจำนวนมากในหมู่นกเพนกวินสีน้ำเงินตัวเล็ก ๆ ซึ่งเคยเกิดขึ้นประมาณหนึ่งครั้งต่อทศวรรษ บัดนี้ได้เกิดขึ้นถึงสามครั้งในรอบหกปี" เทย์เลอร์กล่าว

ถือว่านกเพนกวินสีน้ำเงิน "ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง" คาดว่าจะมีการเสียชีวิตในฤดูร้อนนี้เนื่องจากลานีญา ซึ่งเป็นรูปแบบภูมิอากาศที่ส่งผลต่อสภาพอากาศทั่วโลก และมักเกิดขึ้นทุกๆ สามถึงห้าปี

นักพยากรณ์จาก National Oceanic and Atmospheric Administration บอกว่างานที่กำลังดำเนินอยู่จะดำเนินต่อไปจนถึงสิ้นปี ลานีญาทำให้เป็นฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวติดต่อกันเป็นครั้งที่สามซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก

เมื่อลา นีญา ผสมผสานกับคลื่นความร้อนจากทะเล มันสร้าง "คลื่นความร้อนเป็นสองเท่า" สำหรับเพนกวิน ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น จะทำให้พวกมันหาปลาตัวเล็กๆ ที่พวกมันกินได้ยากขึ้น

เทย์เลอร์ กล่าวว่า ปลาอาจเคลื่อนตัวไปทางใต้หรือลงสู่แหล่งน้ำที่เย็นกว่าใต้แนวดำน้ำของนกเพนกวิน "สภาวะโลกร้อน อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เป็นภัยคุกคามต่อเพนกวินสีน้ำเงิน พวกมันจะต้องดำน้ำหาอาหารลึกกว่าปกติ และอาจจะลึกเกินกว่าที่เพนกวินจะดำลงไปได้"


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9650000062008

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 23:51


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger