เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > เรื่องเล่าชาวทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 17-01-2011
ตุ๊กแกผา's Avatar
ตุ๊กแกผา ตุ๊กแกผา is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 1,452
Default

ดีจังเลย....จะคอยติดตามเป็นกำลังใจให้ค่ะ...เย้ๆๆๆๆ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #12  
เก่า 10-05-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



ข่าวล่าสุด (แต่ออกมาหลายวันแล้ว) ค่ะ....


สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์


ชุมพรกำหนด วางเรือหลวงปราบ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ท้องทะเล 20 พ.ค.2554 นี้


วันนี้ (3 พ.ค.54) คณะกรรมการโครงการแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ท้องทะ เล ซึ่งประกอบด้วย ตัวแทนจาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง ชมรมดำน้ำจังหวัดชุมพร ฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จังหวัดชุมพร และ กองทัพเรือ ได้ประชุมเพื่อสรุปเตรียมการวางเรือหลวงปราบ เป็นแหล่งเรียนรู้เรือหลวงไทยใต้ท้องทะเลชุมพร

ที่ประชุมได้นำข้อสรุปเกี่ยวกับการกำหนดจุดวางเรือ ที่ ผ.ศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เดินทางไปศึกษาความเหมาะสม จุดที่จะวางเรือ บริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะง่ามน้อย พื้นที่อ่าวไทย น่านน้ำชุมพร เสนอต่อที่ประชุม พร้อมกับมอบหมายให้ตัวแทน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นำข้อมูลไปปรับเปลี่ยนกับจุดเดิมที่มีการสำรวจไว้แล้ ว

นายชยาวุธ จันทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า ขณะนี้การทำความสะอาดและการปรับแต่งเรือใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว คณะกรรมการได้กำหนดวันวางเรือไว้ในวันที่ 20 พ.ค.2554 นี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่จังหวัดชุมพรกำหนดจัดขึ้นทุกปี

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #13  
เก่า 10-05-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



สองในคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการที่นั่งอยู่ตรงนี้สองคน ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือเชิญประชุมในเรื่องนี้แต่อย่างใดค่ะ เราเลยได้แต่ติดตามข่าวเอาจากหนังสือพิมพ์หรือ Internet มาบอกกล่าวให้กับสมาชิกทุกท่านแทน


เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว..สายชลเลยยกหูไปเรียนถามท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร (นายชยาวุธ จันทร) ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นไปตามข่าวที่ออกมา และ ปตทสผ. อาจจะมีการเชิญประชุมในวันนี้ (10 พฤษภาคม) เพื่อสรุปผลการดำเนินการ และแผนการดำเนินการในวันนำเรือปราบลงน้ำ แล้วท่านจะแจ้งมาให้ทราบว่าจะมีการประชุมหรือไม่ อย่างไร


ทราบเรื่องความคืบหน้าเป็นประการใด...จะมาเล่าให้ฟังต่อไปนะคะ


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 10-05-2011 เมื่อ 11:59
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #14  
เก่า 10-05-2011
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

เป็นข่าวดีอย่างยิ่ง กำลังกังวลว่า จะจัดการดูแลอย่างไร
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #15  
เก่า 10-05-2011
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

ร่วมรอติดตามความคืบหน้าด้วยเช่นกันครับผม
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #16  
เก่า 11-05-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,216
Default


Mission Gunship (1) ......................... โดย ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์



ผมมองตัวเลขตรงหน้าด้วยความสับสน อาจเป็นเพราะโครงการนี้มีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากหลาย หรือเป็นเพราะความผิดพลาดของเทคโนโลยี แต่พิกัดที่ผมได้มาสี่ห้าแห่งล้วนมีตัวเลขไม่ตรงกัน บางแห่งเหาะขึ้นไปอยู่บนยอดเขา หากยึดตามพิกัดนี้ ผมยืนยันว่าจะไม่มีผลกระทบจากการสร้างจุดดำน้ำใหม่ให้ทะเลไทยแน่นอน เพราะเรือไม่ได้อยู่ในทะเลแต่อยู่ในป่า มีนักดูนกไปเที่ยวแทนที่จะเป็นนักดำน้ำ

ฮึ่ม... ผมรู้สึกเครียด เริ่มอยากระบายออกกับลูกศิษย์ที่ยืนนั่งหน้าสลอนกันเกือบยี่สิบราย หลายคนเรียนจบไปแล้วกว่าสิบปี เป็นครูสอนดำน้ำมือฉมังบ้าง เป็นเจ้าของกิจการรุ่งเรืองอู้ฟู่ก็มีไม่น้อย หากเป็นงานปรกติ ผมจะไม่ขอแรงศิษย์เก่าเหล่านี้ แต่นี่ไม่ใช่งานปรกติ นี่คือปฏิบัติการที่ผมตั้งชื่อย่อว่า Mission Gunship (เรือปืน - บางครั้งเรียกว่า Gunboat แต่จะใช้คำว่า Gunship ก็ไม่ผิด คำว่ากันชิปยังหมายถึงเฮลิคอปเตอร์หรืออากาศยานติดปืนกล)

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ผมได้รับการติดต่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวคิดจะนำเรือรบหลวงจากราชนาวีไทยมาใช้เป็นแหล่งดำน้ำ อาจารย์ช่วยกรุณามาเป็นที่ปรึกษาหน่อยได้ไหมครับ ? ใจผมคิดเบ็ดสะระตี่ โครงการแบบนี้ถือว่ามีประโยชน์ เพราะหลังจากเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวทั่วทะเลไทย บรรดานักวิชาการต่างออกมาหาแนวทางฟื้นฟูทะเล วิธีการแบ่งเป็น 2 แบบง่ายๆ หนึ่งคือ Passive หมายถึงเราปล่อยให้ธรรมชาติฟื้นฟูตัวเอง เพียงแต่เราต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การปิดจุดดำน้ำในเขตอุทยาน อีกแบบคือ Active หรือการที่เราเข้าไปช่วยทำกิจกรรมฟื้นฟู

กิจกรรมฟื้นฟูแนวปะการังที่นิยมทำในเมืองไทยและเมืองไหนก็ตามทั่วโลก มีอยู่แค่ 2 แบบ อย่างแรกคือการปลูกปะการังที่ยังไม่มีคำตอบแน่ชัดว่าได้ผลระดับไหน อีกแบบคือการทำปะการังเทียมที่แบ่งเป็นได้อีกหลายแบบย่อย บ้างเป็นปะการังเทียมของกรมประมงที่เน้นเรื่องสร้างแหล่งประมงพื้นบ้านและป้องกันการรุกรานของเรือประมงผิดกฎหมาย แต่มีอยู่แบบหนึ่งที่เป็นแหล่งดำน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อจุดประสงค์ในการลดผลกระทบในแนวปะการัง ยังหมายถึงผลพลอยได้ที่จะเกิดกับการท่องเที่ยวโดยตรง

ลองคิดตามนะครับ หากเรามีแนวปะการัง 10 แห่ง ได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาวมากบ้างน้อยบ้างจนต้องปิดไป 5 แห่ง แต่จำนวนนักดำน้ำเท่าเดิม แนวปะการังที่เหลืออยู่ย่อมมีปริมาณนักดำน้ำเพิ่มขึ้นเยอะแยะ แต่ถ้าเราช่วยสร้างแหล่งดำน้ำในบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง นักดำน้ำส่วนหนึ่งย่อมมาดำน้ำในแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ถือเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในแนวปะการังอย่างตรงไปตรงมา

แหล่งดำน้ำแบบนี้นิยมกันทั่วโลก จุดในเมืองไทยอันเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักดำน้ำคือเรือหลวงกูดแห่งทะเลพัทยา อีกลำคือเรือหลวงครามที่นำลงสู่พื้นท้องทะเลโดยกองทัพเรือก่อนหน้านั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กำลังทำงานวิจัยในเรื่องนี้ควบคู่กับเรือหลวง Brisbane ที่ออสเตรเลีย เราจึงมีข้อมูลอยู่บ้าง

แต่นี่...เป็นการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่ก่อนเรือลง ปรับปรุงเรือให้เหมาะสม หาพื้นที่เรือลง ติดตามผลกระทบ ช่วยทำศูนย์นิทรรศการ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นเรื่องค้างคาใจผมมาหลายครั้งหลายครา เพราะเคยไปพูดคุยกับกลุ่มนักดำน้ำทั้งไทยทั้งฝรั่งในหลายจังหวัดมาหลายปี ทุกคนหวังที่จะทำแหล่งดำน้ำแห่งใหม่ แต่ยังไม่มีที่ใดสำเร็จอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการนำเรือรบหลวงที่มีประวัติยาวนานค่อนศตวรรษลงสู่พื้นท้องทะเล

เรือรบหลวงต่างจากเรือทั่วไปอย่างไร ? คำตอบคือต่างกันมหาศาลครับ จากผลสำรวจนักดำน้ำกว่า 300 คนที่มีประสบการณ์ดำน้ำที่เรือหลวงกูด พวกเขาพวกเธอบอกว่า แรงจูงใจสำคัญสุดในการมาดำน้ำที่นี่คือคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเรือ หากเป็นเรือทั่วไปคงไม่มีประวัติยืดยาว แต่เรือที่กองทัพเรือมอบให้แก่จังหวัดชุมพรชื่อ “เรือหลวงปราบ” มอบให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีชื่อ “เรือหลวงสัตกูด” เรือทั้งสองลำเคยเป็นเรือในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เข้าประจำการในราชนาวีไทยมาเกือบ 70 ปี เป็นเรือครูของเหล่าลูกประดู่ทั้งหลาย และเป็นเรือที่สร้างประโยชน์ให้ชาติไทยมาเหลือคณานับ

ผมเล่ารายละเอียดมายาวเหยียด แต่ในความเป็นจริง ผมตอบตกลงตั้งแต่ได้ยินคำถามเป็นครั้งแรก เรียกว่าใจไปก่อนแล้วเหตุผลถึงตามมา จากนั้นจึงถึงช่วงการเตรียมงาน อันดับแรกคือศึกษาแหล่งดำน้ำที่มนุษย์พยายามสร้างขึ้นในอดีต อะไรคือข้อควรระวังมากที่สุด ? คำตอบคือบริเวณที่เราจะทำ หากแหล่งดำน้ำใหม่อยู่ไกลจากแหล่งดำน้ำเดิม นั่นคือปัญหา เพราะนักดำน้ำต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมาก จึงไม่นิยมไปใช้ ยังอาจมีอันตรายจากคลื่นลมและกระแสน้ำ สำคัญสุดคือแหล่งดำน้ำแบบนั้นไม่ได้ช่วยลดภาระของแนวปะการังอย่างชัดเจน เพราะอยู่ไกลเกินไปไม่ใช่ทางเลือกของนักดำน้ำ วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือช่วยทะเลก่อน การท่องเที่ยวเป็นผลพลอยได้ ผมจึงมั่นใจว่ายังไงเสียเราก็ต้องไปทำ Mission Gunship ในบริเวณที่คนนิยมไปอยู่แล้ว

เมื่อลองดูข้อมูลจากท้องถิ่นที่ร่วมประชุมกันมา คนชุมพรเสนอหมู่เกาะง่าม งานนี้หมดปัญหาเพราะที่นั่นคือแหล่งดำน้ำสำคัญสุดในจังหวัด อีกทั้งยังเป็นแนวปะการังที่สวยไม่สร่าง แม้จะโดนปะการังฟอกขาวไปแล้วสองครั้งครา (2540 และ 2553) แต่สภาพใต้ท้องทะเลยังดีปูปลามีเพียบ เป็นจุดที่ผมนิยมยกตัวอย่างเมื่อคนถามว่าทะเลไทยตอนนี้เป็นไง สำหรับคนสุราษฎร์ พวกเขาเสนอเกาะเต่า งานนี้ตรงใจผมเช่นกัน เพราะที่นั่นคือแหล่งที่มีการเรียนการสอนดำน้ำระดับโลก มีร้านดำน้ำและอื่น ๆ อีกมากเกี่ยวกับการดำน้ำแทบท่วมเกาะ แต่ละวันมีฝรั่งนับพันไปลงดำน้ำที่นั่นที่นี่ตลอดเวลา เรือหลวงสัตกูดจะช่วยลดผลกระทบของแนวปะการังได้แน่นอน

เราพอกำหนดแหล่งคร่าวๆ พร้อมมีตัวเลขพิกัดให้ผมไปตรวจสอบ แต่คำถามสำคัญคือเรือจะเกิดผลกระทบกับสภาพแวดล้อมขนาดไหน ? ผมจึงแวะเวียนไปดูเรือทั้งสองหลายครั้ง ตั้งแต่เรือจอดอยู่ที่กรมอู่ทหารเรือ จนเรือล่องมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อทำการปรับปรุงที่อู่ใหญ่ในย่านถนนเจริญกรุง ทุกครั้งที่ไปผมจะขอแรงลูกศิษย์ที่ทำงานเกี่ยวกับการดำน้ำไปด้วยหลายคน แต่ละคนถือกระป๋องสีช่วยกันพ่นตรงนั้นตรงนี้ เป็นสัญลักษณ์บอกว่าราวตรงนี้อันตรายต้องนำออกนะ ห้องนี้แคบเกินไปควรปิดตายไม่ให้นักดำน้ำเข้า ยังหมายถึงการทำความสะอาดเรือที่ทุกคนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ต้องขอบคุณ ปตท.สผ. ที่กรุณาสนับสนุนโครงการนี้แบบครบวงจร ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปโดยไม่ติดขัดปัญหางบประมาณครับ

การปรับปรุงเรือเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ผมยังขอให้อู่ติดตั้งจุดศึกษาระยะยาวสำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรื่องสัตว์เกาะติดหรือเรื่องอื่นๆในอนาคต ระหว่างที่ช่างกำลังอ๊อกแท่งเหล็กรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเข้าไปกับเรือ ผมยิ้มด้วยความบันเทิงเริงใจ นี่อาจเป็นครั้งแรกเลยก็ว่าได้ที่เราสร้างจุดศึกษาทางวิทยาศาสตร์ถาวรลงไปพร้อมกับเรือ มิใช่ปล่อยให้นักวิทยาศาสตร์ต้องดำน้ำทำงานอยู่แค่ 15 นาที (ที่ความลึกใกล้ 30 เมตร) แค่วางไลน์ทำจุดสำรวจก็กระอักเลือดแล้วครับ ยังไม่ต้องคิดถึงการนับสัตว์หรือศึกษาเรื่องอื่น

Mission Gunship เป็นสารคดีซีรี่ส์ที่ผมนำมาแทรกระหว่างซีรี่ส์เที่ยวพม่าชั่วคราว เพราะนี่เป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องที่เกิดในทะเลไทย ผมอยากให้คุณๆได้รับรู้ถึงขั้นตอนในการทำงานอย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่เรือลำแรกจะลงสู่ห้วงน้ำสีครามครับ (19-20 พฤษภาคม ชุมพร)




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 พฤษภาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #17  
เก่า 11-05-2011
-Oo- -Oo- is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 977
Default

ขอบคุณข้อมูลค่ะ ได้วามรู้ แถมสนุกอีกต่างหาก
และยังทำให้อยากติดตามต่อ ด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ระคนกับอยากรู้ว่า Mission Gunship จะสำเร็จสวยงามหรือไม่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #18  
เก่า 11-05-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,159
Default



เมื่อครู่นี้..อาจารย์ธรณ์ ได้โทรมาหาสองสาย และคุยกันเรื่องการนำเรือปราบไปตั้งแท่นในทะเลที่ชุมพร...


คุยกันไปคุยกันมา จึงทราบว่า อาจารย์ธรณ์ก็ไม่เคยได้ไปประชุมร่วมกับกรรมการอื่นๆ ที่จังหวัดชุมพรตั้งขึ้นมาเลยสักครั้งเดียว แต่ได้ไปประชุมกับทาง ปตทสผ. สปอนเซอร์ใหญ่ของการนำเรือหลวงปลดระวางสองลำ ไปตั้งแท่นใต้ทะเลทั้งที่ชุมพรและเกาะเต่า ซึ่งอาจารย์ธรณ์ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาโครงการนี้...


อาจารย์ธรณ์เลยชักชวนสองสายให้ไปร่วมกับคณะทำงานของอาจารย์ธรณ์ ในการนำเรือปราบไปตั้งแท่นในทะเล ในช่วงวันที่ 19-21 พฤษภาคมนี้ ที่ชุมพร ซึ่งสองสายก็รับคำเชิญชวนด้วยความยินดียิ่งค่ะ


เป็นอันว่า...หลังจากทริปที่เราชาว sos ไปทำงานที่โลซินแล้ว....จากสงขลา สองสายจะขับรถไปนอนเล่นที่หัวหินสองคืน แล้วก็ย้อนไปที่ชุมพร เพื่อร่วมพิธีนำเรือปราบลงสู่ใต้ทะเล ที่บริเวณหินหลักง่าม ได้ความเป็นประการใด จะเล่าแจ้งแถลงไขให้ทราบต่อไปนะคะ...


__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 11-05-2011 เมื่อ 15:58
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #19  
เก่า 11-05-2011
-Oo- -Oo- is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 977
Default

ตื่นเต้น ตื่นเต้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #20  
เก่า 11-05-2011
ดอกปีบ's Avatar
ดอกปีบ ดอกปีบ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ข้อความ: 703
Default

แอบแปลกใจเล็กๆที่ทั้งอ.ธรณ์ และพี่สองสายเป็นที่ปรึกษาโครงการ แต่ยังไม่มีโอกาสได้ประชุมร่วมกับกรรมการท่านอื่นๆเลย บางทีส่วนราชการอาจจะยังไม่ว่าง แต่ก็ยังดีที่ภาควิชาการและภาคเอกชนยังช่วยกันขับเคลื่อนโครงการนี้ต่อไป

ร่วมรอฟังความคืบหน้าเป็นระยะๆครับผม
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow

You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:58


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger