เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 30-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนน้อย แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 29 ? 30 ก.ย. 64 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ส่งผลทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนน้อย

ส่วนในช่วงวันที่ 1 ? 5 ต.ค. 64 ร่องมรสุมกำลังอ่อนจะพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 30-09-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,116
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ว้าว! ฉลามหูดำกลับมาโชว์ตัวอีกครั้งหลังหายไปนาน 3-4 เดือน

กระบี่ - ว้าว! ฝูงฉลามหูดำกว่า 30 ตัว ว่ายน้ำโชว์ หน.หน่วยพิทักษ์อุทยานหมู่เกาะห้อง จ.กระบี่ อีกครั้ง หลังหายไปนานหลายเดือน ระบุมีไม่บ่อยนักที่จะว่ายน้ำมารวมตัวกันเป็นฝูงใหญ่



วันนี้ (29 ก.ย.) ฝูงฉลามหูดำ หรือฉลามครีบดำ จำนวนกว่า 30 ตัว ขนาดความยาวประมาณ 1.5-2 เมตร ได้กลับมาเวียนว่ายหากินบริเวณชายหาดหน้าเกาะห้อง เขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่ อีกครั้ง และรวมตัวกันเป็นฝูง เวียนว่ายหากินอย่างเริงร่า สร้างความตื่นเต้นแก่เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ หลังฝูงฉลามหายจากชายหาดเกาะห้อง เป็นเวลานานประมาณ 3-4 เดือน

โดยนายจำเป็น ผอมภักดี หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานเกาะห้อง เขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ได้บันทึกคลิปวิดีโอเอาไว้เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา ขณะทำหน้าที่เดินสำรวจเชิงคุณภาพบริเวณชายหาดเกาะห้อง เป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณอายุราชการในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ย.)

นายจำเป็น กล่าวว่า การกลับมารวมตัวของฝูงปลาฉลามหูดำจำนวนมาก บริเวณเกาะห้อง เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ก่อนหน้านี้ ฝูงฉลามหูดำกลุ่มนี้ได้หายไปนานประมาณ 3-4 เดือน และเพิ่งกลับมาหากินที่บริเวณชายหาดเกาะห้อง เห็นอีกครั้งในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ระลอก 2 สร้างความตื่นเต้นแก่เจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก เพราะการที่ฉลามหูดำจะรวมตัวกันเป็นฝูงพบไม่บ่อยนัก จึงบันทึกภาพเก็บไว้เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ ก่อนที่จะอำลาชีวิตราชการในวันพรุ่งนี้



สำหรับทรัพยากรทางทะเลที่เกาะห้อง พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย หากนักท่องเที่ยวสนใจที่มาชมฉลามหูดำ จะต้องมาตั้งแต่ช่วงเช้าระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น และหลังจากนั้นฉลามหูดำจะว่ายออกไปในทะเลลึก

นายจำเป็น กล่าวอีกว่า ตนติดตามฝูงฉลามหูดำ มาตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ฉลามหูดำเข้ามารวมตัวหากินบริเวณน้ำตื้นที่ชายหาดหน้าอ่าวเกาะห้อง รู้สึกถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ รู้สึกใจหายที่ต้องจากธรรมชาติไป ไม่อยากจากไปไหนเลย รู้สึกผูกพันมาก แต่ต้องไปตามวาระ เพราะถึงเวลาเกษียณอายุราชการแล้ว จึงขอฝากให้ จนท. รุ่นน้องที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ ช่วยกันดูแล หวังให้ฉลามหูดำฝูงนี้ให้อยู่คู่เกาะห้อง และพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนต่อไป


https://mgronline.com/south/detail/9640000096613


*********************************************************************************************************************************************************


งานวิจัย WWF เผยครัวเรือนในทวีปเอเชีย-แปซิฟิก ยินดีจ่าย 80 ดอลลาร์ต่อปี "หนุนงานอนุรักษ์เต่าทะเล"



ผลงานวิจัยล่าสุดจาก WWF ภายใต้หัวข้อ 'Money Talks: The Value of Conserving Marine Turtles in Asia-Pacific' ได้สำรวจความคิดเห็น 7,700 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

โดยเฉพาะประเทศจีน, ฟิจิ, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เกี่ยวกับวิกฤตสูญพันธุ์ของเต่าทะเล และความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมาด้วยการสูญพันธุ์ของเต่าทะเล 6 ใน 7 สายพันธุ์ทั่วโลก

แม้กระทั่งในสามเหลี่ยมคอรัล ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของโลก ประชากรเต่าทะเลก็กำลังลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามหลายอย่าง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย เต่าทะเลยังถูกเก็บเกี่ยวมากเกินไปเพื่อเอาไข่ เนื้อสัตว์ และเปลือกของพวกมันที่เอามาทำเป็นเครื่องประดับ ซึ่งส่วนใหญ่มีการค้าขายกันในเอเชียแปซิฟิก

โดยผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อว่า หน่วยงานภาครัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการอนุรักษ์เต่าทะเล ควรออกแบบนโยบาย และเข้มงวดต่อการบังคับใช้กฎหมายอนุรักษ์และคุ้มครองเต่าทะเลมากขึ้น รวมถึงการจัดจ้างกลุ่มเจ้าหน้าที่ดูแลเต่าทะเลโดยเฉพาะในแต่ละพื้นที่

กลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจยังต้องการให้รัฐบาลพัฒนาแนวทางส่งเสริมความเข้าใจในกลุ่มคนท้องถิ่นที่อาศัยใกล้ชายทะเลว่า การอนุรักษ์ประชากรเต่าทะเลเป็นเรื่องดีมากกว่าการทำลายแหล่งวางไข่และฆ่าเต่าทะเลเพื่อผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ (เช่น ฆ่าเพื่อนำเนื้อและไข่ไปผลิตเป็นอาหาร หรือฆ่าเอากระดองไปใช้เป็นเครื่องประดับ) และให้เหตุผลว่า ยิ่งจำนวนประชาชนเต่าทะเลและระบบนิเวศท้องทะเลดีขึ้นมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยนำรายได้เข้าสู่ชุมชน และช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งมากขึ้นเท่านั้น

จากโมเดลที่ใช้ในงานวิจัยฉบับนี้ พบว่า ครัวเรือนในทวีปเอเชีย-แปซิฟิก ยินดีจ่ายเงินเฉลี่ย 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อช่วยสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์เต่าทะเล และเมื่อนำตัวเลขจากโมเดลมาคำนวณเทียบกับจำนวนประชากรที่มีอยู่จริงและมีรายได้ใกล้เคียงกันจำนวน 600 ล้านครัวเรือน จะพบว่า พวกเขาพร้อมจ่ายเงินจำนวนมากถึง 45.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากพอจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยและงานอนุรักษ์เต่าทะเลเป็นระยะเวลาหนึ่งปี

อย่างไรก็ตาม เรื่องของต้นทุนอาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคนอาจมองข้ามความสำคัญของการอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ระยะยาว งานวิจัยระบุว่า ต้นทุนในการจัดกิจกรรมปกป้องประชากรเต่าทะเล อาจสูงกว่ามูลค่าเชิงพาณิชย์ที่ได้จากการฆ่าเต่าทะเลถึง 50,000 เท่า หรือเราอาจใช้ต้นทุนสูงถึง 800,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี



ต้นทุนอาจสูงมากขึ้น เมื่อนำปัจจัยด้านอื่นๆ สำหรับงานอนุรักษ์เต่าทะเลมาพิจารณาด้วย เช่น การจัดการเขตนันทนาการและศึกษาหาความรู้เรื่องเต่าทะเล การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ที่เต่าทะเลอาศัยอยู่ ซึ่งรายงานฉบับนี้ยังไม่ได้นำมาคำนวณด้วย

"ถ้ารัฐบาลในประเทศที่ยังคงพบประชากรเต่าทะเลยังคงเพิกเฉยต่อภัยคุกคามนี้ การสูญพันธุ์ของเต่าทะเลอาจก่อให้เกิดค่าความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจมีมูลค่าสูงถึง 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่หากรัฐบาลเอาจริงเอาจังในการอนุรักษ์เต่าทะเล ความสำเร็จตรงนี้จะช่วยส่งเสริมให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น โดยคิดเป็นมูลค่า 54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี" ดร.ลูค แบรนเดอร์

(Dr. Luke Brander) นักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม และหนึ่งในคณะผู้จัดทำรายงาน ให้คำเตือน

ข้อมูลในงานวิจัยได้รับการเปิดเผยครั้งแรกระหว่างการประชุมใหญ่สมัชชาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลก (The World Conservation Congress) ณ เมืองมาร์แซย์ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยในปีนี้ การประชุมเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา

ทั้งนี้เต่าทะเลอาศัยอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยพบอยู่ทั้งหมด 7 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทย พบเต่าทะเลเพียง 5 ชนิดเท่านั้น ได้แก่ เต่ามะเฟือง, เต่าตนุ, เต่ากระ, เต่าหญ้า และเต่าหัวค้อน


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000096700
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ

คำสั่งเพิ่มเติม
เรียบเรียงคำตอบ

กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 11:08


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger